คำนำ
หานซิ่น(ฮั่นสิน) เป็นแม่ทัพใหญ่ผู้ร่วมกับหลิวปัง(เล่าปัง)สถาปนาราชวงศ์ฮั่น ซึ่งถูกยกย่องจากจางเหลียง(เตียวเหลียง)ที่ปรึกษาของหลิวปังว่า หานซิ่นมีปัญญาและความรู้เหนือกว่า ซุนวู และ หวู่ฉี่(เง่าคี้) สองผู้รจนาต้นตำรับตำราพิชัยสงครามจีน ทั้งยังถูกพูดถึงโดยฟ่านเจิ้ง(ฟัมแจ้ง)ที่ปรึกษาของฌ้อปาอ๋องที่แนะนำฌ้อปาอ๋องว่า หานซิ่นมีสติปัญญาความคิด ควรจะชุบเลี้ยงให้เป็นขุนนางผู้ใหญ่ หาไม่ก็ต้องฆ่าทิ้งเสีย อย่าให้ไปที่อื่น เพราะจะเป็นเสี้ยนหนามในภายภาคหน้า
เดิมหานซิ่นเป็นคนยากจนแต่รักการศึกษา ได้อ่านตำรับตำราทั้งหลายจนเจนจบแตกฉาน แต่เนื่องจากเคยเป็นคนยากจนผอมแห้ง จึงไม่มีใครเคารพเชื่อถือในสติปัญญา แม้ฟ่านเจิ้งจะฝากฝังไว้กับฌ้อปาอ๋อง แต่ก็ไม่ได้รับการชุบเลี้ยง หานซิ่นน้อยใจจึงหนีไปอยู่กับหลิวปัง ในตอนแรกก็ไม่ได้รับความเชื่อถือเช่นเดียวกัน จนหนีไปอีกครั้ง แต่ได้เซียวเหอ(เสียวโห)ตามกลับมาและรับรองกับหลิวปัง จนหานซิ่นได้เป็นแม่ทัพใหญ่ จึงได้ใช้สติปัญญาในการปราบยุคเข็ญและสถาปนาราชวงศ์ฮั่น
พงศาวดารจีนเป็นแหล่งขององค์ความรู้มากมายให้ขุดค้นได้ไม่จบสิ้น พิชัยสงครามหานซิ่นเล่มนี้ได้รวมรวมและเรียบเรียงจากพงศาวดารไซ่ฮั่น เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจไว้เป็นคู่มือศึกษาและทบทวนเป็นการเฉพาะ และเขียนภาคผนวกเพิ่มเติมเพื่อเสริมเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับหานซิ่น หวังว่าทุกท่านจะได้รับความเพลิดเพลินและความรู้ไปพร้อมๆกัน สุดท้ายนี้ หากขาดตกบกพร่องประการใด ข้าพเจ้าขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
กนกเกียรติ หริรักษ์หรรษา
ผู้เรียบเรียง
=======
สามารถอ่านพิชัยสงครามหานซิ่นฟรี!ได้ข้างล่าง
หรือช่วยอุดหนุนและเป็นเจ้าของ eBook พิชัยสงครามหานซิ่นพร้อมภาคผนวกได้ที่นี่จ้า https://cutt.ly/UTMzyMy
|
เป็นเจ้าของหนังสือเล่มอื่นๆของสำนักพิมพ์หริรักษ์ฟาร์มก่อนใครได้ที่นี่เลย https://cutt.ly/harirakfarmbooks
ทั้งยังสามารถสนับสนุนค่าน้ำชา ข้าวผัด โดยตรงได้ที่บัญชี
ธนาคารกรุงไทย
909-0-61970-4
กนกเกียรติ หริรักษ์หรรษา
ขอบคุณสำหรับการสนับสนุนนะครับ รายได้หลักของบล๊อกนี้มาจากการสนับสนุนของทุกท่าน เราจะสร้างสรรค์ผลงานเพื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านต่อไป
ขอบคุณครับ
=======
พิชัยสงครามหานซิ่น
1
