Sponsor

26 ธันวาคม 2554

Happy New Year 2012 - สวัสดีปีใหม่ พ.ศ.๒๕๕๕

Happy New Year 2012
สวัสดีปีใหม่ พ.ศ.๑๕๕๕
ส.ค.ส. แด่ทุกคน ขอให้ปีใหม่นี้สดใสดั่งดอกกะทกรกแย้มบาน น้อมรับสิ่งดีๆ ใหม่ๆ ที่จะตามมา
ขอให้มความสุขมากๆครับ :D

03 พฤศจิกายน 2554

Harmonica Basic Chord Guide - แนะนำการเล่นคอร์ดเบื้องต้นของฮาร์โมนิก้า

สวัสดีครับเพื่อนๆ ครั้งนี้ประเทศไทยโดนธรรมชาติน้ำท่วมหนัก ผมขอเป็นกำลังใจให้กับพี่น้องและญาติพี่น้องของทุกๆคนนะครับ ขอให้ทุกคนมีกำลังใจและผ่านพ้นภัยธรรมชาติครั้งนี้ไปด้วยกันอย่างเข้มแข็ง

เนื้อหาในคราวนี้ได้ทำเรื่องคอร์ดเบื้องต้นอีกครั้งนึง เนื่องจากข้อมูลเดิมที่เคยเขียนไว้ใน https://jazzy.pantown.com/ นั้นหายไปครับ และก็เป็นจังหวะดีที่จะแก้ไขเนื้อหาใหม่เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น(อันหลังนี้พูดให้ดูดีครับ ฮา) ไปดูกันเลยดีกว่าครับ

หมายเหตุ
123 หมายถึง เป่าช่องที่ 1, 2 และ3 พร้อมกัน
-1-2-3 หมายถึง ดูดช่องที่ 1, 2 และ3 พร้อมกัน
bb หมายถึง เบ้นดิ้งโน้ตลงหนึ่งเสียง

คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่
C=โด D=เร E=มี F=ฟา G=โซ,ซอล A=ลา B=ที

Harmonica ที่ใช้คือ 10 ช่อง คีย์ C จะได้เสียงคอร์ดตรงกับเครื่องดนตรีมาตราฐานแล้วครับ เพื่อนๆสามารถเทียบชื่อคอร์ดและช่อง ก็สามารถนำไปเล่นได้เลยครับ โดยตำแหน่งที่นิยมเล่นผมได้ทำตัวหนาไว้ให้แล้วครับ


หมายเหตุ บทความต่อจากนี้อาจทำให้ปวดหัวจนถึงขั้นนอนซมได้! ใครสนใจศึกษาก็สามารถอ่านเข้าใจได้ไม่ยาก แต่ควรเตรียมยาแก้ปวดไว้ด้วยนะครับ (ฮา)หากไม่ต้องการปวดหัวจากการอ่านบทความต่อจากนี้ก็สามารถข้ามไปที่แบบฝึกหัดท้ายบทได้เลยครับ (ฮา)
============================

ทีนี้เรามาลงลึกเกี่ยวกับคอร์ดกันอีกสักนิดครับเพื่อความเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์เองได้ต่อไปครับ
คอร์ดในทางดนตรีหมายถึงกลุ่มโน้ตตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป อย่างเช่น คอร์ด C ก็จะมีโน้ต C E G (โด มี โซ) เป็นกลุ่มโน้ตที่เล่นออกมาประสานเสียงกัน (รายชื่อโน้ตในคอร์ดได้ให้ไว้แล้วในตารางครับ)
โดยตัวคอร์ดนั้นไม่ได้สนใจว่าโน้ตไหนจะสูงหรือจะต่ำ เพียงแค่ขอให้มีโน้ตตามสูตรก็เพียงพอ เช่น จะเล่นคอร์ด C เป็น CEG, EGC, GCE หรือจะสลับกันยังไงก็ได้ครับ ก็ยังถือเป็นคอร์ด C อยู่นั่นเอง(ถ้าอยากรู้ว่าหาโน้ตในคอร์ดยังไง ต้องศึกษาสูตรคอร์ดครับ ซึ่งค่อยข้างลงไปลึกพอสมควร ยังไม่ขอพูดถึงในที่นี้นะครับถ้าสนใจสามารถศึกษาได้จาก ทฤษฎีดนตรี ครับ) อย่างเช่นกีต้าร์ 6 สาย เวลาเล่นคอร์ด C กีต้าร์ก็จะเล่นโน้ต C E G C E G สายละโน้ตจนครบทุกสายเสียงสูงต่ำต่างกันไป ในคอร์ด C ก็มีโน้ตเท่านี้แหละครับ ให้ดีดคอร์ด C ทีละเส้นเสียงที่ได้ก็ไม่พ้นโน้ต โด มี โซ ครับ ไม่ว่าจะมีกีสิบสายก็เล่นคอร์ด C แค่ 3 โน้ตนี้ครับ ถ้าเป็นวงโยทวาธิตก็แบ่งโน้ตกันเป่าครับจะเล่นกี่เสียงสูงต่ำยังไงก็ได้ของให้มีโน้ตตามนี้เท่านั้นเอง
แล้วคราวนี้เพื่อนๆอาจจะเห็นว่าถ้าคอร์ดคือการเล่น 3 โน้ตประสานกันแล้วในตารางคอร์ดนั้นมีบางคอร์ดที่เล่นแค่ 1-2 โน้ต หมายความว่าอย่างไร? ใน Harmonica นั้นบางคอร์ดเราไม่สามารถเล่นให้สมบูรณ์ได้ครับเพราะติดข้อจำกัดเรื่องการเป่า-ดูด อย่างเช่นคอร์ด F = F A C เราสามารถดูดช่อง 5 และ 6 ได้ซึ่งเป็นตัว F กับ A แต่เราไม่สามารถเป่าโน้ต C ไปพร้อมๆกันได้(เป่าพร้อมดูดไม่ได้) หากต้องเล่นเสียงประสานก็จำเป็นต้องตัดบางโน้ตออกไปครับ บางครั้งถ้าโน้ตหลักที่เป็นชื่อคอร์ด(Root)ไม่สามารถประสานเสียงไปพร้อมกับโน้ตอื่นได้บางทีก็เล่นแต่โน้ตRootอย่างเดียวก็ได้ครับ เช่น Am = A C E โน้ต C E สามารถเป่าเล่นพร้อมกันได้ แต่โน้ตหลักคือโน้ต A เล่นพร้อมกันไม่ได้ซะด้วยสิเพราะเป็นโน้ตดูด ก็ต้องเลือกครับว่าจะเล่น A ตัวเดียว หรือจะเล่นแค่ C E โดยไม่มีโน้นหลัก ถ้าเล่นรวมวงมักจะมีเครื่องดนตรีอื่นที่เล่นโน้ตหลักอยู่แล้ว(อย่างกีต้าร์ หรือเบส) เราอาจจะตัดโน้ตหลักได้ แต่ถ้าเล่นคนเดียวก็เลือกเอาได้ครับจะประสานเสียงหรือจะเล่นโน้ตหลักแค่ตัวเดียว แบบไหนก็ได้ครับ ยังมีอีกวิธีครับคือการเล่นแบบกระจายโน้ตหรือภาษาดนตรีเรียก Arpeggio(อาร์เปจิโอ้) ด้วยวิธีนี้ทุกเครื่องดนตรีก็สามารถเล่นคอร์ดได้ไม่ว่าจะเป็น Saxophone, Trumpet, Violin ฯลฯ ก็คือเล่นโน้ตในคอร์ดทีละตัวเลยครับ(คล้ายๆการเกากีตาร์) มีในแบบฝึกท้ายบทความครับ

