Sponsor

13 มิถุนายน 2555

Basic Blues Harmonica - บูลส์ฮาร์โมนิก้าเบื้องต้น

สวัสดีครับเพื่อนๆที่ติดตามอ่านบล๊อค Jazzylj บทความฮาร์โมนิก้าหายหน้าหายตาไปนานพอสมควร(จริงๆแล้วนานมาก ฮา)  กลับมาตามที่สัญญาไว้แล้วคร้าบ ฮิ้วๆ
ครั้งนี้จะเหมือนกับเริ่มฝึกฮาร์โมนิก้าใหม่อีกครั้ง เพราะการเล่น Blues Harmonica จะเล่นแบบ Cross Harp หรือ ไขว้คีย์ ........ อย่าเพิ่งงงครับ คือว่าจากที่เคยไล่บันไดเสียง "โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด้" คราวนี้ต้องมาฝึกไล่เสียงแบบ Cross Harp กันใหม่เท่านั้นเอง ฮ่าๆๆ จะฮาหรือจะเศร้าดี ไม่ต้องตกใจครับ ไม่ยากเกินฝึกหรอกครับ อยู่ใน 10 ช่องเดิมนี้แหละครับไม่ไปไหนไกล

มาทำความรู้จักศัพท์ทางเทคนิคให้ปวดหัวเล่นๆกันก่อนดีกว่า
การไล่เสียงแบบเดิมที่เราเคยเล่น เรียกว่า Straight Harp เป็นการเล่นแบบทั่วๆไป
แต่ครั้งนี้ที่เราจะเรียนรู้กันคือการเล่นที่เรียกว่า Cross Harp เป็นการเอาฮาร์ปคีย์ C มาเล่นให้เป็นคีย์ G ใน Mixolidian Mode (โหมดเสียงมิกโซลีเดี้ยน) อืม.......พาราสักเม็ดก่อนดีกว่าครับ (ฮา)
ซึ่งพูดง่ายๆก็คือเช่น เอาฮาร์ปคีย C มาเล่นเป็นคีย์ G นั่นแหละ และเน้นที่โน้ตดูด ถึงได้เรียกว่าไขว้คีย์
ทำไมถึงเน้นที่โน้ตดูด? อาจจะเป็นเพราะว่าสไตล์บูลส์จะชอบเล่นเสียง Bending และการเล่นโน้ตดูดจะทำสไตล์ของเสียงได้อย่างมีเอกลักษณ์ ลองดูดๆกระชากเสียง หรือทำเสียงปึ๋ยๆ แกว่งเสียงโน้ต Bending นิดๆ โน้ตดูดจะทำได้ง่าย และนี่แหละเป็นเอกลักษณ์เสียง

เวลาบอกว่าจะเล่นเพลงคีย์ G ชาว Blues Harp ก็จะหยิบฮาร์ปคีย์ C ไปเล่นครับ เพราะเขาจะเล่นแบบ Cross Harp นั่นเอง

ปวดหัวพอประมาณเรามาเริ่มเข้าแบบฝึกหัดกันเลยดีกว่าครับ
อันดับแรกฝึกเล่นคีย์ G Mixolidian ด้วยฮาร์ปคีย์ C กันก่อนเลย
โน้ตแรกจะเริ่มที่โน้ต G ดูดช่องที่ 2 (Cross Harp เน้นที่โน้ตดูดครับ)
(ที่บรรทัด 5 เส้น จะมี #(อ่านว่า ชาร์ป) อยู่ 1 ตัว เป็นการบอกว่าเป็นคีย์ G)

คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่


สังเกตุว่าจะมีโน้ตที่ต้องเบนด์อยู่โน้ตนึง ก็คือโน้ตตัวลาที่หายไปนั่นเอง (ถ้าอยากเข้าใจเรื่องโหมดมากขึ้นแนะนำให้ศึกษาจากหนังสือทฤษฏีดนตรีครับ)
ทีนี้มาลองเล่นเป็นเพลงกันดูบ้าง อย่างที่บอกว่ามันก็เหมือนกับการเปลี่ยนคีย์นั่นแหละครับ ทีนี้เรากลับไปสู่จุดเริ่มต้นอีกครั้งด้วยการเล่น Jingel Bell แต่คราวนี้เล่นแบบ Cross Harp กันดีกว่า(เล่นให้ได้สำเนียงบูลส์ๆด้วยการกระชากเสียงนิดๆ แอบเบนด์หน่อยๆด้วยนะ จะได้อารมณ์มาก)

คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่

ทีนี้น่าจะพอเข้าใจความแต่ต่างของการเล่น Straight Harp และ Cross Harp โดนใช้ฮาร์โมนิก้าอันเดียวกันแล้วนะครับ

และแบบฝึกหัดสุดท้ายนี้ เป็นฟอร์มมาตราฐานของบูลส์ที่เรียกกันว่า 12 Bar Blues เพราะเพลงบลูส์ 90กว่า% จะใช้ทางคอร์ดแบบนี้ตลอดเพลงครับ บางครั้งอาจจะเอาแค่ฟอร์ม 8 ห้องบ้าง หรือสลับสับเปลี่ยนบ้าง แต่ก็จะอยู่ในรูปแบบนี้แน่นอน ดังนั้นตัวนี้สำคัญครับในการฝึกบลูส์เพราะจะเจอบ่อยมาก
ก็ทิ้งท้ายไว้ให้ได้ฝึกจำทางคอร์ดกันนะครับ  บทความนี้ครั้งนี้คงเท่านี้ก่อน หาสงสัยหรืออยากศึกษาเพิ่มเติมอยากแนะนำเหมือนทุกๆครั้งนะครับว่า ให้หาหนังสือทฤษฏีดนตรีมาศึกษานะครับจะต่อยอดได้อีกมากมาย แล้วไว้ค่อยเจอกันใหม่บทความหน้า
ขอให้มีความสุขกับการเล่นดนตรีนะครับ ^w^

คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่

แถม
นอกจากฝึกตามตัวอย่างข้างต้นแล้ว ก็สามารถฝึกเป่าเป็นคอร์ดเลยก็ได้ ดูที่บทความ แนะนำการเล่นคอร์ดเบื้องต้นของฮาร์โมนิก้า และจังหวะการเป่าคอร์ดลองดูได้ที่ แบบฝึกจังหวะ Rhythm Harmonica ได้เลย

โครงสร้างของ 12 Bar Blues สามารถสร้างเองได้จากสูตรนี้(ซึ่งต้องรู้โน้ตในคีย์ก่อน ดูจากตารางของบทความนี้ได้ การเปลี่ยนคีย์เพลงอย่างง่าย) โดย I = ตัวที่ 1 ของคีย์ (ถ้าคีย์ C ก็ตัว C นั่นแหละ), IV = ตัวที่ 4 ของคีย์ (ถ้าคีย์ C ก็นับไป C D E F ก็ตัว F ไงล่ะ), V = ตัวที่ 5 ของคีย์ (ถ้าคีย์ C ก็นับไป C D E F G ก็ตัว G นี่เอง) ดังนั้นใน 12 Bar Blues ของคีย์ C ก็จะใช้แค่ 3 คอร์ด(เป็นเบื้องต้น) คือ C F และ G โดยมีลำดับการเล่นตามสูตรข้างล่างนี้เลย

สูตรโครงสร้างของ 12 Bar Blues เมื่อเข้าใจแล้วสามารถแทนคอร์ดได้ตามต้องการ
Pic via t.ly/KTKw

ตัวอย่าง 12 Bar Blues สำหรับคีย์ C
Pic via t.ly/L_1H

8 bar blues
Pic via t.ly/X_uA

08 มิถุนายน 2555

Shortwave radio - เปิดโลกไปด้วยกันกับวิทยุคลื่นสั้น - ประตูสู่การเรียนรู้ สาระ และบันเทิง