จงพิเคราะห์ดูให้รู้การรอบคอบต้องกับตำรับคัมภีร์พิชัยสงคราม ควรจะยกจึงเคลื่อนพลดูกำลังตนกำลังท่าน อย่าห้าวหาญ ถือกำลังแต่ผู้เดียว ถ้าข้าศึกฝีมืออ่อนแต่กำลังศึกกล้า อย่าเพ่อเข้าโจมตีดูทีทำนองศึกก่อน ถ้าเห็นทัพใดไม่ปกติจึงทำ
2
อันลักษณะแม่ทัพซึ่งดีมาแต่ก่อนนั้น ประกอบด้วยสติปัญญาแลได้เรียนรู้ชำนาญในกลพิชัยสงคราม ใจหนักแน่นลึกซึ้งมีอาชญาสิทธิ์โดยแท้ แต่จะลงโทษผู้ใดไว้อารมณ์เป็นธรรม ถึงจะมีศัตรูมาโดยกลอุบายก็คิดทำลายกลข้าศึกได้ ประการหนึ่งทั้งให้รู้กิจราชการตำแหน่งขุนนางฝ่ายพลเรือน มีเมตตาแก่ไพร่บ้านพลเมือง จะพิพากษาตัดสินข้อความสิ่งใดโดยยุติธรรม ให้เป็นที่วางใจแห่งพระมหากษัตริย์ ถ้าอยู่ในพระนครก็เป็นผู้สำเร็จราชการได้ ถ้ามีการศึกก็จะได้เป็นแม่ทัพใหญ่ ไปรบร้อยหนให้มีชัยชนะทุกครั้ง ถึงจะตีเมืองใหญ่ก็ให้ได้โดยเร็ว เปรียบเหมือนมือหงายพลิกให้คว่ำอย่าให้ทันคนเห็น อย่างนี้จึงจะเป็นแม่ทัพใหญ่ไปรบเมืองฌ้อได้ แต่ข้าพเจ้าจะว่าให้ท่านฟังอีกอย่างหนึ่ง คำโบราณว่าไว้ถึงจะเรียนวิชาล้ำลึก ถ้าไม่รู้จักใช้เรียนไว้ก็เสียเปล่า เหมือนครั้งแผ่นดินเลียดก๊กนั้น หญิงชายชาวบ้านแดนเมืองซองเป็นช่างฟอกหนัง ครั้นถึงฤดูหนาวคนบ้านนั้นจะถูกน้ำฝาด ตีฟอกด้วยมือกลัวมือจะแตกจึงละการเสีย มีชายผู้หนึ่งเลี้ยงเต่าเอาประกอบกับสรรพยาทามือทำการหน้าหนาวได้ แต่ปกปิดตำราไม่แพร่งพรายกับชาวบ้าน
ฝ่ายชายสองคนชาวเมืองหงอไปค้าขายถึงเมืองซอง เห็นชายผู้นั้นทำการฟอกเมื่อฤดูหนาวได้ จึงขอตำราให้ราคาเงินพันตำลึง ชายช่างฟอกเป็นคนเข็ญใจขายตำราให้พ่อค้า ๆ กลับมาอยู่เมืองหงอ พออวดอ๋องยกทัพมาตีเมืองหงอเป็นเทศกาลหนาว ทหารในเมืองแลกองทัพจะยืนถืออาวุธก็ไม่ได้ ชายพ่อค้าจึงเอาตำรายาเข้าไปถวายหงออ๋อง ๆ ก็ให้ประกอบยาทามือถืออาวุธออกรบ ทหารอวดอ๋องสู้ไม่ได้แตกหนีไป หงออ๋องจึงให้บำเหน็จแก่ชายสองคนนั้นถึงขนาด อันตำราอยู่เมืองซองใช้แต่พวกช่างฟอก หงออ๋องรู้จักใช้จึงมีชัยแก่ข้าศึก
3
การที่จะเป็นแม่ทัพนั้น ให้รู้สติดีห้าประการมีโทษอยู่สิบอย่าง คติดีนั้น ประการหนึ่งคิดกลอุบายเห็นผู้ใดจะทำได้จึงใช้ไปทำ ถ้าจะฝึกสอนทหารให้มีสง่าข้าศึกจึงจะเป็นที่เกรงกลัว แล้วให้ตั้งตัวมีอำนาจดังราชสีห์ ข้อสองนั้นให้มีน้ำใจโอบอ้อมแก่ทหารรักให้เสมอกัน ผู้ใดมีความชอบจึงเพ็ดทูลให้ ถ้าผู้ใดผิดทำตามผิดอย่าถือโกรธผู้น้อย ข้อสามให้ตรองความแล้วจึงสั่งดังงาช้างมีแต่จะยาว จงรักษาความสัตย์ทำการสิ่งใดให้แน่นอนอย่าเจรจาเป็นคำสอง