เห็ดหลินจือ(靈芝 เห็ดวิเศษแห่งจิตวิญญาณ) เป็นเห็ดมหัศจรรย์ที่ใช้บำรุงร่างกายมาหลายพันปี เพื่อยืดอายุ ชะลอความชรา ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง เสริมภูมิคุ้มกัน และรักษาโรคต่างๆได้อย่างกว้างขวาง แต่เน้นในการบำรุงร่างกายเป็นหลัก มักเห็นผลในระยะยาว จึงต้อยค่อยๆใช้เพื่อบำรุงไปเรื่อยๆ
เห็นหลินจือมีอยู่หลายสี แต่ละสีก็มีสรรพคุณต่างๆกันไปในรายละเอียด แต่ทุกสีโดยรวมก็บำรุงร่างกายได้เหมือนกัน โดยเห็ดหลินจือที่แพทย์แผนจีนยกย่องที่สุดคือเห็ดหลินจือดำ เพราะมีสรรพคุณบำรุงไตมากกว่าสีอื่นๆ แต่เห็ดหลินจือที่นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันให้ความสำคัญมากที่สุดคือเห็ดหลินจือแดง เพราะในงานวิจัยต่างๆพบว่ามีสารโพลีแซคคาไรด์มากที่สุดในบรรดาเห็ดหลินจือทั้งหมด ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระ, ลดผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด, กระตุ้นภูมิคุ้มกัน, บำรุงผิวพรรณ, ควบคุมการก่อตัวของเกร็ดเลือดและสลายลิ่มเลือด, ฯลฯ อื่นๆ ทั้งยังมีวิตามินและเกลือแร่มากมาย
ตามหลักปรัชญาจีน เห็ดหลินจือมีฤทธิ์กลาง(ไปทางอุ่น) ออกฤทธิ์ตามเส้นลมปราณของ ปอด ไต ตับ ม้าม หัวใจ และกระเพาะอาหาร
บำรุงชี่เลือด สามารถใช้ดื่มเพิ่มเสริมภูมิคุ้มกันและบำรุงร่างกายได้
บางตำราเสริมว่าช่วยบำรุงจงเจียว บำรุงสารจิง บำรุงสายตา ป้องกันความเครียด ขับชื้น สลายเสมหะ และล้างพิษได้
ในคัมภีร์เฉินหนงเปินเฉ่าจิง(คัมภีร์เภสัชศาสตร์ของเทพกสิกรรม)ได้กล่าวถึงเห็ดหลินจือแดงและดำไว้ว่า
=======
หลินจือแดง รสขม ฤทธิ์กลาง. รักษาการจับก้อนในหน้าอก, เพิ่มชี่หัวใจ, บำรุงจงเจียว, เพิ่มพูนสติปัญญา, ไม่ลืม. กินระยะยาวเบากายไม่แก่, ชะลออายุดั่งเทพเซียน. ชื่อหนึ่ง ตันจือ(เห็ดยาอายุวัฒนะ). เกิดแถวภูเขาหุบห้วย.
หลินจือดำ รสเค็ม ฤทธิ์กลาง. รักษาอาการปัสสาวะไม่คล่อง, ช่วยขับปัสสาวะ, เพิ่มชี่ไต, ทะลวงเก้าทวาร, หูไวฟังชัด. กินระยะยาวเบากายไม่แก่, ชะลออายุดั่งเทพเซียน. ชื่อหนึ่ง เสียนจือ(เห็ดมหัศจรรย์). เกิดแถวภูเขาหุบห้วย.
-คัมภีร์เฉินหนงเปินเฉ่าจิง
赤芝 味苦平。主治胸中結,益心氣,補中,增智慧,不忘。久食輕身不老,延年神仙。一名丹芝。生山谷。
黑芝 味鹹平。主治癃,利水道,益腎氣,通九竅,聰察。久食輕身不老,延年神仙。一名玄芝。生山谷。
《神農本草經》
=======
ปัจจุบันนี้แพทย์แผนจีนใช้เห็ดหลินจือเพื่อ
1) บำรุงปอดและไต รักษาอาการที่เกิดจากชี่ของปอดพร่อง ไตพร่อง เช่น ไอ หอบ เหนื่อยง่าย หายใจตื้น
2) บำรุงตับและไต รักษาอาการที่เกิดจากตับและไตพร่อง เช่น หูอื้อ หูหนวก อ่อนเพลีย เข่าไม่มีแรง
3) ลดความกระวนกระวาย แก้ชี่ของหัวใจพร่อง ซึ่งมีอาการ ชีพจรเต้นเร็ว นอนไม่หลับ และความจำเสื่อม
4) สำหรับแก้ม้ามพร่อง ที่มีอาการระบบย่อยไม่ดี
5) แก้ไวรัสตับอักเสบ บี
ในสมัยโบราณ ชาวจีนใช้เห็ดหลินจือเพื่อช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ให้พลังชีวิตมากขึ้น ใช้บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้มีกำลัง ทำให้ความจำดีขึ้น ทำให้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ชัดเจนดีขึ้น ส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสีหน้าแจ่มใส ชลอชรา
สรรพคุณอื่นๆที่ได้รวบรวมไว้ได้แก่ รักษาและต้านมะเร็ง รักษาโรคตับ ความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ ปรับความดันโลหิตทั้งสูงและต่ำ ภาวะมีบุตรยาก โรคภูมิแพ้ โรคประสาท ลมบ้าหมู เส้นเลือดอุดตันในสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ ปวดเมื่อย ปวดข้อ โรคเกาต์ โรคเอสแอลอี เส้นเลือดหัวใจตีบ ตับแข็ง ตับอักเสบ ปวดประจำเดือน ริดสีดวงทวาร อาหารเป็นพิษ แผลในกระเพาะอาหารและลำใส้ บำรุงสายตา และความเชื่อดังกล่าว ยังคงสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