https://www.universal-radio.com/etow.html

วิทยุมีบทมากมากต่อโลกและประเทศไทย จากการค้นคว้าย้อนกลับไปประมาณ 40 ปีก่อน วิทยุนอกจากจะใช้ในข่าวสารทางการเมืองและบันเทิงแล้ว วิทยุยังเป็นสื่อหลักอีกอย่างของการเรียนการศึกษาสำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งภาครัฐต้องการยกระดับความรู้ของประชาชนทุกคนให้มีการศึกษาอย่างทั่วถึง ถ้าเทียบกับสมัยนี้ก็เหมือนกับการเรียนผ่านดาวเทียม หรือเรียนผ่านอินเตอร์เน็ตนั่นแหละครับ โดยเป็นสื่อเสียงผ่านทางวิทยุและเรียนได้ทุกที่ที่พกวิทยุไปด้วย(อย่าลืมแบตฯก็แล้วกัน ฮา)
(วิทยุแร่ วิทยุที่ไม่ต้องใช้แบตฯ ฟังฟรีตลอดไป ดูวงจรการทำได้ที่ https://jazzylj.blogspot.com/2013/12/crystal-receiver-jazzycr-v099beta_6520.html)

การเรียนทางไกลเป็นเรื่องที่มีมานานแล้วในบ้านเรา
แถมเรียนฟรีไม่ต้องเสียงตังค์อีกต่างหาก(ไม่นับค่าซื้อวิทยุและแบตฯนะ ฮา)


และการยกระดับความรู้ภายในประเทศผ่านทางวิทยุก็ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันนะครับ ซึ่งก็คือ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย มีทั้งการนำความรู้มาเล่าสู่กันฟัง บ้างก็สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ ฯลฯ และมีสาระที่น่าสนใจอีกเยอะเลย ฟังไปทำงานอย่างอื่นไปด้วยก็ยังได้(อารมณ์แบบฟังเพลงไปทำงานไป แต่ทีนี้ได้สาระไปด้วย)เป็นทั้งสาระที่มาพร้อมความบันเทิง ผมไม่รู้ว่าที่ กทม. คลื่น FM ของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเป็นคลื่นอะไร แต่ที่ทราบคือมีการกระจายเสียงทางคลื่น AM ไปทั่วประเทศครับและหมุนหาง่ายกว่า(เพราะ AM มีสถานีน้อย)

แสดงให้เห็นว่าความตั้งใจที่จะยกระดับความรู้ให้แก่ประชาชนยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน
แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรในยุคนี้


เมื่อเราต้องการรับข่าวสารภายนอกโดยตรง อาจต้องติดตั้งอินเตอร์เน็ต รายการทีวีผ่านดาวเทียม จึงจะรับรู้ข่าวสารจากทั่วโลกได้ฉับไว ทั้งสาระ และบันเทิง แต่มีอยู่ช่องทางหนึ่งในการรับข่าวสารที่หลายคนเกือบจะลืมไปแล้ว(บางคนอาจไม่รู้จักมาก่อน)คือ "วิทยุคลื่นสั้น"


ในเวลาที่ไม่มีอินเตอร์เน็ต ผมจะใช้วิทยุเล็กๆของผมเพื่อรับฟังข่าวสารทั่วโลก โดยใช้ระบบ SW ที่มีบนวิทยุครับ
SW ก็คือ วิทยุคลื่นสั้น ที่ส่งสัญญาณได้ไกลทั่วโลกมาตั้งแต่ปี 1927 โดยไม่ต้องใช้จานดาวเทียม แต่เป็นการสะท้อนสัญญาณวิทยุกับชั้นบรรยากาศโลก หน้าปัทม์เครื่องรับวิทยุจะมี FM, AM(MW) และบางเครื่องก็จะมี SW ด้วย ทำให้สามารถรับฟังสถานีวิทยุของทั่วโลกได้แม้จะอยู่ในที่ห่างไกล
แค่มีวิทยุเล็กๆ ก็เสมือนมีจานรับสัญญาณดาวเทียมที่สามารถรับฟังข่าวสารได้จากทั่วโลกแบบฟรีๆ เพียงนั่งริมหน้าต่างหรือที่โล่งๆ ดึงเสาอากาศให้สุด ตั้งตรง แล้วปรับสวิตซ์ไปที่ SW จะมีสถานีวิทยุให้รับฟังเป็นร้อยๆสถานีจากประเทศต่างๆทั่วโลก ตั้งแต่ อเมริกา, อังกฤษ, ออสเตเรีย, ญี่ปุ่น, จีน, ไต้หวัน, อินเดีย, เวียดนาม และอีกเพียบให้ได้หมุนฟังกัน