หรือถ้าต้องการเล่นคอร์ดที่ไม่มีอยู่ในคีย์ เช่น คอร์ด Cm = C Eb G ในฮาร์ปคีย์ C ไม่มีโน้ต Eb ให้เล่น ตรงจุดนี้จำเป็นต้องใช้เทคนิคที่เรียกว่า Tongue Blocking ใช้ลิ้นอุดเพื่อเล่นแค่โน้ต C G โดยอุดช่อง E เอาไว้ (หรือจะเล่นแค่โน้ตRoot คือ C ตัวเดียวก็ได้) บางครั้งก็เล่น Cต่ำ และ Cสูง พร้อมกันโดยลิ้นอุดช่องอื่นๆให้หมด เทคนิคเล่นคู่สูงต่ำ(คู่8) สามารถประยุกต์เล่นได้ทุกคอร์ดครับ วิธีนี้ทำให้สามารถเล่นคอร์ดที่ไม่มีในคีย์ได้ด้วย ดูที่ Tongue Blocking Harmonica - เทคนิคการเล่นโน้ตคู่ หรือถ้ารู้จักวิธีใช้คอร์ดแทนก็สามารถใช้ตารางข้างต้นเล่นคอร์ดอื่นๆได้อีกมากมาย ซึ่งวิธีการใช้คอร์ดแทนให้ศึกษาทฤษฎีดนตรีเพิ่มเติมครับ

หากเป็นฮาร์ปคีย์อื่นๆก็ให้ทดชื่อคอร์ดไปตามบันไดเสียงของคีย์นั้นๆได้เลย ส่วนตำแหน่งการเล่นของลำดับคอร์ดนั้นเหมือนกัน หรือให้ง่าย แนะนำว่า ควรแปลงชื่อคอร์ดคีย์นั้นๆให้เป็นคีย์ C แล้วค่อยเอาคีย์นั้นๆมาเล่นโดยสมมุติว่าเป็นคีย์ C (เรียกว่าแนวคิด Moved Do หรือ โดเคลื่อนที่)จะสะดวกกว่าครับ จะได้ไม่ต้องจำชื่อคอร์ดเยอะ เพราะถ้าเจอชื่อซ้ำจะงง หรือจำชื่อคอร์ดเป็นลำดับแบบเลขโรมัน คือ I ii iii IV V vi vii ตามลำดับจากซ้ายไปขวาแทนลงในตารางคอร์ดไปเลยก็สะดวกไปอีกแบบ ซึ่งตัว I ก็คือ คอร์ดแรกของคีย์นั้นๆ คอร์ดที่เหลือก็ไปตามลำดับบันไดเสียง อันที่จริงก็ไม่ต่างจากการแปลงเป็นคีย์ C เพราะคอร์ด I ในคีย์ C ก็คือ C และคอร์ดต่อไปก็ไปตามลำดับเหมือนในตาราง ถ้าเป็นคีย์ G คอร์ด I ก็คือ คอร์ด G และคอร์ดต่อไปก็ไปตามลำดับของบันไดเสียง G ซึ่งคอร์ด G หรือคอร์ด I ของฮาร์ปคีย์ G ก็เล่นตำแหน่งเดียวกับคอร์ด C ในตารางนั้นเอง(เพราะเป็นคอร์ดที่ 1 หรือ I ของคีย์) และคอร์ดลำดับถัดไปก็ใช้ตำแหน่งเดียวกันกับในตาราง มันก็จะดูงงๆหน่อยเพราะในคีย์ C ก็มีคอร์ด G และในคีย์ G ก็มีคอร์ด G ชื่อคอร์ดซ้ำกันแต่คนละตำแหน่งการเล่น นี่แหละครับ คือเหตุผลที่ควรแปลงคอร์ดที่จะเล่นให้เป็นคีย์ C ก่อนแล้วค่อยเอาฮาร์ปคีย์ G มาเล่นโดยสมมติว่ามันคือคีย์ C แล้วเสียงที่ออกมาจะตรงกับคีย์ G เองโดยที่เราในเล่นตำแหน่งเดียวกันนั่นเองครับ ด้วยวิธีนี้ทำให้เราสามารถเล่นฮาร์ปได้ทั้ง 12 คีย์ โดยจำแค่คีย์ C อย่างเดียว ดูวิธีการเปลี่ยนคีย์ได้ที่ การเปลี่ยนคีย์เพลงอย่างง่าย

