เป็นนัก Harmonica Beatbox ที่ผมชอบมากๆเลยครับ
https://jazzylj.blogspot.com นำความรู้ต่างๆมา "จับฉ่าย" ให้ย่อยง่ายเรียนรู้ได้ไม่ติดขัด ที่สำคัญนำไปประดับความรู้ได้ทันที ^_^ สร้างสรรค์สังคมแบ่งปันความรู้
Sponsor
19 มีนาคม 2553
16 มีนาคม 2553
ช่องเป่า Diatonic Harmonica ระยะห่างแบบต่างๆ
สวัสดีครับเพื่อนๆ ครั้งนี้มาคุยกันถึงเรื่องระยะของช่องเป่า Diatonic Harmonica กันครับ
เรื่องระยะของช่องเป่าไม่ค่อยมีใครพูดถึงสักเท่าไหร่ แต่มีความสำคัญมากในระดับนึงเหมือนกันครับในเรื่องความคล่องตัว
ระยะห่างของช่องเป่ามีอยู่ 3 แบบที่ผมเคยเจอ
1. แบบช่องห่าง
2. แบบช่องห่างปลานกลาง
3. แบบช่องชิด
ดูรูปประกอบนะครับ(จากบนลงล่างตามลำดับ)
*ชื่อพวกนี้ผมตั้งเองนะครับ ไม่ได้เป็นสากลแต่อย่างใด
แบบช่องห่าง ก็อย่างที่เห็นในรูปครับ ช่องเป่าจะอยู่ห่างกันแบบชัดเจน ตัวกั้นช่องจะหนา แบบนี้การเล่น Sigle Note หรือเล่นโน้ตเสียงเดี่ยว จะเล่นง่าย ลมจะไม่รั่วไปช่องอื่น และ Harmonica รุ่น Original หลายๆรุ่นจะเป็นมีระยะห่างแบบนี้ซะส่วนใหญ่ครับ หรือถ้าเป็นแบบช่องเต็ม(ไม่มีขอบบนล่าง)ก็จะมีระยะห่างแบบนี้เช่นกัน(ในรูปคือ MarineBand)
แบบช่องห่างปลานกลาง จากที่เห็นในรูปช่องจะเข้าใกล้กันขึ้นมาอีกนิด มีคุณสมบัติเด่นแบบเดียวกับ ช่องห่าง ครับเพราะเท่าที่เล่นรู้สึกถึงความต่างเพียงนิดเดียวตรงการเลื่อนเท่านั้น ส่วนการทำปากเป่า Single Note ก็เหมือนกันครับ เรียกได้ว่ารู้สึกไม่ต่างกันครับ แต่ถ้าลองมองให้ชัดๆจะเห็นว่าช่องใกล้กันเข้ามาอีกนิด ตัวกั้นบางลงนิดหน่อย ที่ไม่ใช่ทรงดั้งเดิมส่วนใหญ่จะเป็นแบบช่องห่างปลานกลางครับ
แบบช่องชิด อันนี้เห็นชัดเจนครับ ชิดกันเห็นๆ ทั้งรูปปาก และการเลื่อน เปลี่ยนหมดครับ ถ้าใครที่เคยเล่น 2 แบบบนมาก่อนแล้วเจอแบบนี้จะเจอเหตุการณ์ เลื่อนผิดช่อง, เป่า Sigle Note รั่วกระจายครับ(อันนี้เจอมากับตัว) แต่ข้อดีที่ผมเจอคือไม่ต้องเลื่อน Harmonica มากเพราะช่องมันใกล้กัน น่าจะทำให้เล่นแบบเร็วๆได้ดี(มั้ง?)ครับ ที่เคยเห็นก็เป็นบางรุ่นของ Hohner
เพื่อนๆอาจจะงงๆว่าระยะช่องเป่าเนี่ยมันสำคัญขนาดนั้นเลยหรือ คือสำหรับผมแล้วมันสำคัญมากเลยครับ
เนื่อง Diatonic Harmonica ตัวแรกผมใช้ Easy Rider ซึ่งเป็นช่องห่างปลานกลาง แล้วตอนที่ผมต้องการจะเปลี่ยน Harmonica ตัวใหม่ซึ่งตอนนั้นไม่รู้เรื่องระยะช่องเป่า ไปได้แบบ ช่องชิด มาครับ แทบต้องฝึกใหม่เลย ระยะการเลื่อนก็เปลี่ยน ที่เคยเป่า Sigle Note ได้ ลมก็รั่วไปช่องข้างๆด้วย เซ็งตามระเบียบครับ