นอกจากรับฟังสาระ และบันเทิงแล้ว ยังช่วยฝึกภาษาได้ดีมาก


และไม่ใช่ว่าจะมีแต่ภาษาต่างประเทศเท่านั้นนะครับ อย่างสถานีของ จีน, ญี่ปุ่น, อินเดีย ฯลฯ จะมีบางช่วงเป็นภาคภาษาไทยด้วย ซึ่งเราจะได้ฟังภาษาไทยสำเนียงอินเดียอะไรอย่างนี้เป็นต้น(จริงๆนะเออ)
ข่าวสารทาง SW เป็นการรับฟังข่าวสารที่ฉับไวและราคาถูกที่สุดในบรรดาสื่อทั้งหมด เพราะส่งตรงจากทั่วโลกกันเลยทีเดียว ไม่ว่าในไทยจะปิดข่าวหรือเซ็นเซอร์ข่าวที่นำเสนอ เราก็มีช่องทางรับฟังเนื้อข่าวแท้ๆได้จากคลื่นสั้นนี่แล

ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเรามีกลุ่มคนที่ชื่นชอบการฟังวิทยุคลื่นสั้น หรือเรียนกันสั้นๆว่า SWL (Shortwave listening) จะรับข่าวสารจากวิทยุคลื่นสั้นเหมือนกับที่นักวิทุยสมัครเล่นฟังข่าวสาร ติดตามสถานการณ์ต่างๆจาก ว. (SWL ก็จัดเป็นนักวิทยุกลุ่มนึงเหมือนกันนะ)

ถ้าระบบการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยในปัจจุบันล่ม ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ มือถือ ดาวเทียม ฯลฯ ทางเดียวที่เราสามารถรับข่าวสารจากภายนอกได้โดยตรงก็ด้วยวิทยุเครื่องเล็กๆนี่แหละครับ และคุณยังสามารถสื่อสารโดยตรงกับภายนอกได้ด้วยหากมีเครื่องส่งวิทยุ(แต่ต้องสอบรับใบอนุณาติก่อนนะสำหรับการซื้อเครื่องส่ง) พูดถึงตรงนี้แล้วทำให้นึกถึงแฮกเกอร์ร่างท้วมในเรื่อง Die Hard 4.0 ที่ห้ามไม่ให้พวกไปยุ่งกับวิทยุสื่อสาร "ถ้าทุกอย่างล่มหมด วิทยุนั่นเป็นทางเดียวที่ฉันจะสามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้"

บทความนี้เพียงต้องการกล่าวถึงประโยชน์ของวิทยุที่เริ่มจะถูกลืมเลือนไปแล้วสำหรับยุคนี้ที่มีสื่อที่ทันสมัยกว่าอยู่มากมาย แต่กระนั้นวิทยุก็ได้ถูกผนวกอยู่ในหลายต่อหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องเล่น MP3 ทั่วไป ซึ่งยังคงแสดงให้เห็นว่าวิทยุยังมีความสำคัญ และเป็นเทคโนโลยีที่สมบูรณ์อยู่ในตัวเอง
การมีวิทยุเล็กๆไว้สักเครื่อง(รับ SW ได้ด้วยยิ่งดี)นอกจากจะเป็นเพื่อนยามว่างได้ทุกที่แล้ว
ยังสามารถรับฟังข่าวสารเพื่อเตรียมตัวและใช้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการตัดสินใจในยามฉุกเฉินได้

ครับผม เนื้อหาหลักๆที่ต้องการนำเสนอก็จบลงตรงนี้
บทความต่อจากนี้เป็นการแนะนำวิธีการรับคลื่นสั้น
สามารถข้ามลงไปดูลิ้งค์แนะนำเพิ่มเติมย่อหน้าสุดท้ายได้เลยครับ

