Sponsor

26 กุมภาพันธ์ 2565

100 เรื่องสั้นอย่างสั้น หมายเลข 3 : ท้องฟ้ามิอาจเอ่ยคำ


คอลเลคชั่นเรื่องสั้นอย่างสั้น 100 เรื่อง 267 อักขระ เดินทางมาถึงเล่มที่ 3 แล้ว ซึ่งทุกเรื่องในทุกเล่มจะพาเราโลดแล่นไปสู่โลกที่พิศดารได้อย่างมีเสน่ห์ ชวนสัมผัสกับความละเมียดละไม ลิ้มรสกับความนุ่มละมุน กรุ่นหอมไปในห้วงอักขระต่างรส อบอวลอยู่ในภวังค์แห่งจิตนาการ
-ส่วนหนึ่งของคำนำ

=======
สามารถทดลองอ่านและเป็นเจ้าของได้ที่ https://cutt.ly/qP0hXF0 เลยจ้า
Thumbnail Seller Link
100 เรื่องสั้นอย่างสั้น หมายเลข 3 : ท้องฟ้ามิอาจเอ่ยคำ
กนกเกียรติ หริรักษ์หรรษา
www.mebmarket.com
คอลเลคชั่นเรื่องสั้นอย่างสั้น 100 เรื่อง 267 อักขระ เดินทางมาถึงเล่มที่ 3 แล้ว ซึ่งทุกเรื่องในทุกเล่มจะพาเราโลดแล่นไปสู่โลกที่พิศดารได้อย่างมีเสน่ห์ ช...
Get it now

=======
คำนิยม

นุ่มละมุนในอ้อมกอดของตัวอักษร
-Harirak Farm
https://www.facebook.com/harirakfarm/

ลุ่มลึก อิ่มเอม และเร้าร้อน
-Jazzylj
https://twitter.com/jazzylj

เป็นชุดเรื่องสั้นที่สัมผัสได้หลากรสชาติ ทั้งเปรี้ยว หวาน เค็ม ขม เผ็ด นุ่ม แข็ง หยาบ เนียน เป็นส่วนผสมที่ลงตัวของอักขระและวลี งดงามเกินจะกล่าว แต่สัมผัสได้ด้วยการชิ้มลิ้มละเลียดอ่าน
-ห้องสมุดตามใจ
https://www.facebook.com/theravenlibrary

ผมเฝ้ารอเล่มนี้มานาน เมื่อได้อ่านก็ไม่ผิดหวัง ชวนฝันละเมียดละไม
-เท้าปุย

นุ่มนวลดั่งฟองนม
กรุ่นกลิ่นดั่งอบเชย
เผ็ดร้อนดังต้มยำ
-เพจบทกวีที่สาบสูญ
https://cutt.ly/hiddenpoems

เล่มนี้เป็นเล่มที่ลุ่มลึกที่สุดในไตรภาค แผ่วเบาแต่หนักหน่วง น้อยแต่มาก สั้นแต่ยาว พร้อมที่จะซึมซาบเข้าไปในห้วงแห่งความฝัน ที่รอให้ผู้อ่านมาขุดค้นพบมันด้วยตัวเอง
-Jazzylemon
https://jazzylj.blogspot.com

23 กุมภาพันธ์ 2565

สรุปหนังสือ Just For Fun - เอามัน: ต้นกำเนิดของ Linux และประวัติของ Linus

หนังสือ เอามัน และ Linux Zorin OS 16 Lite

Just For Fun by Linus Torvalds & David Diamond เป็นหนังสือที่เล่าถึงประวัติและแนวคิดของอัฉริยะชาวฟินแลนด์ผู้สร้างระบบปฏิบัติการ(OS) Linux ซึ่งเป็น OS ระบบแบบ Unix แจกฟรี ผู้สร้าง Linux ก็คือนายไลนุสผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เอง ซึ่งเขียนร่วมกับเพื่อนนักข่าวชาวอเมริกัน

