Sponsor

20 พฤษภาคม 2564

SMIRK (ยิ้มเยาะ) เกมสวมบทบาทไพ่สำรับเดียวสำหรับผู้เล่นคนเดียว

ก่อนหน้านี้เราได้แนะนำ ระบบ GRIN เป็นเกมสวมบทบาทสยองขวัญแจกฟรี และมีกฎเพียงหน้าเดียวเท่านั้น การเล่นจะใช้ไพ่ 1 สำรับ หาซื้อได้ทั่วไป ไม่ต้องใช้ลูกเต๋า เกมจะดำเนินอย่างรวดเร็วและอันตราย เหมาะสำหรับเกมที่มีเนื้อหารุนแรง เสี่ยงตายแบบขีดสุด หรือเล่นแบบคืนเดียวจบ
ระบบ GRIN ถ้าใช้เล่นหลายคนก็โอเคอยู่ แต่ถ้าเล่นคนเดียวตั้งแต่เริ่มแรกจะต้องเอาการ์ดตัวเลขออก 12 ใบ และเวลาเล่นมันจะแปลกๆ เราไม่ชินเลย เพราะจะไม่มีการขัดขวางหรือสนับสนุนจากผู้เล่นอื่น เราจึงลองปรับระบบสำหรับผู้เล่นคนเดียวในแบบของเราเอง และเพื่อให้ชัดเจนก็ขอตั้งชื่อใหม่แบบล้อกันเพื่อเป็นการคาราวะว่า SMIRK (ยิ้มเยาะ) ก็แล้วกัน เป็นเกมสวมบทบาทสยองขวัญแจกฟรี เหมาะสำหรับเกมเสี่ยงตาย มีเนื้อหารุนแรง และสยองขวัญ โดยประยุกต์จาก GRIN สำหรับเดินเรื่องโดยมีผู้เล่นคนเดียว

ผู้มีส่วนพัวพัน
  • GM ผู้ดำเนินเกม 1 คน
  • ผู้เล่น 1 คน (หลายคนก็ได้ แต่หลายคนใช้ระบบ GRIN อาจสนุกกว่า)

อาวุธ
  • ใช้การ์ดทั้งสำรับ 54 ใบ (คือ รวมJoker 2 ใบด้วย Joker ขาวดำ และ Joker สี)

การก่อเหตุ
  • สับการ์ดทั้งหมด
  • เมื่อต้องทำภารกิจ ให้ผู้เล่นใช้วิธีจั่วการ์ดเพื่อทำภารกิจ จะสำเร็จหรือไม่ โดยจั่วการ์ดให้ได้การ์ดตัวเลขตามจำนวนใบที่กำหนด เช่น ภารกิจง่ายจั่ว 1 ใบ ไปจนถึง ภารกิจที่ยากมากๆอาจจั่ว 4 ใบหรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับ GM
  • หากจั่วได้ไพ่หน้า ให้จั่วใหม่จนกว่าจะได้การ์ดตัวเลขครบตามจำนวนใบที่กำหนด (โดยไพ่เลขใบสุดท้ายอาจเป็นตัวช่วยกำหนดว่าภารกิจที่ผ่านนั้นจะให้ผลลัพธ์เบาหรือร้ายแรงอย่างไรต่อไปก็ได้ หรือจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องเลยก็ได้ แล้วแต่กำหนด)
  • หากได้ A ก็ให้ถือเป็นเหมือนไพ่หน้า คือให้จั่วใหม่ (หรือจะเก็บไว้ใช้ผ่านภารกิจโดยไม่ต้องจั่วก็ได้ แล้วแต่กำหนด)
  • การ์ดที่จั่วแล้วให้เก็บออกไว้ที่กองทิ้ง ไม่นำมารวมกับกองจั่ว
  • หากเจอ Joker ขาวดำ ให้ถือว่าทำภารกิจนั้นไม่สำเร็จและได้รับบาดเจ็บ เมื่อทำทุกๆภารกิจถัดไปต้องหยิบการ์ดเพิ่มเป็น 2 เท่า (หรือหยิบเพิ่มกี่ใบขึ้นอยู่กับ GM)
  • หากเจอ Joker สี คือ เสียสติ, ตาย, หรืออื่นๆ ผลคือออกจากเกมไป จบเกม
  • หากมีผู้เล่น 1 คน การ์ด Joker ขาวดำที่จั่วได้ ให้เก็บออกไว้ที่กองทิ้ง
  • หากมีผู้เล่นมากกว่า 1 คน การ์ด Joker ใดใดที่จั่วได้ ให้ใส่กลับเข้ากองจั่วที่เหลือ แล้วสับใหม่ เพื่อรอเหยื่อรายต่อไป

