Sponsor

27 ตุลาคม 2553

Harmonica Club Webboard - มีบอร์ดสำหรับชาว Harmonica แล้วคร้าบบ

สวัสดีคร้าบ เพื่อนๆชาวฮาร์โมนิก้า ประการศข่าวสักหน่อย

ประกาศคร้าบ ประกาศ! ตอนนี้มีบอร์ดสำหรับชาว Harmonica และ Melodion แล้วครับ ไว้สำหรับพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ใครสงสัยอะไรก็ถามไว้ได้เลยครับ เข้าไปที่

======================

http://jazzy.pantown.com

แล้วดูแถบเมนูทางซ้าย คลิก Harmonica Club

ชาวเมโลเดี้ย คลิกที่ Melodion Club

และร่วมพบปะพูดคุยกับชาวฮาร์ปได้ที่

Facebook - Harmonica-Club-Thailand

======================

เข้าไปร่วมสนทนากันได้ครับ ตอนนี้ยังไม่ค่อยมีคนเข้าไปเท่าไหร่ ชาว Harmonica เราคงยังน้อยอยู่ ชวนๆกันมานะครับ สังคมฮาร์โมฯ ของเราจะได้ใกล้ชิดกันมาขึ้น

แล้วเจอกันครับ

04 ตุลาคม 2553

Harmonica History - ประวัติฮาร์โมนิก้า


ครั้งนี้เรามาพักการซ้อม Harmonica กันซักบทความนึงดีกว่า แล้วมาประดับความรู้เกี่ยวกับประวัติของ Harmonica ที่หลายๆคนถามถึงกันหน่อย จะได้รู้ความเป็นมาต่างๆของเครื่องดนตรีที่เรารักและเล่นอยู่เป็นประจำกันครับผม Harmonica หรือรู้จักกันในชื่ออื่นๆ เช่น Blues Harp, Mississippi saxophone, Mouth Organ หรือภาษาไทยเรียกว่า หีบเพลงปาก ฮาร์โมนิกาจัดอยู่ในประเภทเครื่อง Wood Wind หรือเครื่องลมไม้ เล่นด้วยวิธีการ เป่าและดูด สมัยโบราณเมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนที่ประเทศจีน มีการสร้างเครื่องดนตรีที่ใช้โลหะมาทำเป็นลิ้นเสียงใช้เป่าและดูดเพื่อให้เกิดเสียงดนตรีแบบเดียวกับฮาร์โมนิกาปัจจุบัน จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นของฮาร์โมนิกาที่เก่าแก่ที่สุด

ประวัติฮาร์โมนิกาในปัจจุบันนั้นเริ่มขึ้นในปี ค.ศ.1821 หรือ พ.ศ.2364 โดยคริสเตียน ไฟรดริช บุสชมานน์ วัย 16 ปี เป็นผู้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ประดิษฐ์กรรมทางดนตรีของเขา ซึ่งเขาเรียกว่า ออร่า(Aura หรือ Aeolina? หรือ Mund-Aeoline?) บุชมานน์ อธิบายแก่พี่ชายของเขาว่า เครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นเครื่องดนตรีพิเศษ ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงแค่ 4 นิ้ว แต่ให้เสียงดนตรีได้ถึง 20 ตัวโน้ต จากนั้นเขาเริ่มออกแบบฮาร์โมนิกา และก็มีผู้นำไปปรับแต่งและพัฒนาออกมาอีกมากมาย นักประดิษฐ์เครื่องดนตรีชาวโบฮีเมียนนามว่า "ริชเตอร์" เป็นผู้ที่ทำการพัฒนาครั้งสำคัญที่สุดในการออกแบบฮาร์โมนิกายุคใหม่