Linux หลายคนอาจคุ้นชื่อแต่ไม่รู้จัก คร่าวๆก็คือ มันก็เป็นเหมือนระบบ Windows ที่อยู่บนคอมพิวเตอร์นั่นแหละครับ แต่ Linux เป็น Windows อีกเจ้าหนึ่งที่แจกฟรี และเป็น Open source หมายความว่าใครๆก็สามารถนำมันไปใช้ได้ฟรีๆและปรับปรุงแก้ไขได้อย่างอิสระ และการที่ Linux เป็นระบบเหมือน Unix จึงมีเสถียรภาพสูง แฮ็กยาก และไม่มีไวรัสรบกวน จึงนิยมนำไปใช้กับเครื่อง Server ระดับสูง และนิยมใช้ในหมู่โปรแกรมเมอร์และแฮ็กเกอร์ และด้วยความยืดหยุ่นของมัน จึงสามารถใช้กับคอมฯพิวเตอร์ทั่วไปได้ด้วย โดยใช้เสป็คเครื่องไม่สูงมาก ซึ่ง Linux บางตัวสามารถใช้กับเครื่องเก่า 15 ปีได้อย่างลื่นไหลสบายๆ และมีคุณสมบัติเทียบเท่าปัจจุบันทุกประการ
ปัจจุบันนี้หลายคนก็ใช้ Linux อยู่แต่อาจไม่รู้ เพราะเรารู้จักมันในชื่อว่า Android ซึ่งเป็น Linux ที่พัฒนาให้ใช้เป็นสมาร์ทโฟน และในอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความสมาร์ทๆอีกหลายชนิด
คร่าวๆก็ประมาณนี้ครับ

กลับมาที่หนังสือ
หนังสือเล่มนี้ถูกแปลเป็นไทยแล้ว ชื่อว่า "เอามัน" ของสำนักพิมพ์มติชน ซึ่งเหตุผลในการสร้าง Linux ขึ้นมาของไลนุสก็ตามชื่อหนังสือเลยครับ คือพี่แกทำเอามันเท่านั้นแหละ!
เรื่องมันเกิดขึ้นในปี 1991 ตอนที่พี่แกซื้อโมเด็มใหม่มาแล้วมันไม่มีไดเวอร์สำหรับคอมฯของพี่แก(ไดเวอร์คือโปรแกรมที่ให้ OS ใช้งานอุปกรณ์นั้นๆได้) พี่แกก็พยายามเขียนไดเวอร์ขึ้นมาเอง เขียนอยู่เป็นเดือนก็ยังไม่สำเร็จ เขียนไปเขียนมาพี่แกเริ่มรู้สึกว่ามันชักจะเยอะขึ้นทุกทีทุกทีแล้วเว้ยเฮ้ย จนในที่สุดพี่แกเห็นว่า "นี่มันจะเป็น OS แล้วนะโว้ย?" ถึงจุดนี้พี่แกก็ "เอาว่ะ ลองเขียน OS ดูเลยล่ะกัน ไหนๆก็ไหนๆแล้ว" ในที่สุดเขาก็ได้สร้าง Linux เวอร์ชั่น 0.01 ขึ้นมาสำเร็จ และโพสลงในกลุ่มเว็บบอร์ดของชาวคอมฯบนอินเตอร์เน็ต นี่คือจุดเริ่มต้นในการปฏิวัติของวงการคอมฯไปตลอดกาล

ตอนเป็นเด็ก ไลนุสได้ใช้คอมฯกับคุณปู่คุณตา ซึ่งคอมฯสมัยนั้นถ้าต้องการใช้โปรแกรมอะไร จะต้องเขียนโปรแกรมขึ้นมาเอง โดยอาจจะหาซื้อหนังสือการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นมาอ่าน หรือในนิตยสารคอมฯสมัยนั้นก็มีการแจก Source code ของโปรแกรม คือเอามาพิมพ์ตามให้ทุกต้องทุกตัวอักษร ก็จะได้โปรแกรมใช้ในคอมฯของเราแล้ว
ตรงนี้ชวนให้นึกถึงสมัยโนเกีย 3310 ที่ต้องเปิดหนังสือโน้ตเพื่อทำริงโทนเองยังไงอย่างงั้นเลย(ดักแก่แล้ว๑)
ด้วยประสบการณ์นี้ ทำให้ไลนัสถนัดที่จะเขียนโปรแกรมและเกมเล่นเองมาตั้งแต่เด็ก บางเกมก็ไปดูแล้วกลับมาเขียนเองให้เล่นได้อย่างที่ได้ดูมาก็มี แม้ตัวละครในเกมที่เขียนเลียนแบบมาจะดูอมโรคไปสักหน่อยก็ตาม ไลนุสว่าไว้อย่างนั้น และเขายังได้ส่ง Source code เกมที่เขียนเองไปลงนิตรยสารด้วย เขามักจะอุดตุอยู่แต่ในห้องนอนกับคอมฯคู่ใจ และกองหนังสือในห้องมาโดยตลอด กระทั่งเมื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัยและได้อ่านหนังสือการออกแบบระบบปฏิบัติการของผู้สร้าง Mimix ซึ่งเป็นระบบแบบ Unix สำหรับนักศึกษา ไลนุสก็สั่งซื้อมาใช้ แต่มันมีข้อบกพร่องเยอะ จนวันนึงเกิดความผิดพลาดบนคอมฯขึ้น ทำให้ Mimix ในคอมฯพัง ซึ่งตอนนั้นพี่แกก็เขียน Linux แล้ว ไลนุสเลยตัดสินใจใช้ Linux เป็นหลักและพัฒนาต่อไปให้ดีกว่าเดิม จนกระทั่งดีกว่า Mimix