ด้วยระบบ SMIRK ทำให้ใช้ได้ทั้งสำรับ ไม่ต้องคัดการ์ดออก และใช้ Joker ทั้ง 2 ใบ เพื่อกำหนดผลลัพธ์ของเกมสำหรับเล่นคนเดียวให้มีมิติที่มากขึ้น
นี่ก็เป็นการประยุกต์ในแบบของเรา เพื่อนๆลองนำไปใช้กันดู หรือประยุกต์เพิ่มเติมก็ได้ตามแต่ความจำเป็นของสถานการณ์ เพื่อปรับให้เหมาะสมกับการเดินเรื่องและสถานการณ์ของเราอย่างยืดหยุ่นครับ

17 พฤษภาคม 2564

วิธีทำให้ลูกของคุณล้มเลิกความฝันนั้นซะ!

ภาพถ่ายโดย freestocks.org จาก Pexels

บางครั้งลูกมีความฝัน แต่เป็นความฝันที่พ่อแม่ไม่ปลื้มเอาซะเลย พ่อแม่ควรจะทำอย่างไรหากต้องการให้ลูกล้มเลิกความฝันนั้นซะ!
เข้าเรื่องเลยล่ะกัน เราขอแนะนำว่า หากต้องการให้ลูกของคุณล้มเลิกความฝัน คุณเพียง สนับสนุนความฝันของลูกให้เต็มที่ไปเลย! เอ๋? แล้วการสนับสนุนความฝันนั้นจะทำให้ลูกคุณล้มเลิกความฝันได้ยังไงน่ะหรอ งั้นลองมาฟังเหตุผลของเราสักหน่อย

ลองคิดดูนะครับ
ถ้าคุณไม่สนับสนุนความฝันของลูก แต่ลูกของคุณยังดันทุรังทำตามฝันต่อไป ผลลัพธ์จะมีได้ 2 ทาง คือ ล้มเหลว หรือไม่ก็ประสบความสำเร็จ
ถ้าล้มเหลว เขาก็จะโทษคุณว่า เพราะคุณไม่ยอมสนับสนุนเขา เขาจึงล้มเหลว
ถ้าสำเร็จ เขาก็จะเยาะเย้ยคุณว่า ต่อให้คุณไม่สนับสนุนเขา เขาก็ทำสำเร็จ
ในการต่อต้านความฝันของลูก ไม่ว่าทางไหนคุณก็มีแต่เสียกับเสีย ไม่ได้อะไรเลย

แต่ถ้าคุณสนับสนุนความฝันของลูก ให้เขาทำไปเลยอย่างเต็มที่ แน่นอน ผลลัพธ์ก็ยังเป็นไปได้ 2 ทาง คือ ล้มเหลว หรือไม่ก็ประสบความสำเร็จ
ถ้าล้มเหลว(เพราะไม่ถนัดจริงๆ หรือเพราะอะไรก็ตาม) เขาจะล้มเลิกไปเองโดยไม่มีข้ออ้างอีกต่อไป คุณเพียงเข้าไปปลอบใจเขา และแนะนำทางอื่นให้ก็พอ แล้วคุณบอกกับเขาเลยว่า คุณพร้อมสนับสนุนเขาทุกทางเสมอ
ถ้าสำเร็จ(แม้ว่าคุณจะไม่ชอบใจความฝันนั้นก็ตาม) เขาจะขอบคุณคุณอย่างสุดหัวใจ คุณจะเป็นส่วนอันยิ่งใหญ่ในเส้นทางความฝันของเขา และคุณก็จะได้ความภูมิใจด้วยว่าลูกของคุณเก่งจริงๆ
ในการสนับสนุนความฝันของลูก ไม่ว่าจะลูกล้มเหลวหรือสำเร็จ คุณก็มีแต่ได้กับได้ ไม่มีเสียเลย

สนับสนุนความฝันของลูกของคุณอย่างเต็มที่ ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร เขาจะขอบคุณคุณจนสุดหัวใจอย่างแน่นอน เพราะความเป็นพ่อแม่นั้นไม่ใช่เพื่อต้องการเอาชนะลูก แต่คือการอยู่เคียงข้างลูกไม่ว่าจะล้มเหลวหรือสำเร็จไม่ใช่หรือ?

