Sponsor

17 ธันวาคม 2552

Haiku - ไฮกุ บทกวีที่พอเพียง

Haiku(俳句) หรือบางครั้งเรียกว่า บทกวีไฮกุ หรือ โคลงไฮกุ เป็นบทกวีที่ผมชอบมาตั้งแต่ได้ศึกษา เต๋า และเซ็น เพราะความเรียบง่าย และดั้งเดิม คือเสน่ห์ที่ผม และคนอีก 10ล้านกว่าคนในญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆชื่นชอบกัน

เป็นบทบทกวีที่ Minimalism มากๆ

การแต่งบทกวีไฮกุ ไม่เหมือนกับการแต่งกวีอื่นๆที่มีรูปแบบบังคับสัมผัสตามหลักฉันทลักษณ์มากมาย แต่ไฮกุได้ตัดทอนให้เหลือหลักๆเพียง 3 วรรค ยาว 5-7-5 รวมได้ 17 พยางค์ โดยอย่างที่กล่าวไว้แล้ว พื้นฐานของ ไฮกุ คือ ความเรียบง่าย และดั้งเดิม ไม่ยึดติดกับแบบแผน ไม่มีข้อจำกัด ไหลลื่นไปตามธรรมชาติ สั่นกระชับที่สุด ตรงที่สุด และเป็นไปอย่างฉับพลัน ตามสภาวะสัจจะล้วนๆ เรียบง่ายและตรงความรู้สึก ออกมาจากใจของกวี โดยปราศจากอุปสรรคขวางกั้น แสดงความงาม ความเศร้า ความสงบ ความปิติ ความเก่าแก่ เปลือยเปล่าอยู่ภายใต้แสงแดดอันอบอุ่น ในวินาทีแห่งการสร้างสรรค์สิ่งอัศจรรย์ที่ไฮกุได้ถือกำเนิดขึ้น(wiki)


สระน้ำ อันเก่าแก่
เจ้ากบตัวหนึ่งกระโดดลง
เสียงน้ำพลันดังจ๋อม

--บะโช มะทสึโอะ (ฺBashoo Matsuo)

นี่คือโคลงไฮกุที่มีชื่อเสียงที่สุึดบทหนึ่งของญี่ปุ่น จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่าไฮกุ เป็นโคลงที่มีขนาดสั้นมากโดยมีเพียง 17 พยางค์ ประกอบด้วย 3 วรรค คือ วรรคละ 5, 7 และ 5 พยางค์ตามลำดับ


ความเรียบง่ายที่สวยงามของกวีไฮกุ เป็นเสน่ห์ที่น่าหลงไหล อีกสักโคลงซิ...

อา เจ้าดอกซากา
ถังน้ำถูกเถาของเจ้าพัวพัน

ฉันวอนขอน้ำน้อยหนึ่งได้ไหม

--ชิโย

ในครั้งกระนั้นกวีหญิงชิโยมาตักน้ำในบ่อน้ำเธอได้พบว่าที่ตักน้ำได้ถูกเกี่ยวกระหวัดไว้ด้วยเถาของดอกซากา เธอได้ตะลึงงันด้วยความงามของมันจนลืมนึกถึงงานที่จะต้องทำ เมื่อมีสติ จึงนึกถึงภาระที่ต้องทำขึ้นมาได้ แต่เธอก็ไม่อยากจะไปรบกวนดอกไม้นั้น เธอจึงไปตักน้ำที่บ่อของเพื่อนบ้านแทน

บางครั้งการแต่งไฮกุก็ไม่ต้องยึดติดว่าจะต้องเป็น 5-7-5 เสมอไป เพียงแต่งมาให้เรียบง่าย และสวยงามที่สุดก็พอแล้วครับ


ลองแต่งไฮกุขึ้นมาสิครับ แล้วคุณจะรักมัน

ร่วมแต่งกับเพื่อนๆได้ที่

ชมรมไฮกุแห่งประเทศไทย

ชมรมกวีไทไฮกุ


ปล. จากหนังสือวิถีแห่งเต๋า(พจนา จันทรสันติ แปล) ในส่วนภาคผนวกมีเกี่ยวกับบทกวีไฮกุเยอะ และภาพประกอบสวยงามมากครับ ถ้าสนใจลองหามาอ่านดูครับ

2 ความคิดเห็น:

  1. แอ็ดมินศึกษาเต๋าเหมือนกับหรือเนี่ยพอมีหนังสือแนะนำมั้ย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. หนังสือ เต๋าเต็กเก็ง วิถีแห่งเต๋า(พจนา จันทรสันติ แปล) เป็นหนังสือที่มักใช้อ้างอิงกับงานเต๋าในประเทศไทยบ่อยมากครับ อ่านเข้าใจง่ายตรงไปตรงมา มีภาคผนวกเยอะดีครับครบเครื่องทีเดียว ต้นฉบับนี้แปลจากภาษาอังกฤษ

      หรือเต๋าเต็กเก็ง คำภีร์เต๋าของเหลาจื่อ แปลโดยปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ เป็นต้นฉบับที่แปลจากภาษาจีนครับ ได้รับยกย่องว่าสมบูรณ์ที่สุด เป็นแบบสองภาษาจีน-ไทย

      เต๋าเต็กเก็ง หรือเต๋าเต๋อจิง เป็นคัมภีร์ที่ว่ากันว่า เล่าจื๊อได้เขียนไว้

      และอื่นๆควรได้อ่านด้วยคือ คัมภีร์เต๋าของจวงจื่อ และคัมภีร์เต๋าของเลี่ยจื่อ แปลโดยปกรณ์ ลิมปนุสรณ์

      ทั้งหมดที่แนะนำมาเป็นคัมภีร์หลักที่ควรค่าแก่การศึกษาเป็นหลักเลยครับ(Text) โดยเฉพาะ เต๋าเต๋อจิง ครับ :)

      ลบ