เมื่อ Linux บดบังแสง Mimix
Linux เริ่มได้รับความนิยมจากชาวเน็ตในสมัยนั้น(สมัยนั้นคอมฯยังเป็นระบบจอดำๆเขียวๆพิมพ์คำสั่งอยู่เลยครับ คนที่ใช้เน็ตยังมีน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นแฮ็กเกอร์และโปรแกรมเมอร์) จนผู้สร้าง Mimix ออกมาโจมตี Linux ทำให้ไลนุสกับผู้สร้าง Mimix (ซึ่งเป็นไอดอลของไลนุสเลย เพราะไลนุสอ่านหนังสือการสร้างระบบปฏิบัติการที่เขาเขียน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้าง Linux)ต้องฉะกันทั้งบนเว็บบอร์ดและอีเมล์อยู่ยกใหญ่ แต่ Linux ซึ่งเป็น Opensource ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฟรีและทุกคนเข้าร่วมในการพัฒนาได้ เมื่อถึงปี 1993 ได้มีคนสร้างระบบ GUI (คือระบบคอมฯแบบมีภาพ ใช้เม้าคลิกๆ แบบที่เราใช้กันในปัจจุบัน) ได้สำเร็จ และมีคนนำมาใส่บน Linux จากนั้นก็ทำให้โลกใบนี้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง

สตีฟจ๊อบนัดพบไลนุส
ในหนังสือประวัติของสตีฟจ๊อบไม่เคยเห็นจ๊อบพูดถึงการเจอกับไลนุสเลย แต่ในหนังสือเล่มนี้ไลนุสบอกว่า เลขาของจ๊อปโทรนัดให้ไปพบกัน เมื่อเขาได้เจอกับจ๊อบ สิ่งแรกที่จ๊อบพูดกับเขา ซึ่งสมเป็นจ๊อบมากๆคือ "ในตลาดคอมฯน่ะ มีแค่ 2 เจ้า คือ Microsoft กับ Apple เท่านั้น ทางที่ดีที่สุดไลนุสควรมาทำงานให้กับ Apple" แต่ไลนุสไม่ได้ตอบรับ ไลนุสเล่าว่า จ๊อบเป็นเหมือนที่ทุกคนรับรู้จากสื่อนั่นแหละ แบบนั้นเลย ไลนุสพูดถึง Macintosh ไว้ว่า เป็นระบบที่มีข้อบกพร่องเยอะแยะ ซึ่ง Macintosh เองก็พัฒนามาจาก Mach ซึ่งเป็นระบบแบบ Unix และ Opensorce เหมือนกัน ซึ่งสร้างมาโดยใช้เทคนิค Micro Kernel คือเป็นการแยกย่อยหน่วยต่างๆจากกัน ซึ่งไลนุสไม่สนับสนุน พี่แกชอบสร้างเป็นก้อนๆเดียวแบบดั้งเดิมมากกว่า(นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ไลนุสทะเลาะกับผู้สร้าง Mimix)