:)

-------------------------
-------------------------

มาดูวิธีใช้วิทยุฟังคลื่นสั้นคร่าวๆสักหน่อยสำหรับเพื่อนๆที่สนใจแต่ยังไม่เคยลองเล่น


นี่คือสถานีรับวิทยุหลักของผมเป็น Panosonic RX-FS70 ใช้มาก็นานพอสมควรตอนนี้รุ่นนี้ไม่มีขายในไทยแล้วครับ แต่ว่าอุปกรณ์ในการหมุนรับ SW ไม่แตกต่างกับเครื่องวิทยุมาตราฐานทั่วไปครับ


หน้าปัทม์ Panosonic RX-FS70

เครื่องนี้รับ SW ได้ตั้งแต่ 2.3MHz-22MHz(ความยาวคลื่น120m-13m) แบ่งเป็น SW1 กับ SW2 บางเครื่องก็มีถึง SW10 แต่ไม่ว่าจะมีกี่แบรนด์ก็รับสถานี้ได้เหมือนๆกันครับให้ดูที่ความถี่เอา ที่แบ่งเป็นหลายแบรนด์เพื่อความถี่จะได้ไม่เบียดกันมาก
เครื่องใหม่ๆสมัยนี้มักจะเป็นแบบดิจิตอลบอกความถี่เป็นตัวเลขสะดวก แต่แบบเครื่องอนาล๊อคอย่างที่เห็นจะบอกความถี่ที่รับฟังเป็นตัวเลขยาก คลื่นมันละเอียดเป็นทศนิยมเลย ถ้าเป็นเครื่องเข็มแบบนี้นิยมบอกกันเป็นความยาวคลื่น ดูได้จากหน้าปัทม์เช่นกัน(สีส้มๆหน่วยเป็น m หรือ เมตร)




แผงควบคุม Band, Tuning, Fine Tuning

หมุนสวิตซ์ Band ไปที่ SW เลยครับ แล้วทีนี้ก็หมุนหาคลื่นด้วย Tuning แบบปกติ แต่ความถี่ของคลื่นสั้นนั่นแคบมากครับ หนักมือไปนิดคลื่นหายเลย มือต้องนิ่งๆ
ลองหมุนไปเรื่อยๆครับ พอเจอสัญญาณให้ปรับละเอียดอีกทีด้วย Fine Tuning (เรียกสั้นๆว่า Fine) ปุ่มหมุนได้รอบ แต่ว่าบางเครื่องไม่มี ก็ไม่เป็นไร อาศัยมือนิ่งเข้าว่า (ฮา)
ทีนี้พอเจอสักสถานีก็ลองฟังดูครับ เพราะตอนนี้เรารับติดตามความเคลื่นไหวจากทั่วโลกด้วยวิทยุได้แล้วละครับ(เดี๋ยวเราจะพูดถึงสถานีที่น่าสนใจในตอนท้ายนะครับ)

ทีนี้มาดูวิทยุคลื่นสั้นพกพากันบ้าง ซึ่งเป็นที่นิยมมากเพราะกระทัดรัด อารมณ์เหมือนเป็นแท็บเล็ตยุควิทยุเลยทีเดียว
ของผมใช้ Soya SY-251C ซื้อมาจากตลาดนัด เครื่องร้อยกว่าบาท เป็นอนาล๊อคล้วนๆ แต่ถือว่าคุ้มราคาครับ ใช้แบตเตอรี่ AA 2ก้อน ใช้นาน เสียงดังดี เสียบหูฟังได้ด้วย พอใจเลยทีเดียวกับเครื่องเล็กเท่าฝ่ามือราคาถูกใช้สบายใจพกได้ทุกที่(แต่ก็แน่นอนว่าความละเอียดในการรับสัญญาณสู้เครื่องราคาเป็นพันไม่ได้)