เห็นอย่างนี้แล้ว คุณจะยังต่อต้านความฝันของลูกคุณอีกมั้ยครับ?

ภาพถ่ายโดย cottonbro จาก Pexels

13 พฤษภาคม 2564

Cataclysm: Dark Days Ahead - มหาภัยพิบัติ: สู่วันอนธการ

Cataclysm 0.E-3 on Zorin OS 15.3 Lite

Cataclysm: Dark Days Ahead - มหาภัยพิบัติ: สู่วันอนธการ หรือ CDDA เป็นเกมเอาตัวรอด open-source survival horror roguelike video game เป็นเกมฟรี แนว Turn-base สไตล์เหมือน NetHack แต่แนวเกมจะคล้ายกับ Dwarf Fortress(ซึ่งเป็นเกม Minecraft สไตล์ Text-base) โดยที่ CDDA จะมาในธรีมโลกาวินาศในอนาคตยุคที่ Zombie ระบาด และเราต้องเอาตัวรอดให้ได้พร้อมๆกับการดำรงชีวิตไปด้วย ฟังดูน่าตื่นเต้นดี!
ตอนแรกเกมนี้มีแต่บน Linux ผู้เล่นฝั่ง Windows ไม่สามารถเล่นได้ จึงต้องจำลอง Linux บน VirtualBox จนมีผู้เล่นคนหนึ่งทำ Linux เล็กๆตัวนึงจำลองเป็น VirtualBox บน Windows เพื่อเอาไว้รันเกมนี้โดยเฉพาะ เป็นตัวบ่งบอกว่าเกมนี้ฮิตแค่ไหนเลยนะครับ ภายหลังผู้สร้างเกมก็ได้ออกเกมเพื่อรองรับ OS ต่างๆเป็นที่เรียบร้อย มีทั้งบน Windows, MacOS, และ Linux ซึ่งในปี 2016 เกมนี้ถูกจัดเป็น 1 ใน 50 เกมฟรีที่ดีที่สุดบนพีซี โดย Rock, Paper, Shotgun

ในตอนเริ่มเกม เราสามารถตั้งค่ากำหนดสิ่งต่างๆให้ตัวเกมสุ่มออกมาได้ ต้องการ Map ที่เล็กใหญ่ขนาดไหนก็เลือกได้ มีหลายสถานการณ์ ตั้งค่าตัวละครได้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็น ทักษะประจำตัว สีตา สีผม รูปทรงของหนวดเครา ส่วนสูง กรุ๊ปเลือด ฯลฯ ตัวเกมมีความอิสระสูง จะทำอะไรก็ได้ตามใจผู้เล่นเลย เป็นเกมที่ให้เล่นไปเรื่อยๆ ไม่มีตอนจบ(Open ended) เป็นเกมจำลองชีวิต เสมือนเป็น The Sims แนวเอาชีวิตรอดในธรีม The Walking Dead
เห็นว่าเกมนี้ในไทยจะยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ก็ขอนำมาเสนอไว้ เผื่อเพื่อนๆสนใจ ซึ่งเกมนี้นอกจากมีภาพแนว ASCII ก็ยังมี Tile แบบกราฟฟิคด้วย

การเล่นโดยพื้นฐานก็คือเอาตัวรอดให้ได้ และตั้งเป้าหมายที่ต้องการขึ้นมาเองได้ตามต้องการ จากนั้นอันดับแรกให้เริ่มเก็บของต่างๆ การจะเก็บของได้มากขึ้นก็ต้องมีกระเป๋า เป้าหมายต่อไปก็คือการติดอาวุธให้ตัวเอง ซ่อมสร้างหรือหาอาวุธดีๆ เป้าหมายถัดไปคือการเก็บรวบรวมอุปกรณ์ เครื่องมือ และหาความรู้เพิ่มเติม เยี่ยมชมห้องสมุด ร้านฮาร์ดแวร์ ร้านขายของชำ แล้วเก็บของมาใช้ประโยชน์ เตรียมให้พร้อมสำหรับทุกสถานะการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น ซอมบี้ หรือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ และหัดที่จะหั่นทุกซากที่เจอ เพื่อเรียนรู้การทำอาหาร จนในที่สุด Z ก็อาจกลายเป็นอาหารได้ เว้นแต่ว่าคุณจะเป็นมังสวิรัติ