บางทีการปฏิวัตก็หยุดไม่ได้
เรื่องราวของ Linux ยังคงดำเนินต่อไป มีอะไรมากมายที่เกิดขึ้นระหว่างทาง ไลนุสเห็นว่าการที่เขามีมุมมองต่อ Linux แบบนี้ คือให้มันเป็น Opensorce และปล่อยฟรีให้ทุกคนมีส่วนร่วมได้เต็มที่ แม้ในวัยเด็กของไลนุสจะยากจนสักหน่อย คอมฯที่ใช้พัฒนา Linux (ในขณะนั้น)ก็ยังต้องผ่อนจ่าย อาจเป็นเพราะสภาพสังคมของฟินแลนด์ที่เป็นประเทศสวัสดิการ เรียนฟรีได้ทุกระดับ จะเรียนถึงปริญญาเอกก็ได้(ปู่และตาของไลนุสเป็นศาสตร์จารย์ทั้งคู่เลย) มีสวัสดิการทุกคน ทุกคนเสมอภาคเท่ากัน อาจเพราะอย่างนี้ก็ได้ Linux จึงปล่อยฟรีโดยไม่คิดเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว แต่ทุกอย่างก็มาจากทำ"เอามัน"ของไลนุสทั้งสิ้น พี่แกชอบความท้าทาย เขาอยากได้รับคำติชมเยอะๆ เพื่อที่ว่าจะลองท้าทายตัวเองว่าจะแก้ปัญหาได้มั้ย โดยพี่แกเชื่อว่า ถ้าทุกคนได้ทำอาชีพที่ตัวเองรัก ด้วยการทำเอามันแบบนี้แหละ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องปากท้อง ทุกอย่างจะพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเหมือน Opensorce อย่างแน่นอน

การทำด้วยใจรัก เมื่อพบปัญหา ย่อมไม่ถอดใจง่ายๆหรอก
คุณคิดว่าไงครับ?

สัมภาษไลนัสใน TED (มีซับไทย)

Software is like sex: it's better when it's free.
-Linus Torvalds
The founder of Linux

22 กุมภาพันธ์ 2565

ลูกเป่าติ้ง - ลูกเหล็กบริหารมือของชาวจีนโบราณ

ลูกเหล็กบริหารมือ ภาษาจีนเรียกว่า 鋼膽 (กางต่าน แปลว่า ลูกเหล็ก) หรือ 保定健身球 (เป่าติ้งเจี้ยนเซินฉิว) แปลเร็วๆว่า ลูกบอลพิทักษ์รักษาสุขภาพร่างกาย ภาษาอังกฤษเรียกว่า Baoding balls ในไทยอาจเรียกว่าลูกติงหรือลูกเป่าติ้งก็มี หลายคนอาจจะเคยเห็นในหนังจีนมาบ้าง ที่มีคนถือลูกเหล็กกลมๆสองลูกคลึงวนไปวนมาอยู่ในฝ่ามือ คือเจ้าลูกติ้งนี้นี่เอง เราเคยเล่นของคุณปู่ตอนเด็กๆ เมื่อยมือมากเพราะลูกมันใหญ่เมื่อเทียบกับมือเด็ก ทำตกบ่อยครั้งเลย แต่เล่นไปเล่นมา ก็สามารถคลึงเจ้าลูกนี้ได้โดยไม่ตก แม้หมุนช้าๆสักหน่อย แต่สนุกเพลินๆ อารมณ์น่าจะเหมือนที่เด็กสมัยนี้เล่นสปินเนอร์

