https://jazzylj.blogspot.com นำความรู้ต่างๆมา "จับฉ่าย" ให้ย่อยง่ายเรียนรู้ได้ไม่ติดขัด ที่สำคัญนำไปประดับความรู้ได้ทันที ^_^ สร้างสรรค์สังคมแบ่งปันความรู้
Sponsor
22 กรกฎาคม 2561
Back At One for Kalimba - โน้ตเพลง Back At One สำหรับคาลิมบา
สวัสดีครับ บทความนี้เรามาฝึกหัดกับเพลงโปรดของผมกันครับ ด้วยเพลง Back At One ของ Brian McKnight เพลงนี้ถูกนำมาร้องใหม่หลายนักร้องมาก ๆ ครับ(และหลากหลายคีย์) เป็นการรับประกันถึงความนิยมได้ในระดับนึงเลยทีเดียว โดยโน้ตเพลงนี้ได้แปลงเป็น key C ไว้แล้ว เพื่อให้ง่ายต่อการเล่น โดยผมได้เรียบเรียงจากโน้ตเปียโนของ freepianosongs.blogspot.com มาใช้เล่นกับคาลิมบา โดยเรียบเรียงในรูปแบบง่าย ๆ แต่ครบถ้วนทั้งคอร์ดและทำนอง(เท่าที่จะเล่นได้ง่าย ๆ) จึงขอนำมาแบ่งปันไว้กับเพื่อน ๆ ณ ที่นี้ด้วยครับ เอาล่ะ ไปลุยกันเลยครับ! :D
ปล. ก่อนเล่นให้ฟังทำนองให้ติดหูก่อน จะช่วยได้มากครับ ;)
C=โด=1 D=เร=2 E=มี=3 F=ฟา=4 G=โซ=5 A=ลา=6 B=ที=7
เคล็ดลับในการอ่านโน้ตสากลสำหรับคาลิมบา
การอ่านโน้ตได้หลายแบบจะทำให้เราหาโน้ตเพลงมาเล่นได้มากมายโดยเฉพาะสำหรับฅนที่แกะเพลงไม่ค่อยเป็นแบบผม(๕๕๕บวก) ทั้งโน้ตแบบตัวเลข ตัวอักษรไทย ตัวอักษรอังกฤษ และอื่น ๆ โดยเฉพาะโน้ตสากลซึ่งได้รวบรวมเพลงไว้มากมายในรูปแบบนี้ เพราะตัวมันบันทึกทั้งโน้ตและจังหวะเอาไว้ ทำให้เป็นการบันทึกที่ดนตรีสมบูรณ์ที่สุดในรูปแบบการเขียน แต่มันอาจดูเป็นยาขมสำหรับมือใหม่ เพราะเหมือนการฝึกภาษาใหม่กันเลยทีเดียว แต่บทความนี้ผมจะแนะนำเคล็ดลับสำหรับคาลิมบาในการอ่านโน้ตสากลอย่างง่าย ๆ กันครับ
หลักการก็คือ ลองสังเกตโน้ตที่ทับเส้นดูนะครับ โน้ตทับเส้นทั้งหมด จะเป็นโน้ตฝั่งขวา เป็นแบบเรียงตามลิ่มเลยจากล่างขึ้นบน
ส่วนตัวโน้ตระหว่างเส้นทั้งหมด จะเป็นโน้ตฝั่งซ้าย ซึ่งก็เรียงตามลิ่มอีกเช่นกันครับ จากล่างขึ้นบน
โน้ตจะขยับขึ้นไปที่ละเส้นทีละช่อง ตามระดับเสียง อยู่ต่ำก็เสียงต่ำ อยู่สูงก็เสียงสูง
แต่ละโน้ตชื่ออะไร ให้ลองเทียบดูจากชื่อดูนะครับ ;)
C=โด=1 D=เร=2 E=มี=3 F=ฟา=4 G=โซ=5 A=ลา=6 B=ที=7
แค่นี้เองล่ะครับเคล็ดลับในการนำโน้ตสากลมาเล่นกับคาลิมบา ไม่ยากใช่มั้ยครับ ลองทำความเข้าใจดูอีกครั้งสั้น ๆ กันครับ คือ โน้ตทับเส้นฝั่งขวา โน้ตระหว่างเส้นฝั่งซ้าย
ทีนี้เพื่อน ๆ ก็สามารถอ่านโน้ตไมากขึ้นอีกแบบนึงแล้วครับ ;)
ไม่ต้องรอให้ใครแปลงโน้ตให้อีกต่อไป(แปลงเองเลย!)
หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อน ๆ ไม่มากก็น้อยนะครับ
สำหรับบทความนี้เท่านี้ก่อน
ไว้เจอกันบทความหน้า
สวัสดีครับ ^_^
หลักการก็คือ ลองสังเกตโน้ตที่ทับเส้นดูนะครับ โน้ตทับเส้นทั้งหมด จะเป็นโน้ตฝั่งขวา เป็นแบบเรียงตามลิ่มเลยจากล่างขึ้นบน
ส่วนตัวโน้ตระหว่างเส้นทั้งหมด จะเป็นโน้ตฝั่งซ้าย ซึ่งก็เรียงตามลิ่มอีกเช่นกันครับ จากล่างขึ้นบน
โน้ตจะขยับขึ้นไปที่ละเส้นทีละช่อง ตามระดับเสียง อยู่ต่ำก็เสียงต่ำ อยู่สูงก็เสียงสูง
แต่ละโน้ตชื่ออะไร ให้ลองเทียบดูจากชื่อดูนะครับ ;)
C=โด=1 D=เร=2 E=มี=3 F=ฟา=4 G=โซ=5 A=ลา=6 B=ที=7
แค่นี้เองล่ะครับเคล็ดลับในการนำโน้ตสากลมาเล่นกับคาลิมบา ไม่ยากใช่มั้ยครับ ลองทำความเข้าใจดูอีกครั้งสั้น ๆ กันครับ คือ โน้ตทับเส้นฝั่งขวา โน้ตระหว่างเส้นฝั่งซ้าย
ทีนี้เพื่อน ๆ ก็สามารถอ่านโน้ตไมากขึ้นอีกแบบนึงแล้วครับ ;)
ไม่ต้องรอให้ใครแปลงโน้ตให้อีกต่อไป(แปลงเองเลย!)
หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อน ๆ ไม่มากก็น้อยนะครับ
สำหรับบทความนี้เท่านี้ก่อน
ไว้เจอกันบทความหน้า
สวัสดีครับ ^_^
Canon in Kalimba - โน้ตเพลงแคนน่อนสำหรับคาลิมบา
สวัสดีครับเพื่อน ๆ ชาวคาลิมบาทุกท่าน ครั้งนี้ผมได้เรียบเรียงเพลงแคนน่อนแบบย่อ ๆ คัดมาเฉพาะท่อนหลัก ๆ ให้ได้ลองฝึกหัดกัน เป็นเพลงคุ้นหูของทุกท่าน ๆ แน่นอน นั่นคือ Canon in D ของ Johann Pachelbel ซึ่งผมได้แปลงเป็นคีย์ C สำหรับคาลิมบาแล้ว ไม่พูดพล่ามแต่ไปทำเพลงกันเลยดีกว่าครับ ;)
ผมเรียบเรียงมากจากโน้ตนี้นะครับ ใครที่อยากได้โน้ตเว่อร์ชั่นเต็มคีย์ C ดูได้จากที่นี่เลยครับ Canon in D for Quartet Harmonica - เพลงแคนน่อนสำหรับวงฮาร์โมนิก้าสี่ชิ้น
เพลงนี้เป็นเพลงที่มีโน้ตเยอะและเร็วมาก ให้เริ่มเล่นจากช้า ๆ ก่อนนะครับ จนจำโน้ตจำตำแหน่งได้แล้วจึงค่อย ๆ เร่งความเร็วขึ้นมา ต้องอาศัยเวลาพอสมควรครับ
C=โด=1 D=เร=2 E=มี=3 F=ฟา=4 G=โซ=5 A=ลา=6 B=ที=7
สำหรับบทความนี้เท่านี้ก่อนครับ
ไว้เจอกันใหม่บทความหน้า
สวัสดีครับ ^_^