============================


เริ่มมึนกันฤยังครับ ผมรู้สึกว่าจะเริ่มเยอะจนตาลายซะแล้วสิครับ(ฮา) ข้อมูลข้างต้นนั้นเป็นที่มาของตำแหน่งคอร์ดต่างๆบน Harmonica ครับ แต่ถ้าอ่านแล้วมึนก็ไม่ต้องสนมันก็ได้ครับ(ฮา) เล่นตามโน้ตในคอร์ดกับตารางที่แนบมาก็สามารถเล่นคอร์ดได้แล้วครับ

พักจากความมึนมาที่แบบฝึกหัดกันดีกว่าครับ แบบฝึกครั้งนี้เป็นลักษณะของการเล่นชุดคอร์ดมาตราฐาน 12 bar Blues แบบ Cross Harp ครับ ซึ่งเป็นการเล่นไขว้คีย์ โดยจะเอาฮาร์โมนิก้าคีย์ C มาเล่นคีย์ G ครับ ซึ่งจะลงรายละเอียดในบทความหน้านะครับ วันนี้มาเล่นคอร์ดกับฮาร์โมนิก้าคู่กาย ผ่อนคลายเพิ่มพลังใจแล้วค่อยลุยปัญหากันต่อไปครับ
สวัสดีครับ ^_^

พอเข้าใจทางคอร์ดแล้วก็คิดจังหวะเองได้ตามใจชอบเลยครับ แบบง่ายๆคือใช้จังหวะกลอง หรือลองดูแบบฝึกจังหวะริธึ่มฮาร์ปแล้วเอาไปใช้กันได้เลย หรือจะเล่นทำนองพร้อมคอร์ดด้วยฮาร์ปตัวเดียวก็ทำได้

เล่นแบบควบคอร์ด

คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่

เล่นแบบกระจายโน้ต(Apegio)
คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่

หากได้ประโยชน์จากบทความนี้
แล้วอยากจะเลี้ยงน้ำชา ข้าวผัด หรือมอบสินน้ำใจเป็นค่าครู
สามารถสนับสนุนได้ที่

ธนาคารกรุงไทย
9090619704
กนกเกียรติ หริรักษ์หรรษา

ขอบคุณสำหรับการสนับสนุนและกำลังใจนะครับ
ขอบคุณครับ🙏😇

ขอให้มีความสุขกับการเล่นดนตรีครับ ^_^

แถม
มาลองฟังจังหวะการเล่นคอร์ดจากนักเล่นคอร์ดฮาร์ป(Chord harmonica)โดยตรงกันครับ แล้วลองนำไปปรับใช้กันดูนะครับ

ชื่อและจังหวะมาตราฐานของแนวเพลงต่างๆ

Cr. หน้าที่ 9-10 ของเอกสารการเล่น Chord Harmonica โดย Walter “Wally” Peterman จาก https://drive.google.com/file/d/15LGeGbebSC1d1i-HOtFF7r_Yt3T_lMY9/view

แนวคิดเบื้องต้นสำหรับการเล่นกับฮาร์ป 10 ช่อง

18 เมษายน 2554

Canon in D for Quartet Harmonica - เพลงแคนน่อนสำหรับวงฮาร์โมนิก้าสี่ชิ้น

สวัสดีครับห่างหายไปนานกับแบบฝึกหัดฮาร์โมนิก้า ถึงตอนนี้เพื่อนๆที่ติดตามอ่าน Harmonica for Beginner - วิธีเล่น ฮาร์โมนิก้า สำหรับผู้เริ่มต้น และบทความอื่นๆมาตลอด คงมีฝีมือในการเล่นตำแหน่งโน้ตและอ่านโน้ตได้คล่องแล้ว ครั้งนี้เพลงที่หลายคนสนใจ และคุ้นหู นั่นก็คือ แต๊น แต่น แต้น.....
เพลง Canon in D for Quartet Harmonica ครับผม เป็นเวอร์ชั่นที่ผมเรียบเรียงขึ้นสำหรับวง Quartet Harmonica จากเวอร์ชั่นต้นฉบับดั้งเดิมของ Johann Pachelbel เวอร์ชั่นที่เรียบเรียงนี้เป็นโน้ตประสานเสียงของ Harmonica 4 ชิ้น ครับ เอาไว้เล่นประสานเสียงกับเป็นหมู่คณะ มันเป็น Harmonica 4 ทาง 4 คนก็เล่นคนละทางโน้ตเท่านั้นเอง จริงๆไม่จำกัดว่าต้องเล่น 4 ชิ้นหรอกครับ ถ้าเล่นกันเกิน 4 คน ก็นัดแนะกันว่าจะเล่นทางโน้ตไหนเพิ่มอีกก็ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใดครับ ผมได้ทำโน้ตแยกไว้สำหรับ ฮาร์โมนิก้า ทาง 1 เอาไว้ด้วยสำหรับไว้ฝึกเล่นคนเดียวครับ

โน้ตสำหรับรวมวงมีหลายหน้าจึงทำเป็นไฟล์โน้ตเพลงพร้อมกับไฟล์เสียงไว้ให้โหลดน่ะครับ (เสียงทำจากMIDIเสียงอาจจะไม่ดีขออภัย ณ ที่นี้ด้วยครับ)



