Sponsor

18 ตุลาคม 2561

KenKen - เกมเคนเคนเลขอัจฉริยะ

ศึกษาวิธีเล่นแล้วลองมาแก้โจทย์นี้ประเดิมได้เลยครับ

KenKen หรือ เคนเคน เป็นเกมแนว Logic Puzzle คิดค้นในปี 2004 โดยอาจารย์คณิตศาสตร์นาม Tetsuya Miyamoto โดยชื่อเกมมาจากคำว่า 賢 (Ken)ซึ่งแปลว่า ความฉลาดปราดเปรื่อง เกมนี้รู้จักในชื่ออื่นๆอีกครับเช่น KenDoku, Calcudoku Mathdoku และ Keen
ส่วนตัวผมรู้สึกว่าเกมนี้มีวิธีการเล่นคล้าย Sudoku ผสมกับ Kakuro ใครที่ชอบแนวคำนวนหัวร้อนจะต้องชอบ KenKen อย่างแน่นอนครับ(มาชวนหัวร้อนไปด้วยกัน ๕๕๕บวก)

Ken​Ken​​ มีตาราง​หลาย​ขนาด​ เช่น​ 3​×​3, ​4​×​4, ​5​×​5, ​6​×​6​ และอื่นๆ
โดยจะมีกติกาการเล่นดังนี้
  1. เลขในแนวตั้งและแนวนอนต้องไม่ซ้ำกัน
  2. ตัวเลขที่ใส่ในกรอบเส้นทึบ(cages)จะต้องมีผลลัพธ์เท่ากับตัวเลขที่กำหนด เช่น 3+ หมายถึง ให้ใส่ตัวเลขที่ บวก(+) กันแล้วผลลัพธ์เท่ากับ 3 ลงในกรอบเส้นทึบ
แค่นี้เองครับ ในการใส่ตัวเลขนั้นก็แล้วแต่ว่าเราเล่นตารางขนาดเท่าไหร่ ถ้าเล่น 3x3 ก็จะใส่ตัวเลข 1ถึง3 ถ้าเล่น 4x4 ก็ใส่ตัวเลข 1ถึง4 ถ้าเล่น 7x7 ก็ใส่ 1ถึง7 ฯลฯ จะเห็นว่ายิ่งตารางใหญ่ก็จะยิ่งต้องคำนวนซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆครับ โดยตารางมาตราฐานในการแข่งกันจะอยู่ที่ 9x9 เลยครับ! OMG!

มาลองดูคลิปสอนเล่นแบบง่ายๆกันครับ เพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น




แล้วจะเล่น KenKen ได้จากที่ไหนกันบ้าง?
เว็บอย่างเป็นทางการก็ต้องที่ https://www.kenkenpuzzle.com มีให้เลือกหลายขนาด

อีกช่องทางคือแอปเล่นบนมือถือ Simon Tatham's Puzzles เป็นแอปเล็กๆที่มีเกมให้เล่นถึง 39 Puzzles โดยในแอปนี้ได้เปลี่ยนชื่อเพื่อเลี่ยงลิขสิทธิ์โดยเปลี่ยน KenKen เป็น Keen, Sudoku เป็น Solo, Hitori(เกมนี้ก็สนุกนะ) เป็น Singles ฯลฯ เป็นต้นครับ และเกมมี Puzzle อีกมากมายให้เลือกเล่นในขนาดไฟล์ไม่ถึง 10 MB แอปนี้มีให้ลงในคอมฯที่ใช้ Linux ด้วยครับ หรือระบบปฏิบัติการอื่นๆก็สามารถเข้าไปเล่น KenKen (หรือ Keen ในเว็บนี้) หรือเล่นผ่านหน้าเว็บโดยตรงได้ที่ https://www.chiark.greenend.org.uk/~sgtatham/puzzles/js/keen.html

ในประเทศไทยก็เคยมีการเผยแพร่ KenKen กันอยู่พักนึงเหมือนกัน แต่ดูเหมือนจะยังไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่ ผมก็อยากเป็นอีกแรงหนึ่งที่ช่วยแนะนำเกม Puzzle ดีๆที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เกมที่ผมเล่นแล้วชอบก็อยากให้ฅนที่ชอบเหมือนกันได้รู้จักกับมันด้วย จะได้เป็นทางเลือกในนำไปเล่นเพื่อความบันเทิง(แบบหัวร้อน ๕๕๕บวก) และใช้เวลาว่างในการฝึกการคิดคำนวน เด็กก็เล่นได้ ผู้ใหญ่ก็เล่นดี โดยต่างประเทศมีการใช้ KenKen เป็นสื่อการสอนในวิชาคณิตศาสตร์ด้วยนะครับ เด็กๆที่คิดว่าคณิตศาสตร์คือยาขม แต่เมื่อได้เล่น KenKen แล้ว ยาขมก็เป็นขนมหวาน...ที่อาจชวนหัวร้อนไปบ้างก็ตาม ๕๕๕บวก

โอเคครับ สำหรับบทความนี้เท่านี้ก่อนครับ
ไว้เจอกันบทความหน้า
สวัสดีครับ ^_^



ศึกษาเพิ่มเติม
https://en.wikipedia.org/wiki/KenKen
https://library.ipst.ac.th/bitstream/handle/ipst/1003/173_35_37_%E0%B8%9B%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%20%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2.pdf?sequence=1&isAllowed=y

https://www.chiark.greenend.org.uk/~sgtatham/puzzles/
https://krazydad.com/inkies/

2 ความคิดเห็น:

  1. อยากทราบหลักในการตั้งโจทย์ของเคนเคนอ่ะค่ะ สามารถหาข้อมูลจากที่ไหนได้บ้างคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ลองเล่นให้พอเข้าใจก็น่าจะพอตั้งโจทย์เองได้เหมือนกันครับ มันจะคล้ายๆ Sudoku ที่มีการคำนวณ แต่ผมคิดว่าใช้โปรแกรมคำนวณขึ้นมาจะสะดวกกว่าครับ
      ลองเข้าไปที่ https://www.chiark.greenend.org.uk/~sgtatham/puzzles/js/keen.html แล้วตั้งค่าให้โปรแกรมสุ่มโจทย์ได้ตามต้องการครับ
      หรือเป็นโหลดโจทย์เป็น pdf ฟรี ได้ที่ https://krazydad.com/inkies/ เลยครับผม

      ลบ