ผมเรียบเรียงมากจากโน้ตนี้นะครับ ใครที่อยากได้โน้ตเว่อร์ชั่นเต็มคีย์ C ดูได้จากที่นี่เลยครับ Canon in D for Quartet Harmonica - เพลงแคนน่อนสำหรับวงฮาร์โมนิก้าสี่ชิ้น
เพลงนี้เป็นเพลงที่มีโน้ตเยอะและเร็วมาก ให้เริ่มเล่นจากช้า ๆ ก่อนนะครับ จนจำโน้ตจำตำแหน่งได้แล้วจึงค่อย ๆ เร่งความเร็วขึ้นมา ต้องอาศัยเวลาพอสมควรครับ
C=โด=1 D=เร=2 E=มี=3 F=ฟา=4 G=โซ=5 A=ลา=6 B=ที=7
สำหรับบทความนี้เท่านี้ก่อนครับ
ไว้เจอกันใหม่บทความหน้า
สวัสดีครับ ^_^
07 กรกฎาคม 2561
Kalimba Basic Chord Guide - แนะนำคอร์ดเบื้องต้นสำหรับคาลิมบา
สวัสดีครับ หลังจากเขียนบทความเรื่อง Kalimba Thumb Piano for Beginner - วิธีเล่น คาลิมบา เปียโนนิ้วโป้ง สำหรับผู้เริ่มต้น และตั้งกลุ่ม Kalimba Club Thailand - คลับคนรักคาลิมบา ซึ่งก็มีสมาชิกเข้ามาไม่ขาดสาย ซึ่งเกินคาดมาก ๆ ครับสำหรับเจ้าคาลิมบานี้ มีฅนเก่ง ๆ มากมายเลยครับในกลุ่ม และได้มีเพื่อน ๆ มือใหม่หลายท่านสอบถามถึงเรื่องการเล่นคอร์ดเข้ามามาก ซึ่งผมเห็นว่าเรื่องนี้ก็อาจเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อน ๆ ที่สนใจท่านอื่นด้วย จึงได้เรียบเรียงเป็นบทความนี้ขึ้นมาครับ
อันดับแรกเพื่อน ๆ ต้องรู้ชื่อโน้ตบนลิ่มของคาลิมบาก่อนนะครับ ซึ่งก็ดูได้ตาม Chart ที่ให้ไว้ข้างล่างนี้ แล้วทีนี้เรามาดูกันว่า แต่ละคอร์ดประกอบด้วยโน้ตอะไรกันบ้าง โดยคอร์ดเบื้องต้นสำหรับคาลิมบามีดังนี้ครับ
C=โด=1 D=เร=2 E=มี=3 F=ฟา=4 G=โซ=5 A=ลา=6 B=ที=7
ชื่อคอร์ด = โน้ตในคอร์ด
C = CEG
Dm = DFA
Em = EGB
F = FAC
G = GBD
Am = ACE
Bm = BD
Bdim = BDF
Cmaj7 = CEGB
Dm7 = DFAC
Em7 = EGBD
Fmaj7 = FACE
G7 = GBDF
Am7 = ACEG
ลองดูตำแหน่งโน้ตในคอร์ดต่าง ๆ บนลิ่มคาลิมบา ส่วนใหญ่จะเรียงติดกันครับ ทีนี้ก็สามารถนำชุดโน้ตเหล่านี้ไปใช้เล่นได้แล้วล่ะครับ
หมายเหตุ บทความต่อจากนี้อาจทำให้ปวดหัวจนถึงขั้นนอนซมได้! ใครสนใจศึกษาก็สามารถอ่านเข้าใจได้ไม่ยาก แต่ควรเตรียมยาแก้ปวดไว้ด้วยนะครับ(ฮา) หากไม่ต้องการปวดหัวจากการอ่านบทความต่อจากนี้ก็สามารถข้ามไปอ่านช่วงท้ายได้เลยครับ(ฮา)