==========

สามารถเข้าไปโหลดได้ตามลิ้งค์นี้เลยครับ
Download
==========

เป็นไฟล์ 7z ครับ สามารถเปิดได้กับ WinRAR, 7zip หรือโปรแกรมบีบอัดรุ่นปัจจุบันได้ทุกโปรแกรมครับ
ข้างในไฟล์จะมี
Canon in D - Quartet Harmonica.pdf
Canon in D - Harp 1 Solo.pdf
และโฟลเดอร์ Audio (MIDI) ซึ่งจะมีไฟล์เสียงสำหรับโน้ตทั้ง 2 ชุดไว้ด้วย

คราวนี้มาลองวิเคราะห์โน้ตกันดู จะเห็นว่าโน้ต ทาง 1 ถึง ทาง 3 นั้นโน้ตเหมือนกัน เพียงแต่เริ่มเล่นไม่พร้อมกันเท่านั้นเอง นี่เป็นเอกลักษณ์ของเพลงแนว Canon ครับ
ส่วนทาง 4 เป็นทางโน้ตพื้นของเพลงเพื่อรักษาจังหวะ และทางคอร์ดของเพลงครับ จะเล่นเป็น Loop ซ้ำไปซ้ำมา แต่เป็นทำนองหลักที่สวยมาก จะเห็นว่ามีโน้ต Bending ที่ ฟาต่ำ และลาต่ำ แต่ถ้าไม่ไหวเล่นโน้ตสูงขึ้นเท่าตัวทั้งชุดก็ได้ครับจะได้ไม่ต้องเล่นโน้ต Bending ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเล่นเสียงต่ำได้จะกลมกล่อมและนุ่มนวลกว่าครับ

เพลงนี้เป็น คีย์ D ครับ อย่างที่ชื่อบอกไว้ Canon in D ให้เอาฮาร์ปคีย์ D มาเล่นนะครับเสียงก็จะตรงกับเพลงต้นฉบับและตรงกับไฟล์เสียงซึ่งได้ทำไว้ แต่ถ้าเอาคีย์อื่นมาเล่นก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด ก็จะกลายเป็น Canon in คีย์อื่นๆไปครับ แต่ถ้าจะเล่นร่วมกันก็ต้องใช้ฮาร์ปคีย์เสียงเดียวกันนะครับ และถ้าจะเล่นพร้อมกับไฟล์เสียงที่แนบมาก็ต้องใช้คีย์ D นะครับจะได้เล่นออกมาเป็นคีย์เดียวกัน

เพลงนี้เล่นไม่ยาก แต่จะซับซ้อนตรงการกระโดดข้ามโน้ตและความเร็วของโน้ต ให้เริ่มฝึกจากช้าๆก่อนนะครับ ทีละท่อนไปเรื่อยๆ นับจังหวะให้แม่นเล่นให้นิ่ง อาจจะมีโน้ต Bending บ้าง โน้ตไหนเล่นไม่ได้ก็ให้ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม หรือหยุดเล่นตรงตำแหน่งโน้ตนั้นไปก่อนก็ได้ แล้วค่อยกลับมาฝึกภายหลังอีกครั้งครับ

วันนี้เท่านี้ก่อนไว้เจอกันบทความหน้า
ขอให้มีความสุขกับการเล่นดนตรีนะครับ
สวัสดีครับ ^_^


แถม
Canon inD
Johann Pacheldel
Diatonic Harmonica TAB

8 -8 7 -7 -6 6 -6 -7
7 -7 -6 6 -5 5 -5 -4
-4 4 5 6 -5 5 4 5 -4 4 -3 4
6 -5 -6 6 -5 5 4 -4
-7 7 8 9 6 -6 -5 6 5 -3
7 7 -7 7 -7 7 5 -4 6 -4 5 4
7 -7 -6 -7 8 9 -10-9 8 -8 -9 8 -8 7 -7 -6 6 -5 5 -4 -5 5 -4 4
-4 5 -5 6 -4 6 -5 5 -6 6 -5 6 -5 5 -4 4 -3 -6 -7 7 -7 -6 6
-5 5 -4 -6 6 -6 6 -5
5 7 -7 7 -6 6 7 7 -9 -8 9

9 8 -9 9 8 -9 9 6 -6 -7 7 -8 8 -9 8 7 -8 8
5 -5 6 -6 6 -5 6 5 -5 6 -5 -6 6 -5
5 -4 5 -4 4 -4 5 -5 6 -6 -5 -6 6 -6
-7 7 6 -6 -7 7 -8 8 -9 9 9
8 -9 9 8 -9 9 6 -6 -7 7 -8 8 -9 8 7 -8 8
5 -5 6 -6 6 -5 6 7 -7 7 -6 7 -7 -6
6 -5 6 -5 5 -5 6 -6 -7 7 -6 7 -7 7
-7 7 6 -6 -7 7 -8 8 -9 9 9
8 -9 9 8 -9 9 6 -6 -7 7 -8 8 -9 8 7 -8 8
5 -5 6 -6 6 -5 6 7 -7 7 -6 7 -7 -6
6 -5 6 -5 5 -5 6 -6 -7 7 -6 7 -7 7
-7 -6 -7 7 -8 7 -7 7 -6 -7 7

6 5 6 6 -5 -6 6 6 -6 -7 7 -7 -6 6 -5 5 -5 -4
4 5 6 -5 5 4 5 -4 4 -3 4
6 -5 -6 6 -5 5 4 -4
-7 7 8 9 6 -6 -5 6 5 -4
-7 7 -7 7 -7 7 -7 7 -7 7 5 -4 6 -4 5 4
7 -7 -6 -7 8 9 -10-9 8 -8 -9 8 -8 7 -7 -6 6 -5 5 -4 -5 5 -5 5 -4
4 -4 5 -5 6 -4 6 -5 5 -6 6 -5 6 -5 5 -4 4 -3 -6 -7 7 -7 -6 6
-5 5 -4 -6 6 -6 6 -5
5 7 -7 7 -6 6 7 7 -9 -8 9