ข้อสี่มีศึกมารู้ว่าแม่ทัพเคยชนะศึกเพราะกำลังพลมาก ผู้จะอยู่แก้ทัพรับมิได้เพราะมีพลน้อย อย่าถือตัวทำองอาจจะออกรบเมื่อกำลังกล้า จงหาที่มั่นให้ได้ก่อนจึงต่อสู้แล้วตรองดูอุบายหมายชนะจึงทำ ข้อห้าถ้าตัวเป็นแม่ทัพถึงไปตีเมืองใดมีรี้พลมาก อย่าคิดกำเริบทรยศเจ้านายของตัว ผู้ใดรักษาคติห้าประการนี้ให้ถูกถ้วนก็ควรจะเป็นแม่ทัพได้ ซึ่งโทษจะมีแก่แม่ทัพสิบประการ คำรบหนึ่งว่าพึงถือแต่น้ำใจไม่รักชีวิต คิดว่าตัวเข้มแข็งไม่ตรองดูให้รู้กำลังศึก คำรบสองไม่ส่องโดยปัญญาอาการร้อนแลเย็นเห็นแต่จะทำโดยเร็ว คำรบสามห้ามน้ำจิตอย่าให้โลภ ถ้าเห็นแก่โลภเอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นประโยชน์โทษมีหลายประการ คำรบสี่มีน้ำใจอ่อนคนผิดมาอ้อนวอนไม่ฆ่าตามอาญาศึก คำรบห้าถือปัญญาแต่ตัวไม่กลัวข้าศึกคิดชนะท่าเดียว คำรบหกเป็นคนหูเบาถ้ามีผู้มาว่าสิ่งใดก็เชื่อฟัง ไม่หนักแน่นตรึกตรองดูให้ละเอียด คำรบเจ็ดมีแต่ใจโมหันธ์ไม่เลือกคนที่ดีใช้กลับให้คนชั่วเป็นใหญ่บัญชาการทหารมักเสียใจ คำรบแปดถือตัวว่าไม่มีใครเสมอ ทำการไม่ปรึกษานายทัพนายกอง คำรบเก้าไม่เอาใจของตัวเป็นแน่ ฟังแต่คำคนพูดเพราะเชื่อถึอเอาถ้อยคำผิดมาทำศึก คำรบสิบเป็นแม่ทัพไปที่เปลี่ยวแลทางกันดาร ก็มิได้มีความเมตตาแก่ทหารโดยกำเริบอิสริยยศ พูดจาข่มขี่ติเตียนเพื่อนฝูงทั้งปวง แลโทษสิบประการนี้ถ้าผู้ใดละมิได้ไม่ควรจะเป็นแม่ทัพ
4
แม่ทัพทุกวันนี้ บางคนมีกำลังแลน้ำใจองอาจแต่สติปัญญาน้อย ที่มีวิชาความรู้มาก ไม่กล้าหาญในการศึกมีแต่ทิฐิต่อตีทหาร ครั้นเหตุมีมาจะหารือผู้น้อยกลัวอาย บางทีทหารมีความชอบปกปิดเสียคิดเอามาเป็นความชอบของตัว ซึ่งจะหาเสมือนแม่ทัพแต่ก่อนที่มีสติปัญญาพร้อมนั้นหายากนัก
5
ข้าพเจ้าได้เป็นแม่ทัพจะบังคับคนนับแสนให้สิทธิ์ขาด แม้นจะตั้งค่ายหมายให้มั่นเหมือนภูเขาใหญ่ ใจทหารจึงไม่สะดุ้งสะเทือน แม้นจะเดินทัพจะเอาอย่างแม่น้ำไหลเชี่ยว ถึงข้าศึกจะตั้งสกัดอยู่เหมือนสวะปะน้ำเชี่ยวหรือจะทนได้ ถ้าจะใช้ทหารไปทำศึกเสียทีจวนจะถึงที่ตาย ข้าพเจ้าจะช่วยไว้ให้กลับคืนได้ชัยชนะจึงจะเห็นว่าเป็นทัพเทพยดา แม้นทหารจะไม่กล้าข้าพเจ้าคิดโดยแยบคายให้องอาจจงได้ ถึงศัตรูจะมีกลอุบายพึงทำลายกลนั้นเสียจึงนับว่าชาติชายชำนาญศึก ถ้ามีคนแต่สิบหมื่นจะยกไปล้อมข้าศึกให้เห็นว่ามีคนรบถึงร้อยหมื่น ประการหนึ่งสังเกตฤกษ์ล่างแลฤกษ์บนดูกำลังท่าน ต้องตามตำรับที่เรียนรู้แล้วจึงทำการ ถ้าจะคิดกลอุบายก็จะทำให้มิตรคิดแพ้เสียก่อน จึงจะตรึกตรองเอาชัยชนะต่อภายหลัง