ราวๆปี 1829 เขาได้พัฒนาความหลากหลายของเครื่องดนตรีชนิดนี้ ซึ่งประกอบไปด้วย 10 ช่อง 20 ลิ้นเสียง และรูปแบบการเรียงโน้ตของฮาร์โมนิกา เรียกว่า Richter-Tuned หรือ การตั้งเสียงแบบริชเตอร์ เป็นมาตรฐานมาถึงปัจจุบัน ในปี 1857 ประวัติของฮาร์โมนิกาได้เปลี่ยนไปอย่างมาก เมื่อช่างนาฬิกาชาวเยอรมัน แมตทิสซา ฮอห์เนอร์ หันเหสู่อุตสาหกรรมผลิตฮาร์โมนิกาชนิดเต็มรูปแบบซึ่งเขาคิดไม่ผิด เพราะในปีนั้นเพียงปีเดียวเขาสามารถผลิตเครื่องดนตรีออกมาถึง 650 ชิ้น หลังจากนั้นไม่นาน เขาก็มีงานให้คนในท้องถิ่นทำ และก็พัฒนาสินค้าให้เป็นที่รู้จัก


ฮอห์เนอร์นำฮาร์โมนิกาเข้าสู่อเมริกาเหนือในปี 1862 ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนให้บริษัทของเขาขึ้นไปยืนอยู่ในสถานะผู้นำในการผลิตฮาร์โมนิกา ในปี 1887 ฮอห์เนอร์ผลิตฮาร์โมนิกามากกว่า 1ล้านชิ้น และทุกวันนี้เขาก็ได้ผลิตฮาร์โมนิกาที่แตกต่างกันออกมามากกว่า 90 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดนั้นทำให้ผู้เล่นมีอิสระในการเลือกใช้กับแนวดนตรีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแนวดนตรี Classic, Jazz, Blues, Pop, หรือ Rock ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตฮาร์โมนิก้าก็มีหลากหลายยี่ห้อ ที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงก็ เช่น Hohner, Suzuki, Lee Oskar, Easttop, เป็นต้น

อ้างอิง
หนังสือพิมพ์มติชน
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

03 ตุลาคม 2553

Nokia Tune - เสียงริงโทนที่คุ้นหู

สัวสดีคร้าบช่วงนี้ร้อนๆฝนๆยังไงก็รักษาตัวกันทุกๆคนนะครับ จะได้เล่น Harmonica กันอย่างสบายใจกันถ้วนหน้า
แล้วเป็นไงกันบ้างกับแบบฝึกหัดครั้งก่อน ครั้งนี้เป็นทำนองเพลงง่ายๆขำๆ แต่คุ้นหู นั่นก็คือ Nokia Tune เสียงริงโทนของโนเกีย ฮ่าๆๆ หลายคนคุ้นหูกับเสียงนี้ครับ แต่เห็นโน้ตแล้วอาจจะยังนึกไม่ออก ลองเล่นดูครับ แล้วจะร้องอ๋อ กันเลยทีเดียว


คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่

ครั้งนี้ก็เท่านี้ก่อน ไว้เจอกับแบบฝึกหัดหน้า
ขอให้มีความสุขกับการเล่นดนตรีนะครับ
สวัสดีครับ ^_^

01 ตุลาคม 2553

Kenny G - Forever in Love

สวัสดีครับ กลับมาอย่างรวดเร็ว ผมไม่พล่ามมากล่ะคราวนี้ เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า
หลังจากฝึก Bending แล้วลองมาซ้อมด้วยเพลงนี้กันครับ Forever in Love ของ Kenny G นักเป่า Saxopone ระดับโลกที่เล่น Saxophone ได้หวานจับจิต เราก็เอามาเล่นใน Harmonica Version กันครับ

เพลงนี้มี Bending ช่องที่ 3 ดูดเป็นตัว ลา(A) ที่ห้อง 18 เพียงครั้งเดียวเท่านั้นเองครับ ฝึกสนุกๆขำๆ ครับ

ผมก็ทำโน้ตมาแค่ทำลองหลักๆของเพลงเท่านั้นนะครับ ท่อนอื่นๆที่เป็นลีลาของ Kenny G ก็ต้องลองฟัง ลองเล่นดูครับ
เข้าไปฟังเพลงนี้ได้ที่
 