ข้อควรระวัง
ไม่ควรใช้ในปริมาณมาก หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานในผู้ป่วยนิ่วในไต หรือเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูงเนื่องจากกรดออกซาลิค ควรดื่มน้ำมากๆเพื่อป้องกันการก่อตัวของออกซาเลท
=======
วิธีที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากเห็ดหลินจือคือการต้ม ถ้าเป็นไปได้จึงแนะนำให้ต้มหรือชงดื่มเป็นชาเห็ดหลินจือจะดีที่สุด แต่ถ้าไม่สะดวกต้มจะใช้แบบบดผงบรรจุแคปซูลก็โอเค ส่วนแบบสกัดนั้นมีงานวิจัยถึงผลข้างเคียงต่อตับจากการใช้ติดต่อกันระยะยาว จึงควรระมังระวังในการใช้อย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ว่าจะใช้หลินจือแบบใด (กรณีบำรุงสุขภาพทั่วไป)การใช้ต่อเนื่องก็ควรมีช่วงหยุดพักด้วย(ดูเพิ่มเติมได้ในส่วนแถม)
เห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถใช้เดี่ยวๆได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าตำรับ
เห็ดหลินจือแห้งเดี๋ยวนี้จะหั่นมาเป็นชิ้นๆ ต้มสะดวก ถ้ามีแบบเต็มดอกก็ควรหั่นเป็นชิ้นๆก่อนต้ม จะได้สารสำคัญออกมาดีที่สุด
วิธีต้มเห็ดหลินจือ
ใช้เห็ดหลินจือแห้ง วันละ 3-15 กรัม หรือ 1-10 ชิ้น นำมาล้างเร็วๆให้พอเอาเศษฝุ่นออก แช่น้ำสะอาดให้นิ่ม (30นาที+) แล้วนำไปตั้งไฟแรงจนเดือด จากนั้นปรับไฟอ่อนต้มต่อ 30 นาที+ นำน้ำมาดื่ม ดื่มตอนท้องว่างก่อนอาหารจะดูดซึมได้ดีที่สุด หรือหลังอาหาร 1 ช.ม.
ใส่น้ำตามสมควร ต้มซ้ำได้ตลอดวัน
สำหรับใช้บำรุงในคนสุขภาพดี ต้มเพียง 3 กรัม หรือประมาณ 1-2 ชิ้น/วัน ก็เพียงพอ
=======
🛒
=======
แถม
โดยปกติหลินจือจะบำรุงทุกอวัยวะอยู่แล้ว แต่จะเน้นเป็นพิเศษจากสีของหลินจือ
หลินจือแดง - หัวใจ
หลินจือม่วง - ข้อต่อ
หลินจือเขียว - ตับ
หลินจือขาว - ปอดและผิวหนัง
หลินจือเหลือง - ม้าม
หลินจือดำ - ไตและสมอง
-อ้างอิงจากคัมภีร์เปินเฉากังมู่(本草綱目)
หลินจือดำ ในตำราโบราณกล่าวว่ามีรสเค็ม ซึ่งเป็นการกล่าวตามหลักปรัชญาเพื่อให้กินความกว้าง(ไม่ได้หมายถึงแค่รสชาติ) แต่ความจริงนั้นรสหวาน ตำราใหม่ก็แก้เป็นรสหวานให้ตรงตามรสจริงๆแล้ว
สปอร์เห็ดหลินจือแคปซูล จะมีฤทธิ์อุ่น ผู้ที่ร่างกายแห้งควรใช้อย่างระมัดระวัง ส่วนหลินจือเป็นชิ้นๆที่เอามาต้มดื่มจะมีฤทธิ์กลาง ไม่ร้อนไม่เย็น ใช้ได้ทุกสภาพร่างกาย แต่ในชิ้นเห็ดย่อมมีสปอร์อยู่ด้วยจึงเป็นฤทธิ์กลางแต่ไปทางอุ่นเล็กน้อยนั่นเอง
ดังนั้น การใช้หลินจือเป็นระยะเวลานานอาจทำให้มีอาการแห้ง เช่น จมูกแห้ง, ปากแห้ง, คอแห้ง, ผิวแห้ง เป็นต้น ตำราดั้งเดิมแนะนำให้ใช้ เห็ดหูหนูขาว(白木耳) ~3-9 กรัม ร่วมกับหลินจือเพื่อเสริมหยินและสารเหลวให้กับปอดและกระเพาะ
ในกรณีใช้หลินจือเพื่อบำรุงสุขภาพทั่วไป แนะนำให้มีช่วงพักด้วย เช่น ใช้หลินจือ 2-3 เดือนแล้วพัก 1-2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน แล้วค่อยใช้ต่อเป็นต้น หรือจะพักนานกว่านั้นก็ได้ เพราะเมื่อหลินจือล้างพิษร่างกายหมดแล้วก็ควรหยุด เพราะหากยังใช้ต่อเนื่องนานเกินไปมันอาจจะล้างเอาสารอาหารออกไปแทน ทำให้เกิดอาการพร่อง การพักบ้างหลังใช้ต่อเนื่องติดต่อกันนานๆจึงเป็นสิ่งที่แนะนำสำหรับผู้ที่ใช้หลินจือบำรุงสุขภาพทั่วไป
|
หลินจือธรรมชาติพบได้ตามขอนไม้ |
|
ข้างใต้เห็ดหลินจือจะขาวๆ |
|
ก้านดอกของเห็ดหลินจือจะอยู่ที่ขอบดอก ต่างจากเห็ดทั่วไปที่ก้านอยู่ตรงกลาง |
|
หลินจือดำ |
อ้างอิงและศึกษาเพิ่มเติม