เอาล่ะ...ครั้งนี้เรามาดูกันว่าชื่อโน้ตที่อยู่ใน Diatonic หรือฮาร์โมนิก้า 10 ช่อง เนี่ย ในแต่ละช่องมีโน้ตชื่ออะไรกันบ้างเมื่อเทียบกับเปียโน หรือเครื่องดนตรีสากลทั่วไป
สัญลักษณ์ตารางโน้ต
C=โด D=เร E=มี F=ฟา G=โซ,ซอล A=ลา B=ที
# อ่านว่า ช้าร์ป หมายถึง สูงขึ้นครึ่งเสียง
b อ่านว่า เฟล็ต หมายถึง ต่ำลงครึ่งเสียง
Db อ่านว่า ดีเฟล็ต หรือ เรเฟล็ต
C#,Db สองตัวนี้เป็นเสียงเดียวกันครับ คือ เสียงที่อยู่ตรงกลางละหว่าง C กับ D
C สูงขึ้นครึ่งเสียง กับ D ต่ำลงครึ่งเสียง ก็จะลงมาเจอกันพอดี แล้วแต่จะเรียกครับ C# ก็ได้ Db ก็ได้ แต่ทาง Harmonica diatonic ส่วนมักจะเรียกเป็น b(เฟล็ต) เพราะเข้าใจง่ายกว่าเมื่อเล่นด้วยการ Bending ครับ ยกเว้น Harmonica chromatic ถ้าเรียกเป็น # จะเข้าใจง่ายกว่าเมื่อกดปุ่ม
แนะนำให้ศึกษาทฤษฏีดนตรีเพื่อทำความเข้าใจเรื่องระยะห่างของเสียงเพิ่มเติมครับ
ทีนี้พอเราไปเล่นดนตรีร่วมกับเครื่องดนตรีสากลชนิดอื่น เราก็สามารถเทียบและบอกชื่อโน้ตที่เราเล่นได้แล้วครับ
เมื่อเราเล่นโน้ตคีย์ C ด้วยฮาร์ปคีย์ C ก็จะได้เสียงคีย์ C
แต่หากเราเล่นแบบเดียวกันแต่เปลี่ยนมาใช้ฮาร์ปคีย์ D ก็จะได้เพลงเดิมในคีย์ใหม่คือคีย์ D
เมื่อเปลี่ยนเป็นฮาร์ปคีย์อะไรเพลงเดิมนั้นก็จะกลายเป็นเสียงของคีย์ใหม่นั่นเอง ถ้าเล่นร่วมกับเพื่อนแล้วเล่นคนละคีย์ มันก็จะเหมือนกับเล่นผิดคีย์ หรือภาษานักร้องนักร้องเรียกว่าร้องผิดคีย์นั่นเอง
ยกตัวอย่างสักอันนึงนะครับ
เหมือนอย่างเพลง Jingel Bell โน้ตชุดแรกคือ
|E E E - | E E E - | E G C D | E - - -||
ถ้าเราเอาฮาร์ปคีย์ C มาเล่น เสียงก็จะเป็นคีย์ C (ได้เสียงตามโน้ต เนื่องจากโน้ตเป็นคีย์ C)
แต่เมื่อเราเอาฮาร์ปคีย์ F มาเล่น เล่นเหมือนเดิมช่องเดิมแบบเดิม ฟังแล้วเหมือนเดิม แต่ความถี่เสียงก็จะเปลี่ยนไปกลายเป็นคีย์ F ครับ และถ้าอยากรู้ว่าโน้ตในคีย์ F ที่เล่นไปนั้นชื่อโน้ตจริงๆที่เทียบกับเปียโนแล้วคืออะไร ก็ดูได้จากตารางข้างบนครับ หรือไม่ก็ศึกษาทฤษฏีเกี่ยวกับคีย์ต่างๆครับ
การเปลี่ยนคีย์สำหรับฮาร์โมนิก้านั้นง่ายครับ ถ้าเราเล่นเพลงนั้นในคีย์ C ได้แล้ว หากต้องการเปลี่ยนคีย์ก็แค่เอาฮาร์โมนิก้าคีย์ที่ต้องการมา เล่นแบบเดิมในช่องเดิมก็ได้เพลงเดิมในคีย์ใหม่แล้วครับ ดังนั้นโน้ตฮาร์โมนิก้าส่วนมาก(และของผม)มักจะถูกแปลง/เขียนไว้ในโน้ตของคีย์ C และกำกับไว้ว่าให้ใช้ฮาร์ปคีย์อะไรเล่นเพื่อให้ได้เสียงแบบเดียวกับต้นฉบับครับ ซึ่งเรียกว่า โดเคลื่อนที่(Move Do) คือ ไม่ต้องพูดถึงโน้ตอะไรในคีย์ต่างๆให้มากมาย เอาแค่ในคีย์ C เท่านั้น เล่นเหมือนโด, เร, มี ฯลฯ ธรรมดา แล้วเสียงที่ออกมาจะเป็นไปตามความถี่ของคีย์นั้นๆที่เราหยิบมาเล่นเอง นั่นคือเหตุผลที่ฮาร์โมนิก้า โดยเฉพาะ Diatonic ควรแปลงโน้ตให้เป็นคีย์ C ทุกเพลง และเมื่อเล่นในคีย์ C ได้ ก็เล่นได้ทุกคีย์ แค่หยิบคีย์ที่ต้องการมาเล่น แล้วเล่นในช่องเดิมแบบเดิม ก็เป็นเพลงเดิมในคีย์นั้นๆแล้ว
แต่จะเล่นกับฮาร์ปคีย์ไหนก็ไม่มีปัญหาครับเพียงแค่ความถี่เสียงก็จะเป็นไปตามฮาร์ปที่เอาขึ้นมาเล่นเท่านั้เอง แต่ก็ยังฟังเหมือนเดิม อยากรู้ว่าเล่นโน้ตในคีย์ต่างๆออกมาเป็นชื่อโน้ตจริงๆอะไร เทียบได้กับตารางข้างต้นครับ
วันนี้หนักไปทางทฤษฏีนิดนึงนะครับ เพื่อจะได้รวมวงกับวงดนตรีและพูดคุยถึงโน้ตกันได้แบบไม่ติดขัด(นำรูปแบบนี้ไปประยุกต์ใช้กับชื่อคอร์ดได้ด้วยเช่นกัน) แนะนำให้ศึกษาทฤษฏีดนตรีเพิ่มเติมนะครับจะได้เล่นดนตรีด้วยความเข้าใจยิ่งขึ้นครับ
หากได้ประโยชน์จากบทความนี้
แล้วอยากจะเลี้ยงน้ำชา ข้าวผัด หรือมอบสินน้ำใจเป็นค่าครู
สามารถสนับสนุนได้ที่
ธนาคารกรุงไทย
9090619704
กนกเกียรติ หริรักษ์หรรษา
ขอบคุณสำหรับการสนับสนุนและกำลังใจนะครับ
ขอบคุณครับ🙏😇
วันนี้เท่านี้ก่อน สวัสดีปีใหม่ไทยอีกครั้งครับ
ไว้เจอกันครับ
ขอให้เล่นดนตรีอย่างมีความสุขครับ ^_^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น