Sponsor

25 พฤษภาคม 2562

GNU Shogi - หมากรุกญี่ปุ่นแบบ Text-based

gnushogi on Linux Mint 19.1

บน Linux จะมีโชกิหรือหมากรุกญี่ปุ่นอยู่ 2 ตัวหลักๆคือ gnushogi เป็นโชกิมาตราฐาน 9x9 กับ gnuminishogi ที่เป็นโชกิขนาดเล็ก 5x5 สามารถค้นหาติดตั้งได้จาก Software Manager เลยครับ

วิธีเข้าเกมให้เปิด Terminal แล้วพิมพ์คำสั่ง

gnushogi
เป็นการเล่นแบบไม่ใช้กระดาน มีแต่พิกัดอย่างเดียว

gnushogi -C
เป็นการเล่นแบบกระดานแบบมีตาราง ปกติจะเข้าเล่นแบบนี้

ถ้าเป็น minishogi จะใช้คำสั่ง

gnuminishogi -C

[ตัว C พิมพ์ใหญ่นะครับ]

วิธีเดินหมาก ให้ระบุ ตำแหน่งหมากแนวตั้งกับแนวนอนที่จะเดินตามด้วยตำแหน่งที่ต้องการ เช่น
7g7f คือเดินหมากที่ตำแหน่ง 7g ไปตำแหน่ง 7f
การเติมหมาก ให้ระบุ ตัวอักษรของหมาก * แล้วตามด้วยตำแหน่งที่ต้องการ เช่น
B*5e คือ เติมหมาก B ที่ตำแหน่ง 5e
การเลื่อนยศ ให้เติม + ไว้หลังสุด เช่น
7d7c+ คือ เดินหมากที่ตำแหน่ง 7d ไปตำแหน่ง 7c แล้วเลื่อนยศ

คำสั่งเบื้องต้นอื่นๆ
hint ขอคำแนะนำตาเดิน
first ให้คอมเดินก่อน
undo ย้อนหมาก
reverse กลับด้านกระดาน
new เริ่มเกมใหม่
exit ออกจากโปรแกรม
ดูคำสั่งอื่นๆ https://www.gnu.org/software/gnushogi/manual/gnushogi.html

GNU Shogi นี้สามารถใช้เป็นเอ็นจิ้นในโปรแกรม GUI frontends Shogi ต่างๆได้ตามปกติ เช่น XBoard เป็นต้น ก็จะดูเป็นกระดานมีภาพในคอมพิวเตอร์เหมือนเกมทั่วไป แต่แม้ไม่ใช้ ก็ยังสามารถเล่นใน Terminal ได้ แม้จะดูตาลายสักหน่อยก็ตาม ๕๕๕บวก

gnuminishogi on Linux Mint 19.1

เพิ่มเติม
https://www.gnu.org/software/gnushogi/
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99

Sudoku - ซูโดกุแบบ Text-based

Sudoku on Linux Mint 19.1

ติดตั้งเกมอย่างง่ายๆด้วยกการค้นชื่อ sudoku ใน Software Manager ของ Linux ได้เลยครับ
จากนั้นการเข้าเกม ให้เปิด Terminal พิมพ์คำสั่งอย่างนี้ครับ

sudoku
เป็นการเล่นแบบสุ่มระดับความยาก

sudoku -c'very easy'
เป็นการเข้าเล่นระดับ very easy สามารถเลือกระดับอื่นๆ เช่น very  easy,  easy,  medium,  hard, และ fiendish(โหดมเหี้ยม) สามารถพิมพ์แทนไปได้เลย

ส่วนคำสั่งการเล่นก็อยู่ทางขวานั่นเองครับ
เล่นแบบ text mode ก็ดูเก่าแก่แปลกตาไปอีกแบบนะครับเรียบๆง่ายๆ

