Sponsor

23 พฤษภาคม 2566

สรุปบทเรียนจาก The Kite Rider - เด็กชายผู้ขี่ว่าว

ในสังคมที่สอนว่าต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่อย่างไม่ลืมหูลืมตานั้น เราควรจะมีสามัญสำนึกและมีลิมิตในการทำตามคำสั่ง โดยเฉพาะกับผู้ใหญ่ที่ตั้งใจหลอกใช้และเอาเปรียบเด็ก โดยเอาตรงจุดนี้มาเป็นข้ออ้าง "เป็นเด็กดีก็ต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่" คำสอนนี้ใช้ได้หากกล่าวโดยคนที่หวังดี แต่ใช้ไม่ได้เลยหากกล่าวโดยคนที่หวังร้าย ในการเชื่อฟังจำเป็นต้องมีสามัญสำนึกที่รู้ผิดชอบชั่วดีรวมอยู่ด้วย การสั่งสอนให้เชื่อฟังโดยไม่รวมสามัญสำนึกเอาไว้นั้น คือความไม่หวังดีตั้งแต่ต้น
นี่คือข้อคิดหนึ่งที่ผมได้จากการอ่านเรื่องราวการผจญภัยของเหาโหย่วในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง The Kite Rider - เด็กชายผู้ขี่ว่าว เรื่องนี้เป็นธีมประเทศจีนโบราณที่เขียนโดยนักเขียนชาวต่างชาติมือรางวัลคุณ Geraldine McCaughrean เป็นวรรณกรรมเยาวชนที่น่าอ่าน ถ่ายทอดเป็นภาษาไทยโดยคุณ สุวัฒน์ หลีเหม ของสำนักพิมพฝ์ Bear Publishing
ยังมีมุมมองให้ขบคิดอีกมากในหนังสือเล่มนี้กับการผจญภัยของเหาโหย่ว เด็กชายผู้ขี่ว่าว เด็กน้อยผู้ได้เห็นโลกในมุมมองที่สูงเสียดฟ้า เขาได้เจออะไรบนท้องฟ้าและเขาได้เจออะไรบนพื้นดิน คงต้องติดตามอ่านได้ครับกับวรรณกรรมเล่มนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น