Crystal radio "JazzyCR v0.99beta Pocket Radio" |
แต่เนื่องจากไม่มีแบตเตอร์รี่เสียงที่ได้จึงค่อนข้างเบาเหมือนยุงบินอยู่ข้างหู!
แต่ฟังรู้เรื่องครับ
สมัยก่อนเป็นวิทยุทำเองยอดนิยมสำหรับคนใฝ่รู้ ในยุคที่หนังสือยังไม่แพร่หลายนัก
คนที่รักการศึกษาก็จะเรียนผ่านวิทยุแทนครับ(รวมถึงข่าวสาร
และบันเทิง)
ถึงเสียงเบาแต่สามารถฟังเพลินได้ทั้งวันครับ
การสร้างวิทยุแร่ในยุคนั้นเป็นก็เหมือนใช้คอมฯหาความรู้ในยุคนี้ครับ
จนกระทั่งถึงยุควิทยุทรานซิสเตอร์ใช้แบตเตอร์รี่ซึ่งมีเสียงดังฟังชัด
วิทยุแร่ก็เสื่อมความนิยมลงตั้งแต่นั้น แต่หากมองว่าไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการรับฟัง วิทยุแร่จะจัดเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลที่เรียบง่ายและสุดยอดที่สุดได้เหมือนกันนะ
วงจรวิทยุแร่นี้ผมได้ศึกษาและออกแบบให้สามารถเปลี่ยนสถานีได้ในขนาดพกพาด้วยการขยับแท่งเฟอร์ไรท์แบบ Rocket Radio
และเป็นวงจรที่เสถียรที่สุดเท่าที่เคยทำมาไม่มีสัญญาณแทรกหรือขาดหายเลยครับ ไม่พูดพร่ำทำเพลงแล้วมาดูอุปกรณ์และวงจรกันเลยดีกว่าครับ
;)
วงจรวิทยุแร่ Crystal radio "JazzyCR v0.99beta Pocket Radio" ใช้งานจริงไม่ต้องต่อกราวด์ก็ได้ |
อุปกรณ์
- D1 ไดโอด เบอร์ 1N60
- R1 ตัวต้านทาน 100kΩ
- C1 ตัวเก็บประจุเซรามิก 150pF
- L1 ลวดเคลือบน้ำยา #25 120-140 รอบ
- L2 ลวดเคลือบน้ำยา #25 15 รอบ (พันทับ L1 ตรงกลางขด)
- แท่งเฟอร์ไรท์ 2" (บากรอยจากแท่งยาวแล้วหักเอา)
- สายไฟ 1 เส้น ไว้โยงกับอากาศ ยาว 5 หลา
- ปากคีบ
- หูฟังแร่
ขดลวดเคลือบน้ำยาเบอร์
25
ซื้อมาสัก
4-5m
ก็คงเหลือครับ
ส่วนขาขดลวดก่อนจะต่อวงจรให้ขูดฉนวนน้ำยาเคลือบออกก่อนนะครับ เมื่อได้อุปกรณ์ครบแล้วแล้วก็ต่อตามวงจรได้เลยครับ
แล้วทีนี้เรามาดูรายละเอียดที่ขดลวดเปลี่ยนสถานีกันครับ
การเปลี่ยนสถานีใช้แนวคิดของค่าความเหนี่ยวนำ
โดยขดลวดจะมีค่าเหนียวนำที่ตายตัว
แต่จากหลักการที่ว่าถ้ามีตัวนำสอดเข้าไปในขดลวดค่าความเหนี่ยวนำจะเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนค่าเหนี่ยวนำของขดลวดคือการเปลี่ยนความถี่ที่ใช้รับนั่นเองครับ
จึงได้นำแท่งเฟอร์ไรท์มาตราฐาน(หาได้ที่ร้านอุปกรณ์อิเล็กฯ)มาทดลอง
ทำให้เป็นวิทยุแร่ขนาดพกพาที่สามารถเปลี่ยนสถานีได้เสถียรที่สุดเท่าที่เคยทำมาไม่มีสัญญาณแทรกหรือขาดหายเลยครับ