============================
ทีนี้เรามาลงลึกเกี่ยวกับคอร์ดกันอีกสักนิดครับเพื่อความเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์เองได้ต่อไปครับ
คอร์ดในทางดนตรีหมายถึงกลุ่มโน้ตตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป อย่างเช่น คอร์ด C ก็จะมีโน้ต C E G (โด มี โซ) เป็นกลุ่มโน้ตที่เล่นออกมาประสานเสียงกัน
โดยตัวคอร์ดนั้นไม่ได้สนใจว่าโน้ตไหนจะสูงหรือจะต่ำ เพียงแค่ขอให้มีโน้ตตามสูตรก็เพียงพอ เช่น จะเล่นคอร์ด C เป็น CEG, EGC, GCE หรือจะสลับกันยังไงก็ได้ครับ ก็ยังถือเป็นคอร์ด C อยู่นั่นเอง(ถ้าอยากรู้ว่าหาโน้ตในคอร์ดอย่างไร แล้วทำไมคอร์ดนี้ถึงชื่อแบบนี้ ต้องศึกษาสูตรคอร์ดครับ ซึ่งค่อยข้างลงไปลึกพอสมควร ยังไม่ขอพูดถึงในที่นี้นะครับ ถ้าสนใจสามารถศึกษาได้จาก ทฤษฎีดนตรี ครับ) อย่างเช่นกีต้าร์ 6 สาย เวลาเล่นคอร์ด C กีต้าร์ก็จะเล่นโน้ต C E G C E G สายละโน้ตจนครบทุกสายเสียงสูงต่ำต่างกันไป ในคอร์ด C ก็มีโน้ตเท่านี้แหละครับ ให้ดีดคอร์ด C ทีละเส้นเสียงที่ได้ก็ไม่พ้นโน้ต C E G ครับ ไม่ว่าจะมีกีสิบสายก็เล่นคอร์ด C แค่ 3 โน้ตนี้ครับ ถ้าเป็นวงโยทวาธิตก็แบ่งโน้ตกันเป่าครับจะเล่นกี่เสียงสูงต่ำยังไงก็ได้ของให้มีโน้ตตามนี้เท่านั้นเอง
ในการเล่นคอร์ด เราจะเล่นพร้อมกันทุกโน้ตหรือจะเล่นทีละโน้ตก็ตามแต่ต้องการหรือตามความเหมาะสม แต่ในการเล่นจริง ๆ อาจไม่จำเป็นต้องเล่นครบโน้ตในคอร์ดก็ได้ครับ บางโน้ตอาจจะละไว้บ้างก็ไม่เป็นไร ขอแค่ให้เล่นแล้วลงตัวก็เพียงพอครับ เช่น ถ้าเจอคอร์ดนอกคีย์อย่าง Cm = C Eb G ซึ่งเราไม่มีโน้ต Eb เราก็จะเลือกเล่นแค่ C และ G ก็ได้ หรือเล่น C อย่างเดียวก็ได้(การเลือกเล่นโน้ตคอร์ดแค่ตัวเดียว ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกโน้ตที่เป็นชื่อคอร์ด) โน้ตไหนไม่มีหรือเล่นไม่ได้ก็ละไปได้ไม่เป็นไรครับ
โน้ตในคอร์ดก็เป็นโน้ตเดียวกับคอร์ดสากลของเครื่องดนตรีอื่น ๆ แม้ของคาลิมบาจะดูเหมือนมีน้อย แต่จริง ๆ ยังเล่นได้มากกว่านี้อีกครับ ซึ่งสามารถศึกษาได้จากทฤษฎีดนตรี นอกจากนี้เราสามารถยังสามารถเล่นได้แทบทุกคอร์ดเลยล่ะถ้าศึกษาเทคนิคการใช้คอร์ดแทนเพิ่มเติมด้วยครับ