ศึกษาเพิ่มเติม
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B8

24 พฤษภาคม 2562

Freesweep - กู้ระเบิดแบบ Text-based

freesweep on Linux Mint 19.1

เกม Minesweeper หรือเกมกู้ระเบิดน่าจะเป็นเกมที่ทุกฅนรู้จักกันดีอยู่แล้ว คราวนี้ผมมาแนะนำเว่อร์ชั่น Text-based ที่เล่นบน Terminal มาให้รู้จักกัน ชื่อว่า freesweep ชาว Linux ก็สามารถติดตั้งได้จาก Software Manager เลยครับ
เข้าเกมด้วยการพิมพ์ใน Terminal ว่า

freesweep

จากนั้นจะให้มีการตั้งค่าเบื้องต้น ถ้าเล่นแบบมาตราฐานสากลให้ตั้งค่า 3 ข้อแรกตามนี้ครับ

Beginner
height: 8
width: 8
mines: 10

Intermediate
height: 16
width: 16
mines: 40

Expert
height: 16
width: 30
mines: 99
[Expert จะใหญ่เกินไปจนต้องเลื่อนไปมา ไม่ค่อยเหมาะเท่าไหร่ครับ]

ส่วนที่เหลือตั้งค่าตามต้องการ หรือกด Enter ผ่านไปจนหมดก็ได้ครับ

คำสั่งพื้นฐาน
Spacebar เปิดตำแหน่งนั้น
f ปักธง
n เริ่มเกมใหม่
q ออกจากเกม
? เข้าเมนูช่วยเหลือเพื่อดูคำสั่งอื่นๆ

ผมเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับ Minesweeper ไว้ ลองเข้าไปอ่านวิธีเล่นกันได้เลยครับ
Chess & Minesweeper - หมากรุก กับ ไมน์สวีปเปอร์เกมส์กู้ระเบิด
How to play Minesweeper - มาเล่นเกมกู้ระเบิดกันเถอะ

23 พฤษภาคม 2562

เล่นอินเตอร์เน็ตบน Linux ด้วย Terminal

มาย้อนยุคกันครับด้วยการเล่นอินเตอร์เน็ตแบบ TUI หรือ Text-based User Interface คือการเล่นเน็ตแบบตัวอักษร ถ้าพูดให้คุ้นเคยก็คือเหมือนการเล่นเน็ตแบบที่ต้องพิมพ์คำสั่งเพื่อใช้งานแบบคอมฯสมัยก่อนเลยครับ ซึ่งเราจะมาเล่นกันบน Terminal Linux Mint ซึ่งโปรแกรมที่ใช้คือ w3m
เปิด Termimal แล้วใส่คำสั่งดังนี้ แล้วทำตามขั้นตอน

sudo apt-get install w3m w3m-img

เรียบร้อยครับ! วิธีเข้าเว็บไซต์ก็เพียงใส่คำสั่ง w3m วรรคแล้วตามด้วยชื่อเว็บ

w3m jazzylj.blogspot.com

เรียบร้อย


ลองเข้า www.google.co.th ดูหน่อย
เจ๋ง!!!

คำสั่งพื้นฐาน
hjkl = เลื่อเคอร์เซอร์ ซ้าย ล่าง บน ขวา (ตามลำดับ หรือใช้ปุ่มลูกศรก็ได้)
H = ดูคำสั่งการใช้งาน
B = กลับไปหน้าที่แล้ว
U = พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ใหม่
T = เปิด tab ใหม่
{ = เลื่อนไป tab ซ้าย
} = เลื่อนไป tab ขวา
Enter = เข้าลิงค์ที่เลือก หรือ พิมพ์ข้อความลงช่อง
Tab = เลื่อนเคอร์เซอร์แบบกระโดด
Space = เลื่อนหน้าเว็บลงล่าง
Home = เลื่อนหน้าเว็บขึ้นบนสุด
End = เลื่อหน้าเว็บลงล่างสุด
< = เลื่อหน้าเว็บไปทางซ้าย
> = เลื่อหน้าเว็บไปทางขวา
q = ออกจากโปรแกรม
คลิกขวาเพื่อเพื่อเมนูคำสั่งบางส่วน
ดูคำสั่งอื่นๆได้ที่ Full manual
และยังสามารถใช้เม้าส์คลิกได้ครับ

