โดยเฉพาะฟังชั่นตัวชูโรงที่ชื่อว่า Crystalizer ซึ่งได้จำลองเทคโนโลยี Crystalizer ของการ์ดเสียง Creative Sound Blaster X-Fi อันโด่งดัง (สมัย X-Fi เพิ่งออกใหม่ๆคือดังมากๆ) มาให้ใช้กันฟรีๆโดยไม่ต้องมีการ์ดเสียง X-Fi ซึ่งเทคโนโลยีนี้เดิมอ้างว่าสามารถปรับปรุงคุณภาพเสียงที่ถูกบีบอัดให้มีรายละเอียดเพิ่มขึ้นได้ เสียงออกมาจะมีช่วงไดนามิกที่กว้างขึ้น ลึกขึ้น และให้เสียงที่ชัดใสกว่าเดิม
และยังมีฟังชั่นปรับปรุงคุณภาพเสียงอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น
- EQ เอาไว้ปรับแต่งย่านเสียงเพื่อชดเชยความถี่ที่หายไปให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมหรือตามใจชอบได้เลย มีหลายย่านให้ปรับแต่งได้อย่างละเอียดมากๆ
- Limiter จำกัดระดับเสียงให้ไม่ดังเกินระดับที่จำกัดไว้ จะได้ไม่ตกใจกับเสียงตูมตอนที่ลืมปรับโวลลุ่มลง
- Loudness Compensator ช่วยชดเชยความถี่เสียงที่อาจสูญหายไปในระดับเสียงเบา โดยเพิ่มเสียงในย่านเบสและแหลมเพื่อให้เสียงมีความสมดุลและชัดเจนขึ้นในทุกระดับความดัง เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้งานลำโพงขนาดเล็กหรือฟังเพลงในระดับเสียงเบา
- Auto Gain ช่วยตรวจจับเสียงเบาๆโดยอัตโนมัติ เช่น เสียงกระซิบ แล้วจะปรับให้เสียงเบาๆนั้นดังขึ้นโดยไม่ทำให้เสียงอื่นๆดังขึ้นไปด้วย
- Reverberation เพื่อจำลองเสียงสามมิติอย่างง่าย เลือกขนาด Room หรือปรับแต่งได้ตามต้องการ
- Bass Enhancer เพิ่มความแน่นของเสียงด้วยการเพิ่ม Harmonic ของเสียงเข้าไป เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเสียงที่แน่นขึ้น หรืออาจเป็นตัวช่วยที่ดีผู้ที่ใช้ลำโพงเล็กๆและต้องการเสียงที่แน่นกว่าเดิม
- Convolver สามารถจำลองระบบประมวลผลเสียงต่างๆได้ เช่น Dolby Digital, Dolby Pro Logic II, Creative CMSS-3D, DTS, etc. ซึ่งระบบเหล่านี้จะสร้างเสียงรอบทิศทาง (Virtual surround) จากระบบสเตอริโอได้ (ใช่ครับ จะมีเสียงมาจากข้างหลังได้ทั้งที่มีแค่ลำโพงหรือหูฟังสเตอริโอ หากเป็นลำโพงต้องจัดวางลำโพงทั้งสองให้ขนานกันและมีระยะห่างของจุดนั่งเท่ากับระยะห่างของลำโพงจะได้ตำแหน่งที่ดีที่สุด) หรือจำลองระบบเสียงอื่นๆ เช่น Creative Sound Blaster X-Fi MB3, Tube TrueSound (แอมป์หลอดสุญญากาศ) เป็นต้น แต่ต้องใช้กำลังภายในเพื่อศึกษาและหาไฟล์ .irs ซึ่งไม่ขอลงรายละเอียดในที่นี้นะครับ หากสนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมด้วยตัวเองว่าตัวไหนมีคุณภาพอย่างไร แต่จะกล่าวถึงวิธีการใช้พอสังเขปดังนี้ เมื่อได้ไฟล์ .irs มาแล้วให้ไปที่ Home จากนั้นไปที่ .var/app/com.github.wwmm.pulseeffects/config/PulseEffects/irs แล้ววางไฟล์ .irs ไว้ในนั้น จากนั้นเมื่อจะใช้งานก็เพียงเข้าฟังชั่น Convolver แล้วกดที่รูปลูกคลื่นที่ฝั่งขวา แล้วเลือกตัวประมวลผลเสียงที่ต้องการได้เลย (ซึ่งกิน CPU เพิ่มขึ้นพอสมควรทีเดียว)
- Crystalizer ช่วยฟื้นฟูช่วงไดนามิกและแอทแทคของเสียงที่ถูกลดทอนจากการบีบอัด เพื่อเพิ่มละเอียดที่สูญเสียไปให้กลับคืนมาโดยผ่านการวิเคราะห์ทางดิจิทัล ทำให้เสียงมีความคมชัดใสมากขึ้น อิ่มขึ้น และอาจฟังดูมีคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น ซึ่งค่าปรับแต่งปริยายก็ใช้ได้เป็นอย่างดี แต่หากยังไม่ชอบใจก็สามารถปรับแต่งเองได้อย่างอิสระตามสไตล์ Linux (การเปิด Aggressive Mode จะเพิ่มความเข้มข้นขึ้น แต่อาจทำให้เสียงไม่เป็นธรรมชาติในบางกรณี แนะนำว่าไม่เปิดดีกว่า)
- และอื่นๆอีกมากมายลองไปเล่นกันดูครับ ปรับแต่งได้ทั้งฝั่ง Output และ Input ซึ่งหากออกเวอร์ชั่นใหม่ๆก็อาจจะเพิ่มฟังชั่นขึ้นมาอีกเรื่อยๆ
วิธีติดตั้งก็เพียงเข้าไปที่ Software Manager แล้วค้นหาชื่อ PulseEffects แล้วติดตั้งตามระบบได้เลย เป็นอันเรียบร้อย จากนั้นเปิดโปรแกรมขึ้นมาก็พร้อมใช้งานได้แล้วล่ะครับ
วิธีใช้ก็เพียงติ๊กถูกหน้าชื่อฟังชั่นที่ต้องการ โปรแกรมก็จะทำงานอยู่เบื้องหลังให้ทันที หากต้องการปรับแต่งก็เพียงคลิกที่ชื่อฟังชั่นนั้นๆก็สามารถเข้าไปปรับแต่งได้ตามต้องการ
*หมายเหตุ* บางเครื่องเมื่อเปิดเครื่องมาใหม่โปรแกรมไม่รันอัตโนมัติ ดูวิธีตั้งค่าให้รันอัตโนมัตเมื่อเปิดเครื่องทุกครั้งได้ที่ส่วนแถมท้ายบทความครับ
เท่าที่ผมได้ลองใช้ โดยเฉพาะ Crystalizer ต้องบอกว่ายังไม่เหมือนกับ Crystalizer ของ Creative Sound Blaster X-Fi ซะทีเดียว แต่ก็นับว่าทำออกมาได้ดีมาก เป็นทางเลือกที่แนะนำสำหรับชาว Linux เพราะทำให้คุณภาพเสียงส่วนใหญ่ดีขึ้นได้จริง แต่จะมากน้อยแค่ไหนหรืออย่างไรก็ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลแล้วล่ะครับ เพราะซอร์ฟแวร์ปรับแต่งเสียงอาจทำให้บางคนก็รู้สึกว่ามันหลอกหูก็จะไม่ชอบ แต่บางคนก็รู้สึกว่าทำให้เสียงเพราะขึ้นก็จะชอบ ก็นานาจิตตังครับ โดยเฉพาะสำหรับคนที่ใช้การ์ดเสียงหรือลำโพงเล็กๆคุณภาพธรรมดาๆ ตัวปรับแต่งเสียงนี้ก็อาจช่วยยกระดับเสียงให้ดีขึ้นได้บ้างไม่มากก็น้อย หรือเสียงที่มิกซ์แบบ Loudness war (ซึ่งมักเจอได้บ่อย อธิบายสั้นๆ คือ เป็นการมิกซ์เสียงแบบดังเกินไปมาตั้งแต่ต้นฉบับ เพื่อให้เสียงดังแข่งกับเพลงอื่น เพราะเมื่อเปิดเพลงต่อกันเพลงที่มิกซ์เสียงดังกว่าจะเรียกร้องความสนใจจากผู้คนได้มากกว่า ทำให้ค่ายเพลงแข่งกันมิกซ์ให้ดังขึ้นเรื่อยๆ จนยอดคลื่นเสียงถูกคลิป ทำให้เสียงขาดไดนามิก จึงเรียกว่า สงครามเสียงดัง หรือ Loudness war) Crystalizer ก็ช่วยคืนไดนามิกขึ้นมาได้ แต่สำหรับผู้ที่ใช้ไฟล์เสียงคุณภาพสูง การ์ดเสียงชั้นดี และลำโพงเทพอยู่แล้ว การปรับแต่งเสียงด้วยซอร์ฟแวร์ก็อาจไม่จำเป็นก็ได้ครับ แต่ไม่ว่าอย่างไร PulseEffects ก็คุ้มค่า ครบเครื่อง ที่สำคัญคือฟรี จะลองสักหน่อยก็คงไม่เสียหายอะไร จึงเอามาแนะนำให้เพื่อนๆไปลองเล่นกันดูครับ
ในการฟังเครื่องเสียง สิ่งสำคัญคือต้องฟังแล้วรู้สึกสบายหูที่สุด แสดงว่านั่นเหมาะกับเราที่สุดแล้วครับ แต่ถ้าฟังไปสัก 2-3 เพลงแล้วหูล้าๆเหนื่อยๆ แบบนั้นแสดงว่าระบบเสียงนั้นไม่เหมาะกับเราครับ
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการฟังเพลงครับ
แถม
เมื่อติดตั้งแล้วบางระบบ PulseEffects จะไม่รันอัตโนมัติ หากต้องไปเปิดโปรแกรมเองทุกครั้งที่เปิดเครื่องใหม่ซึ่งไม่สะดวกแน่ สำหรับ Zorin OS หรือ Linux Ubuntu base ให้ทำตามนี้ครับ
- เข้า PulseEffects กดตรงขีดสี่ขีดบริเวณมุมขวาบนเพื่อเข้าไปตั้งค่า
- เลือก Start Service at Login จากนั้นก็รีสตาร์ต เท่านี้บางเครื่องก็อาจจะรันเองแล้ว แต่บางเครื่องก็ไม่ (ส่วนใหญ่จะไม่) หากไม่ ก็ให้ทำตามวิธีการต่อไป
- เข้าไปใน Home เปิดให้โชว์ไฟล์ที่ซ่อนอยู่ (Show Hidden Files) แล้วเข้าไปในโฟลเดอร์ตามนี้ .var/app/com.github.wwmm.pulseeffects/config/autostart
- ก๊อปไฟล์ pulseeffects-service.desktop ไปวางไว้ที่ .config/autostart ซึ่งอยู่ใน Home เหมือนกัน
- จากนั้นเข้าไปในไฟล์ pulseeffects-service.desktop ด้วยโปรแกรมแก้ไขข้อความ
- แก้จาก Exec=pulseeffects --gapplication-service เป็น Exec=/usr/bin/flatpak run --branch=stable --arch=x86_64 --command=pulseeffects com.github.wwmm.pulseeffects --gapplication-service
ก็เป็นอันเสร็จสิ้น จากนี้เมื่อเปิดเครื่อง PulseEffects ก็พร้อมทำงานอยู่เบื้องหลังทันทีครับ
อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น