World Band Receiver เท่าฝ่ามือ กระทัดรัด พกสะดวก ประหยัดแบตฯ

เครื่องนี้รับ FM 64MHz-108MHz เครื่องทั่วไปจะรับ FM ได้ตั้งแต่ 88MHz แต่เครื่องนี้รับได้ต่ำถึง 64MHz ทำให้สามารถฟังทีวีผ่านวิทยุได้ด้วยครับ (แต่ไม่ทุกช่องนะครับ)
รู้สึกจะเริ่มเป็นมาตราฐานใหม่ของวิทยุแล้วนะครับ
AM(MW) ก็มาตราฐานทั่วไป
ส่วน SW เครื่องนี้รับได้ตั้งแต่ 5.95MHz-18MHz(ความยาวคลื่น49m-16m) น้อยกว่าเครื่องใหญ่แต่ก็รับได้ในย่านหลักๆครบถ้วนครับ ตัวนี้จะแบ่งถึง SW7 คลื่นที่รับได้ทั้งหมดถูกแบ่งเป็น 7 ส่วน ทำให้แต่ละสถานีไม่เบียดกันมาก แม้เครื่องนี้ไม่มีปุ่ม Fine แต่ก็จูนได้ไม่ยากเลย
มาดูที่หน้าปัทม์กันหน่อย

หน้าปัทม์ Soya SY-251C

เครื่องเล็กนี้รับสัญญาณสู้เครื่องใหญ่ไม่ได้ละคับ ต้องนั่งฟังริมหน้าต่างถึงจะรับสัญญาณ SW ได้ดี
ในตอนกลางวันรู้สึกจะมี SW น้อย ส่วนใหญ่จะเป็นสถานีของจีน หรือไม่ก็อินเดีย แต่พอหลังพระอาทิตย์ตกนี่จะรับได้เยอะ และชัดครับ

สถานี้ที่ฟังเป็นประจำ(และเป็นสถานีแนะนำ)

BBC (British Broadcasting Corporation)
มีให้ฟังตลอดวันครับ ตอนเช้าๆมักจะอยู่ที่ความถี่สูง พอตอนเย็นก็จะต่ำลงมา ลงจูนหาไปเรื่อยๆ ภาษาอังกฤษข่าวสั้นฟังง่าย

NHK (Radio Japan)
เป็นสถานีจากญี่ปุ่น มีสอนภาษาญี่ปุ่นด้วย บางช่วงออกอากาศเป็นภาษาไทย

VOA (Voice of America)
ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ บางช่วงออกอากาศเป็นภาษาลาว ก็ฟังรู้เรื่องนะครับสำเนียงนุ่มมากๆ

RTI (Radio Taiwan International)
จีนไต้หวันเลยครับ บางช่วงมีออกอากาศเป็นภาษาไทยด้วย

CRI (China Radio International)
จากจีนครับ บางช่วงออกอากาศภาษาไทยด้วยครับ มีรายการสอนภาษาจีนด้วยนะ

AIR (All India Radio)
สถานีจากอินเดีย มีช่วงออกอากาศเป็นภาษาไทยด้วยครับ

VOV (Voice of Vietnam)
สถานีจากเวียดนาม มีช่วงออกอากาศเป็นภาษาไทยด้วยเช่นกัน

และสถานีอีกมากมายให้ได้เลือกฟังกันล่ะครับ สามารถค้นหาเพิ่มเติมได้จากเว็บนี้ http://short-wave.info/

วิทยุคลื่นสั้นเนี่ยไม่ใช่แค่ต้องการให้เรารับฟังเพียงอย่างเดียวนะครับ ทางผู้จัดก็อยากรู้เหมือนกันว่ามีใครฟังอยู่ส่วนไหนของโลกบ้าง ชัดไม่ชัดยังไงก็ส่ง จ.ม. หรือเมลไปหากันได้ครับ ซึ่งจะมีของที่ละลึกด้วยไม่ว่าจะเป็นโปสการ์ด, หนังสือ, ลายเซ็นพร้อมรู้ถ่ายของผู้จัดรายกาย ฯลฯ
มีท่านนึงเขียนไปที่ NHK ได้รับของที่ละลึกมากมายลองดูได้จากลิ้งแนะนำย่อหน้าสุดท้ายนะครับ

-------------------------
-------------------------

ขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจากอินเตอร์เน็ต
 
commando listens to the news on the BBC World Service at Camp Fairburn, Oman Photo: GETTY

