Sponsor

03 กันยายน 2563

夏桑菊 XiaSangJu - เซียซางจู เครื่องดื่มสมุนไพรมากประโยชน์

ส่วนผสมของเซียซางจู

夏桑菊 Xiàsāngjú หรือที่เรียกกันว่า เซียซางจู เป็นสูตรที่คิดค้นโดย อู๋จูทง(吳鞠通) ในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งยาสูตรนี้มีบทบาทอย่างมากในช่วงที่เกิดโรคระบาดที่ประเทศจีนในมณฑลเจียงซูและเจ้อเจียงช่วง ค.ศ. 1814
ในปี ค.ศ. 2007 นักวิจัยจาก Hong Kong University of Science and Technology พบสารประกอบที่อาจช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของ H5N1(ไข้หวัดนก) และโรคไข้หวัดได้ เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรฤทธิ์เย็น ประกอบด้วยสมุนไพร 3 ชนิด คือ

夏枯草 แห่โกวเช่า (เซี่ยคูเฉ่า, Self-heal, Heal-all, Prunella vulgaris) 4-8 กรัม
野菊花 เก๊กฮวยป่า (Chrysanthemum lavandulifolium) 3-6 กรัม
冬桑葉 ใบหม่อน (Mulberry leaf) 2-4 กรัม

สามารถเพิ่มลดได้ตามสัดส่วน(4:3:2) หรือปรับปริมาณสมุนไพรได้ตามความเหมาะสมของแต่ละคน
เอาสมุนไพรทั้งหมดมาล้างน้ำเสร็จแล้ว นำมาแช่น้ำให้พองประมาณ 15-30 นาที จากนั้นขึ้นเตาตั้งไฟแรงให้เดือด แล้วลดเป็นไฟอ่อนต้มต่ออีกประมาณ 30 นาที กรองเอาน้ำมาดื่ม ใส่หรือไม่ใส่น้ำตาลก็ได้ตามชอบ
ต้มซ้ำได้ ลดน้ำลงครึ่งหนึ่ง

สรรพคุณ
ชำระร้อนในตับทำให้การมองเห็นสว่างขึ้น บำรุงสายตา ขับลมกระจายร้อน ขจัดชื้น ปวดชา ถอนพิษ ทำให้สดชื่น
แก้ร้อนใน แก้เจ็บคอ แก้ไอ(เสมหะหนา เหนียว เหลือง) เสริมภูมิคุ้มกันและบรรเทาไข้หวัด(ร้อน) ลดความดันโลหิต แก้วิงเวียน แก้ปวดหัว แก้หูอื้อ แก้ตาแดง ลดบวม แก้ปวดตา กลัวแสง กลัวลม ฯลฯ
แก้โรคเริมที่ริมฝีปาก(Oral herpes, HSV-1)ที่เกิดจากลมร้อน ชำระความร้อนในปอด เป็นสูตรอ่อนโยนสำหรับโรคผิวหนังหรือโรคปอดที่เกิดจากลมร้อน

ปัจจุบันมีขายเป็นซองเกล็ดละลายน้ำดื่ม ชงง่าย ไม่ต้องต้ม

ต้มสดสรรพคุณแน่น
นุ่ม หอม สัมผัสละมุน รสกลมกล่อม คล่องคอ

🛒สั่งซื้อชุดสมุนไพรเซียซางจูสำหรับต้มได้ที่ shopee https://shopee.co.th/product/83249973/14091969509?smtt=0.83251451-1661788722.9
🛒สั่งซื้อเซี่ยซางจูแบบผงชงได้ที่ https://shope.ee/8UljycMvg4

เซียซางจู อาจรู้จักอีกชื่อว่า ซางจูหยิน(桑菊飲 Sang Ju Yin) อาจมีการปรับสูตรเพิ่มเติมแตกต่างกันไปจากสูตรหลักนี้ได้

อ้างอิงและศึกษาเพิ่มเติม
https://baike.baidu.com/item/%E5%A4%8F%E6%A1%91%E8%8F%8A

Five Flower Tea - ชาห้าบุปผา - 五花茶


ไปเจอชาดอกไม้ชุดนึงน่าสนใจ เป็นชาดอกไม้ 5 ชนิด ยังไม่เห็นแบบสำเร็จรูปในประเทศไทย คงต้องจัดชุดตามร้านยาจีนทั่วไป ใช้ปริมาณเท่าๆกันหรือตามชอบ เหมาะสำหรับดื่มในฤดูร้อน

五花茶 ชาห้าบุปผา

ประกอบด้วย
金銀花 ดอกสายน้ำผึ้ง
菊花 เก๊กฮวย
槐花 ไฮว่ฮวย(Sophora japonica linne)
木棉花 บักมีฮวย(ดอกงิ้วแดง)
雞蛋花 ดอกลีลาวดี