ปล. โน้ตและคอร์ดผมแปลงเป็นคีย์ C ไว้เผื่อให้ง่ายต่อการอ่านและเล่น แต่เพลงต้นฉบับเป็นคีย์ F ถ้าต้องการให้ตรงกับคีย์ต้นฉบับก็ใช้ Harmonica คีย์ F ครับ


คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่


ขอให้มีความสุขกับการเล่นดนตรีนะครับ
^ ^


Bending & Chord Guide - แนะนำการเบนด์เสียง และคอร์ดฮาร์โมนิก้า

สวัสดีครับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ห่างหายไปนานครับกับการอัพบล๊อก เพราะยังสรุปแนวการ Bending ได้ยากมากครับ
ครั้งนี้ก็เลยควบ 2 บทเรียน การเบนด์เสียง กับการเป่าคอร์ด กันเลยครับผม

ผมเคยทำเรื่อง คอร์ด ไว้ที่เว็บเก่า https://jazzy.pantown.com ไว้แล้วครั้งนึง ตามลิ้งค์ไปศึกษาต่อได้เลยนะครับผม

ลิ้งค์การ Bending Note เป็นการสนทนาระหว่างผมกับคุณ shinethai จึงเอาลิ้งมาให้ได้ลองเข้าไปอ่านดู น่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆที่กำลังฝึก Bending บ้างล่ะนะครับ
ยังไงก็ลองหา VDO ใน Youtube มาดูไว้ด้วยก็ดีนะครับ ถ้าใครฟังภาษาต่างประเทศออกล่ะก็น่าจะเข้าใจไวขึ้น
Bending Harmonica คลิ๊กเลย>>> http://www.pantown.com/board.php?id=11555&area=&name=board5&topic=43&action=view (ลิ้งเก่าไม่ได้อัพเดทและเซิร์ฟอาจปิดไปแล้วครับ) หรือ https://jazzylj.blogspot.com/2013/02/basic-bending-overblow-harmonica.html

ส่วน Basic Chord Guide ก็เล่นง่ายๆ ฝึกง่ายๆครับ แต่ประเด็นสำคัญคือลองทำความเข้าใจเรื่องการสร้างคอร์ดดูนะครับ จะได้รู้ว่าจะ้ใช้โน้ตอะไรบ้างเวลาเจอคอร์ดที่ไม่เคยเห็น
Basic Chord Guide คลิ๊กเลย>>> http://www.pantown.com/board.php?id=11555&area=&name=board5&topic=36&action=view (ลิ้งเก่าไม่ได้อัพเดทและเซิร์ฟอาจปิดไปแล้วครับ) หรือ https://jazzylj.blogspot.com/2011/11/harmonica-basic-chord-guide.html

การฝึก Bending ถ้าขยันๆ ฝึกทุกๆวัน วันละไม่ต้องนานหรอกครับ แต่พยายามจับประ้เด็นของมันให้ได้ โดยทั่วไปก็ประมาณ 1 เดือน ก็ Bending ได้แล้วครับ เหลือแต่ฝึกให้คล่องๆ แต่บางคนได้ลองเล่นแล้ว บังเอิญจับจุดได้ Bending ได้ในครั้งแรกเลยก็มีครับ ถ้าใครยังไม่ได้ก็ไม่ต้องน้อยใจ ค่อยๆฝึก สนุกๆกับมันไปเรื่อยๆครับ(กว่าผมจะ Bending ได้ก็ตั้งเดือนแนะครับ ฮ่าๆ )

หากได้ประโยชน์จากบทความนี้
แล้วอยากจะเลี้ยงน้ำชา ข้าวผัด หรือมอบสินน้ำใจเป็นค่าครู
สามารถสนับสนุนได้ที่

ธนาคารกรุงไทย
9090619704
กนกเกียรติ หริรักษ์หรรษา

ขอบคุณสำหรับการสนับสนุนและกำลังใจนะครับ
ขอบคุณครับ🙏😇

ไว้เจอกับครั้งหน้าครับ จะมาพร้อมแบบฝึกหัดเพราะๆให้ฝึก Bending กับพอขำๆ(ไม่กี่โน้ต) ขอให้มีความสุขกับการเล่นดนตรีครับ
^ ^