Sponsor

29 มกราคม 2564

คนหกประเภทที่หมอเทวดาก็ยากจะรักษา

เปี่ยนเชว่(扁鵲)หรือฉินเยว่เหริน(秦越人)หมอสมัยชุนชิวจ้านกั๋ว ประมาณห้าร้อยปีก่อนค.ศ. กล่าวถึงคนหกประเภทที่หมอเทวดาก็ยากจะรักษา เพราะรักษายังไงก็ไม่หาย

ป่วยมีหกไม่รักษา: ดื้อด้านไม่คำนึงถึงเหตุผล, ไม่รักษาแล้วหนึ่ง; ดูเบาร่างกายสำคัญแต่ทรัพย์สิน, ไม่รักษาแล้วสอง; เสื้อผ้าอาหารไม่สามารถปรับให้เหมาะสม, ไม่รักษาแล้วสาม; หยินหยางแยกส่วน, ชี่อวัยวะภายในไม่คงที่, ไม่รักษาแล้วสี่; รูปร่างผอมแห้งไม่สามารถทานยา, ไม่รักษาแล้วห้า; เชื่อหมอผีไม่เชื่อแพทย์, ไม่รักษาแล้วหก.

病有六不治:驕恣不論於理,一不治也;輕身重財,二不治也;衣食不能適,三不治也;陰陽並,藏氣不定,四不治也;形羸不能服藥,五不治也;信巫不信醫,六不治也。


อธิบายขยายความตามความเข้าใจของเราสักหน่อยนะครับ
1. ดื้อด้านไม่คำนึงถึงเหตุผล เป็นผู้ป่วยแบบที่อยากจะให้หายป่วยในทันทีทันใจ โดยไม่สนใจเลยว่าโรคที่เป็นมันต้องใช้เวลา บอกอะไรก็ไม่ฟัง แบบนี้ก็ยากจะรักษา
2. ดูเบาร่างกายสำคัญแต่ทรัพย์สิน อาจหมายถึงคนที่ทำงานหนักจนป่วยรื้อรังอยู่ตลอดเวลา แพทย์บอกให้หยุดงานเพื่อพักฟื้นก็ไม่ยอมหยุดพักก็ยากรักษา
3. เสื้อผ้าอาหารไม่สามารถปรับให้เหมาะสม เป็นประเภทที่แพทย์สั่งให้ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตก็ไม่ทำ บอกให้งดของแสลงก็ไม่งดเพราะอยากกิน บอกให้ใส่เสื้อหนาๆก็ไม่ใส่เพราะไม่อยากทนร้อน ฯลฯ ถ้าไม่ทำก็ยากรักษา
4. หยินหยางแยกส่วน, ชี่อวัยวะภายในไม่คงที่ หมายถึงคนไข้ที่ละเลยการดูแลตัวเองจนพ้นจุดวิกฤตที่ไม่สามารถย้อนกลับ จุดนี้หมอเทวดาก็ยากรักษาเสียแล้ว
5. รูปร่างผอมแห้งไม่สามารถทานยา ถ้าร่างกายรับยาไม่ได้เสียแล้วก็ยากจะรักษา
6. เชื่อหมอผีไม่เชื่อแพทย์ ข้อนี้ยังคงทันสมัยอยู่เสมอ คงไม่ต้องอธิบายใดใด

เป็นแนวคิดของหมอเทวดาเมื่อประมาณห้าร้อยปีก่อนค.ศ. แต่ก็ยังคงร่วมสมัยและใช้ได้อยู่เสมอ และแนวคิดที่เป็นแก่นนี้ก็สามารถนำมาแทนค่าและปรับใช้เพื่อพิจารณาเรื่องอื่นๆในชีวิตได้อีกด้วยเมื่อต้องการช่วยเหลือแนะนำผู้อื่น

10 มกราคม 2564

วิธีอ่านปฏิทินจีนน่ำเอี้ยง



คำแนะนำเหมาะ/เลี่ยงในปฏิทินหน้านึงใช้ได้จนถึงเวลา 22:59 น. ในวันนั้นนะครับ เพราะเมื่อถึงเวลา 23:00 น. จะถือเป็นวันใหม่ตามปฏิทินจีนครับ