9 8 -9 9 8 -9 9 6 -6 -7 7 -8 8 -9 8 7 -8 8
5 -5 6 -6 6 -5 6 5 -5 6 -5 -6 6 -5
5 -4 5 -4 4 -4 5 -5 6 -6 -5 -6 6 -6
-7 7 6 -6 -7 7 -8 8 -9 9 9
8 -9 9 8 -9 9 6 -6 -7 7 -8 8 -9 8 7 -8 8
5 -5 6 -6 6 -5 6 7 -7 7 -6 7 -7 -6
6 -5 6 -5 5 -5 6 -6 -7 7 -6 7 -7 7
-7 7 6 -6 -7 7 -8 8 -9 9 9
8 -9 9 8 -9 9 6 -6 -7 7 -8 8 -9 8 7 -8 8
5 -5 6 -6 6 -5 6 7 -7 7 -6 7 -7 -6
6 -5 6 -5 5 -5 6 -6 -7 7 -6 7 -7 7
-7 -6 -7 7 -8 7 -7 7 -6 -7 7

8 -8 -8 8 -8 7 7 7 -8 7 -7 -6 -7 7
7 7 -7 -6 7 6
9 9 -10 9 -9 8 8 8 -9 8 -8 7 -7 -6 7 6
6 -6 7 -7 6 7 7

หน้าแรกของต้นฉบับ 16481-8 จากหอสมุด Berlin State Library — สำเนาเก่าแก่ที่สุดของ "Canon and Gigue in D major" ของ Pachelbel

All Keys Harmonicas - โน้ตในคีย์ต่างๆของฮาร์โมนิก้า

สวัสดีปีใหม่ไทยครับทุกคน ย้อนหลังสงการต์มาได้ไม่นานเป็นยังไงกันบ้างครับ ปีใหม่ไทยนี้ขอให้มีความสุขสมหวัง และมีฝีมือทางดนตรียิ่งๆขึ้นไปนะครับ ^_^
เอาล่ะ...ครั้งนี้เรามาดูกันว่าชื่อโน้ตที่อยู่ใน Diatonic หรือฮาร์โมนิก้า 10 ช่อง เนี่ย ในแต่ละช่องมีโน้ตชื่ออะไรกันบ้างเมื่อเทียบกับเปียโน หรือเครื่องดนตรีสากลทั่วไป

สัญลักษณ์ตารางโน้ต
C=โด D=เร E=มี F=ฟา G=โซ,ซอล A=ลา B=ที
# อ่านว่า ช้าร์ป หมายถึง สูงขึ้นครึ่งเสียง
b อ่านว่า เฟล็ต หมายถึง ต่ำลงครึ่งเสียง

คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่

C# อ่านว่า ซีช้าร์ป หรือ โดช้าร์ป
Db อ่านว่า ดีเฟล็ต หรือ เรเฟล็ต
C#,Db สองตัวนี้เป็นเสียงเดียวกันครับ คือ เสียงที่อยู่ตรงกลางละหว่าง C กับ D
C สูงขึ้นครึ่งเสียง กับ D ต่ำลงครึ่งเสียง ก็จะลงมาเจอกันพอดี แล้วแต่จะเรียกครับ C# ก็ได้ Db ก็ได้ แต่ทาง Harmonica diatonic ส่วนมักจะเรียกเป็น b(เฟล็ต) เพราะเข้าใจง่ายกว่าเมื่อเล่นด้วยการ Bending ครับ ยกเว้น Harmonica chromatic ถ้าเรียกเป็น # จะเข้าใจง่ายกว่าเมื่อกดปุ่ม

แนะนำให้ศึกษาทฤษฏีดนตรีเพื่อทำความเข้าใจเรื่องระยะห่างของเสียงเพิ่มเติมครับ


ทีนี้พอเราไปเล่นดนตรีร่วมกับเครื่องดนตรีสากลชนิดอื่น เราก็สามารถเทียบและบอกชื่อโน้ตที่เราเล่นได้แล้วครับ เมื่อเราเล่นโน้ตคีย์ C ด้วยฮาร์ปคีย์ C ก็จะได้เสียงคีย์ C
แต่หากเราเล่นแบบเดียวกันแต่เปลี่ยนมาใช้ฮาร์ปคีย์ D ก็จะได้เพลงเดิมในคีย์ใหม่คือคีย์ D
เมื่อเปลี่ยนเป็นฮาร์ปคีย์อะไรเพลงเดิมนั้นก็จะกลายเป็นเสียงของคีย์ใหม่นั่นเอง ถ้าเล่นร่วมกับเพื่อนแล้วเล่นคนละคีย์ มันก็จะเหมือนกับเล่นผิดคีย์ หรือภาษานักร้องนักร้องเรียกว่าร้องผิดคีย์นั่นเอง

ยกตัวอย่างสักอันนึงนะครับ
เหมือนอย่างเพลง Jingel Bell โน้ตชุดแรกคือ

|E E E - | E E E - | E G C D | E - - -||

ถ้าเราเอาฮาร์ปคีย์ C มาเล่น เสียงก็จะเป็นคีย์ C (ได้เสียงตามโน้ต เนื่องจากโน้ตเป็นคีย์ C)
แต่เมื่อเราเอาฮาร์ปคีย์ F มาเล่น เล่นเหมือนเดิมช่องเดิมแบบเดิม ฟังแล้วเหมือนเดิม แต่ความถี่เสียงก็จะเปลี่ยนไปกลายเป็นคีย์ F ครับ และถ้าอยากรู้ว่าโน้ตในคีย์ F ที่เล่นไปนั้นชื่อโน้ตจริงๆที่เทียบกับเปียโนแล้วคืออะไร ก็ดูได้จากตารางข้างบนครับ หรือไม่ก็ศึกษาทฤษฏีเกี่ยวกับคีย์ต่างๆครับ