สรรพคุณ
ชำระร้อนตับ ขจัดไฟหัวใจ ดับร้อนขจัดชื้น



อ้างอิง
https://baike.baidu.com/item/%E4%BA%94%E8%8A%B1%E8%8C%B6

ดนตรีบำบัดตามหลักปรัชญาจีน

เราเคยนำเสนอบทความ Solfeggio Frequency - ความถี่บำบัด ซึ่งเป็นไปตามหลักของตะวันตก บทความนี้เราจะมาพูดถึงดนตรีบำบัดในทางปรัชญาตะวันออก ซึ่งก็คือปรัชญาจีนกันบ้าง
ในปรัชญาจีนนั้นมีหลักห้าธาตุ(五行)ที่ใช้ในการวิเคราะห์สิ่งต่างๆแนวทางการก่อกำเนิดและการข่ม
ไม้กำเนิดไฟ ไฟกำเนิดดิน ดินกำเนิดทอง(โลหะ) ทองกำเนิดน้ำ น้ำกำเนิดไม้
ไม้ข่มดิน ดินข่มน้ำ น้ำข่มไฟ ไฟข่มทอง ทองข่มไม้

ห้าธาตุ 木ไม้ 火ไฟ 土ดิน 金ทอง 水น้ำ
 กำเนิดและข่ม

หลักการจำส่วนตัวของเราคือ
ไม้เป็นเชื้อไฟจึงกำเนิดไฟ ไฟเมื่อเผาไหม้เป็นขี้เถ้า(ดิน)จึงกำเนิดดิน ดินทับถมกันเกิดแร่ธาตุ(ทอง)จึงกำเนิดทอง ทองเมื่อละลายเป็นของเหลว(น้ำ)จึงกำเนิดน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงให้ต้นไม้เติบโตจึงกำเนิดไม้
ไม้ลงรากชอนไชดินจึงข่มดิน ดินกักน้ำในบ่อไว้ได้จึงข่มน้ำ น้ำดับไฟจึงข่มไฟ ไฟหลอมทองได้จึงข่มทอง ทอง(โลหะ)นำมาทำเป็นขวานฟันตัดต้นไม้ได้จึงข่มไม้

ซึ่งอารมณ์ อวัยวะภายใน และสรรพสิ่งต่างๆก็ถูกแทนค่าด้วยห้าธาตุเหล่านี้
ไม้ = โกรธ ตับ เปรี้ยว ฯลฯ
ไฟ = ดีใจ หัวใจ ขม ฯลฯ
ดิน = คิดมาก ม้าม หวาน ฯลฯ
ทอง = เศร้า ปอด เผ็ด ฯลฯ
น้ำ = กลัว ไต เค็ม ฯลฯ

หลักการใช้อารมณ์คุมอารมณ์ เช่น ใช้หลักข่มเข้าไปจัดการ เช่น หากโกรธ(ไม้)มากเกินไป ก็ใช่ตัวข่มคือเศร้า(ทอง) เข้าไปขจัดความโกรธ เช่น เล่าเรื่องเศร้าให้คนโกรธฟังเพื่อคลายความโกรธ เป็นต้น แต่ต้องไม่มากเกินไปจนกลายเป็นข่มเกิน หรือนำไปปรับใช้แบบการกำเนิดก็ได้

โน้ตดนตรีก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับอารมณ์ในหลักห้าธาตุเช่นกัน สามารถมาใช้บำบัดได้ เพียงใช้กำเนิดหรือข่มให้เหมาะสมกับอาการ ซึ่งโน้ตดนตรีจีนมีห้าตัวคือ

เสียง 宮(กง) ธาตุดิน(土) โน้ตตัวโด(C)
มีลักษณะเสียงจม สงบ ทำนองเดียว ให้ความรู้สึกแน่นแต่กว้าง มีอิทธิพลต่อม้าม
เสียง 商(ซัง) ธาตุทอง(金) โน้ตตัวเร(D)
มีลักษณะเสียงสูงก้องกังวาน ละม้ายเสียงโลหะกระทบกัน มีอิทธิพลต่อปอด ให้ความรู้สึกเศร้าแต่มีพลัง[ซึ้ง?]
เสียง 角(เจ๋ย์) ธาตุไม้(木) โน้ตตัวตัวมี(E)
มีลักษณะเสียงมีชีวิตชีวา เบิกบาน และปลอดโปร่งราวไม้ผลิใบ ดอกตูมคลี่กลีบ มีอิทธิพลต่อตับ
เสียง 徵(จรือ) ธาตุไฟ(火) โน้ตตัวซอล(G)
มีลักษณะเสียงอบอุ่น คึกคัก มีชีวิตชีวาแต่ก็สบายๆ ไล่ระดับชัดเจน มีอิทธิพลต่อหัวใจ
เสียง 羽(อี่ว์) ธาตุน้ำ(水) โน้ตตัวลา(A)
มีลักษณะเสียงสะอาดบริสุทธิ์ นุ่นนวล ให้ความรู้สึกวิเวกวังเวงและเศร้าสลด มีอิทธิพลต่อไต