หลังจากนั้นก็เลยตามล่าหา MarineBand ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นต้นตำรับของ Harmonica มาดูหน่อยซิ ซึ่งเป็นแบบช่องห่าง หลังจากได้เล่นก็ให้ความรู้สึกการเล่นไม่ต่างจากแบบช่องห่างปลานกลางเท่าไหร่
จึงรู้ว่าส่วนตัวถนัดแบบช่องห่างมากกว่าครับ(เพราะเคยเล่นแบบช่องห่างปลานกลางมาก่อน พอมาเจอช่องห่างจึงไม่รู้สึกแตกต่าง แต่กับช่องชิดไม่เหมือนกันครับ)
อันนี้ก็แล้วแต่ถนัดครับ
หลังจากนั้นก็เริ่มสังเกตุระยะช่องเป่ามาตั้งแต่เจอเรื่องครั้งนี้แหละครับ
ก็มาแชร์เป็นประสบการณ์ให้เพื่อนๆครับ เวลาเลือก Harmonica อย่างลืมสังเกตุว่าระยะช่องเป็นแบบที่ตัวเองคุ้นเคยรึเปล่า ถ้าต้องการลองเล่นหลายๆแบบก็ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าต้องการระยะช่องที่คุ้นเคยก็ลองเทียบให้ชัดเจนนะครับ
เรื่องระยะของช่องเป่าไม่ค่อยมีใครพูดถึงสักเท่าไหร่ แต่มีความสำคัญมากในระดับนึงเหมือนกันครับในเรื่องความคล่องตัว
ระยะห่างของช่องเป่ามีอยู่ 3 แบบที่ผมเคยเจอ
1. แบบช่องห่าง
2. แบบช่องห่างปลานกลาง
3. แบบช่องชิด
ดูรูปประกอบนะครับ(จากบนลงล่างตามลำดับ)
*ชื่อพวกนี้ผมตั้งเองนะครับ ไม่ได้เป็นสากลแต่อย่างใด
==================================
แบบช่องห่าง ก็อย่างที่เห็นในรูปครับ ช่องเป่าจะอยู่ห่างกันแบบชัดเจน ตัวกั้นช่องจะหนา แบบนี้การเล่น Sigle Note หรือเล่นโน้ตเสียงเดี่ยว จะเล่นง่าย ลมจะไม่รั่วไปช่องอื่น และ Harmonica รุ่น Original หลายๆรุ่นจะเป็นมีระยะห่างแบบนี้ซะส่วนใหญ่ครับ หรือถ้าเป็นแบบช่องเต็ม(ไม่มีขอบบนล่าง)ก็จะมีระยะห่างแบบนี้เช่นกัน(ในรูปคือ MarineBand)
แบบช่องห่างปลานกลาง จากที่เห็นในรูปช่องจะเข้าใกล้กันขึ้นมาอีกนิด มีคุณสมบัติเด่นแบบเดียวกับ ช่องห่าง ครับเพราะเท่าที่เล่นรู้สึกถึงความต่างเพียงนิดเดียวตรงการเลื่อนเท่านั้น ส่วนการทำปากเป่า Single Note ก็เหมือนกันครับ เรียกได้ว่ารู้สึกไม่ต่างกันครับ แต่ถ้าลองมองให้ชัดๆจะเห็นว่าช่องใกล้กันเข้ามาอีกนิด ตัวกั้นบางลงนิดหน่อย ที่ไม่ใช่ทรงดั้งเดิมส่วนใหญ่จะเป็นแบบช่องห่างปลานกลางครับ
แบบช่องชิด อันนี้เห็นชัดเจนครับ ชิดกันเห็นๆ ทั้งรูปปาก และการเลื่อน เปลี่ยนหมดครับ ถ้าใครที่เคยเล่น 2 แบบบนมาก่อนแล้วเจอแบบนี้จะเจอเหตุการณ์ เลื่อนผิดช่อง, เป่า Sigle Note รั่วกระจายครับ(อันนี้เจอมากับตัว) แต่ข้อดีที่ผมเจอคือไม่ต้องเลื่อน Harmonica มากเพราะช่องมันใกล้กัน น่าจะทำให้เล่นแบบเร็วๆได้ดี(มั้ง?)ครับ ที่เคยเห็นก็เป็นบางรุ่นของ Hohner