มาดูคลิปสอนกันครับ

แต่การเข้าเว็บด้วย Terminal ที่มากับระบบนั้นจะไม่แสดงภาพครับ เอาไว้อ่านข้อมูลขำๆได้ หากต้องการให้แสดงภาพ ต้องติดตั้ง xterm (เข้า Software Manager) เมื่อ w3m ผ่าน xterm ก็จะสามารถแสดงภาพได้ครับ ซึ่งตอนแรกตัวอักษรจะเล็กๆมาก สามารถขยายด้วยการกด Ctrl+คลิ๊กขวา แล้วเลือกขนาด huge

w3m ด้วย xTerm

ทีนี้ก็สามารถเล่นเน็ต TUI แบบมีภาพได้แล้วครับ การเล่นเน็ตแบบนี้เหมือนทำอะไรไม่ได้มากนัก ตอนนี้ผมเอาไว้อ่านพวกกระทู้เท่านั้น แต่มันก็เร็วดี เอาไว้เล่นแก้เซ็งได้ ขำๆ ๕๕๕บวก เปลี่ยนแนวบ้างสนุกดีครับ ผมเองก็มือใหม่สำหรับการเข้าเว็บแนว TUI นี้ หากเพื่อนๆมีเทคนิคเพิ่มเติมสามารถแนะนำได้ในคอมเม้นเลยเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจต่อไปครับ

เข้า Gmail ด้วย w3m บน xTerm

อ้างอิง
https://www.howtogeek.com/103574/how-to-browse-from-the-linux-terminal-with-w3m/
https://www.wikihow.com/Browse-the-Internet-Using-the-Terminal-in-Linux
http://w3m.sourceforge.net/

20 พฤษภาคม 2562

การติดตั้ง NetHack บน Linux Mint

NetHack สุดยอดเกมที่เคยมีมา

NetHack เป็นเกมฟรีโอเพนซอร์สในตำนานที่รู้จักกันดีในหมู่ Hacker สมัยก่อน เป็นเกมที่ลุ่มลึกที่สุดและสุดยอดที่สุดในสารบบเกมบนคอมพิวเตอร์จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงสรรพคุณมากมายอะไรครับ เรื่องของเรื่องก็คือ NetHack เวอร์ชั่นหลังๆมานี้ตั้งแต่ ver 3.6.0 ไม่มีไฟล์ Official Binary Releases ให้ Linux โหลดไปเล่นได้ทันที(มีแค่ Windows และ Mac เท่านั้น!) จะรอติดตั้งจาก Software Manager ก็ไม่ทันกาล กว่าจะอัพเดทก็เป็นปีๆ OMG!!! ทำไมกัน!!!? แต่ไม่เป็นไร ชาว Linux ไม่ต้องเสียใจไปครับ ครั้งนี้ผมจะมาแนะนำวิธีการคอมไฟล์ Source code เพื่อทำ Binary เองบน Linux Mint
มาเริ่มกันเลย

อันดับแรกโหลด Official Source Release ก่อน https://www.nethack.org/common/index.html
แตกไฟล์ลงในโฟลเดอร์ home
เปิด Termimal แล้วพิมพ์คำสั่งตามลำดับดังนี้เลยครับ และทำตามขั้นตอนไปเรื่อยๆ

cd ~/ชื่อโฟลเดอร์ของ Netahck ที่แตกมา

./sys/unix/setup.sh ./sys/unix/hints/linux

sudo apt-get install build-essential libxt-dev libxaw7-dev libx11-dev ncurses-dev

make all

make install

เป็นอันเสร็จเรียบร้อย!
จะมีโฟลเดอร์ nh อยู่ใน home แล้วครับ ดับเบิลคลิ๊กโฟลเดอร์เข้าไปเรื่อยๆจนเจอไฟล์ชื่อว่า nethack ก็ดับเบิลคลิ๊กเปิด เลือก Run in Terminal เป็นอันเสร็จพิธี ได้เล่น NetHack เวอร์ชั่นล่าสุดกันแล้ว
ลุยดันเจี้ยนได้เลย!!!

สำหรับ Linux รุ่นอื่นอาจจะ make all ไม่ผ่าน (เช่น Zorin OS Lite) เพราะไม่เจอคำสั่ง yacc และ lex ให้ทำตามนี้

sudo apt-get install bison byacc bison flex

แล้วทำการ make all และ make install ก็น่าจะผ่านแล้วล่ะครับ

ถ้าเพื่อนๆเพิ่งรู้จัก NetHack ลองเข้าไปอ่านบทความต่างๆนี้ได้ครับ มันเป็นเกมที่สุดยอดมากเลยนะอยากให้เพื่อนๆได้สัมผัสกับความลุ่มลึกละเมียดละไมของเกมนี้อย่างที่ผมได้เคยสัมผัส
วิธีเล่น NetHack เบื้องต้น(ภาษาไทย) - ทำความรู้จักสัญลักษณ์ต่างๆ เริ่มทำความรู้จักกับ NetHack
สรุปคำสั่งใน NetHack สรุปคำสั่งที่ใช้บ่อย
คำสั่งทั้งหมดใน NetHack (ภาษาไทย)
คำแนะนำการเล่น NetHack สำหรับมือใหม่ (ภาษาไทย)
NetHack Thailand พบปะพูดคุยกับเรื่องราว NetHack กันได้ที่เพจนี้เลยครับ
NetHack Thailand Group มีแล้วนะ! มาร่วมพูดคุย แชร์ประสบการณ์ และสปอยล์กันให้อย่างเต็มที่ไปเลย! ลุยๆๆๆ!
https://th.wikipedia.org/wiki/เน็ตแฮ็ก
http://www.thegreatestgameyouwilleverplay.com/
https://www.nethack.org เว็บอย่างเป็นทางการของ NetHack
https://nethackwiki.com ข้อมูลมอสเตอร์และไอเท็มต่างๆ
http://www.statslab.cam.ac.uk/~eva/nethack/spoilerlist.html รวมสปอยล์ของ NetHack ก็คล้ายๆกับบทสรุปเกมครับ แต่ NetHack จะต่างจากเกมอื่นๆเพราะตัวเกมจะสุ่มใหม่ทุกครั้ง การเล่นใหม่แต่ละครั้งจึงไม่เคยซ้ำกันเลย เล่นได้ไม่จำเจ!
https://andreabaroni.bandcamp.com/album/nethack-legacy-original-soundtrack เพลงบรรเลงที่ถูกแต่งขึ้นมาสำหรับ NetHack โดยเฉพาะ
https://alt.org/nethack/mirror/www.geocities.com/TimesSquare/Portal/2416/index.html รวมเรื่องราวเกี่ยวกับ NetHack ตั้งแต่เบื้องต้นจากหลายๆแหล่ง แต่จัดระเบียบได้ดีมาก เข้าใจง่าย
สำรวจดันเจียน 101 - คำแนะนำสำหรับมือใหม่ NetHack (ภาษาไทย)
รวมสปอยล์และเทคนิคการเล่น NetHack ที่มือใหม่ควรรู้ (ภาษาไทย)
https://lparchive.org/Nethack-(by-Lobster-Maneuver)/ แนะนำเทคนิคการเล่นตั้งแต่ต้นจนจบ
เรื่องเล่าแห่งดันเจี้ยนลึกลับ NetHack ทำความเข้าใจภาพรวมของเกม
ประโยชน์ในการเล่น NetHack เราเขียนเชิญชวนให้ทุกๆคนได้มาลองเล่นกัน มันเป็นเกมฝึกสมองที่มีประโยชน์เหมือนกันนะ

รวมลิงค์น่าสนใจสำหรับชาว NetHack ลิงค์ทั้งหมดนี้และอื่นๆหลังจากนี้จะเพิ่มเติมรวมไว้ในลิงค์นี้นะครับ เป็นสารบัญ เพื่อความเป็นหมวดหมู่