BBC World Sevice

ลิ้งแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้สนใจ






ขอให้มีความสุขกับการรับฟังวิทยุครับ :D

แถม
สำหรับนักวิทยุคลื่นสั้นมือใหม่ที่ยังไม่รู้จะหาซื้อแบบไหนดีกับวิทยุคลื่นสั้น(SW)ขนาดพกพาที่คุณภาพดีคุ้มราคา ขอแนะนำ 2 ยี่ห้อ คือ Tecsun กับ Degen เป็นของจีนผลิตจากบริษัทเดียวกัน ให้ดูรุ่นที่รับ FM/MW(AM)/SW ได้ แบบหน้าปัทม์เข็มจะราคาถูก อยู่ที่ราวๆ 400-600 บาท 2 ยี่ห้อนี้เชื่อถือคุณภาพได้ ชิปรับสัญญานความไวสูงราคาย่อมเยาว์ หาซื้อได้ไม่ยาก
เพื่อนๆท่านใดมียี่ห้อและรุ่นที่ชื่นชอบอยากแนะนำเพิ่มเติม เม้นแนะนำได้เลย

ชี้เป้า Tecsun R-911 https://s.shopee.co.th/9A6pZjB1ox วิทยุคลื่นสั้นราคาถูกที่รับคลื่นได้แม่นยำและชัดเจนที่สุดในราคาหลักร้อย ที่นักวิทยุคลื่นสั้นหลายท่านให้ความยอมรับ

ใช้ถ่าน AA 2 ก้อน หรือหม้อแปลงอะแดปเตอร์ 3V 500mA+ หัวแจ็ค DC 4.0x1.7 mm ขั้วลบกลาง ครับ ทีนี้ก็ไม่ต้องห่วงเรื่องเปลี่ยนถ่านแล้ว แต่สเป็คตรงตัวแบบนี้อาจหายาก แนะนำเป็นหม้อแปลงอเนกประสงค์ปรับได้แบบหลายหัวจะหาง่ายกว่าครับ เช่น https://s.shopee.co.th/g8HTEx6kZ อ้อ ในการใช้หม้อแปลปรับได้ต้องปรับขั้วกลางให้ถูกต้องด้วยนะครับ
แต่มีถ่านสำรองไว้ด้วยก็ดีครับ เผื่อใช้เป็นวิทยุฉุกเฉินยามภัยพิบัติไฟดับได้ครับ

Tecsun R 911

07 มิถุนายน 2555

A Brief history of sound recording - ประวัติย่นย่อของสื่อบันทึกเสียง

 คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่


A Brief history of sound recording - ประวัติย่นย่อของสื่อบันทึกเสียง

1857 - Phonautogram
เป็นสื่อบันทึกเสียงครั้งแรกในยุคประวัติศาสตร์ โดยการตอกเสียงที่สะเทือนลงบนแผ่นดีบุกที่หุ้มโลหะทรงกระบอกโดยใช้มือหมุน สามารถฟังซ้ำได้แค่ 1-2 ครั้งเท่านั้น

1877 - Phonograph cylinder
ในภาษาไทยเรียกว่ากระบอกเสียง ประดิษฐ์โดย Thomas Edison เป็นกระบอกที่เคลือบด้วยขี้ผึ้ง รุ่นนี้เครื่องจะเป็นแบบไขลาย ได้เข้ามาเป็นเครื่องบรรณาการในสยามในยุคที่เริ่มผลิตเป็นการค้าเมื่อปี 1888 หรือ พ.ศ.2431 สมัย ร.5
แต่สยามเป็นเขตร้อนชื้นทำให้ขี้ผึงขึ้นราและแตกเสียหาย จึงต้องรอถึงยุค Gramophone record หรือแผ่นเสียง การฟังสื่อบันทึกจึงเป็นที่นิยมในประเทศสยามจนถึงไทยตั้งแต่นั้นมา

มาลองฟังเพลงสรรเสริญพระบารมีเก่าสุดในโลก บรรเลงด้วยกระบอกเสียงแบบดั้งเดิมกันครับ