การเปลี่ยนคีย์สำหรับฮาร์โมนิก้านั้นง่ายครับ ถ้าเราเล่นเพลงนั้นในคีย์ C ได้แล้ว หากต้องการเปลี่ยนคีย์ก็แค่เอาฮาร์โมนิก้าคีย์ที่ต้องการมา เล่นแบบเดิมในช่องเดิมก็ได้เพลงเดิมในคีย์ใหม่แล้วครับ ดังนั้นโน้ตฮาร์โมนิก้าส่วนมาก(และของผม)มักจะถูกแปลง/เขียนไว้ในโน้ตของคีย์ C และกำกับไว้ว่าให้ใช้ฮาร์ปคีย์อะไรเล่นเพื่อให้ได้เสียงแบบเดียวกับต้นฉบับครับ ซึ่งเรียกว่า โดเคลื่อนที่(Move Do) คือ ไม่ต้องพูดถึงโน้ตอะไรในคีย์ต่างๆให้มากมาย เอาแค่ในคีย์ C เท่านั้น เล่นเหมือนโด, เร, มี ฯลฯ ธรรมดา แล้วเสียงที่ออกมาจะเป็นไปตามความถี่ของคีย์นั้นๆที่เราหยิบมาเล่นเอง นั่นคือเหตุผลที่ฮาร์โมนิก้า โดยเฉพาะ Diatonic ควรแปลงโน้ตให้เป็นคีย์ C ทุกเพลง และเมื่อเล่นในคีย์ C ได้ ก็เล่นได้ทุกคีย์ แค่หยิบคีย์ที่ต้องการมาเล่น แล้วเล่นในช่องเดิมแบบเดิม ก็เป็นเพลงเดิมในคีย์นั้นๆแล้ว
แต่จะเล่นกับฮาร์ปคีย์ไหนก็ไม่มีปัญหาครับเพียงแค่ความถี่เสียงก็จะเป็นไปตามฮาร์ปที่เอาขึ้นมาเล่นเท่านั้เอง แต่ก็ยังฟังเหมือนเดิม อยากรู้ว่าเล่นโน้ตในคีย์ต่างๆออกมาเป็นชื่อโน้ตจริงๆอะไร เทียบได้กับตารางข้างต้นครับ

วันนี้หนักไปทางทฤษฏีนิดนึงนะครับ เพื่อจะได้รวมวงกับวงดนตรีและพูดคุยถึงโน้ตกันได้แบบไม่ติดขัด(นำรูปแบบนี้ไปประยุกต์ใช้กับชื่อคอร์ดได้ด้วยเช่นกัน) แนะนำให้ศึกษาทฤษฏีดนตรีเพิ่มเติมนะครับจะได้เล่นดนตรีด้วยความเข้าใจยิ่งขึ้นครับ

หากได้ประโยชน์จากบทความนี้
แล้วอยากจะเลี้ยงน้ำชา ข้าวผัด หรือมอบสินน้ำใจเป็นค่าครู
สามารถสนับสนุนได้ที่

ธนาคารกรุงไทย
9090619704
กนกเกียรติ หริรักษ์หรรษา

ขอบคุณสำหรับการสนับสนุนและกำลังใจนะครับ
ขอบคุณครับ🙏😇

วันนี้เท่านี้ก่อน สวัสดีปีใหม่ไทยอีกครั้งครับ
ไว้เจอกันครับ
ขอให้เล่นดนตรีอย่างมีความสุขครับ ^_^

13 เมษายน 2554

Harmonica Types - มารู้จักฮาร์โมนิก้าชนิดต่างๆกันเถอะ

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้พักจากแบบฝึกหัดฮาร์โมนิก้ากันไว้ก่อน เรามาทำความรู้จักฮาร์โมานิก้าชนิดต่างๆกันดีกว่า สำหรับคนที่สนใจหัดเล่นอ่านที่บทความฮาร์โมนิก้าสำหรับผู้เริ่มต้น
ฮาร์โมนิก้าก็มีหลายชนิด เหมือนในวง Orchestre ที่มี Violin หลายชนิดตั้งแต่เล็กไปถึงอันใหญ่มาก และก็มีชื่อต่างกันอย่าง Violin, Viola, Cello, Double Bass เป็นต้น
ฮาร์โมนิก้าเราก็มีระดับเสียงที่หลากหลายเช่นกัน เอามารวมกันเล่นก็สามารถเป็นวง Harmonica Orchestra ได้เลยทีเดียว เกริ่นพอสมควรได้เวลามาดูกันแล้วว่ามีแบบไหนกันบ้าง


1. Diatonic Harmonica (ไดอะโทนิค ฮาร์โมนิก้า)

เป็นฮาร์โมนิก้าที่นิยมเล่นกันทั่วโลก โดยเฉพาะแนว Blues นิยมมากจนมีอีกชื่อนึงว่า Blues Harp และเป็นแบบที่ผมแนะนำให้เลือกเล่นเพราะสามารถเล่นเทคนิดได้หลากหลาย เล่นทำนองโซโล่ก็ได้ เล่นคอร์ดก็ได้พอสมควร
ปกติจะมี 10 ช่อง ใน 1 ช่อง จะมี 2 โน้ต เป่าได้โน้ตนึง ดูดในช่องเดียวกันก็ได้อีกโน้ตนึง
Diatonic มี 12 คีย์ G Ab A Bb B C Db D Eb E F F# (เรียงจากเสียงคีย์ต่ำกว่ามาสูง)
และมีเสียงพิเศษอีก 3 เสียงคือ Low C, Low F, Hight G
นอกจากนี้ ฮาร์ป Diatonic เองก็มีรูปแบบการเรียงโน้ตและตั้งเสียงแตกต่างกันไปหลายแบบ มีให้เลือกได้มากมายหลากหลายความต้องการ