คลิปแนะนำ NetHack
เพราะ DevTeam คิดทุกอย่างไว้แล้ว


แนะนำวิธีเล่น NetHack เบื้องต้น



NetHack 3.6.2 on Linux Mint 19.1

แถม

นอกจากบนคอมพิวเตอร์ OS ต่างๆแล้ว NetHack ยังมี App บนโทรศัพท์มือถือด้วยนะ สามารถค้นหาชื่อ NetHack ได้ใน PlayStore โดยตรงเลย ทำการพอร์ตโดย gurr ทีนี้มือถือของคุณก็มีประตูลับลงสู่ดันเจี้ยนแล้ว



สั่งซื้อไอเท็มนี้ได้ที่ Shopee https://shopee.co.th/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7-NetHack-Thailand-i.83249973.7943496455
ขอบพระคุณมากๆจ้า

อ้างอิง
https://www.reddit.com/r/nethack/comments/3vxflw/36_linux_binaries/
https://www.reddit.com/r/nethack/comments/8y8dqn/error_while_compiling/

04 พฤษภาคม 2562

GNU nano - Nano โปรแกรม text editor ที่เรียบง่าย

GNU nano on Linux Mint 19.1

ตอนนี้ผมมองหาโปรแกรมแก้ไขข้อความที่รวดเร็วเรียบง่าย โดยเฉพาะในคอมฯช้า ไม่ต้องพูดถึงการเปิดโปรแกรม Office ที่ต้องรอนานมากและกิน RAM(ไม่ว่าคอมฯจะพัฒนาไปแค่ไหนแล้วก็ตาม ๕๕๕บวก) ทั้งที่ไม่ได้ต้องการใช้ฟังชั่นอะไรมากมายขนาดนั้น แม้แต่การเปิด Text Editor ที่เป็น GUI ก็ต้องรอนาน และบางตัวยังมีปัญหาภาษาไทย เมื่อเราลบข้อความเช่นคำว่า "ที่" กดลบทีเดียว หายทั้งคำเลย ทั้งที่ปกติต้องค่อยๆลบ ไม้เอก สระอี และท.ทหาร ตามลำดับ
นั่นแหละครับ บางครั้งเราต้องการแค่พิมพ์ทดข้อความเล็กๆน้อยๆ หรือพักข้อความไว้ก่อน เราก็แค่ต้องการโปรแกรมเรียบง่ายสักตัว และแล้วก็มาจบที่ GNU nano ครับ ทั้งยังรวดเร็วเพราะเป็น text mode และไม่มีปัญหาภาษาไทยข้างต้นอีกด้วย nano เป็นโปรแกรมเล็กๆที่มาพร้อมกับ Linux Mint อยู่แล้ว แต่ Linux บางตัวไม่มี ก็ติดตั้งเพิ่มได้จาก Software Manager

เปิด Termimal พิมพ์ nano แล้วกด Enter

เข้าโปรแกรมมาแล้วก็สามารถเริ่มพิมพ์ข้อความได้เลยครับ
สังเกตหน้าต่างโปแกรมข้างล่างจะมีคีย์คำสั่งเพื่อให้ทำงานในโหมดต่างๆ
โดย ^ คือ Ctrl และ M- คือ Alt นั่นเองครับ ก็สามารถดูเมนูข้างล่างเพื่อสั่งการได้ หรือเข้าไปใน Get Help ด้วยการกด Ctrl + g เพื่อดูคำสั่งอื่นๆเพิ่มเติม