แถม
https://www.chinesecalendaronline.com/ ปฏิทินจีนออนไลน์(ภาษาอังกฤษ) มีรายละเอียดหลักๆพอสมควร บางส่วนไม่ตรงกับน่ำเอี้ยงไทย
https://www.calendar2u.com/almanac-chinese-lunar-calendar/ แอพปฏิทินจีน หน้าตาเหมือนปฏิทินฉีกรายวัน ข้อมูลละเอียดดี บางส่วนไม่ตรงกับน่ำเอี้ยงไทย
https://play.google.com/store/apps/details?id=oms.mmc.app.almanac.copy.gm.wnl&hl=en_US&gl=US แอพปฏิทินจีน มีทั้งหน้ารายเดือนและรายวัน ข้อมูลละเอียดมาก บางส่วนไม่ตรงกับน่ำเอี้ยงไทย แต่เป็นตัวที่ดีที่สุดที่เคยใช้เลยครับ
https://ecal.click108.com.tw/ ปฏิทิจีนนออนไลน์(ภาษาจีน) คลิกที่วันมีรายละเอียดพอสมควร
https://fengshuiez.home.blog/tag/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99/ วิธีหาฤกษ์มงคล และการเลี่ยงวันชงและเวลาชงด้วยตนเองอย่างง่ายๆจากปฏิทิณจีน

04 มกราคม 2564

การจับยามทำนายนิมิตร


เคยเห็นในพงศาวดารจีนมั้ยครับที่ว่า เมื่อมีนิมิตรแปลกๆปรากฏ จะมีการจับยามเพื่อทำนายว่าเหตุการณ์นั้นบอกอะไร ในตำราทงซูมีอยู่บทนึงที่ว่าด้วยการจับยามแบบนี้ ซึ่งมีอยู่ 12 ลักษณะ เช่น หนังตากระตุก, หูอื้อ, จาม, เนื้อกระตุก, เสื้อโดนเกี่ยว, ฯลฯ โดยเหตุการณ์เหล่านี้จะต้องจับยามดูด้วยว่าเกิดขึ้นเวลาใด โดยเวลาจีนนับเป็นชั่วยาม ชั่วยามละ 2 ช.ม. โดยเริ่มวันใหม่ที่ ยามชวด เริ่มที่ 11 pm ครอบคลุมไปจนถึงก่อนตี 1 ตรง
ตลอดวันมี 12 ชั่วยามตามนี้ครับ

ชวด子 (จื้อ) 11 pm
ฉลู丑 (ทิ่ว) 1 am
ขาล寅 (อิ๊ง) 3 am
เถาะ卯 (เบ้า) 5 am
มะโรง辰 (ซิ้ง) 7am
มะเส็ง巳 (จี๋) 9 am
มะเมีย午 (โง่ว) 11 am
มะแม末 (บี่) 1 pm
วอก申 (ซิน) 3 pm
ระกา西 (อิ้ว) 5 pm
จอ戌 (สุก) 7 pm
กุน亥 (ไห) 9 pm

สมมติว่าวันนี้หนังตาซ้ายกระตุกตอน 10:30 am ซึ่งเป็นยามมะเส็ง(巳 เริ่มที่ 9 am ไปจนถึงก่อน 11 am ตรง) ก็เปิดตำราตามลักษณะที่เกิดได้ความว่า "มีลาภปาก" เป็นต้น แสดงว่าเดี๋ยวคงได้กินอะไรดีๆแน่เลย😋 555+
นี่แหละครับ จับยามดูนิมิตรแบบง่ายๆสไตล์ทงซู ซึ่งบทนี้ฉบับประเทศไทยมีแปลไทยไว้เรียบร้อย อยู่ถัดจากภาษาจีนไปนิดหน่อย ถ้าอยากให้เท่ห์ก็นับยามด้วยข้อนิ้วซึ่งมี 12 ข้อนิ้ว คือ 12 ยามพอดี ได้อารมณ์แบบซินแสในหนังกับเลยทีเดียว อิอิ🤫