2. Tremolo Harmonica (เทรโมโล่ ฮาร์โมนิก้า)

แบบนี้หาง่ายและนิยมกันพอสมควรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มีช่องเป่าตั้งแต่ 16 ถึง 24 ช่อง ใน 1 ช่อง จะมี 1 โน้ต 2 ลิ้นเสียง เวลาบรรเลงแล้วจะเหมือนเล่นพร้อมกันสองคน และฟังเหมือนเป็นลูกคอสั่นๆด้วย(เป็นลิ้นเสียงคู่ โน้ตเดียวกัน แต่มีลิ้นนึงจะมีความถี่สูงกว่าอีกลิ้นเล็กน้อย จึงทำให้เกิดเสียงสั่นๆเป็นลูกคอนั่นเอง) แต่ละช่องเป่าดูดสลับช่องกันไป
เอามาเล่นทำนองโซโล่ได้ แต่เล่นคอร์ด เป่าควบเป็นคอร์ดได้น้อย ถ้าจะเล่นคอร์ดก็มักจะเล่นแบบ Apegio กระจายโน้ตคอร์ด และ Tremolo มีคีย์เสียงให้เลือกเล่นได้น้อย มักจะมีแต่คีย์ C แต่ปัจจุบันนี้ยี่ห้อจีนผลิตออกมาครบทุกคียแล้ว

3. Chromatic Harmonica (โครมาติค ฮาร์โมนิก้า)

ฮาร์โมนิก้ารุ่นนี้ตัวเดียวสามารถเล่นได้ทุกคีย์ เพราะมีโน้ต #,b(ชาร์ป,เฟล็ต) ครบถ้วน เวลากดปุ่มที่อยู่ข้างๆ แล้วเล่นเสียงโน้ตนั้นๆจะสูงขึ้นครึ่งเสียง
เช่น ถ้าเป่า โด(C) แล้วกด ก็จะได้เสียง โดชาร์ป(C#)หรือเรียกว่า เรเฟล็ต(Db)ก็ได้ (เป็นเสียงที่อยู่กึ่งกลางระหว่างโด(C) และ เร(D))
ปกติจะมี 12 ช่อง ไปจนถึง 16 ช่อง
เวลาเล่นแบบไม่กดปุ่มการเล่นก็จะคล้ายๆกับคีย์ C Diatonic คือ 1 ช่องมี 2 โน้ต เป่ากับดูด แต่จะต่างกันที่การเรียงโน้ตนิดหน่อย
และ Chromatic ก็มีแบบ Tremolo ด้วย แต่มีให้เลือกน้อยทั้งรุ่นและยี่ห้อ(และแพง)
การดูแลรักษาเคยได้ยินมาว่าน้ำลายเข้าเยอะก็ไม่ได้ ล้างน้ำก็ไม่ได้ ฯลฯ เขาว่ากลไกจะพัง ตรงนี้ก็ไม่ทราบว่าเพราะอะไร จากที่ได้ยินมาก็น่าจะดูแลยากพอสมควร

4. Single Harmoinca (ซิงเกิล ฮาร์โมนิก้า)

เป็นฮาร์โมนิก้าโมเดลญี่ปุ่น มีแบบ 15 และ 22 ช่อง ส่วนใหญ่เป็นคีย์ C แต่ละช่องมี 1 โน้ตเรียงไปทีละโน้ต คล้าย Tremolo แต่เรียงโน้ตเหมือนลิ่มขาวเปียโน โดยที่โน้ตเป่าหรือดูดจะเหมือนกับ Diatonic ที่แยกออกเป็นโน้ตละช่อง ไม่ค่อยได้รับความนิยมโดยทั่วไป แต่ไอเดียของ Single Harmonica ก็มีเป็นรุ่นอื่นๆเหมือนกัน เช่น เพิ่มช่องด้านบนมาอีกแถวเป็นโน้ต #,b เหมือนลิ่มดำของเปียโน ทำให้สามารถเล่นโน้ตได้ครบบันไดเสียงโครมาติก เป็นต้น

5. Chord Harmonica (คอร์ด ฮาร์โมนิก้า)

ตามชื่อเลย ฮาร์โมนิก้าชนิดนี้ใช้เล่นคอร์ดโดยเฉพาะครับ มีตั้งแต่แบบคอร์ดน้อยไปจนถึงแบบคอร์ดเยอะ แน่นอนว่าแบบคอร์ดเยอะก็จะยาวมาก เผลอๆยาวกว่าแข้งอีก(ฮา)
หายากหน่อยครับในประเทศไทย อาจจะต้องสั่งเข้ามา เพราะไม่ค่อยนิยมเล่นกันในบ้านเรา รุ่นพิเศษแบบนี้จะมีแต่ของเกรดสูงครับ เพราะคนที่ใช้มักจะสนใจใช้เล่นจริงๆจังๆเป็นอาชีพ