============================
เพียงคอร์ดที่ได้แนะนำไว้นี้ก็สามารถเล่นได้ครอบคลุมสำหรับคาลิมบาแล้วล่ะครับ ลองดูแนวคิดการเล่นคอร์ดเพิ่มเติมได้จาก Music Basic for Kalimba - โน้ตเพลงเบื้องต้นสำหรับคาลิมบา
แบบฝึกหัดสำหรับบทความนี้ ให้ลองเล่นคอร์ดตามนี้ครับ ชุดคอร์ดยอดนิยม
C/Am/F/G
C/Am/Dm/G7
C/Em/F/G
เมื่อมึนกันพอสมควรแล้วผมก็ขอตัว(ฮา)
ไว้เจอกันบทความหน้าครับ
สวัสดีครับ ^-^
อันดับแรกเพื่อน ๆ ต้องรู้ชื่อโน้ตบนลิ่มของคาลิมบาก่อนนะครับ ซึ่งก็ดูได้ตาม Chart ที่ให้ไว้ข้างล่างนี้ แล้วทีนี้เรามาดูกันว่า แต่ละคอร์ดประกอบด้วยโน้ตอะไรกันบ้าง โดยคอร์ดเบื้องต้นสำหรับคาลิมบามีดังนี้ครับ
C=โด=1 D=เร=2 E=มี=3 F=ฟา=4 G=โซ=5 A=ลา=6 B=ที=7
ชื่อคอร์ด = โน้ตในคอร์ด
C = CEG
Dm = DFA
Em = EGB
F = FAC
G = GBD
Am = ACE
Bm = BD
Bdim = BDF
Cmaj7 = CEGB
Dm7 = DFAC
Em7 = EGBD
Fmaj7 = FACE
G7 = GBDF
Am7 = ACEG
ลองดูตำแหน่งโน้ตในคอร์ดต่าง ๆ บนลิ่มคาลิมบา ส่วนใหญ่จะเรียงติดกันครับ ทีนี้ก็สามารถนำชุดโน้ตเหล่านี้ไปใช้เล่นได้แล้วล่ะครับ
หมายเหตุ บทความต่อจากนี้อาจทำให้ปวดหัวจนถึงขั้นนอนซมได้! ใครสนใจศึกษาก็สามารถอ่านเข้าใจได้ไม่ยาก แต่ควรเตรียมยาแก้ปวดไว้ด้วยนะครับ(ฮา) หากไม่ต้องการปวดหัวจากการอ่านบทความต่อจากนี้ก็สามารถข้ามไปอ่านช่วงท้ายได้เลยครับ(ฮา)
============================
ทีนี้เรามาลงลึกเกี่ยวกับคอร์ดกันอีกสักนิดครับเพื่อความเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์เองได้ต่อไปครับ
คอร์ดในทางดนตรีหมายถึงกลุ่มโน้ตตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป อย่างเช่น คอร์ด C ก็จะมีโน้ต C E G (โด มี โซ) เป็นกลุ่มโน้ตที่เล่นออกมาประสานเสียงกัน
