Circle of fifths https://commons.wikimedia.org/wiki/File:CircleOfKeys.svg |
นักดนตรีที่ต้องร่วมเล่นกับคนหลายคน หรือต้องคุมวงหลายคน พวกเขาจำเป็นต้องรู้ทฤษฎีดนตรี ไม่ใช่เพื่อให้เล่นได้เก่ง จะเล่นเก่งไม่เก่งอยู่ที่ฝีมือ แต่เพื่อให้สื่อสารได้ตรงกันครับ อันนี้สำคัญเลย เพราะทฤษฎีดนตรีมีไว้สื่อสารครับ เพื่อบอกชื่อให้ทุกคนเล่นตรงกันได้ เท่านั้นแหละครับ(ย้ำอีกที อันนี้คือโดยเบื้องต้นนะครับ โดยลึกๆยังมีอะไรอีกมาก)
ถ้าบอกว่า ทฤษฎีดนตรีปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ หรืออะไรอย่างนี้ อย่างที่เคยได้ยินกันมาบ้าง คือผิดประเด็นเลยครับ เป็นมายาคติ คนที่พูดน่าจะไม่เคยศึกษาทฤษฎีดนตรีจริงๆ เพราะถ้าเคยศึกษาจะรู้ว่ามันไม่เกี่ยวอะไรกับความคิดสร้างสรรค์ หรืออารมณ์ หรือฝีมือ หรือ ฯลฯ หรืออะไรในการเล่นเลยครับ มันเกี่ยวกับการสื่อสารล้วนๆ เหมือนทฤษฎีทางศิลปะในการวาดรูป ที่สื่อสารให้ตรงกันว่าสีแบบไหนเรียกว่า แดง เหลือง น้ำเงิน ฯลฯ รวมไปถึง RGB code สำหรับวาดภาพสีในคอมฯด้วย มันก็ไม่ได้ไปปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ในการวาดรูปอะไรตรงไหน แค่ไว้สื่อสารกันเท่านั้นเองว่าต้องการโทนอะไร ดนตรีก็เหมือนกันครับ
บางทีถ้าตั้งชื่อ "ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้น" ใหม่เป็น "หลักการตั้งชื่อทางดนตรี" ก็อาจจะตรงตัวกว่า แต่ในเชิงลึกแล้ว ทฤษฎีดนตรีก็มีส่วนช่วยเสริมความเข้าใจในเรื่องอื่นๆได้ด้วยเหมือนกัน สำรับคนที่ต้องการศึกษาดนตรีในเชิงลึกไปจนถึงเชิงเทคนิคก็จำเป็นครับ เพราะเครื่องดนตรีย่อมถูกช่างสร้างมาอย่างถูกต้องตามหลักทฤษฎีดนตรี จึงทำให้เล่นได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะใครเล่นยังไงก็ออกมาถูกต้อง
ทฤษฎีดนตรีบางมุมก็เหมือนวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่สามารถทำให้ทุกคนเล่นกีฬาได้เต็มศักยภาพ สามารถทำให้คนทั่วไปที่มีใจรัก ทำได้ดีที่สุดจนก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเอง แน่นอน เขาอาจจะแพ้คนมีพรสวรรค์ที่ไม่เคยใช้วิทยาศาสตร์การกีฬาเลย แต่วิทยาศาสตร์การกีฬาก็ปั้นคนเก่งๆขึ้นมาได้โดยไม่ต้องรอคนที่มีพรสวรรค์ที่ร้อยปีจะมีสักคนที่เกิดมาเพื่อเป็นแชมป์ นั่นเป็นกรณีพิเศษ และทฤษฎีดนตรีเองก็ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจดนตรีได้ในแบบเดียวกันครับ
ทฤษฎีดนตรีทำให้ทุกคน ไม่ว่าจะมีพรสวรรค์หรือไม่มีพรสวรรค์ทางดนตรี ก็สามารถเล่นดนตรีได้เท่าเทียมกันในแบบของตนเอง
สรุป
โดยเบื้องต้น ถ้าต้องสื่อสารกับนักดนตรีคนอื่นๆ ทฤษฎีดนตรีจำเป็น แต่ถ้าไม่ต้องสื่อสารกับใครเลย หรือมีวิธีสื่อสารที่เข้าใจกันเองในวงอยู่แล้ว ทฤษฎีดนตรีก็ไม่จำเป็น(อาจเรียกว่าทฤษฎีดนตรีประจำวงก็ได้ ซึ่งเป็นทฤษฎีดนตรีแบบหนึ่งที่ตั้งขึ้นเอง และใช้ในการสื่อสารเช่นกัน เห็นมั้ย มันไม่เกี่ยวอะไรกับฝีมือการเล่นเลย ใช้สื่อสารล้วนๆ)
ดนตรีก็คือดนตรี ไม่ว่าจะสื่อสารแบบไหนหรืออธิบายแบบไหน ต่างคนต่างก็หาวิธีที่เหมาะสมได้ทั้งสิ้น และเราทุกคนก็มีความสุขกับดนตรีได้ในแบบเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องแบ่งแยกเลย
ท้ายที่สุดแล้ว ก็มีเพียงเสียงดนตรี ที่บรรเลงร่วมกัน
If you learn music, you'll learn most all there is to know. - Edgar Cayce |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น