Sponsor

18 มิถุนายน 2568

Emergency tent - เต็นท์ฉุกเฉิน ที่พักพิงยามจำเป็น

เต็นท์ฉุกเฉิน
ภาพจาก http://t.ly/JXlr7

ในการเอาตัวรอดในสถานการณ์ฉุกเฉิน (Survival) หนึ่งในสิ่งสำคัญ คือ ที่พักพิง (Shelter) ถ้าเป็นการ Bushcraft ก็อาจจะสร้างที่พักพิงขึ้นมาจากวัสดุธรรมชาติในป่ารอบตัว เพื่อดำรงชีพอยู่ในป่าต่อไป แต่ในกรณี Survival นั้น จะเน้นการเอาตัวรอดอย่างรวดเร็วเพื่อรอความช่วยเหลือต่อไป ทำให้อุปกรณ์ต่างๆต้องพร้อมสำหรับอย่างน้อย 3 วัน (72 ช.ม.)
ที่พักพิงจะเน้นไปการป้องกันร่างกายจากสภาพอากาศเพื่อช่วยรักษาพลังงานและอุณหภูมิแกนกลางของร่างกายให้คงที่ซึ่งสำคัญต่อชีวิต ไม่ว่าจะเป็นจากแดด ลม ฝน หมอก หรือน้ำค้าง หากมีเต็นท์มาตราฐานก็จะดีมาก แต่หากไม่มี การใช้เต็นท์ฉุกเฉิน (Emergency tent; Tube tent) ก็เป็นอีกตัวเลือกสำหรับการเอาตัวรอด
เต็นท์ฉุกเฉินมักจะเป็นวัสดุกันน้ำ บางเบาแต่ทนทาน มักจะใช้เชือกขึงระหว่างต้นไม้สองต้นแล้วหาอะไรมาขึงหรือทับไว้ที่มุม ตัวเต็นท์จะเป็นทรงท่อให้มุดเข้าไปนอน หรือหากไม่มีต้นไม้ให้ขึงเชือกก็อาจนำมาใช้เป็นถุงนอน ด้วยการซุกตัวเข้าไปเพื่อกันหนาวกันน้ำค้างได้ เต็นท์ฉุกเฉินพวกนี้สามารถพับเก็บและนำมาใช้ซ้ำได้จนกว่าจะขาด
เต็นท์ฉุกเฉินนับว่าเป็นอุปกรณ์อีกอย่างที่ควรมีติดไว้เผื่อใช้ในยามจำเป็น ใช้ได้ทั้งเป็นเต็นท์และเป็นถุงนอนเฉพาะกิจ

🛒เต็นท์ฉุกเฉินพร้อมเชือก https://s.shopee.co.th/8KdpTzhcoq, https://s.shopee.co.th/8KdpZDZfBS
🛒ผ้าห่มฉุกเฉิน, ผ้าห่มอวกาศ https://s.shopee.co.th/30cJDRbhJR
🛒เต็นท์ Mobi Garden https://s.shopee.co.th/1LU5lrfo3P






แถม
เต็นท์ฉุกเฉินส่วนใหญ่ไม่มีประตู แต่สามารถประยุกต์ปิดประตูได้ด้วยการ รวบขอบเต็นท์ทั้งสองด้านขยุ้มเข้ามาแล้วใช้เชือกหรือยางมัดเข้าด้วยกัน พื้นที่ข้างในอาจลดลงนิดหน่อย แต่ก็ช่วยปิดปากทางเต็นท์ได้ครับ
วัสดุของเต็นท์ฉุกเฉินนั้นมักจะเป็นวัสดุเดียวกันกับผ้าห่มฉุกเฉิน คือ เป็นวัสดุสังเคราะห์ที่กันอากาศเข้าออกเกือบจะ 100% ดังนั้น หากปิดสนิทเกินไปอาจทำให้ร้อนมากเกินไป (ยกเว้นในที่เย็น) หายใจไม่ออก และอาจเกิดความชื้นป็นหยดน้ำภายในได้ การมีช่องลมระบายอากาศบ้างจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