==================================
เพื่อนๆอาจจะงงๆว่าระยะช่องเป่าเนี่ยมันสำคัญขนาดนั้นเลยหรือ คือสำหรับผมแล้วมันสำคัญมากเลยครับ
เนื่อง Diatonic Harmonica ตัวแรกผมใช้ Easy Rider ซึ่งเป็นช่องห่างปลานกลาง แล้วตอนที่ผมต้องการจะเปลี่ยน Harmonica ตัวใหม่ซึ่งตอนนั้นไม่รู้เรื่องระยะช่องเป่า ไปได้แบบ ช่องชิด มาครับ แทบต้องฝึกใหม่เลย ระยะการเลื่อนก็เปลี่ยน ที่เคยเป่า Sigle Note ได้ ลมก็รั่วไปช่องข้างๆด้วย เซ็งตามระเบียบครับ
เพราะจะเล่น Sigle Note ได้ง่ายกว่า
และมีให้เลือกหลายรุ่นกว่า
เพราะน่าจะเป็นแบบ Original
และมีให้เลือกหลายรุ่นกว่า
เพราะน่าจะเป็นแบบ Original
หลังจากนั้นก็เลยตามล่าหา MarineBand ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นต้นตำรับของ Harmonica มาดูหน่อยซิ ซึ่งเป็นแบบช่องห่าง หลังจากได้เล่นก็ให้ความรู้สึกการเล่นไม่ต่างจากแบบช่องห่างปลานกลางเท่าไหร่
จึงรู้ว่าส่วนตัวถนัดแบบช่องห่างมากกว่าครับ(เพราะเคยเล่นแบบช่องห่างปลานกลางมาก่อน พอมาเจอช่องห่างจึงไม่รู้สึกแตกต่าง แต่กับช่องชิดไม่เหมือนกันครับ)
อันนี้ก็แล้วแต่ถนัดครับ
หลังจากนั้นก็เริ่มสังเกตุระยะช่องเป่ามาตั้งแต่เจอเรื่องครั้งนี้แหละครับ
ก็มาแชร์เป็นประสบการณ์ให้เพื่อนๆครับ เวลาเลือก Harmonica อย่างลืมสังเกตุว่าระยะช่องเป็นแบบที่ตัวเองคุ้นเคยรึเปล่า ถ้าต้องการลองเล่นหลายๆแบบก็ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าต้องการระยะช่องที่คุ้นเคยก็ลองเทียบให้ชัดเจนนะครับ
เท่านี้ก่อนไว้เจอกันใหม่
สวัสดีครับ ^_^
สวัสดีครับ ^_^
ป้ายกำกับ:
ดนตรี,
เม้าออร์แกน,
หีบเพลงปาก,
ฮาร์โมนิก้า,
harmonica,
mouth organ,
music,
review,
suzuki
13 มีนาคม 2553
Suzuki Harmonica Easy Rider(EZR-20) Review - มารู้จัก Suzuki Harmonica Easy Rider กันเถอะ
สวัสดีครับ(ไม่ได้มาอัพบล๊อกซะนานเลย) ช่วงนี้หลายๆคนคงสอบเสร็จกันแล้ว และหลายๆคนคงรับปริณญากันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ยินดีด้วยและขอให้ทุกๆคนประสบความสำเร็จอย่างที่ตั้งใจไว้นะครับ
เอาล่ะเข้าเรื่องกันเลย ครั้งนี้มา Review Harmonica ของ Suzuki รุ่น Easy Rider(EZR-20) ซึ่งเป็น Harmonica รุ่นที่ถูกที่สุดของ Suzuki เรามาดูกันดีกว่าว่าน่าสนใจแค่ไหน
กล่อง-