คำสั่งทั่วไปของ GNU nano
nano = เปิดโปรแกรม Nano
nano ชื่อไฟล์ = สร้างไฟล์ใหม่หรือเปิดไฟล์ที่มีอยู่แล้ว
Ctrl + g = แสดงคำสั่งที่สามารถใช้งานได้ทั้งหมด
Ctrl + x = ออกจากโปรแกรม
Ctrl + o = บันทึกข้อมูล
Ctrl + r = เปิดไฟล์ที่มีอยู่แล้วและนำมาแทรกในไฟล์ปัจจุบัน
Ctrl + w = ค้นหาคำที้ต้องการ
Ctrl + a = เลื่อนเคอร์เซอร์ไปทางซ้ายสุดของบรรทัด
Ctrl + e = เลื่อนเคอร์เซอร์ไปทางขวาสุดของบรรทัด
Ctrl + y = เลื่อนเคอร์เซอร์ไปหน้าก่อนหน้า
Ctrl + v = เลื่อนเคอร์เซอร์ไปหน้าถัดไป
Ctrl + d = ลบตัวอักษรในตำแหน่งที่เคอร์เซอร์อยู่
Ctrl + \ = ค้นหาและแทนที่ด้วยคำที่ต้องการ
Ctrl + c = แสดงตำแหน่งบรรทัดที่เคอร์เซอร์อยู่
Ctrl + 6 = Highlight ข้อความโดยใช้ลูกศรเลื่อนเคอร์เซอร์ และหากกด Ctrl + 6  อีกครั้งจะเป็นการยกเลิก
Alt + 6 = Copy ข้อความที่ highlight
Ctrl + k = Cut ข้อความที่ highlight
Ctrl + u = Paste ข้อความที่ cut/copy มา
Alt + u = Undo
Alt + e = Redo
Alt + l = เปิด/ปิดการตัดบรรทัด

การใช้คำสั่งร่วมกัน เช่น ต้องการ highlight ข้อความทั้งหมดเพื่อคัดลอก ทำได้ดังนี้ ^6 ตามด้วย ^y กรณีเคอเซอร์อยู่ท้ายบรรทัด เป็นต้น มันก็จะ highlight ตั้งแต่ท้ายสุดขึ้นมานั่นเอง และทำการ M-6 เพื่อ Copy ต่อไป หรือหากต้องการ Copy ออกมานอก Terminal สามารถใช้เม้าส์ได้ลากคลุมแล้วคลิกขวาได้

ยังมีโปรแกรม Text Editor อีกตัวที่มีบน Linux ทุกสายพันธุ์คือ Vi เป็นโปรแกรมแก้ไขข้อความเก่าแก่ที่นิยมกันในหมู่นักเขียนโปรแกรม ลองใช้แล้วก็มีปัญหาหาภาษาไทยข้างต้น แต่เป็นโปรแกรมที่ใช้สนุก และเป็นมาตราฐานบน Linux หากไม่ซีเรียสปัญหานั้นก็ลองใช้ดูได้ แล้วจะใช้ควบคู่ไปกับ nano ก็ได้ตามต้องการครับ


อ้างอิง
https://www.nano-editor.org
https://en.wikipedia.org/wiki/GNU_nano
https://spalinux.com/2015/07/edit-file-on-linux-by-using-nano
https://www.unzeen.com/article/1178/

03 พฤษภาคม 2562

The Vi Editor - Vi โปรแกรม Text Editor ในตำนาน

Vi on Linux Mint 19.1
เปิด Terminal
พิมพ์ vi (หรือ vim) แล้วกด Enter เพื่อเข้าโปรแกรม
หรือพิมพ์ vimtutor เพื่อดูคู่มือการใช้งานเบื้องต้น
ปกติ Vi จะมีในระบบอยู่แล้ว หากไม่มี สามารถติดตั้ง Vim ได้จาก Software Manager

พื้นฐานการใช้งาน
เมื่อเข้ามาถึงจะเป็น Normal mode(Command mode) เพื่อพิมพ์คำสั่งต่างๆในโปรแกรม
กด i เข้าสู่ Insert mode เพื่อให้พิมพ์ข้อความลงไปได้
กด ESC เพื่อกลับสู่ Normal mode
กด v เพื่อเข้าสู่ Visual mode เพื่อ highlight ข้อความ

