Sponsor

05 กุมภาพันธ์ 2566

บุ๊นและบู๊ - บทบาทและหน้าที่กับการค้นหาตัวตน

Photo by Dương Nhân:
t.ly/p-zD
บุ๋น(文) แปลว่า ตัวหนังสือ เป็นการบอกว่า ต้องข้องเกี่ยวกับหนังสือเป็นหลัก ดังนั้น สายบุ๋นจะไม่อ่านหนังสือไม่ได้บู๊(武) แปลว่า การยุทธ์ เป็นการบอกว่า ต้องข้องเกี่ยวกับเครื่องมือ(อาวุธ)เป็นหลัก ดังนั้น สายบู๊จะไม่ฝึกใช้เครื่องมือไม่ได้

ในสายบุ๋น ก็แบ่งย่อยได้เป็น บุ๋นและบู๋ เช่น ครูภาษาไทย(บุ๋นในบุ๋น) กับ ครูพละ(บู๊ในบุ๋น) แต่โดยรวมก็เรียกว่าสายบุ๋น
ในสายบู๊ ก็แบ่งย่อยได้เป็น บุ๋นและบู๋ เช่น ทนาย(บุ๋นในบู๊) กับ ตำรวจ(บู๊ในบู๊) แต่โดยรวมก็เรียกว่าสายบู๊

ในชีวิตทุกคนต้องเรียนรู้ทั้งบุ๋นและบู๊ แต่อาจจะโดดเด่นทางใดทางหนึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะแต่ละคนมีเอกลักษณ์และความถนัดแตกต่างกันไป แม้กระทั้งคนที่เก่งทั้งบุ๋นและบู๋(อ่านหนังสือและฝึกทักษะ)ก็ยังมีด้านที่โดดเด่นเป็นพิเศษอยู่ดี เช่น จิวยี่ ซึ่งเก่งทั้งบุ๋นและบู๊ แต่เด่นทางบู๊เป็นหลัก

ดังนั้น เราจึงควรเข้าใจบทบาทของแต่ละสาย เช่น เมื่อเจอข่าวนักวิชารการออกมาพูดหรืออธิบายเกี่ยวกับเรื่องอะไร ก็อย่าต่อว่า เช่น "ดีแต่พูด", "พวกนักวิชาเกิน", "แน่จริงลองไปทำเอง", ฯลฯ ความคิดเหล่านี้เป็นการบ่งบอกถึงการขาดความรู้ และไม่เข้าใจในบทบาทที่ต่างกัน บุ๋นที่มีหน้าที่วิจัยและเก็บรวบรวมความรู้ เขาก็ออกมาอธิบายตามบทบาทของเขา เราก็แค่ฟังและวิเคราะห์ ผิดก็ว่าผิด ถูกก็ว่าถูก ไปตามบทบาทนั้น อย่าหลงประเด็นไปนอกบทบาท
เพราะการไล่ขงเบ้งให้ไปออกรบแทนเตียวหุย เป็นความคิดที่ใช้ไม่ได้ และถ้าเตียวหุยอวดตัวว่าสู้รบหน้างานมาตลอด ไอ้คนที่ไม่เคยออกรบหน้างานอย่างขงเบ้งจะไปรู้อะไร แบบนี้ก็มีแต่พังกับพัง นี่คือเหตุผลที่ขงเบ้งต้องขอกระบี่อาญาสิทธิ์เพื่อที่ให้สายบุ๊นสั่งสายบู๊ได้นั่นเอง(ต้องให้อำนาจของฝ่ายพลเรือน(บุ๋น)มากกว่าฝ่ายทหาร(บู๊) จึงจะถ่วงดุลทางการเมืองได้) ไม่อย่างนั้นก็อาจโดนยึดอำนาจจากผู้ที่ขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทที่ต่างกัน เพราะบางคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสายบู๊อย่างเดียวแล้วจะทำได้ทุกอย่าง(ถ้าไม่ได้เก่งทั้งบุ๋นและบู๊จะทำไม่ได้)

ทั้งบุ๊นและบู๊มีหน้าที่ของตัวเอง ควรประสานเข้าด้วยกันอย่างเข้าใจในบทบาทของกันและกัน หยินหยางจึงจะกลมกลืนและวิวัฒน์ร่วมกันอย่างสมดุล เพราะต่างคนต่างมีทางที่ถนัดของตนเองทั้งทางจิตใจและภายภาพ
ในทางบุคคล ต้องค้นหาจุดเด่นของตัวเองให้พบ ค้นหาในทางกว้างๆก่อนว่าเป็นสายบุ๋นหรือบู๊ จะได้ไม่หลงบทบาทจนเข้าใจผิดว่าตนเองด้อย เพราะในสภาพแวดล้อมสายบู๊ สายบุ๋นมักรู้สึกด้อย ในสภาพแวดล้อมสายบุ๋น สายบู๊มักรู้สึกด้อย เป็นเรื่องธรรมดา แน่นอนว่าฝึกกันได้ แต่ถ้าฝืนกายภาพก็จะไปได้ไม่ไกลเท่าคนที่มีกายภาพเหมาะสม(เช่น นักวิ่งที่หนึ่งของโลกจะตัวสั้นขายาว นักว่ายน้ำที่หนึ่งของโลกจะตัวยาวขาสั้น ถ้าสลับกีฬากันแล้วฝึกตั้งแต่เด็กก็อาจจนเก่งได้ทั้งคู่ แต่ไม่อาจขึ้นเป็นที่หนึ่งได้เพราะข้อจำกัดทางกายภาพ) แต่ถ้าเรารู้ตัวเองเป็นบุ๋นหรือบู๊ อย่างน้อยเราจะไม่หลงทาง แม้ผู้คนรอบตัวที่ไม่เข้าใจจะบอกว่าเราด้อยก็ตาม เราแค่ต้องหาที่ทางของตัวเองให้พบ
ในทางสังคม อย่ายกย่องด้านใดเป็นพิเศษ เพราจะเป็นพัฒนาคนอย่างผิดวิสัย แล้วจะทำให้เสียบุคคลากรไปครึ่งนึงอย่างไม่สมควร ไม่มีอะไรเหนือกว่าหรือต่ำต้อยกว่า ทุกสิ่งสำคัญเท่าเทียมกัน แค่ต้องใช้อย่างเหมาะสม ถูกต้องตามบทบาท จุดนี้ก็อยู่ที่ความฉลาดของผู้นำในสังคมนั้นๆด้วย

สรุปโดยสังเขปได้ว่า

ไม่อ่านหนังสืออย่าทำงานสายบุ๋น(ครูอาจารย์ นักการศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย ฯลฯ)
กลัวเปื้อนอย่างอย่าทำงานสายบู๊(ช่างฝีมือ ทหาร ตำรวจ ก่อสร้าง ฯลฯ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น