EZR ตัวที่อยู่ในรูปผมซื้อมาได้ประมาณเกือบ 10 ปีแล้ว ราคา 2xx บาท ล่าสุดผมไปเช็คราคาของรุ่นนี้ก็ยังเท่าเดิมครับ
ตัวกล่องทำจากกระดาษแข็ง(กล่องเยินหมดแล้วครับ แปะเทปใสทั่วกล่อง)
บอดี้-
บอดี้ช่องเป่า(comb)เป็นพลาสติก ระยะช่องเป่าเป็นแบบห่างปลานกลาง (ระยะช่องเป่าที่ผมเคยเจอมี 3 แบบครับ คือ แบบช่องห่าง, ช่องห่างปลานกลาง และช่องชิด ส่วนตัวผมถนัดแบบช่องห่างกับปลานกลาง เดี๋ยวครั้งหน้าทำ Reviwe เรื่องระยะช่องเป่าอีกทีครับ) แบบช่องเป่าห่างปลานกลางผมเจอแต่ EZR นี่แหละครับ เพราะรุ่นอื่นๆที่ดูๆ จะเป็นแบบ ช่องห่าง หรือไม่ก็ ช่องชิด เลย (พอกลับไปสังเกตดูดีๆ รู้สึกว่า ฮาร์ปส่วนใหญ่เป็นแบบช่องห่างปลานกลางมากกว่า ยกเว้นพวกทรงคลาสสิคมักจะเป็นช่องห่าง ส่วนแบบช่องชิดจะมีไม่มาก)
ซึ่งระยะช่องของ EZR นั่นทำให้เล่น Single โน้ตได้ง่าย เพราะช่องเป่าที่มีระยะห่างพอสมควร(ถ้าเป็นแบบช่องห่างจะสบายขึ้นอีกครับ อิอิ) แต่ว่าช่องปลานกลาง กับช่องห่าง การเป่าไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ครับ จะต่างตรงระยะการเลื่อน Harmonica ช่องห่างจะเลื่อนมากกว่าเล็กน้อย ซึ่งหากเปลี่ยนไปเล่นช่องห่างก็ปรับตัวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น(แต่ถ้าเป็นช่องชิดรูปปาก/การเลื่อนจะเปลี่ยนไปเล็กน้อยเพราะช่องใกล้กันมาก) ส่วนการเล่นพร้อมหลายโน้ตก็ไม่เป็นปัญหาสำหรับการเล่น Harmonica อยู่แล้ว
และที่ไปเห็นมา Cover Plate มีแบบเป็นสีๆด้วย ที่เห็นก็มี แดง, ดำ และไม่ลงสี อันนี้ก็แล้วแต่ชอบนะครับ แต่ส่วนตัวผมชอบแบบไม่ลงสีมากกว่า เพราะกลัวสีมันลอก เหอะๆ
ทดสอบเสียง-
จากการลองเป่า EZR นั้น จะให้เสียงที่ ชัดเจน, หนา, แต่เสียงจะออกแข็งๆทื่อๆ และไม่แน่น มันจะมีความกลวงๆอยู่ภายในเสียง กินลมพอสมควร
การเล่นเทคนิค เรื่องการ Bend เสียงก็ทำได้ไม่ยากนัก และเสียงตอน Bend ก็หนาสมคำโฆษณาครับ แต่ Overblow ไม่ได้เลย
สรุป-
โดยรวมแล้ว EZR ให้เสียงที่ดังในระดับนึง แต่จะใช้ลมหน่อยก็ไม่ใช้ปัญหาอะไร ซึ่งผมว่าเหมาะสำหรับทุกๆคนครับ โดยเฉพาะผู้เริ่มต้นที่อยากลองเล่นดูก่อน ด้วยราคาที่ถูกและทน จะพาไปสมบุกสมบันได้ทุกสถานการณ์ แต่ตัวกล่องซึ่งทำด้วยกระดาษไม่ค่อยแจ่มเท่าไหร่ครับ ถ้าสนใจรุ่นนี้ผมว่าเปลี่ยนไปใส่กล่องอื่น หรือใส่ซองพลาสติกดีกว่าครับ ไม่งั้นต้องแปะเทปใสทั่วกล่องแบบผม ฮ่าๆ
แต่สุดท้ายแล้วก็อยู่ที่ความชอบ และหูของแต่ละคนล่ะครับว่าชอบรูปทรง และเสียงมากแค่ไหน แต่ถ้าเพิ่งเริ่มหัดเล่นหรือต้องการ Diatonic Harmonica ที่คุ้มค่าคุ้มราคา และเล่นง่าย EZR เป็นทางเลือกที่ผมแนะนำครับ