6. DoubleBass Harmonica (ดับเบิ้ล เบสฮาร์โมนิก้า)

เสียงคล้ายกับการสี Double Bass(ไวโอลินยักษ์) เลยครับ ทุ้มต่ำหนักแน่นมาก
DoubleBass Harp ใน 1 ช่องจะมี 1 โน้ต และเป็นแบบ Chomatic ครับ แต่ไม่ใช่แบบปุ่นกด จะเป็นแบบ 2 ชั้น(ตามรูป) ชั้นล่างเล่นแบบดูดทั้งหมดเสียงคีย์ C และชั้นบน เล่นแบบเป่าทั้งหมดเสียงคีย์ C#(Db) เวลาเล่นโน้ตปกติก็เล่นชั้นล่างเวลาจะเล่นโน้ต #,b ก็เล่นชั้นบนครับ ก็ครบโน้ต Chomatic พอดี (ชั้นล่างดูด ชั้นบนเป่า แต่บางยี่ห้อก็เป่าหมดทั้งบนล่าง)
จากรูปมีโน้ตทั้งหมด 39 โน้ตพอดี มีโน้ตพอๆกับ Guitar Bass 4 สาย เลยครับ แล้วรู้สึกว่ารุ่นนี้จะสามารถเสียงแจ๊คต่อเข้าตู้แอมป์ได้ด้วย
และ DoubleBass Harp ก็หายากอีกเช่นกันเพราะเป็นรุ่นพิเศษ ถ้าสนใจอาจจะต้องสั่งเข้ามา และอย่างที่บอกล่ะครับรุ่นพิเศษมักจะ Full Option เพราะคนที่สนใจมักจะเอาไปใช้เล่นกันจริงจังเลยทีเดียว(และแพงได้อีก ฮา)


เป็นไงบ้างครับสำหรับฮาร์โมนิก้า 6 แบบที่มาแนะนำให้ดูกัน นี่เป็น 6 แบบหลักๆครับ ยังมีแบบพิเศษอีก ซึ่งก็จะต่างกันที่รายละเอียดนิดหน่อยตามแต่ผู้ผลิตจะคิดค้นออกมา แต่เพียงเท่านี้ก็ครบถ้วนและน่าจะจุใจกันพอสมควร

วงดนตรีในต่างประเทศนั้นมีวงชนิดนึงที่ผมเรียกว่า Harmonica Band คือ ในวงจะมีเครื่องดนตรีหลักเป็นฮาร์โมนิก้า อย่างเช่น อาจจะมี 3 คน คนแรกเล่น Diatonic หรือไม่ก็ Chromatic เพื่อเล่นโซโล่ คนที่สองเล่น Chord Harp คนที่สามเล่น DBass Harp เป็นต้น หรืออาจจะเป็นแบบอื่นก็ได้ อย่างเช่น เล่น Diatonic 10 ช่อง เหมือนกันทั้งวงไปเลย อาจจะ 2-3 คน แล้วแบ่งการเล่น คนนึงเล่นโซโล่ อีกคนเล่นคอร์ด อีกคนเล่นไลน์เบสหรือลูกขาน เป็นต้น ก็แล้วแต่จะแบ่งโน้ตกันเล่นตามแต่ตกลงกันเลยครับ
เป็นลักษณ์แบบเดียวกับวง String ทั่วไป ที่มี Guitar Solo, Guitar Chord, Guitar Bass , (และ Drums) อะไรประมาณนี้ล่ะครับ ถ้าวงฮาร์ป Diatonic ล้วน เพิ่มคนเล่น Cajon (คาฮอน กลองกล่องไม้)อีกชิ้นก็เป็นวงพกพาแบบครบองค์เหมือนวงสตริงกันเลยทีนี้ ๕๕

วันนี้คงพอเท่านี้ก่อนไว้เจอกันใหม่คราวหน้าครับ
ขอให้มีความสุขกันการเล่นฮาร์โมนิก้าที่คุณรักนะครับ
^_^

08 มีนาคม 2554

โน้ตเพลง เขมรไล่ควาย สำหรับ Harmonica

สวัสดีครับห่างหายไปนาน แหม...ก็ช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลาอัพบล๊อก ว่างแล้วก็ถือโอกาสอัพซะหน่อย ฮ่าๆๆ เพื่อนๆพี่ๆน้องๆฯ เป็นยังไงกันบ้างครับกับแบบฝึกหัดครั้งก่อนๆ หวังว่าคงจะสนุกๆกันพอสมควรนะครับ
ครั้งนี้มาพร้อมโน้ตเพลง เขมรไล่ควาย มาให้ได้ฝึกเล่นกันครับ เพลงนี้ฟังสนุกเล่นก็สนุก แต่เด็กรุ่นนี้จะรู้จักเพลงนี้มั้ยเนี่ย? ฮ่าๆๆ ผมเองก็ไม่ได้เป็นรุ่นโน้นนะครับ อาศัยแค่เคยได้ยินแตรวงบรรเลงแล้วรู้สึกว่าเป็นเพลงที่สนุกจริงจริ้ง ก็ถามชื่อเพลงมาตั้งแต่บัดนั้น ถึงบัดนี้จึงได้มาแกะทำนองเพลงนี้ซะทีครับ หลังจากที่ลืมเลือนไปนาน
เอาล่ะครับพล่ามความเป็นมากับพอขำๆ ลองเอาไปฝึกกันได้เลยครับผม

ปล.ต้นฉบับเพลงนี้น่าจะเป็นคีย์ Bb ถ้าต้องการเล่นให้เป็นคีย์ต้นฉบับก็ใช้ Bb Harmonica หรือจะเล่นกับคีย์อื่นๆก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด แต่ว่า Backing Track หรือเพื่อนๆที่เล่นด้วยกันจะต้องเล่นคีย์เดียวกันนะครับ

คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่

เพลงนี้ใช้สัญลักษณ์ของโน้ตสากลเยอะพอสมควรถือว่าเป็นการฝึกดูสัญลักษณ์ต่างๆไว้ด้วยล่ะกันนะครับ ไม่เข้าใจสัญลักษณ์ไหนก็ลองศึกษาหนังสือ ทฤษฎีดนตรี ดูนะครับ
โน้ตสากลก็เสมือนตัวหนังสือของภาษาดนตรีลองศึกษาดูครับ สนุกๆ

วันนี้ก็เท่านี้ก่อน แล้วเจอกันแบบฝึกหัดหน้าครับผม