ลองไปทายเล่นกับดูครับ แม่นขนาดไหนอย่างไรก็มาบอกเล่าเก้าสิบกันด้วยนะครับ

ชี้เป้า ทงซู https://shope.ee/6AJgO6ZiT3

=======
ควรตระหนักไว้ว่า "คำทำนาย" ไม่ใช่ "คำลิขิต" เมื่อเรารู้อนาคตจากคำทำนายว่าเรื่องนั้นจะเป็นอย่างไรแล้ว ก็ขอให้นำคำทำนายนั้นไปใช้วางแผนเพื่อรับมือกับสิ่งเหล่านั้นให้ดีที่สุด หากคำทำนายดีก็จะดียิ่งๆขึ้นไป หากคำทำนายร้ายก็จะผ่อนหนักเป็นเบาได้ ด้วยวิธีนี้ย่อมเป็นการใช้ประโยชน์จากการทำนายได้สูงสุดครับ
เราเองเชื่อว่าหากเหตุการณ์ปกติ ไม่มีสิ่งใดให้ต้องทำนาย นับเป็นนิมิตรที่ดีที่สุดครับ
ไม่มีข่าวนับเป็นข่าวดี

02 มกราคม 2564

การเสี่ยงทายด้วย 5 เหรียญ

ตำราเสี่ยงทายด้วย 5 เหรียญ ตำราที่คิดค้นโดยขงเบ้ง

การเสี่ยงทายของจีนเดิมมีการเสี่ยงทายด้วย 6 เหรียญเพื่อให้เกี่ยวข้องกับอี้จิง ซึ่งมักใช้กับเรื่องใหญ่และต้องให้ผู้เชี่ยวชาญตีความ เพราะการตีความที่ความยากและให้คำตอบอย่างกว้างๆไม่ชัดเจนนัก ออกไปทางศีลธรรมมากกว่าคำทำนาย ภายหลังจึงได้มีการคิดค้นการเสี่ยงทายด้วย 5 เหรียญขึ้น เพื่อให้ทำนายในเรื่องทั่วๆไปในชีวิตประจำวัน ว่ากันว่า ผู้คิดค้นวิธีการเสี่ยงทายด้วย 5 เหรียญคือขงเบ้งจอมปราชญ์แห่งสามก๊กนั่นเอง ซึ่ง 5 เหรียญคือ ธาตุทั้งห้า ไม้ ไฟ ดิน ทอง น้ำ เป็นเรื่องใกล้ชิดกับทางโลกในการดำเนินชีวิตมากกว่า
ตำราการเสี่ยงทายด้วย 6 เหรียญ ไม่ถูกรวบรวมไว้ในตำราทงซูประเทศไทย แต่คุ้นๆว่ามีในตำราทงซูของฮ่องกงหรือไต้หวัน แต่การเสี่ยงทายด้วย 5 เหรียญมีในตำราทงซูประเทศไทย  ทั้งฉบับภาษาจีนและแปลไทยอยู่ภายในเล่มด้วย เป็นโศลกสวยงาม อยู่หน้าถัดจากภาษาจีนไปนิดนึง ซึ่งแปลเนื้อหาออกมาอย่างสรุปย่อๆ รวบส่วนที่เป็นรายละเอียงลงไปในโศลกทีเดียวเลยอย่างกระชับ

การเสี่ยงทายด้วย 5 เหรียญ จากตำราทงซู
มี 32 ลักษณะ คำทำนายเป็นโศลก 4 บาท แนบรายละเอียดเล็กน้อย เช่น การงาน, การเดินทาง, การค้าขาย, การฟ้องร้อง, การป่วยไข้, หาของหายคนหาย ฯลฯ ว่าจะดีร้ายประการใด ซึ่งในส่วนรายละเอียดนี้จะเป็นตัวอักษรเล็กๆข้างๆโศลกภาษาจีนของแต่ละบท

วิธีทำนาย
(หากต้องการความศักดิ์สิทธิ์สูงสุดตามพิธี ให้จุดธูปหรือกำยานแล้วถือเหรียญไว้วนรอบเพื่อรมควันธูป) ให้ใช้สองมือกำเหรียญทั้งหมดเอาไว้ ทำสมาธิ ภาวนาถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วันเดือนปีและเวลาที่เสี่ยงทาย แล้วถามเรื่องที่ข้องใจ จากนั้นทอย 5 เหรียญลงบนโต๊ะ
ให้เรียงเหรียญตามลำดับจากเหรียญใกล้ตัวแล้วต่อขึ้นไปจนครบ 5 เหรียญ ก็จะได้รูปแบบหัวก้อยเรียงตามตำราแบบใดแบบหนึ่ง ให้เปิดดูบทนั้นๆได้เลยตามรูปแบบเหรียญในตำราที่ตรงกัน