บนคอมฯสามารถเข้าไปโหลดเวอร์ชั่นใหม่ๆมาเล่นฟรีได้ที่ https://cataclysmdda.org/releases/
สำหรับบนมือถือสามารถนำชื่อเกม Cataclysm ไปค้นใน Stroe ได้เลย(แต่ในมือถือวิธีการควบคุมและปุ่มคำสั่งยุ่งยากและแตกต่างอยู่พอสมควร ควรศึกษาให้ดีก่อนจากรายละเอียดใน Stroe หรือดูในส่วนแถมท้ายบทความนี้)
*ระบบสอนเล่น Tutorial อยู่ในเมนู Special นะครับ*

รวมลิงค์แนะนำการเล่นสำหรับมือใหม่

สำหรับชาว Linux เมื่อแตกไฟล์แล้ว รันเกมที่ไฟล์ cataclysm-launcher ได้เลย ด้วย Terminal
หรือบางระบบอาจไม่สามารถคลิ๊กขวาแล้ว Run in Terminal ได้ ก็ให้สร้างไฟล์ .sh ขึ้นมาได้โดยใส่คำสั่งในไฟล์ตามนี้ครับ

cd ~/cdda-linux-curses-x64-2023-03-01-0054/cataclysmdda-0.F
./cataclysm

อาจเซฟในชื่อว่า cdda.sh จากนั้นคลิ๊กขวาเข้า Properties แล้วติ๊กถูกที่ Allow exeuting file as program ในแท็ป Permissions
วิธีรันไฟล์ .sh คือ เข้า Terminal แล้วพิมพ์คำสั่ง

./cdda.sh

มันก็จะวิ่งเข้า CDDA ให้เป็นที่เรียบร้อย

Tileset: UltiCa

แถม
ถ้า Linux เปิดเกมไม่ได้ อาจเพราะขาดบางระบบ ส่วนใหญ่จะขาด libncursesw.0.5 ก็ให้ติดตั้งด้วยการพิมพ์คำสั่งเข้าไปใน Terminal เพื่อติดตั้งตามนี้

sudo apt-get install libncursesw5

แล้วลองเปิดเกมอีกครั้งน่าจะได้แล้วครับ

คำสั่งพิเศษของ CDDA บนสมาร์ทโฟน
หากเล่น CDDA บนสมาร์ทโฟนจะมีการควบคุมคำสั่งที่ต้องรู้เพิ่มเติมดังนี้

ปัดจอ(Swipe) : เคลื่อนที่ตามทิศทางนั้นๆ (กดค้างไว้เป็นจอยสติ๊กจำลอง)
แตะ(Tap) : ยืนยันการเลือกเมนูหรือหยุดหนึ่งเทิร์นในเกม (กดค้างไว้เพื่อหยุดหลายเทิร์นในเกม)
แตะสองครั้ง(Double-tap) : ยกเลิก/ย้อนกลับ
ถ่างนิ้ว(Pinch) : ซูมเข้า/ซูมออก
ใช้ปุ่ม(หรือการ)ย้อนกลับของระบบมือถือ(Back hardware button) : เพื่อสลับมาแป้นพิมพ์เต็มรูปแบบ (กดค้างไว้เพื่อสลับมาแป้นพิมพ์ลัด)

การใช้กราฟฟิกแบบ ASCII บนสมาร์ทโฟน ให้เข้าไปที่ Options กด TAB ไปที่ Graphics แล้วเลื่อนลงมาที่ Use tiles แตะหนึ่งที่ เพื่อเปลี่ยน True เป็น False เป็นอันเรียบร้อย