หนึ่งเสื้อกันฝนคือหนึ่งเต็นท์สำหรับหนึ่งคน

อุปกรณ์อีกอย่างที่น่าสนใจสำหรับชาว Bushcraft ซึ่งปกติเวลาจะทำที่พักก็มักจะใช้วัสดุธรรมชาติรอบตัว (สาย Hardcore) แต่หากประยุกต์จากของที่เตรียมไปด้วยก็จะสะดวกขึ้น นอกจากเต็นท์ฉุกเฉินแล้ว เสื้อกันฝนซึ่งควรจะนำไปด้วยอยู่แล้ว ก็เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจที่จะนำมากางเพื่อทำเต็นท์ฉุกเฉินได้เช่นกัน หากของต่างประเทศมักจะเป็น Polish Lavvu ซึ่งเป็นเสื้อกันฝนทหารโปแลนด์ที่ออกแบบมาเพื่อประยุกต์เป็นที่พักในตัว แต่หายากในประเทศไทยและราคาแพงเพราะทำจากผ้าใบธรรมชาติ (แน่นอนว่าระบายอากาศดี) หากในไทยสามารถใช้เสื้อกันฝนค้างคาว (Poncho; แบบที่ไม่มีแขนเสื้อ) แทน ซึ่งควรมีขนาดที่กางเป็นแผ่นแล้วกว้างยาวประมาณ 140x200 cm+ หรือ 55"x78"+ ยิ่งใหญ่ก็ยิ่งดี แต่ไซส์ส่วนใหญ่ในไทยจะประมาณนั้นบวกลบเล็กน้อย และควรมีตาไก่ที่มุมทั้งสี่เพื่อเอาไว้ปักหมุดหรือร้อยเชือกเพื่อขึงทรง (หากไม่มีตาไก่ก็อาจใช้หินหรือก้อนดินห่อด้วยมุมเสื้อฝนแล้วมัดเชือกขึงหรือทำห่วงสำหรับปักหมุดก็ได้) ยิ่งเบาก็พกพาสะดวก แน่นอนว่าควรเตรียมเชือกไปด้วยอย่างน้อย 5 m หรือไม่ก็หาไม้ค้ำเอา ส่วนหมุดก็ค่อยใช้กิ่งไม้แถวนั้น
การใช้เสื้อกันฝนประยุกต์เป็นเต็นท์นั้น ก็จะมีแค่หลังคาแต่ไม่มีแผ่นรองที่พื้นเหมือนเต็นท์ฉุกเฉิน และไม่มีประตู แต่ก็พอใช้เป็นที่พักฉุกเฉินกันแดดลมฝนน้ำค้างได้บ้าง และวางอุปกรณ์ไว้ภายในได้ หาก Bushcraft สองคน ใช้เสื้อกันฝนสองตัวมาต่อกันได้ก็จะเพิ่มพื้นที่ใช้สอยได้มากขึ้น
สำหรับคนที่ไม่อยากใช้ลายพรางทหาร แต่ก็ต้องการโทนสีที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมด้วย (แต่จะไม่เนียนเท่าลายพราง) ควรเลือกใช้ สีเขียวมะกอก สีแทน สีกากี สีน้ำตาล สีเทา สีเหล่านี้เป็นสีที่กลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมทั่วไป ใช้สีใดก็ได้ แต่ว่าก็มีที่หลักๆของมันที่กลมกลืนเป็นพิเศษ เช่น
  • สีเขียวมะกอก อาจเข้าได้ดีเป็นพิเศษกับบริเวณพืชพรรณไม้เขียวชะอุ่ม
  • สีแทน สีกากี สีน้ำตาล อาจเข้าได้ดีเป็นพิเศษกับบริเวณหญ้าแห้ง ไม้แห้ง ดิน โคลน ทราย
  • สีเทา อาจเข้าได้ดีเป็นพิเศษกับบริเวณที่มีโขดหิน ดินทราย ใต้ร่มเงา เขตเมือง
แนวคิดของสีกลมกลืนนี้ก็สามารถใช้กับเครื่องแต่งกายได้ด้วยโดยไม่จำเป็นต้องใช้ลายพรางเสมอไป โดยเฉพาะสำรับพลเรือน หากต้องการแค่สีเดียวใช้หลากหลายก็แค่เลือกให้เหมาะกับบริเวณที่ใช้บ่อยเป็นหลักก็พอ เพราะสีเหล่านี้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อมอยู่แล้วครับ

เสื้อกันฝนค้างคาวยังอาจใช้เป็นที่ดักน้ำฝนได้ โดยผูกเสื้อกันฝนให้หงายขึ้น และให้ส่วนหัวอยู่ตรงถังน้ำ เมื่อฝนตกเสื้อกันฝนก็จะทำหน้าที่เหมือนเป็นกรวยยักษ์พาน้ำไหลเข้าถังได้อย่างสะดวกนั่นเอง






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น