ถ้าอ่านภาษาจีนโบราณได้ก็ลองอ่านดูคำทำนายได้เลยครับ สำหรับคนที่อ่านตัวเลขภาษาจีนได้แต่อ่านภาษาจีนโบราณไม่ออก ก็ให้ดูเลขลำดับที่ของบท แล้วเปิดอ่านในส่วนแปลไทยของลำดับนั้นได้เลย สำหรับคนที่อ่านตัวเลขภาษาจีนไม่ออกก็ให้นับลำดับบท โดยนับรูปแบบเหรียญตั้งแต่รูปแรก(หัว-หัว-หัว-หัว-หัว)ไปจนถึงรูปแบบที่ตรงกับของเรา โดยนับจากขวามาซ้าย นับได้อันดับที่เท่าไหร่ก็เปิดอ่านคำทำนายในส่วนแปลไทยของลำดับนั้นได้เลย

คำแนะนำ
ไม่ควรถามคำถามเดิมซ้ำในวันเดียวกัน ไม่ควรถามเกิน 3 คำถามในวันเดียวกัน ไม่ควรถามว่าสิ่งที่ต้องการนั้นจะได้หรือไม่ได้ แต่ควรถามว่าสิ่งที่ต้องการหรือที่อยากรู้นั้นจะเป็นอย่างไร ควรตีความคำทำนายไปในทางของเรื่องที่ถามเพียงอย่างเดียว ไม่ควรตีความออกไปเรื่องอื่น
ควรตระหนักไว้ว่า "คำทำนาย" ไม่ใช่ "คำลิขิต" เมื่อเรารู้อนาคตจากคำทำนายว่าเรื่องนั้นจะเป็นอย่างไรแล้ว ก็ขอให้นำคำทำนายนั้นไปใช้วางแผนเพื่อรับมือกับสิ่งเหล่านั้นให้ดีที่สุด หากคำทำนายดีก็จะดียิ่งๆขึ้นไป หากคำทำนายร้ายก็จะผ่อนหนักเป็นเบาได้ ด้วยวิธีนี้ย่อมเป็นการใช้ประโยชน์จากการทำนายได้สูงสุดครับ

แค่ใช้ตำราการเสี่ยงทายด้วย 5 เหรียญตำรานี้ตำราเดียวในทงซูก็คุ้มแล้วครับ(มีตำราทำนายง่ายๆอีกตำรา อยู่ในทงซูเหมือนกันคือตำรา จับยามทำนายนิมิตร ก็เป็นตำราทำนายง่ายๆจากเรื่องที่เกิดในปัจจุบันทันด่วน) เหมาะสำหรับมีไว้เป็นซินแสประจำบ้านได้ ไว้เป็นที่ปรึกษาเมื่อมีปัญหาทั้งกายและใจ รับคำแนะนำได้ด้วยตัวเองเลย แนะนำว่าทุกบ้านควรมีทงซูติดบ้านไว้สักเล่มครับ
ปกติบ้านคนจีนที่เคร่งครัดมากๆจะเปลี่ยนทงซูใหม่ทุกปีครับ เนื้อหาส่วนที่แตกต่างกันจะมีเฉพาะส่วนต้นกับส่วนท้ายเล่มที่เกี่ยวกับปฏิทินประจำปี ส่วนตำราต่างๆภายในเล่มจะเหมือนเดิม และตำราการเสี่ยงทายด้วย 5 เหรียญก็มีเหมือนกันทุกเล่ม ถ้าซื้อเล่มใหม่ได้ก็ดีจะได้ดูฤกษ์ยามในปฏิทินของปีนั้นๆได้ด้วย แต่ถ้าไม่อยากซื้อเองก็อาจขอเล่มเก่าๆของปีก่อนๆจากคนที่มีก็ได้ครับ

ชี้เป้า ทงซู https://shope.ee/6AJgO6ZiT3

=======
ทงซู เป็นตำรารวมภูมิปัญญาต่างๆของจีน มีมายาวนานแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นการดูฤกษ์ยาม ปฎิทิน เขียนยันต์ และสุภาษิตต่างๆ เอาไว้เรียนหนังสือด้วยตนเอง บ้านคนจีนน่าจะคุ้นเคย หากเปรียบกับของไทยก็คล้ายๆตำราพรหมชาติ