เสียงชัดมาก
รูปทดสอบการต่อวงจรจริง เปลี่ยนคลื่นด้วยการขยับแท่งเฟอร์ไรท์ |
วิธีทำขดลวดเปลี่ยนสถานี
-
ใช้กระดาษแข็งยาว
2.5
- 3" ม้วนรอบแท่งเฟอร์ไรท์เพื่อทำเป็นแถบพันขดลวด
-
พันขดลวดบนกระดาษแข็งในพื้นที่
2"
อย่างเป็นระเบียบ
พันสองชั้น
ชั้นละ 60
รอบ(รวมทั้งหมด
120รอบ)หรือมากกว่า
แล้วตัดให้เหลือปลาย
2
ด้าน
-
พันขวดลวดซ้อนไว้ตรงกลางอีกชั้นนึง
15
รอบ
และเอาปลายข้างนึงพันไว้กับปลายของขดแรก
และใช้ปลายอีกข้างต่อกับสายอากาศ
-
แท่งเฟอร์ไรท์ที่ซื้อมาจะยาว
5"
กว่า
ให้ตัดออกเพราะใช้แค่
2"
(ใช้เลื่อยตัดเหล็กบากให้เป็นรอยแล้วหักเอา
ถ้าเลื่อยให้ขาดยากมากมันแข็งเหมือนเหล็กชุบแข็งเลย
แค่บากเลื่อยก็บิ่นแล้ว
๕๕๕)
แค่ขยับแท่งเฟอร์ไรท์เข้าออกเพื่อเปลี่ยนนค่าความเหนี่ยวนำก็สามารถมาเปลี่ยนสถานีได้แล้วล่ะครับ
ต่อสายอากาศเข้ากับสายสัญญาณโทรศัพท์บ้าน |
วิทยุแร่นั้นเมื่อต่อวงจรเสร็จแล้วจะรับสัญญาณได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับสายอากาศเป็นสำคัญ
จากการทดลองภายในบ้านจะให้ขึงสายสัญญาณยาวๆก็ไม่สะดวก
ผมจึงลองหนีบสายอากาศเข้ากับสายขั้วสัญญาณของโทรศัพท์บ้าน
ใช้รับสัญญาณได้ดีมากเลยครับ
เพราะสายโทรศัพท์มันโยงมาจากภายนอกอยู่แล้วซึ่งยาวมากๆๆๆๆๆ
เราก็ใช้ประโยชน์จากตรงนั้นในการดักสัญญาณวิทยุมานั่นเองครับ(บ้างคนก็หนีบไว้สูงๆ หรือหนีบรั้วลวดหนามที่ยาวๆ
หรือสายโลหะที่ราวตากผ้า บ้างก็หลังคาสังกะสี
แต่รับได้ไม่ชัวร์เท่าสายโทรศัพท์ครับ)
และวงจรนี้ไม่จำเป็นต้องต่อกราวด์แต่อย่างใดครับ
เท่านี้คุณก็สามารถมีวิทยุเล็กๆที่ใช้รับฟังได้ตลอดไปโดยไม่ต้องห่วงว่าแบตฯจะหมดหรือไฟจะดับเลยล่ะครับ(ทำเป็นวิทยุฉุกเฉินประจำบ้านก็ได้นะ)
สุดท้ายนี้ขอให้มีความสุขกับวิทยุแร่ของคุณนะครับ
สวัสดีครับ ^_^
สุดท้ายนี้ขอให้มีความสุขกับวิทยุแร่ของคุณนะครับ
สวัสดีครับ ^_^
ปล. ห้ามใช้ขณะฝนตกฟ้าคะนองเด็ดขาด!
คลิปที่แล้วมีคนบอกว่าช่วงลองฟังเสียงนั้นสั้นเกินไป ครั้งนี้เลยบันทึกท่อนเสียงมาโดยเฉพาะเลยครับ โดยเอาหูฟังแร่จ่อกับไมค์ของกล้อง เสียงมาไม่เต็มเท่าไหร่ ถ้าฟังจริงๆเสียงจะชัดและแน่นกว่านี้หน่อยครับ
ธรรมชาติวิทยุแร่นั้นจะได้เสียงพูดฟังชัดที่สุดครับ ฟังข่าวได้ดี ฟังเพลงก็เพลินๆได้เรื่อยๆครับ
Good
ตอบลบเยี่ยมมาก
ตอบลบ