จบแล้วครับ การ Review ครั้งนี้เป็นครั้งแรกครับเนี่ย วกวนยังไง หรือไม่ได้เจาะประเด็นตรงไหนก็ขออภัยด้วยครับ
และต้องออกตัวก่อน(เหมือนบทความก่อนๆ) Review ครั้งนี้ผมก็ไม่ได้ค่าโฆษณานะครับ แต่อย่างเคย...ถ้าทางบริษัทอยากจะเลี้ยวข้าวผมเหมือนที่ขอไว้ในบทความก่อน ไม่เอาแล้วนะครับ ครั้งนี้ขอเป็นพิซซ่าถาดใหญ่สักถาดก็พอครับ ฮ่าๆ
ไว้เจอกันบทความหน้าครับ ขอให้มีความสุข มีรอยยิ้มกันทุกๆท่านนะครับ
สวัสดีครับ ^_^
เอาล่ะเข้าเรื่องกันเลย ครั้งนี้มา Review Harmonica ของ Suzuki รุ่น Easy Rider(EZR-20) ซึ่งเป็น Harmonica รุ่นที่ถูกที่สุดของ Suzuki เรามาดูกันดีกว่าว่าน่าสนใจแค่ไหน
---------------------------------------
ซื้อง่าย, เล่นสบาย
จากทั้งหมด EASY RIDER เป็น Harmonica ที่ทุกระดับฝีมือใฝ่ฝัน
ด้วยการผลิตที่มีคุณภาพ, ใช้ต้นแบบเดียวกับของมือโปร
ซึ่งให้เสียงที่ยอดเยี่ยมและลงตัว.
Reeds ทำจากทองเหลืองตั้งเสียงด้วยระบบเลเซอร์
สามารถ Bend เสียงได้ง่าย และให้เสียงที่หนาฯ
จากโฆษณาในเว็บของ Suzukimusic แปลไม่เก่งมากนะครับ(คร่าวๆ) ผิดพลาดยังไงช่วยแก้ไขด้วยนะครับ
จากทั้งหมด EASY RIDER เป็น Harmonica ที่ทุกระดับฝีมือใฝ่ฝัน
ด้วยการผลิตที่มีคุณภาพ, ใช้ต้นแบบเดียวกับของมือโปร
ซึ่งให้เสียงที่ยอดเยี่ยมและลงตัว.
Reeds ทำจากทองเหลืองตั้งเสียงด้วยระบบเลเซอร์
สามารถ Bend เสียงได้ง่าย และให้เสียงที่หนาฯ
จากโฆษณาในเว็บของ Suzukimusic แปลไม่เก่งมากนะครับ(คร่าวๆ) ผิดพลาดยังไงช่วยแก้ไขด้วยนะครับ
---------------------------------------
กล่อง-
EZR ตัวที่อยู่ในรูปผมซื้อมาได้ประมาณเกือบ 10 ปีแล้ว ราคา 2xx บาท ล่าสุดผมไปเช็คราคาของรุ่นนี้ก็ยังเท่าเดิมครับ
ตัวกล่องทำจากกระดาษแข็ง(กล่องเยินหมดแล้วครับ แปะเทปใสทั่วกล่อง)
บอดี้-
บอดี้ช่องเป่า(comb)เป็นพลาสติก ระยะช่องเป่าเป็นแบบห่างปลานกลาง (ระยะช่องเป่าที่ผมเคยเจอมี 3 แบบครับ คือ แบบช่องห่าง, ช่องห่างปลานกลาง และช่องชิด ส่วนตัวผมถนัดแบบช่องห่างกับปลานกลาง เดี๋ยวครั้งหน้าทำ Reviwe เรื่องระยะช่องเป่าอีกทีครับ) แบบช่องเป่าห่างปลานกลางผมเจอแต่ EZR นี่แหละครับ เพราะรุ่นอื่นๆที่ดูๆ จะเป็นแบบ ช่องห่าง หรือไม่ก็ ช่องชิด เลย (พอกลับไปสังเกตดูดีๆ รู้สึกว่า ฮาร์ปส่วนใหญ่เป็นแบบช่องห่างปลานกลางมากกว่า ยกเว้นพวกทรงคลาสสิคมักจะเป็นช่องห่าง ส่วนแบบช่องชิดจะมีไม่มาก)