*โน้ตจีนไม่มี ฟา(F) และ ที(B)

และแต่ละโน้ตแบ่งเป็นหยินหยาง(陰陽)
หยิน(陰)  เบา ช้า เย็น เป็นต้น ใช้รักษาอาการพร่อง ร้อน ภายใน เป็นมาเรื้อรัง
หยาง(陽) ดัง เร็ว ร้อน เป็นต้น ใช้รักษาอาการแกร่ง หนาว ภายนอก เกิดขึ้นเฉียบพลัน

ดังนั้นโน้ตจึงมี 10 แบบ คือ ดินหยิน ดินหยาง ทองหยิน ทองหยาง ฯลฯ
ใช้ทำนอง “หยิน” ในโรค “หยาง” (หยางแกร่ง,หยินพร่อง)   และใช้ทำนอง “หยาง” ในโรค “หยิน”(หยินแกร่ง,หยางพร่อง)

เปิดฟังวันละ 2-3 ครั้ง   ครั้งละ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง 10 นาที   ในห้องเงียบๆ เป็นส่วนตัว หรือใส่หูฟัง ขณะที่กำลังบำบัดปล่อยให้เพลงที่เลือกไว้เล่นไปเรื่อยๆ ไม่ควรปรับเปลี่ยนเพลงตามใจชอบยกเว้นว่าเกิดความเบื่อหน่าย

การเลือกใช้ก็อาศัยหลักกำเนิดและข่มของธาตุต่างๆตามหลักห้าธาตุ เลือกคีย์เพลง ลักษณะเสียง หรือโน้ต(ธาตุ)ที่เหมาะสม และเลือกทำนองช้าเร็ว ดังเบา(หยินหยาง)ที่เหมาะสม ส่วนตัวมองว่าหากไม่รู้ถึงโน้ตหรือคีย์ที่ใช้อาจเลือกจากลักษณะเสียงของธาตุนั้นๆก็ได้ หรือจะปรับใช้โน้ตความถี่ของ Solfeggio Frequency - ความถี่บำบัด ก็น่าสนใจไม่น้อย

ตัวอย่าง การนำไปใช้เบื้องต้น
คนที่รู้ตัวว่าเกิดโทสะง่าย   จนอาจมีอาการแน่นที่หัวใจหรือศีรษะ   แสดงถึงภาวะ “หยาง” ตับกระแทกด้านบน   ก็อาจจะเลือกเพลงที่เน้นโน้ตตัวซอล   หรือมีเครื่องดนตรีที่ก่อเสียงคล้ายโลหะกระทบกัน   หรือมีเสียงสูงก้องกังวาน   ในทำนองที่เนิบช้า   เพราะเสียงเหล่านี้จัดเป็นธาตุ “ทองหยิน” ข่มความโกรธที่เป็นธาตุไม้
แต่ถ้าหากมีอาการอึดอัด   แน่น   ถอนหายใจบ่อย   แสดงถึงภาวะชี่ของตับอุดตัน   ก็ต้องใช้เพลงที่เน้นโน้ตตัวมี   ในทำนองรื่นเริง   เร็ว   ที่สามารถระบายตับปรับชี่มาฟังร่วมกับโน้ตตัวซอล

ในภาษาจีนคำว่า ดนตรี คือ 樂 และ ยารักษาโรค คือ 藥 จะเห็นว่าคำว่ายานั้นมีการเติมสัญลักษณ์ 艹 หญ้าสมุนไพร บนคำว่า ดนตรี แสดงให้เห็นว่าในทางปรัชญาจีน ดนตรีก็เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาโรค นับเป็นความเชื่อที่มีมาอย่างยาวนานนับพันๆปีมาแล้ว
จะเห็นได้ว่าปรัชญาจีนนั้นแฝงอยู่ในทุกสิ่ง แม้กระทั่งความถี่เสียง ทุกสรรพสิ่งสามารถแยกแยะเป็นห้าธาตุและหยินหยางได้หมด ทั้งยังสามารถใช้หลักกำเนิด/ข่มในแบบเดียวกันได้ด้วย เพื่อเข้าใจการเปลี่ยนแปลง การนำไปใช้จึงจำเป็นต้องศึกษาปรัชญาจีนเพิ่มเติมเพื่อตีความอย่างเหมาะสมต่อไป ทั้งห้าธาตุและหยินหยาง

แถม