Sponsor

25 มีนาคม 2560

พิชัยสงครามซุนจื่อ บทวิเคราะห์ ภาค 1 นิยามคำสำคัญ

ตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ ฉบับคัดลอก
ตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ(ซุนจื่อปิงฝ่า - 孫子兵法 - The Art of War) เขียนโดย ซุนวู(孫武) เป็นตำราทางการทหารที่โด่งดังที่สุดในโลก ถูกเขียนขึ้นเมื่อกว่าสองพันห้าร้อยปีก่อน แม้วันนี้เรายังคงต้องศึกษาจากคัมภีร์เล่มนี้กันอยู่ แทบทุกคนต้องเคยได้ยินวลีที่ว่า รู้เขารู้เรา ร้อยรบไม่อันตราย ด้วยรูปแบบการเขียนตำราที่สั้น กระชับ สุขุม และกินความมาก ทำให้การแปลโดยถอดความอย่างครบถ้วนนั้นเป็นไปได้ยาก
เมื่ออ่านโดยตรงพิชัยสงครามซุนจื่อจะเป็นนิพนธ์ทางการทหาร แต่กระนั้นก็มีความหมายทางปรัญชาแฝงเร้นอยู่ตลอดตั้งเล่ม ด้วยการเขียนที่กระชับและกินความมากนี้ แสดงว่าซุนวูได้เลือกใช้คำอย่างพิถีพิถัน ดังนั้นสำหรับบทวิเคราะห์บทแรก เรามาดูนิยามเบื้องต้นของคำสำคัญที่ซุนวูเลือกใช้ในพิชัยสงครามกันก่อนครับ เพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น เริ่มกันเลยครับ!

โดยทั่วไป คำว่า โจมตี ต่อสู้ ปะทะ สงคราม การรบ ทำศึก ฯลฯ เรามักจะใช้ในความหมายที่ใกล้เคียงกันมากและบางคำก็ใช้แทนกันได้ แต่ในตำราซุนวูได้เลือกใช้คำเหล่านี้อย่างเฉพาะเจาะจงและมีความหมายที่ชัดเจน ให้ความหมายและนิยามจากต้นฉบับภาษาจีนโบราณเทียบเป็นภาษาไทยเพื่อให้เข้าใจตรงกันดังนี้ครับ

สงคราม การทหาร กองทหาร คำไทยแปลเปลี่ยนตามบริบท

การเดินทัพ

การรบ การศึก การต่อสู้

โจมตี คือ การเคลื่อนกำลังรุกราน เข้ากระทำ และการจู่โจม เข้าตี นับเป็นรูปแบบหนึ่งของการโจมตี

สัประยุทธ์ ช่วงชิง ชิง คือ การต่อสู้เพื่อช่วงชิงอะไรบางอย่าง เช่น ชัยภูมิ ชัยชนะ ฯลฯ มักจะเกิดการห้ำหั่นกันของทั้งสองฝ่าย มีฝ่ายได้ฝ่ายเสีย

รูปลักษณ์ คือ ลักษณะที่ปรากฏให้เห็น กระบวนทัพ อาจเป็นการจัดวางตำแหน่ง

พลานุภาพ คือ พลังอำนาจ แรงส่ง แรงผลักดัน เช่น การใช้สถานการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ช่วยหนุนให้ได้เปรียบเพิ่มมากขึ้น

แนวคิดที่ซุนวูเสนอในพิชัยสงครามนั้นเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง แม้หลักจะการตายตัว แต่เป็นแนวคิดที่บ่งบอกการเคลื่อนคล้อยเปลี่ยนผัน สถานะและเวลา (Space-Time) เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงเสมอตลอดการอ่านตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ เนื่องจากสถานะปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาเปลี่ยน สภาพแวดล้อมเปลี่ยน สถานะก็เปลี่ยนด้วยนั่นเอง
จากนิยามเหล่านี้ปกติซุนวูจะแนะนำให้เลี่ยงการสัประยุทธ์ เนื่องจากมีความสูญเสียมาก อาจได้ไม่คุ้มเสีย ซึ่งจะปรากฏอยู่ในบทต่างๆโดยเฉพาะบทที่ 7 การสัประยุทธ์ ที่ได้แนะนำแผนอ้อมตรง หากมันช่วยลดความสูญเสียและนำไปสู่สิ่งที่ต้องการได้เหมือนกัน ก็ให้ใช้ทางอ้อม ไม่จำเป็นอย่าเผชิญหน้า
ชัยชนะในความหมายของซุนวูนั้นไม่ใช่การสัประยุทธ์(เราจะเห็นคำนี้ในต้นฉบับโบราณน้อยมาก) เพราะการห้ำหั่นแม้ชนะ ก็อาจกลับเป็นแพ้ได้ หากสิ่งที่ได้ ไม่คุ้มกับสิ่งที่เสียไป เป็นชัยชนะในความหมาย ได้มากกว่าเสีย หรือ อยู่ในสถานะที่ได้เปรียบ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ใช่ทุกครั้งที่จะเลี่ยงการห้ำหั่นได้เสมอไป สำคัญคือไม่แสวงหาการห้ำหั่นเสียเอง

เบื้องหน้าของตำราพิชัยสงครามซุนจื่อเป็นเรื่องสงคราม แต่โดยเนื้อแท้กลับเป็นปรัชญาธรรมที่ควรค่า เป็นหลักการปกครองและพัฒนาตนเองตามครรลอง จะนำมาเล่าให้เพื่อนๆฟังเมื่อมีโอกาสในครั้งต่อๆไปนะครับ

ไว้เจอกันใหม่บทความหน้า
ขอบคุณมากครับ ^_^


บทวิเคราะห์นี้เป็นการศึกษาจากเอกสารต่างๆและทำความเข้าใจด้วยตัวเอง หากผิดพลาดประการใดใคร่ขออภัยและขอน้อมรับคำชี้แนะจากท่านผู้รู้ด้วยความยินดียิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น