วิธีเล่นก็ง่ายมาก คือ เอาลูกติ้งสองลูกมาถือไว้ในมือข้างเดียว หงายมือขึ้น แล้วหมุนลูกติ้งวนอยู่ในฝ่ามืออย่างลื่นไหล และอย่าให้ตก แนะนำให้เล่นบนพื้นที่นิ่มๆเผื่อตกด้วยนะครับ
ประโยชน์ของลูกติ้ง คือ ช่วยยืดหยุ่นเส้นเอ็น ทำให้เลือดลมไหลเวียน ใช้พัฒนาความคล่องแคล่วและผ่อนคลายข้อต่อและกล้ามเนื้อของนิ้วและมือ ช่วยกระตุ้นจุดฝังเข็มเส้นลมปราณต่างๆบริเวณมือ ช่วยลดความเครียดความวิตก ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น ช่วยปรับปรุงการทำงานของสมอง เพิ่มความจำและสติปัญญา สามารถใช้เป็นการบริหารร่างกายเพื่อดูแลสุขภาพโดยรวมได้ มักใช้ในกายภาพบำบัดเพื่อออกกำลังกายเนื้อเยื่ออ่อนของมือ ข้อมือ และแขน เพิ่มแรงบีบจับของมือ นักปีกเขาที่บาดเจ็บจากการปีนเขา ระหว่างพักฟื้นก็ใช้ลูกติ้งเพื่อฝึกแรงยึดเกาะของมือเอาไว้ด้วยการเล่นลูกติ้งแบบคว่ำมือ (แต่ถ้ามือหรือนิ้วบาดเจ็บ คือเล่นแล้วรู้สึกเจ็บกว่าเดิมก็ไม่ควรเล่น พักให้หายก่อนค่อยใช้)
เมื่อหมุนไปเรื่อยๆไม่หยุดก็จะเกิดไฟฟ้าสถิตและความร้อนขึ้นที่ลูกติ้ง ซึ่งช่วยให้ความอบอุ่นตามเส้นลมปราณ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อร่ายกายยิ่งขึ้นอีก นอกจากใช้ออกกำลังกายแล้วเหล่าจอมยุทธ์ยังใช้เป็นอาวุธลับอีกต่างหาก
การขยับนิ้วสลับไปมาแบบนี้พร้อมกับฝึกลมหายใจไปด้วย ถ้าว่ากันตามหลักของชี่กงนั้นนับเป็นการขจัดชี่ก่อโรค(邪氣)ออกจากอวัยวะภายในร่างกายได้ด้วย ทำให้อวัยวะภายในจะกลับมาทำงานได้ปกติมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ว่ากันว่าหากฝึกจนเทพแล้วจะมองเห็นพลังชี่พุ่งออกมาจากปลายนิ้วได้เลยทีเดียว!
จะฝึกกับฝ่าเท้าด้วยก็ได้ ด้วยการใช้เท้าเหยียบคลึงๆ(ลูกเดียว) ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการบำรุงไต เพราะเส้นลมปราณไตอยู่ราวๆกลางฝ่าเท้าค่อนขึ้นไปทางนิ้วเล็กน้อย แต่การฝึกกับฝ่าเท้าให้ใช้ลูกเทนนิสน่าจะเหมาะสมกว่า หากจะใช้ลูกติ้งก็ควรรองที่พื้นด้วยผ้าหนาๆเอาไว้ด้วย

ปราญช์จีนในสมัยโบราณจะใช้ลูกวอลนัท ต่อมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงก็มีการทำเป็นลูกเหล็กตัน, เหล็กกลวง(บางแบบข้างในจะมีลูกแก้วและลวดโลหะเมื่อกระทบจะมีเสียงกรุ๊งกริ๊งเหมือนโมบาย ชวนสงบ ไพเราะดี สั่นสะเทือนเล็กน้อย เราเคยเล่นของปู่เป็นแบบนี้), แก้วกลึงกลม, หินกลึงกลม, และไม้กลึงกลม วัสดุหลากหลาย ที่กลมๆแข็งๆคือได้หมด มีน้ำหนักหน่อยก็ดีหรือเบาก็ได้ แล้วแต่ชอบ มีทั้งแบบมีแกะสลักลวดลาย, แบบมีตุ่มๆ(เอาไว้กดจุดฝ่ามือแบบเน้นๆ), แบบลงสี วาดภาพ อะไรก็แล้วแต่จะสร้างสรรค์ให้สวยงามตามความชอบ

ขนาดที่นิยมใช้มีตั้งแต่ 1นิ้ว-2.6นิ้ว (25mm-63mm) โดยขนาดกลางๆเฉลี่ยที่ 1.5นิ้ว-2นิ้ว (38mm-50mm) ก็ขึ้นอยู่กับขนาดมือของแต่ละคน ส่วนตัวแนะนำขนาดมาตราฐานที่ 1.75นิ้ว หรือ 45mm (ถ้าหาไม่ได้ใช้ 2นิ้ว หรือ 50mm ไปเลยก็ได้) เพราะเป็นขนาดทั่วไปที่หาง่ายและขนาดกลางๆ แต่อาจจะค่อนไปทางใหญ่สักนิดนึง ได้ยืดเหยียดเกือบสุดมือ ส่วนขนาดที่ใหญ่กว่านี้เหมาะสำหรับคนมือใหญ่หรือคนที่เชี่ยวชาญแล้ว บางคนใช้ลูกเปตองเลยก็มีครับ

