การอ่านโน้ตได้หลายแบบจะทำให้เราหาโน้ตเพลงมาเล่นได้มากมายโดยเฉพาะสำหรับฅนที่แกะเพลงไม่ค่อยเป็นแบบผม(๕๕๕บวก) ทั้งโน้ตแบบตัวเลข ตัวอักษรไทย ตัวอักษรอังกฤษ และอื่น ๆ โดยเฉพาะโน้ตสากลซึ่งได้รวบรวมเพลงไว้มากมายในรูปแบบนี้ เพราะตัวมันบันทึกทั้งโน้ตและจังหวะเอาไว้ ทำให้เป็นการบันทึกที่ดนตรีสมบูรณ์ที่สุดในรูปแบบการเขียน แต่มันอาจดูเป็นยาขมสำหรับมือใหม่ เพราะเหมือนการฝึกภาษาใหม่กันเลยทีเดียว แต่บทความนี้ผมจะแนะนำเคล็ดลับสำหรับคาลิมบาในการอ่านโน้ตสากลอย่างง่าย ๆ กันครับ
หลักการก็คือ ลองสังเกตโน้ตที่ทับเส้นดูนะครับ โน้ตทับเส้นทั้งหมด จะเป็นโน้ตฝั่งขวา เป็นแบบเรียงตามลิ่มเลยจากล่างขึ้นบน
ส่วนตัวโน้ตระหว่างเส้นทั้งหมด จะเป็นโน้ตฝั่งซ้าย ซึ่งก็เรียงตามลิ่มอีกเช่นกันครับ จากล่างขึ้นบน
โน้ตจะขยับขึ้นไปที่ละเส้นทีละช่อง ตามระดับเสียง อยู่ต่ำก็เสียงต่ำ อยู่สูงก็เสียงสูง
แต่ละโน้ตชื่ออะไร ให้ลองเทียบดูจากชื่อดูนะครับ ;)
C=โด=1 D=เร=2 E=มี=3 F=ฟา=4 G=โซ=5 A=ลา=6 B=ที=7
แค่นี้เองล่ะครับเคล็ดลับในการนำโน้ตสากลมาเล่นกับคาลิมบา ไม่ยากใช่มั้ยครับ ลองทำความเข้าใจดูอีกครั้งสั้น ๆ กันครับ คือ โน้ตทับเส้นฝั่งขวา โน้ตระหว่างเส้นฝั่งซ้าย
ทีนี้เพื่อน ๆ ก็สามารถอ่านโน้ตไมากขึ้นอีกแบบนึงแล้วครับ ;)
ไม่ต้องรอให้ใครแปลงโน้ตให้อีกต่อไป(แปลงเองเลย!)
หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อน ๆ ไม่มากก็น้อยนะครับ
สำหรับบทความนี้เท่านี้ก่อน
ไว้เจอกันบทความหน้า
สวัสดีครับ ^_^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น