Sponsor

04 มกราคม 2564

การจับยามทำนายนิมิตร


เคยเห็นในพงศาวดารจีนมั้ยครับที่ว่า เมื่อมีนิมิตรแปลกๆปรากฏ จะมีการจับยามเพื่อทำนายว่าเหตุการณ์นั้นบอกอะไร ในตำราทงซูมีอยู่บทนึงที่ว่าด้วยการจับยามแบบนี้ ซึ่งมีอยู่ 12 ลักษณะ เช่น หนังตากระตุก, หูอื้อ, จาม, เนื้อกระตุก, เสื้อโดนเกี่ยว, ฯลฯ โดยเหตุการณ์เหล่านี้จะต้องจับยามดูด้วยว่าเกิดขึ้นเวลาใด โดยเวลาจีนนับเป็นชั่วยาม ชั่วยามละ 2 ช.ม. โดยเริ่มวันใหม่ที่ ยามชวด เริ่มที่ 11 pm ครอบคลุมไปจนถึงก่อนตี 1 ตรง
ตลอดวันมี 12 ชั่วยามตามนี้ครับ

ชวด子 (จื้อ) 11 pm
ฉลู丑 (ทิ่ว) 1 am
ขาล寅 (อิ๊ง) 3 am
เถาะ卯 (เบ้า) 5 am
มะโรง辰 (ซิ้ง) 7am
มะเส็ง巳 (จี๋) 9 am
มะเมีย午 (โง่ว) 11 am
มะแม末 (บี่) 1 pm
วอก申 (ซิน) 3 pm
ระกา西 (อิ้ว) 5 pm
จอ戌 (สุก) 7 pm
กุน亥 (ไห) 9 pm

สมมติว่าวันนี้หนังตาซ้ายกระตุกตอน 10:30 am ซึ่งเป็นยามมะเส็ง(巳 เริ่มที่ 9 am ไปจนถึงก่อน 11 am ตรง) ก็เปิดตำราตามลักษณะที่เกิดได้ความว่า "มีลาภปาก" เป็นต้น แสดงว่าเดี๋ยวคงได้กินอะไรดีๆแน่เลย😋 555+
นี่แหละครับ จับยามดูนิมิตรแบบง่ายๆสไตล์ทงซู ซึ่งบทนี้ฉบับประเทศไทยมีแปลไทยไว้เรียบร้อย อยู่ถัดจากภาษาจีนไปนิดหน่อย ถ้าอยากให้เท่ห์ก็นับยามด้วยข้อนิ้วซึ่งมี 12 ข้อนิ้ว คือ 12 ยามพอดี ได้อารมณ์แบบซินแสในหนังกับเลยทีเดียว อิอิ🤫

ลองไปทายเล่นกับดูครับ แม่นขนาดไหนอย่างไรก็มาบอกเล่าเก้าสิบกันด้วยนะครับ

ชี้เป้า ทงซู https://shope.ee/6AJgO6ZiT3

=======
ควรตระหนักไว้ว่า "คำทำนาย" ไม่ใช่ "คำลิขิต" เมื่อเรารู้อนาคตจากคำทำนายว่าเรื่องนั้นจะเป็นอย่างไรแล้ว ก็ขอให้นำคำทำนายนั้นไปใช้วางแผนเพื่อรับมือกับสิ่งเหล่านั้นให้ดีที่สุด หากคำทำนายดีก็จะดียิ่งๆขึ้นไป หากคำทำนายร้ายก็จะผ่อนหนักเป็นเบาได้ ด้วยวิธีนี้ย่อมเป็นการใช้ประโยชน์จากการทำนายได้สูงสุดครับ
เราเองเชื่อว่าหากเหตุการณ์ปกติ ไม่มีสิ่งใดให้ต้องทำนาย นับเป็นนิมิตรที่ดีที่สุดครับ
ไม่มีข่าวนับเป็นข่าวดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น