สรุปปุ่มคำสั่ง CDDA
t.ly/VOEO

Cataclysm 0.E-3 on Zorin OS 15.3 Lite

Sidebar แบบ structured เหมาะสำหรับคนที่เล่นด้วยอักขระขนาดใหญ่ หรือจอไม่ใหญ่มาก จะทำให้เห็นการแสดงสถานะได้อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะข้อความแจ้งสถานะข้างล่าง เข้าไปตั้งค่า Sidebar options ให้เป็นแบบ structured ได้ด้วยการกด [}] ตามด้วยปุ่ม [ขวา] และเลือก structured แล้วกด [Enter] เป็นอันเรียบร้อย
Sidebar แบบ structured ใน CDDA 0.G on Linux Zorin OS 16.2 Lite

อ้างอิงและศึกษาเพิ่มเติม
https://cataclysmdda.org/
https://en.wikipedia.org/wiki/Cataclysm:_Dark_Days_Ahead

08 พฤษภาคม 2564

จดหมายสังเกต

ภาพถ่ายโดย Ylanite Koppens จาก Pexels

อุดมสมบูรณ์, แต่อยู่อย่างอัตคัด.
อุดมสมบูรณ์ไม่จริงแล.เจริญทางจิตใจ, แต่ไม่เห็นค่าศิลปะ.
เจริญทางจิตใจไม่จริงแล.
มีดีมากมาย, แต่ต้องทวงบุญคุณ.
มีดีมากมายไม่จริงแล.
อิสระภาพ, แต่ไม่อาจแสดงความเห็น.
อิสรภาพไม่จริงแล.
ความรัก, แต่ไม่อาจวิพากวิจารณ์.
ความรักไม่จริงแล.
ความสุข, แต่ต้องอดกลั้น.
ความสุขไม่จริงแล.
พัฒนา, แต่ไม่ปรับปรุง.
พัฒนาไม่จริงแล.
กฏหมาย, แต่ไม่เป็นธรรม.
กฏหมายไม่จริงแล.
ผู้นำ, แต่ไร้คุณธรรม.
ผู้นำไม่จริงแล.
ประเทศ, แต่ไร้ประชาชน.
ประเทศไม่จริงแล.
สัญญา, แต่ไม่ทำ.
สัญญาไม่จริงแล.

=======
จดหมายสังเกต
กนกเกียรติ หริรักษ์รักษา เขียน

01 พฤษภาคม 2564

cmus - โปรแกรมเล่นเพลงแบบ Terminal


เห็นโปรแกรมเล่นเพลงแบบ GUI ที่มีหน้าตาอัลการกันมาเยอะแล้ว มาลองใช้โปรแกรมเล่นเพลงหน้าตาดั้งเดิม Text mode กันบ้าง เป็นโปรแกรมเบาๆ รวดเร็ว และแปลกใหม่(แบบเก่าๆ)

วิธีติดตั้งจะเปิด Software manager แล้วค้นหา cmus เพื่อติดตั้ง หรือเปิด Terminal แล้วพิมพ์คำสั่ง

sudo apt-get install cmus

จากนั้นก็เปิดโปรแกรมขึ้นมา ซึ่งวิธีการใช้โปรแกรม cmus มีคำสั่งพื้นฐานดังนี้
  • เลข 1-7 เป็นการเปิดหน้าต่างๆ ลองกดเล่นดูได้ครับ (โดยหน้าที่ 7 เป็นหน้าบอกปุ่มคำสั่งว่ามีอะไรบ้าง เข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้)
  • hjkl = เป็นปุ่มควบคุมทิศทางแบบ Vim โดย h=ซ้าย, j=ลง, k=ขึ้น, l=ขวา
  • :add แล้วพิมพ์ที่อยู่ของโฟลเดอร์เพลง
  • :clear ล้างรายการเพลงทั้งหมด
  • c = pause/unpause
  • b = เล่นเพลงถัดไป
  • z = เล่นเพลงก่อนหน้า
  • r = เล่นวน
  • s = เล่นสุ่ม
  • q = ปิดโปรแกรม
คลาสสิคจริงๆ!

แถม
หากตอนเปิดเจอคำเตือน Error while initializing MPRIS มากวนใจ ก็ให้เข้าโปรแกรมแล้วใส่คำสั่ง

:set mpris=false

ก็เป็นอันเรียบร้อย

อ้างอิงและศึกษาเพิ่มเติม