คำสั่งทั่วไปใน Normal mode
:q = ออกจากโปรแกรม
:q! = ออกจากโปรแกรม โดยไม่เซฟ
:w = เซฟไฟล์
:w ชื่อไฟล์ = เซฟไฟล์พร้อมตั้งชื่อไฟล์
:wq = เซฟและออกจากโปรแกรม
h = เลื่อน cursor ไปทางซ้าย
j = เลื่อน cursor ไปทางล่าง
k = เลื่อน cursor ไปทางบน
l = เลื่อน cursor ไปทางขวา
gg = เลื่อน cursor ไปบรรทัดแรก
G = เลื่อน cursor ไปบรรทัดสุดท้าย
x = ลบตัวอักษรที่ cursor ทับอยู่
X = ลบตัวอักษรข้างหน้า cursor
dw = ลบคำ
dd = ลบทั้งบรรทัด
c = cut ข้อความที่ highlight ไว้
y = copy ข้อความที่ highlight ไว้
yy = copy ทั้งบรรทัด
yw = copy คำเดียว
p = paste วาง
u = undo
Ctrl+r = redo
o = เว้นบรรทัดข้างบน
:set nu = แสดงหมายเลขบรรทัด
:number = ย้าย cursor ไปตามบรรทัด number เช่น :10
/word = ย้าย cursor ไปตาม word ที่ต้องการ กด n จะเลื่อนไปคำต่อไป
:%y = Copy ข้อความทั้งหมด
. = ทำซ้ำคำสั่งล่าสุด
:help = ดูคำสั่งอื่นๆ

คำสั่งทั่วไปในการเข้า Insert mode
a = เพิ่มข้อความหลัง cursor ปัจจุบัน
i = เพิ่มข้อความก่อน cursor ปัจจุบัน ==== ปกติฉันใช้อันนี้
A = เพิ่มข้อความท้ายบรรทัด
I = เพิ่มข้อความต้นบรรทัด

คำสั่งทั่วไปในการเข้า Visual mode
v = highlight ปกติด้วยการใช้ปุ่มทิศทาง(hjkl)
V = highlight ทั้งบรรทัด
control+v = highlight เป็นบล๊อก

การใช้คำสั่งร่วมกันใน Normal mode กด ggVG = highlight ข้อความทั้งหมด เป็นการใช้คำสั่งร่วมกัน gg ไปบรรทัดแรก V ทำการ highlight ทั้งบรรทัด และ G ไปบรรทัดสุดท้าย ชุดคำสั่งนี้ก็จะ highlight ทั้งหมด เพื่อทำการ แก้ไข Copy/Cut ต่อไป
หรือหากต้องการ Copy ออกมานอก Terminal สามารถใช้เม้าส์ได้ลากคลุมแล้วคลิกขวาได้

http://www.viemu.com/a_vi_vim_graphical_cheat_sheet_tutorial.html?fbclid=IwAR1iypXVEye_7p5xVoEGyMeoE9zOV_J6eK0Fz1Clth4V-TwrXWv6mmmq3aE

ศึกษาเพิ่มเติม
สอนใช้ Vim ออนไลน์ https://www.openvim.com/?fbclid=IwAR3p0e_I1TOPsk5DDMvz4ubXij-CvrR-Cr2REI2XxjqicGDfuRsTPtR5srE

หัดใช้ Vim ด้วยเกม Vim Adventures https://vim-adventures.com/


https://www.blognone.com/topics/vim

https://www.blognone.com/node/27440

The Vim book http://www.truth.sk/vim/vimbook-OPL.pdf


https://medium.com/vim-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-text-editor-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89-vim-%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99-a899cdf3478c?fbclid=IwAR2Jdu46udZCQEYCM2IcyNvmQwremLO5F2X5H9fcewP6v4MHb9fYbGlNS0s






