Sponsor

13 มิถุนายน 2555

Basic Blues Harmonica - บูลส์ฮาร์โมนิก้าเบื้องต้น

สวัสดีครับเพื่อนๆที่ติดตามอ่านบล๊อค Jazzylj บทความฮาร์โมนิก้าหายหน้าหายตาไปนานพอสมควร(จริงๆแล้วนานมาก ฮา)  กลับมาตามที่สัญญาไว้แล้วคร้าบ ฮิ้วๆ
ครั้งนี้จะเหมือนกับเริ่มฝึกฮาร์โมนิก้าใหม่อีกครั้ง เพราะการเล่น Blues Harmonica จะเล่นแบบ Cross Harp หรือ ไขว้คีย์ ........ อย่าเพิ่งงงครับ คือว่าจากที่เคยไล่บันไดเสียง "โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด้" คราวนี้ต้องมาฝึกไล่เสียงแบบ Cross Harp กันใหม่เท่านั้นเอง ฮ่าๆๆ จะฮาหรือจะเศร้าดี ไม่ต้องตกใจครับ ไม่ยากเกินฝึกหรอกครับ อยู่ใน 10 ช่องเดิมนี้แหละครับไม่ไปไหนไกล

มาทำความรู้จักศัพท์ทางเทคนิคให้ปวดหัวเล่นๆกันก่อนดีกว่า
การไล่เสียงแบบเดิมที่เราเคยเล่น เรียกว่า Straight Harp เป็นการเล่นแบบทั่วๆไป
แต่ครั้งนี้ที่เราจะเรียนรู้กันคือการเล่นที่เรียกว่า Cross Harp เป็นการเอาฮาร์ปคีย์ C มาเล่นให้เป็นคีย์ G ใน Mixolidian Mode (โหมดเสียงมิกโซลีเดี้ยน) อืม.......พาราสักเม็ดก่อนดีกว่าครับ (ฮา)
ซึ่งพูดง่ายๆก็คือเช่น เอาฮาร์ปคีย C มาเล่นเป็นคีย์ G นั่นแหละ และเน้นที่โน้ตดูด ถึงได้เรียกว่าไขว้คีย์
ทำไมถึงเน้นที่โน้ตดูด? อาจจะเป็นเพราะว่าสไตล์บูลส์จะชอบเล่นเสียง Bending และการเล่นโน้ตดูดจะทำสไตล์ของเสียงได้อย่างมีเอกลักษณ์ ลองดูดๆกระชากเสียง หรือทำเสียงปึ๋ยๆ แกว่งเสียงโน้ต Bending นิดๆ โน้ตดูดจะทำได้ง่าย และนี่แหละเป็นเอกลักษณ์เสียง

เวลาบอกว่าจะเล่นเพลงคีย์ G ชาว Blues Harp ก็จะหยิบฮาร์ปคีย์ C ไปเล่นครับ เพราะเขาจะเล่นแบบ Cross Harp นั่นเอง

ปวดหัวพอประมาณเรามาเริ่มเข้าแบบฝึกหัดกันเลยดีกว่าครับ
อันดับแรกฝึกเล่นคีย์ G Mixolidian ด้วยฮาร์ปคีย์ C กันก่อนเลย
โน้ตแรกจะเริ่มที่โน้ต G ดูดช่องที่ 2 (Cross Harp เน้นที่โน้ตดูดครับ)
(ที่บรรทัด 5 เส้น จะมี #(อ่านว่า ชาร์ป) อยู่ 1 ตัว เป็นการบอกว่าเป็นคีย์ G)

คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่


สังเกตุว่าจะมีโน้ตที่ต้องเบนด์อยู่โน้ตนึง ก็คือโน้ตตัวลาที่หายไปนั่นเอง (ถ้าอยากเข้าใจเรื่องโหมดมากขึ้นแนะนำให้ศึกษาจากหนังสือทฤษฏีดนตรีครับ)
ทีนี้มาลองเล่นเป็นเพลงกันดูบ้าง อย่างที่บอกว่ามันก็เหมือนกับการเปลี่ยนคีย์นั่นแหละครับ ทีนี้เรากลับไปสู่จุดเริ่มต้นอีกครั้งด้วยการเล่น Jingel Bell แต่คราวนี้เล่นแบบ Cross Harp กันดีกว่า(เล่นให้ได้สำเนียงบูลส์ๆด้วยการกระชากเสียงนิดๆ แอบเบนด์หน่อยๆด้วยนะ จะได้อารมณ์มาก)

คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่

ทีนี้น่าจะพอเข้าใจความแต่ต่างของการเล่น Straight Harp และ Cross Harp โดนใช้ฮาร์โมนิก้าอันเดียวกันแล้วนะครับ

และแบบฝึกหัดสุดท้ายนี้ เป็นฟอร์มมาตราฐานของบูลส์ที่เรียกกันว่า 12 Bar Blues เพราะเพลงบลูส์ 90กว่า% จะใช้ทางคอร์ดแบบนี้ตลอดเพลงครับ บางครั้งอาจจะเอาแค่ฟอร์ม 8 ห้องบ้าง หรือสลับสับเปลี่ยนบ้าง แต่ก็จะอยู่ในรูปแบบนี้แน่นอน ดังนั้นตัวนี้สำคัญครับในการฝึกบลูส์เพราะจะเจอบ่อยมาก
ก็ทิ้งท้ายไว้ให้ได้ฝึกจำทางคอร์ดกันนะครับ  บทความนี้ครั้งนี้คงเท่านี้ก่อน หาสงสัยหรืออยากศึกษาเพิ่มเติมอยากแนะนำเหมือนทุกๆครั้งนะครับว่า ให้หาหนังสือทฤษฏีดนตรีมาศึกษานะครับจะต่อยอดได้อีกมากมาย แล้วไว้ค่อยเจอกันใหม่บทความหน้า
ขอให้มีความสุขกับการเล่นดนตรีนะครับ ^w^

คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่

แถม
นอกจากฝึกตามตัวอย่างข้างต้นแล้ว ก็สามารถฝึกเป่าเป็นคอร์ดเลยก็ได้ ดูที่บทความ แนะนำการเล่นคอร์ดเบื้องต้นของฮาร์โมนิก้า และจังหวะการเป่าคอร์ดลองดูได้ที่ แบบฝึกจังหวะ Rhythm Harmonica ได้เลย

โครงสร้างของ 12 Bar Blues สามารถสร้างเองได้จากสูตรนี้(ซึ่งต้องรู้โน้ตในคีย์ก่อน ดูจากตารางของบทความนี้ได้ การเปลี่ยนคีย์เพลงอย่างง่าย) โดย I = ตัวที่ 1 ของคีย์ (ถ้าคีย์ C ก็ตัว C นั่นแหละ), IV = ตัวที่ 4 ของคีย์ (ถ้าคีย์ C ก็นับไป C D E F ก็ตัว F ไงล่ะ), V = ตัวที่ 5 ของคีย์ (ถ้าคีย์ C ก็นับไป C D E F G ก็ตัว G นี่เอง) ดังนั้นใน 12 Bar Blues ของคีย์ C ก็จะใช้แค่ 3 คอร์ด(เป็นเบื้องต้น) คือ C F และ G โดยมีลำดับการเล่นตามสูตรข้างล่างนี้เลย

สูตรโครงสร้างของ 12 Bar Blues เมื่อเข้าใจแล้วสามารถแทนคอร์ดได้ตามต้องการ
Pic via t.ly/KTKw

ตัวอย่าง 12 Bar Blues สำหรับคีย์ C
Pic via t.ly/L_1H

8 bar blues
Pic via t.ly/X_uA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น