โดยตัวคอร์ดนั้นไม่ได้สนใจว่าโน้ตไหนจะสูงหรือจะต่ำ เพียงแค่ขอให้มีโน้ตตามสูตรก็เพียงพอ เช่น จะเล่นคอร์ด C เป็น CEG, EGC, GCE หรือจะสลับกันยังไงก็ได้ครับ ก็ยังถือเป็นคอร์ด C อยู่นั่นเอง(ถ้าอยากรู้ว่าหาโน้ตในคอร์ดอย่างไร แล้วทำไมคอร์ดนี้ถึงชื่อแบบนี้ ต้องศึกษาสูตรคอร์ดครับ ซึ่งค่อยข้างลงไปลึกพอสมควร ยังไม่ขอพูดถึงในที่นี้นะครับ ถ้าสนใจสามารถศึกษาได้จาก ทฤษฎีดนตรี ครับ) อย่างเช่นกีต้าร์ 6 สาย เวลาเล่นคอร์ด C กีต้าร์ก็จะเล่นโน้ต C E G C E G สายละโน้ตจนครบทุกสายเสียงสูงต่ำต่างกันไป ในคอร์ด C ก็มีโน้ตเท่านี้แหละครับ ให้ดีดคอร์ด C ทีละเส้นเสียงที่ได้ก็ไม่พ้นโน้ต C E G ครับ ไม่ว่าจะมีกีสิบสายก็เล่นคอร์ด C แค่ 3 โน้ตนี้ครับ ถ้าเป็นวงโยทวาธิตก็แบ่งโน้ตกันเป่าครับจะเล่นกี่เสียงสูงต่ำยังไงก็ได้ของให้มีโน้ตตามนี้เท่านั้นเอง
ในการเล่นคอร์ด เราจะเล่นพร้อมกันทุกโน้ตหรือจะเล่นทีละโน้ตก็ตามแต่ต้องการหรือตามความเหมาะสม แต่ในการเล่นจริง ๆ อาจไม่จำเป็นต้องเล่นครบโน้ตในคอร์ดก็ได้ครับ บางโน้ตอาจจะละไว้บ้างก็ไม่เป็นไร ขอแค่ให้เล่นแล้วลงตัวก็เพียงพอครับ เช่น ถ้าเจอคอร์ดนอกคีย์อย่าง Cm = C Eb G ซึ่งเราไม่มีโน้ต Eb เราก็จะเลือกเล่นแค่ C และ G ก็ได้ หรือเล่น C อย่างเดียวก็ได้(การเลือกเล่นโน้ตคอร์ดแค่ตัวเดียว ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกโน้ตที่เป็นชื่อคอร์ด) โน้ตไหนไม่มีหรือเล่นไม่ได้ก็ละไปได้ไม่เป็นไรครับ
โน้ตในคอร์ดก็เป็นโน้ตเดียวกับคอร์ดสากลของเครื่องดนตรีอื่น ๆ แม้ของคาลิมบาจะดูเหมือนมีน้อย แต่จริง ๆ ยังเล่นได้มากกว่านี้อีกครับ ซึ่งสามารถศึกษาได้จากทฤษฎีดนตรี นอกจากนี้เราสามารถยังสามารถเล่นได้แทบทุกคอร์ดเลยล่ะถ้าศึกษาเทคนิคการใช้คอร์ดแทนเพิ่มเติมด้วยครับ
============================
เพียงคอร์ดที่ได้แนะนำไว้นี้ก็สามารถเล่นได้ครอบคลุมสำหรับคาลิมบาแล้วล่ะครับ ลองดูแนวคิดการเล่นคอร์ดเพิ่มเติมได้จาก Music Basic for Kalimba - โน้ตเพลงเบื้องต้นสำหรับคาลิมบา
แบบฝึกหัดสำหรับบทความนี้ ให้ลองเล่นคอร์ดตามนี้ครับ ชุดคอร์ดยอดนิยม
C/Am/F/G
C/Am/Dm/G7
C/Em/F/G
เมื่อมึนกันพอสมควรแล้วผมก็ขอตัว(ฮา)
ไว้เจอกันบทความหน้าครับ
สวัสดีครับ ^-^
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)