หนังสือเล่มนี้เขียนโดยวอซและจีน่าสมิท(Gina Smith) โดยเดินเรื่องในแบบที่วอซเล่าประวัติของเขาให้เราฟัง มีแปลไทยแล้วในชื่อ iWoz : สตีฟ วอซเนียก อัจฉริยะคอมพิวเตอร์ ของสำนักพิมพ์ปราณ
มีศัพท์เทคนิคเยอะมากทั้งศัพท์อิเล็กทรอนิกและศัพท์ทางคอมพิวเตอร์ ใครที่พอเข้าใจก็จะได้แนวคิดอะไรไปมาก แต่ถึงแม้ไม่เข้าใจศัพท์เทคนิคก็ยังรู้จักกับอัจฉริยะคนนี้ได้อย่างสนุกเหมือนกัน
อัจฉริยะแต่เด็ก
พ่อของวอซเป็นวิศวกรโครงการลับของรัฐบาล วอซได้เรียนรู้เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกจากพ่อตั้งแต่เด็กๆ ตั้งแต่เล็กวอซคลุกคลีอยู่กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก และเพื่อนๆระแวกบ้านก็มีพ่อเป็นวิศกรของบริษัทต่างๆ เรียกได้ว่าแถวนั้นมีแต่วิศวกรอิเล็กทรอนิก เขาจึงมีเพื่อนผู้และหาอุปกรณ์มาประดิษฐ์นู่นนี่นั่นได้อย่างง่ายได้ ถ้าไม่ไปหยิบมาจากบ้านพ่อของใครสักคน ก็เข้าไปหยิบจากบริษัทที่พ่อทำงาน
วัยเด็กวอซสร้างอุปกรณ์อะไรหลายอย่าง มีอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ เครื่องอินเตอร์คอม วอซกับเพื่อนประดิษฐ์เครื่องอินเตอร์คอมหรือวิทยุสื่อสารแบบมีสาย ติดไว้ในห้องนอนของกลุ่มเพื่อนแล้วโยงสายไฟถึงกัน ซึ่งสายไฟวอซเล่าว่า เพื่อนของเขาคนนึงไปขอจากช่างไฟฟ้า แล้วเขาก็ให้มาม้วนนึงเลยเฉย ที่วอซประดิษฐ์ไม่ใช่แค่อินเตอร์คอมด้วยเสียงธรรมดา วอซยังได้ใส่หลอดไฟเข้าไปด้วย เพื่อเป็นการส่งสัญญาณลับในยามค่ำคืนโดยไม่ให้พ่อแม่ได้ยินเสียง
ในวัยเด็กวอซยังเป็นนักวิทยุสมัครเล่นที่อายุน้อยที่สุดคนหนึ่งในอเมริกาที่สอบได้ใบนักวิทยุสมัครเล่น พ่อของเขาซื้อชุดคิท(ชุดอุปกรณ์ให้เอาไปประกอบเอง)ของวิทยุสื่อสารให้ชุดนึง มีอุปกรณ์เป็นร้อยชิ้น วอซบอกว่า การที่เขาได้ประกอบวิทยุสื่อสารขนาดใหญ่นี่แหละที่เป็นรากฐานให้เขาสร้างคอมพิวเตอร์ขึ้นมาได้
ในการเรียนวอซเก่งการคำนวณมาก คุณครูก็ชื่นชมเขามาตลอด ทำให้เขามีกำลังใจที่จะพัฒนาตัวเองให้เก่งยิ่งๆขึ้นไป เมื่อมีงานประกวดทางวิทยาศาสตร์ วอซได้ส่งงานเข้าประกวดเสมอ และได้รางวัลมาโดยตลอด งานประดิษฐ์ที่น่าสนใจชิ้นนึงคือ เครื่องคิดเลขฐานสองที่วอซออกแบบวงจรและประกอบขึ้นเอง
เวลาว่างของอัจฉริยะ