ซึ่งระยะช่องของ EZR นั่นทำให้เล่น Single โน้ตได้ง่าย เพราะช่องเป่าที่มีระยะห่างพอสมควร(ถ้าเป็นแบบช่องห่างจะสบายขึ้นอีกครับ อิอิ) แต่ว่าช่องปลานกลาง กับช่องห่าง การเป่าไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ครับ จะต่างตรงระยะการเลื่อน Harmonica ช่องห่างจะเลื่อนมากกว่าเล็กน้อย ซึ่งหากเปลี่ยนไปเล่นช่องห่างก็ปรับตัวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น(แต่ถ้าเป็นช่องชิดรูปปาก/การเลื่อนจะเปลี่ยนไปเล็กน้อยเพราะช่องใกล้กันมาก) ส่วนการเล่นพร้อมหลายโน้ตก็ไม่เป็นปัญหาสำหรับการเล่น Harmonica อยู่แล้ว
และที่ไปเห็นมา Cover Plate มีแบบเป็นสีๆด้วย ที่เห็นก็มี แดง, ดำ และไม่ลงสี อันนี้ก็แล้วแต่ชอบนะครับ แต่ส่วนตัวผมชอบแบบไม่ลงสีมากกว่า เพราะกลัวสีมันลอก เหอะๆ
ทดสอบเสียง-
จากการลองเป่า EZR นั้น จะให้เสียงที่ ชัดเจน, หนา, แต่เสียงจะออกแข็งๆทื่อๆ และไม่แน่น มันจะมีความกลวงๆอยู่ภายในเสียง กินลมพอสมควร
การเล่นเทคนิค เรื่องการ Bend เสียงก็ทำได้ไม่ยากนัก และเสียงตอน Bend ก็หนาสมคำโฆษณาครับ แต่ Overblow ไม่ได้เลย
สรุป-
โดยรวมแล้ว EZR ให้เสียงที่ดังในระดับนึง แต่จะใช้ลมหน่อยก็ไม่ใช้ปัญหาอะไร ซึ่งผมว่าเหมาะสำหรับทุกๆคนครับ โดยเฉพาะผู้เริ่มต้นที่อยากลองเล่นดูก่อน ด้วยราคาที่ถูกและทน จะพาไปสมบุกสมบันได้ทุกสถานการณ์ แต่ตัวกล่องซึ่งทำด้วยกระดาษไม่ค่อยแจ่มเท่าไหร่ครับ ถ้าสนใจรุ่นนี้ผมว่าเปลี่ยนไปใส่กล่องอื่น หรือใส่ซองพลาสติกดีกว่าครับ ไม่งั้นต้องแปะเทปใสทั่วกล่องแบบผม ฮ่าๆ
แต่สุดท้ายแล้วก็อยู่ที่ความชอบ และหูของแต่ละคนล่ะครับว่าชอบรูปทรง และเสียงมากแค่ไหน แต่ถ้าเพิ่งเริ่มหัดเล่นหรือต้องการ Diatonic Harmonica ที่คุ้มค่าคุ้มราคา และเล่นง่าย EZR เป็นทางเลือกที่ผมแนะนำครับ
จบแล้วครับ การ Review ครั้งนี้เป็นครั้งแรกครับเนี่ย วกวนยังไง หรือไม่ได้เจาะประเด็นตรงไหนก็ขออภัยด้วยครับ
และต้องออกตัวก่อน(เหมือนบทความก่อนๆ) Review ครั้งนี้ผมก็ไม่ได้ค่าโฆษณานะครับ แต่อย่างเคย...ถ้าทางบริษัทอยากจะเลี้ยวข้าวผมเหมือนที่ขอไว้ในบทความก่อน ไม่เอาแล้วนะครับ ครั้งนี้ขอเป็นพิซซ่าถาดใหญ่สักถาดก็พอครับ ฮ่าๆ
ไว้เจอกันบทความหน้าครับ ขอให้มีความสุข มีรอยยิ้มกันทุกๆท่านนะครับ
สวัสดีครับ ^_^
ป้ายกำกับ:
ดนตรี,
เม้าออร์แกน,
หีบเพลงปาก,
ฮาร์โมนิก้า,
harmonica,
mouth organ,
music,
review,
suzuki
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)