ลูกติ้งมาตราฐาน https://shope.ee/30R0iQQ1kg
ลูกติ้งหยก https://shope.ee/6fKJ40atGg
ลูกติ้งเหล็ก https://shope.ee/3fghVrDq1l

ลูกติ้งยังมีอีกหลายชื่อเรียก ไม่ว่าจะเป็น ลูกบอลเพื่อสุขภาพ, ลูกบอลทำสมาธิ, ลูกบอลบำบัด, ลูกบอลคลายเคลียด, ฯลฯ ถ้าสปินเนอร์ช่วยแก้สมาธิสั้นได้ ลูกเป่าติ้งก็น่าจะทำได้เหมือนกันนะครับ และได้สุขภาพอีกด้วย ต้องลองเล่นดูแล้วล่ะ
เมื่อเริ่มชำนาญแล้วก็เพิ่มความท้าทายด้วยขนาดที่ใหญ่ขึ้น หรือหมุนโดยไม่ให้ลูกบอลสัมผัสกัน หรือเพิ่มจำนวนลูกบอลในมือให้มากขึ้นอีกก็ได้ เมื่อเล่นแบบหลายลูกจะวางซ้อนๆกันขึ้นไปด้วยเพื่อฝึกสมดุลไปอีกก็ได้
แต่เราขอเล่นแบบธรรมดาๆก็พอแล้ว(ฮา)
โดยแต่ละขนาดก็ใช้องศาของกล้ามเนื้อในการขยับนิ้วต่างกัน ยิ่งถ้ารูปร่างลูกติ้งที่แตกต่างกันเทคนิคการหมุนก็จะต่างกันไปอีกเล็กน้อย ดังนั้นหากมีหลายๆขนาดหรือมีอย่างน้อย 3 ขนาด ก็จะให้ฝึกกล้ามเนื้อในหลายๆแบบหลายๆส่วนครับ

ลูกเป่าติ้ง อุปกรณ์ออกกำลังกายแบบโบราณ หาง่ายเล่นง่ายได้ประโยชน์ขนาดนี้ ลองหามาเล่นกันดูนะครับ เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคนที่เล่นโทรศัพท์หรือคอมฯมาก คนที่เล่นดนตรีและต้องการฝึกความยืดหยุ่นของนิ้วเพิ่มขึ้น ยังเหมาะสำหรับนักกีฬา กังฟู ผู้กำลังพักฟื้นร่างกาย ฯลฯ หรือจะเป็นของฝากให้คุณพ่อคุณแม่ได้ออกกำลังมือ กำลังกาย และบริหารสมองไปด้วยก็ดีเหมือนกันนะครับ ใช้ออกกำลังได้สำหรับทุกคนในบ้าน

ขอให้มีสุขภาพแข็งแรงปราศจากโรคภัย
สวัสดีครับ


ลูกติ้งในภาพยนตร์ The Adventurers (2017)


การผลิตลูกติ้ง

แถม
แผนภาพจุดสะท้อนฝ่ามือของอวัยวะภายใน ใช้นวดเพื่อบำรุงอวัยวะนั้นๆได้ นวดมือข้างไหนก็ได้ นวดได้ทุกจุด แต่หากนวดจุดไหนแล้วเจ็บหรือมีเม็ดๆหรือมีลม แสดงว่าอวัยวะในจุดนั้นอาจมีปัญหา ให้นวดจุดนั้นทุกวันจนกว่าจะคลายเจ็บ อวัยวะนั้นก็จะดีขึ้นไปด้วยไม่มากก็น้อย
มีคำแนะนำคือ ไม่ควรนวดหลังอาหารทันที ควรเว้นอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง และไม่ควรนวดขณะโดนลมพัดแรง ไม่ว่าจะกำลังนั่งจ่อพัดลมหรือแอร์ เพราะอาจทำให้ลมแทรกซึมเข้าอวัยวะแล้วจะป่วยได้
การหมุนลูกติ้งก็เป็นการนวดจุดเหล่านี้ด้วยเช่นกัน จะเห็นว่ามันนวดโดนจุดของใบหน้าและสมอง ปอด ตับ ถุงน้ำดี ม้าม และกระเพาะอาหารเป็นหลัก ซึ่งช่วยบำรุงสมองและชี่เลือดหรือเลือดลมได้ดี