บุกมหาลัยวัยแสวงหา

เพิ่งได้หยิบหนังสือ กล้าที่จะถูกเกลียด มาอ่านอีกครั้ง(เพื่อทบทวนรออ่านเล่ม 2) ผมชอบหนังสือเล่มนี้มาก นอกจากสนุก มีประโยชน์ มันยังทำให้ผมนึกถึงตัวเองสมัยเรียนมหาวิทยาลัย ตอนนั้นผมคล้ายเด็กหนุ่มในเรื่องเลยครับ ผมบุกไปตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อไปสนทนากับอาจารย์ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยที่ผมบุกไปตอนนั้นมี ม.จันทรเกษม ม.ราม ม.ธรรมศาสตร์ ม.จุฬา ม.ศรีนครินทรวิโรฒ และอื่นๆ ซึ่งตอนนั้นผมสนใจปรัชญาของ ฌอง-ปอล ซาร์ตร์ จึงไปสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์แต่ละท่าน ซึ่งแต่ละท่านก็ถนัดในปรัชญาที่ต่างออกไป ทำให้ผมเปิดกะลาค่อนข้างมากในการปะทะสังสรรค์แต่ละครั้ง และทุกครั้งผมมักจบด้วยคำถามว่า "เรียนปรัชญาแล้วทำงานอะไรครับ?” ซึ่งคำตอบที่ได้มานั้น ไม่ค่อยกระจ่าง จริงๆผมไม่ได้สนใจคำถามนี้ แค่ถามเพื่อเอาไว้ตอบฅนอื่นต่อเท่านั้นเอง แต่หลังจากผมได้ศึกษามากขึ้น ทำให้รู้ว่าที่แท้ ตั้งคำถามผิด! เพราะตอนนั้นยังไม่เข้าใจคำว่า การศึกษา(Education) กับ การฝึกอบรม(Training) อย่างชัดเจน ในการศึกษานั้นเราเรียนเพื่อรู้และนำไปต่อยอด ถ้าอยากรู้ ก็ไปเรียน มันก็แค่นั้นครับ เพราะคุณสามารถไปทำได้ทุกอย่างที่อยากทำหลังจากเรียนจบ ส่วนการฝึกอบรมนั้นชัดเจนในตัวอยู่แล้วว่าคุณไปเรียนเพื่อทำอะไร พอผมกระจ่างในเรื่องนี้ ก็ขำไปกับความเข้าใจผิดของตัวเองในตอนนั้น(ตอนนี้อาจยังเข้าใจผิดอยู่ก็ได้) นึกแล้วก็ฮาดีครับ สมัยหนุ่มๆยังมีเรื่องบุกศาลเจ้าวัดโบสถ์ เพื่อสนทนาเกี่ยวกับศาสนา เข้าป่าเพื่อหาคำตอบของคำถามที่คาใจ ตอนนี้ผมก็ยังคงเรียนรู้อยู่เสมอ และคิดว่าเราคงต้องเรียนตลอดชีวิต เพราะชีวิตไม่เคยหยุดสอน และการเรียนรู้เป็นเรื่องสนุก
จิตวิทยาแบบแอดเลอร์ในหนังสือ กล้าที่จะถูกเกลียด มีส่วนที่เหมือนกับซาร์ตร์คือเรื่องทางเลือก ทุกอย่างที่เราทำเพราะเราเลือกเอง ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม ปรัชญาของซาร์ตร์เป็นปรัชญาต้องห้ามในประเทศไทยอยู่พักหนึ่ง เพราะสอนให้ฅนมีเสรีในการเลือกทุกอย่างด้วยตนเอง ทำให้หนังสือของซาร์ตร์หาได้ยากมาก รวมเรื่องสั้นของซาร์ตร์แปลไทยที่ยังพอหาอ่านได้นั้น ผมค้นเจอในหลืบของห้องสมุด ม.ธรรมศาสตร์ และห้องสมุด ม.ราม เท่านั้นครับ เก่ากึ๊ก ถ้าอยากอ่านก็ลองไปหาอ่านดูได้ ถ้ายังมันอยู่นะครับ
มีใครอ่านหนังสือ กล้าที่จะถูกเกลียด บ้างครับ? เห็นว่าเล่ม 2 ออกมาแล้วนะ กำลังรออ่านเลยครับ ใครอ่านแล้วถ้ามีโอกาสคงได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบ้างนะครับ📘📕