ช่วงปิดเทอมครั้งหนึ่ง วอซได้เจอนิตยสารเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ในตอนนั้น เป็นนิตยสารเฉพาะกลุ่มวิศวกร วอซคิดว่าคนทั่วไปน่าจะไม่มีใครได้อ่าน เขาได้เอามาเปิดอ่าน ดูวงจรและเอาวงจรเหล่านั้นมาออกแบบใหม่ ทำให้ใช้ชิปน้อยลง ขนาดเล็กลง แต่ทำงานได้เหมือนเดิม เขาเขียนวงจรเหล่านั้นไว้มากมาย แต่ไม่เคยได้สร้างขึ้นจริง แต่เขารู้ว่ามันสามารถสร้างขึ้นได้
เมื่อสองขั้วมาเจอกัน
วอซเป็นคนเงียบๆขี้อาย สิ่งหนึ่งที่วอซทำไม่ได้ จ๊อบทำได้สบาย
ตอนนี้วอซเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว วอซเป็นรุ่นพี่ของจ๊อบ มีเพื่อนแนะนำจ๊อบให้กับวอซเพราะเห็นว่ามีความสนใจในอิเล็กทรอนิกเหมือนกัน และเมื่อได้เจอกัน ทั้งคู่ก็คุยถูกคอและซี้กันเลยทีเดียว
วันนึงวอซได้อ่านเจอเรื่องการ Hack โทรศัพให้สามารถโทรฟรีได้ด้วยคลื่นเสียง เขาจึงไปศึกษาเรื่องคลื่นเสียงและการกดตัวเลขผ่านคลื่นเสียงเพื่อโทรจากเครื่องปลายทางอีกที แล้วสร้างเป็นอุปกรณ์สร้างคลื่นเสียงในแบบของตัวเองขึ้นมา ซึ่งเรียกกันว่า Blue box แล้วจ๊อบก็แนะนำให้ลองทำขาย ซึ่งก็ขายดีทีเดียว
กำเนิดคอมพิวเตอร์ส่วนบคุคคลเครื่องแรกของโลก
Apple I |
หลังจากที่วอซได้ทำงานที่ HP เขาก็ลืมเรื่องการสร้างคอมพิวเตอร์ไปเลย จนวันนึงเพื่อนเขาแนะนำให้เขาไปชมรมอิเล็กทรอนิกแถวบ้าน และเขาในการประชุมมีคนพูดถึงไมโครโปรเซสเซอร์ และคอมพิวเตอร์อัลแตร์ ทำให้วอซมีไฟอีกครั้ง เขาได้ศึกษาไมโครโปรเซสเซอร์และศึกษาคอมฯอัลแตร์ แล้วเขาก็นึงถึงวงจรต่างๆที่เขาเคยออกแบบบนกระดาษ อัลแตร์สร้างออกมาในแบบเดียวกับที่เขาเคยเขียนไว้เลย ต่างกันแค่มีเทคโนโลยีใหม่เข้ามา วอซเลยอยากจะสร้างบ้าง แต่เอาให้ดีกว่า ดีกว่าเดิม เพราะอัลแตร์เป็นคอมที่มีสวิตช์และหลอดไฟ วอซต้องการเอาสวิตช์และหลอดไฟแสดงผลออกไปให้หมด แล้วแสดงผลบนจอโทรทัศน์แทนไปเลย เขาจึงเริ่มลงมือออกแบบวงจรใหม่อีกครั้ง ซึ่งต่อมากลายเป็นคอมพิวเตอร์ Apple I คอมฯที่มีคีย์บอร์ดใส่คำสั่งเข้าไปโดยตรงและแสดงผลบนจอโทรทัศน์
เขาสร้างวงจรและเขียนโปรแกรมคอมไพเลอร์ภาษา Basic ด้วยตัวเองทั้งหมด แล้วไปนำเสนอจ๊อบ จ๊อบเห็นว่าน่าจะขายได้ จึงแนะนำว่ามาตั้งบริษัทกันดีกว่า วอซยังกังวลเพราะไม่รู้ว่าจะขายได้มั้ย แต่จ๊อบได้บอกว่า "จะขาดทุนแล้วยังไง อย่างน้อย ครั้งนึงในชีวิต เราก็ได้มีบริษัทของตัวเองจะเว้ย"
ก่อตั้งบริษัท Apple
ทั้งสองก็ร่วมก็ก่อตั้งบริษัท Apple ด้วยประการฉะนี้แล จากนั้นทั้งคู่ก็หาทีมเพิ่ม เพื่อบริหารและประกอบคอมฯ Apple I ซึ่งเรื่องราวในช่วงนี้ก็เหมือนในประวัติของสตีฟจ๊อบและแอปเปิ้ลอย่างที่ทุกคนน่าจะรู้กันดี
มนุษย์คอมพิวเตอร์ RAM พัง
Apple II |
และเนื่องจากไม่ได้ไปทำงานนาน เขาก็เลยถือโอกาสไปเรียนต่อปีสุดท้ายให้จบมหาลัยซะเลย
ลาออกจากบริษัทที่ตัวเองก่อตั้ง
CL9 Core |
เมื่อวอซกลับมาหลังกจาเรียนจบ ตอนนั้นบริษัท Apple ถูกบริหารโดยผ่านคณะกรรมการบริษัท ทำให้ไม่มีแนวคิดนวัตกรรมที่ท้าทายอีกแล้ว ประจวบกับวอซประสบปัญหารีโมทมากมายที่บ้าน ที่กว่าจะเปิดทีวีดูได้แต่ละครั้ง ต้องใช้รีโมทมากมายมั่วไปหมด ซึ่งวอซบอกว่า เขาเป็นคนแรกๆที่ได้มีโอกาสประสบกับปัญหานี้ เพราะตอนนั้นยังไม่มีใครมีรีโมทมากกว่า 2 อัน แต่เขาซื้อเครื่องเสียง ดาวเทียม อะไรมากมายที่ต่อพ่วงกับทีวี เขาจึงคิดถึงรีโมทอเนกประสงค์ที่กดปุ่มเดียวสามารถเปิดอะไรต่อมิอะไรเองได้ตามลำดับที่เราตั้งค่าเองได้
เขาจึงลาออกจาก Apple ไปตั้งบริษัท CL9 เพื่อทำรีโมทนั้น
แม้เขาจะลาออกไปแล้ว แต่ก็ยังคงมีหมายเลขพนักงาน Apple และได้รับเงินเดือนขั้นต่ำอยู่เสมอ เป็นการให้ออกทางเทคนิคเท่านั้น เมื่อไปสัมนาที่ไหนก็ไปในฐานะตัวแทนของ Apple เสมอ
ปรัชญาชีวิตของวอซ
บทสุดท้าย วอซแนะนำเด็กรุ่นใหม่ที่อยากเป็นนักประดิษฐ์ ให้เชื่อมั่นในตัวเอง ค้นคว้าหาข้อมูลเยอะๆเพื่อมายืนยันความเชื่อของตัวเอง คนอื่นที่ไม่เชื่อคุณส่วนใหญ่คิดตามที่เคยได้ยินมาว่าอะไรเป็นประโยชน์แต่ไม่มีเรื่องที่คุณพูด พวกเขาจึงอาจไม่เห็นด้วยกับคุณ แต่คุณต้องเชื่อในตัวเองให้มาก และหากคุณมีความเป็นศิลปินอยู่ด้วย วอซแนะนำให้ทำงานคนเดียว สิ่งที่เรายอมเอาเวลาว่างมาทำมัน สิ่งนั้นย่อมเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับเราอย่างแน่นอน และขอใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
เป็นอัตชีวประวัติที่วอซเล่าให้เราฟังอย่างสบายๆ เขาเป็นคนชอบบุกเบิกสิ่งใหม่ๆเสมอ เขาอยากเป็นคนแรก และเขาก็ทำได้ทุกครั้ง ตั้งแต่เล็กจนโตเขาเป็นอัจฉริยะมาโดยตลอด และได้อยู่ท่ามกลางทรัพยากรที่พร้อมเพรียง ทั้งเงิน, หนังสือ, องค์ความรู้, อุปกรณ์, และการเข้าถึงโอกาส เมื่อความอัจฉริยะมาพบกับทรัพยากรที่สมบูรณ์ อัจฉริยะก็ฉายแสง และโลกใบนี้ก็เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:SteveWozniak2014_viappy.jpg |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น