手部反射区图
t.ly/Sf3q

วิธีการจำแผนภาพจุดสะท้อนฝ่ามือแบบคร่าวๆคือ ให้นึกว่าเหมือนกำลังมองคนคนหนึ่งอยู่
โดยช่วงนิ้วเป็นช่วงศีรษะ คือ ใบหน้า และสมอง
ลงมาที่โคนนิ้วเป็นช่วงหน้าอก คือ ปอด หัวใจ ตับ และถุงน้ำดี
ลงมาตรงกลางฝ่ามือเป็นช่วงท้อง คือ ม้าม และกระเพาะ
ลงมาที่ส้นมือเป็นช่วงท้องน้อย คือ กระเพาะปัสสาวะ ไต และอวัยวะเพศ
แนวข้างนิ้วโป้นจนถึงข้อมือเป็นแนวของกระดูกสันหลัง ใครที่กระดูกทับเส้น ถ้านวดส่วนนี้แล้วอาจเจอจุดเจ็บเพราะลมติด ก็ให้นวดทุกวันก็อาจทำให้อาการกระดูกทับเส้นดีขึ้นได้
เท่านี้ก็สามารถนวดเป็นช่วงๆ บน-กลาง-ล่าง ของฝ่ามือได้แบบคร่าวๆรวมๆไม่ต้องจำเยอะ และส่วนอื่นๆก็เป็นรายละเอียดของอวัยวะต่างๆดูได้ตามแผนภาพเลยครับ

จุดสะท้อนฝ่าเท้าก็คล้ายๆกัน แต่ต้องเอาฝ่าเท้าทั้งสองข้างมาชิดกัน ซึ่งจุดไตจะอยู่สูงหน่อย อยู่แถวกลางๆฝ่าเท้าขึ้นบนเล็กน้อย(จุดบุ๋มเวลางุ้มนิ้วเท้า) และอวัยวะต่างๆก็จะมีรายละเอียดต่างกันไปตามแผนภาพ

足部反射区图
t.ly/_t-N

อ้างอิง

21 กุมภาพันธ์ 2565

Command line บน Linux ก็สนุกดีเหมือนกันนะ

Terminal บน Zorin OS 16 Lite

Command line บน Linux สนุกดี เหมือนเป็นเกมในแบบ Text อีกเกมหนึ่ง การท่องไปในระบบ Directory ของ Linux เป็นอะไรที่สนธยาเนื่องจากความไม่คุ้นเคย ที่ทุกอย่างที่ไม่ใช่ไฟล์จะถูกมองว่าเป็น Floder หมดเลย แม้กระทั่งไดฟ์ที่แบ่งพาร์ติชั่นก็ตาม เป็นแค่อีกโฟล์เดอร์นึงเท่านั้น ซึ่งการจัดการระบบของ Linux ก็เป็นแบบเดียวระบบ Unix ทั้งหลาย ซึ่งตัวระบบมีส่วน System call หลักๆเพียง 6 อย่าง และใช้แค่ 6 อย่างที่ได้คิดและออกแบบมาอย่างดีแล้วนี้แหละ นำมาผสมเข้าด้วยกัน เสมือนมี 6 ตัวอักษร แล้วเอามาผสมเป็นคำต่างๆนับร้อยนับพัน ในระบบก็ได้รับการผสมผสานกลายเป็นคำสั่งนับร้อยคำสั่งใน Command line ให้ได้ใช้งานและเล่นสนุกกับมัน ระบบ Unix จึงเป็นอะไรที่เรียบง่ายและออกแบบมาอย่างดี จึงไม่แปลกใจที่เป็นระบบ Command line ที่ยังคงใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน เพราะแค่ Command line ก็ทำได้แทบทุกอย่าง(แต่ก็ไม่ทุกอย่างหรอก งานง่ายๆใช้ GUI สะดวกกว่า) เนื่องจากมันมาพร้อมโปรแกรมต่างๆเกือบครบถ้วนของ GNU บางคนที่เคร่งความถูกต้องจะเรียกว่า GNU/Linux ซึ่งระบบ Unix หรือ Linux แต่เดิมมันถูกสร้างขึ้นมาสำหรับเขียนโปรแกรม จึงมีเครื่องมือเหล่านี้ติดมาด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็น gcc, vi, etc. และการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตในยุคที่คอมฯยังเป็น Text นี่แหละ ด้วยความที่ระบบมีความยืดหยุ่นสูงจึงถูกนำมาใช้งานแบบทั่วไปได้ด้วย และในปัจจุบันก็มี GUI ที่ดูดีไม่แพ้ OS อื่นๆ แต่เบื้องหลัง GUI ก็ยังเป็น CLI เหมือนเดิม และการได้เข้ามาจับ Command line ก็อยากจะบอกว่า เออ สนุกดีเหมือนกันเว้ยเฮ้ย แค่นี้แหละ บัย

แถม
สนใจศึกษา Command line บน Linux โหลดหนังสือเล่มนี้มาอ่านได้เลยครับ The Linux Command Line by William Shotts หนังสือเล่มนี้ออกภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์สามารถดาวโหลด pdf ได้ฟรี
Command line ช่วยให้เข้าใจและใกล้ชิด Linux ได้มากกว่าที่เคย

แผนผังใหม่ของ Touchpad บน Linux Zorin OS 16

https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Acer_CB5-311_series_touchpad.jpg

แต่เดิมใน Zorin OS 15.3 การใช้ Touchpad ก็เหมือนปกติทั่วไป คือทั่วบริเวณของ pad จะเป็นพื้นที่วาดนิ้วเพื่อเคลื่อนเม้าส์บนจอ เคาะนิ้วเดียวเพื่อคลิกซ้าย เคาะพร้อมกันสองนิ้วเพื่อคลิกขวา และใช้สองนิ้วขยับขึ้นลง/ซ้ายขวาเพื่อเลื่อน Scoll
แต่ใน Zorin OS 16 จะมีความพิเศษคือ มีพื้นที่ที่ใช้ คลิกกลาง ได้ด้วยบน Touchpad คือเหมือนตอนเราใช้เม้าส์ที่มีลูกกลิ้งตรงกลาง ซึ่งสามารถกดเป็นคลิกกลางได้ ตอนนี้บน Touchpad บน Zorin OS 16 ก็สามารถใช้ได้แล้ว โดยเป็นบริเวณมุมขวาบน กินเนื้อที่ประมาณ 1/4 ของ Touchpad เลยทีเดียว ถ้าเคาะด้วยนิ้วเดียวบริเวณนี้ จะกลายเป็นคลิกกลาง ซึ่งแรกๆที่ใช้ Zorin OS 16 ก็งงๆเหมือนกันว่าทำไมคลิกแล้วมันแปลกๆ คือมันเป็นคลิกกลางนั้นเอง ความสามารถของคลิกกลางก็คือ กดที่แทปก็จะเป็นการปิดแทป หรือปิดโปรแกรม, กดที่ลิงค์ก็จะเป็นการเปิดลิงค์ในแทปใหม่, หากกดที่ช่องข้อความก็จะเป็นการวางข้อความลงไปเหมือน Ctrl+v
สรุปก็คือยังทำได้ทุกอย่างเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือ Middle Click zone

เท่าที่หาดูไม่มีให้ปิดฟังชั่นนี้ซะด้วย ทำให้ต้องระวังในการคลิกสักหน่อยครับ เพราะอาจจะวืดไปโดยบริเวณคลิกกลางได้ แล้วจะกลายเป็นปิดแทปหรือปิดโปรแกรมเอาแล้วจะวุ่น ข้อดีคือมีฟั่งชันมาให้ใช้มากขึ้น ข้อเสียคือรู้สึกเหมือนพื้นที่ของ Touchpad ลดลง สำหรับการคลิกขวาหรือเลื่อน Scoll นั้นใช้ได้เหมือนเดิม แต่การคลิกซ้ายด้วยนิ้วเดียว ต้องระวังอย่างให้โดนในโซนคลิกกลาง ซึ่งก็ไม่ชิน ต้องขยับจากการใช้ Touchpad ช่วงกลางๆแผ่น ไปเน้นใช้ช่วงซ้ายแทน เพราะพื้นที่ว่างเต็ม คงต้องปรับความเคยชินกันพอสมควรล่ะครับ

ก็เอามาฝากกันสำหรับแผนผังใหม่ของ Touchpad บน Zorin OS 16 คิดเห็นอย่างไรกับ Middle Click zone ก็แสดงความคิดเห็นมาได้ครับ
ขอบคุณครับ