6
จะตั้งบ้านเรือนจงชำระจัดแจงภายในเสียก่อน คิดบำรุงฝึกทหารให้ชัดเจนในกลศึก การภายนอกจึงจะสำเร็จ
7
ให้มีกฎหมายสำหรับทหารไว้ คำรบหนึ่งว่าได้ยินเสียงกลองไม่ไป ได้ยินเสิยงม้าล่อไม่หยุด ถือธงไม่ตรงล้มธงไม่ราบ คำรบสองว่าเรียกชื่อไม่ขาน ถึงวันกำหนดไม่มาตามนัด ถึงวันหัดไม่มาซ้อมมือ คำรบสามผู้จะนั่งยามตามเพลิง ถึงโมงยามไม่ตีกลองพวกประโคมไม่ประโคมรับ คำรบสี่ทำเกียจคร้านไม่ไปตามบังคับบัญชา กล่าวคำติเตียนแม่ทัพ ถืออาวุธสิ่งไรไม่ทำให้ชำนิชำนาญละเสียให้ลืมเพลง คำรบห้ามาสู่ที่ท้องสนาม พูดจาตลกคะนองชักชวนให้ทหารป่วยการหัดเพลงอาวุธ แลเดินกรายไปนั่งอยู่ตามหมวดตามกอง คำรบหกสรรพวุธสิ่งไรผู้ถือไม่ขัดลับให้คม แลเกาทัณฑ์ไม่ทำสายสำรองไว้ ลูกเกาทัณฑ์ไม่มีขนนก ผู้ถือธงทำให้ขาด คำรบเจ็ดกล่าวอัปมงคลหลอกลวงให้ทหารขลาดตื่นตกใจ คำรบแปดพูดจาส่อเสียดยุยงให้นายทัพนายกองวิวาทกัน คำรบเก้าหยุดกองทัพบ้านใดตำบลใด เที่ยวทำย่ำยีให้ราษฎรซึ่งทำมาหากินสะดุ้งสะเทือนเดือดร้อน คำรบสิบทหารจับตัวข้าศึกแลได้ศีรษะข้าศึกมา คนซึ่งมิได้ทำไปช่วงชิงมาสอพลอเอาความชอบ คำรบสิบเอ็ดแม่ทัพแลนายทัพนายกองปรึกษาการศึกลักลอบแอบแฝงไปฟัง คำรบสิบสองแม่ทัพแลนายทัพนายกองสั่งกิจการอันใดจำเอาไปแพร่งพรายหลายหู คำรบสิบสามสั่งกิจการสิ่งไรก้มหน้านิ่งเสียไม่ทำตามสั่ง คำรบสิบสี่เมื่อซุ่มทัพไม่ควรจะพูดจาให้อื้ออึงขึ้นพูดด้วยเสียงอันดัง คำรบสิบห้าเมื่อจะออกรบแกล้งทำเจ็บป่วยหลบหลีกเสีย คำรบสิบหกแม่ทัพแจกเงินแลสิ่งของให้แก่ทหารแลนายทัพนายกอง ผู้แจกเบียดบังไว้ไม่ให้เสมอกัน คำรบสิบเจ็ดใช้ให้สืบราชการทัพไปไม่ถึงข้าศึก ดูการไม่แน่กลับเอาเท็จมาบอก ถ้าผู้ใดมิฟังทำความชั่วต้องกับกฎหมายสิบเจ็ดประการนี้จะลงโทษถึงสิ้นชีวิต
8
หัดทหารให้ดูธงสัญญาณ ถ้าโบกซ้ายให้เดินไปซ้าย ถ้าโบกขวาให้เดินไปขวา ถ้าโบกไปข้างหน้าให้เดินไปข้างหน้า ถ้าโบกไปข้างหลังให้ถอยลงมาเดินหลัง หัดพลสี่กองจะเดินเป็นกองเดียวก็ให้เดินเหมือนงูเลื้อย ที่จะเข้ารบแลถอยล่าก็แบ่งออกเป็นสี่กอง แม้นจะตั้งค่ายมีประตูเข้าออกทั้งสี่ทิศแต่ปิดไว้ใช้ประตูอื่น ทำเป็นประตูลับไว้เข้าออกไม่ให้ศัตรูเห็น
9
เวลากลางคืนคนจะแปลกปลอมกันสับสนนัก จำจะหยุดทหารไว้ก่อนด้วยคำโบราณท่านว่าไว้ แม้นได้ทีแก่ข้าศึกเวลาค่ำ ถ้าติดตามมักเสียทัพ
10
ให้พิเคราะห์ดูที่ชัยภูมิก่อน ถ้าจะตั้งกองทัพให้ต้องลักษณะศึก จึงจะมีชัยชนะฝ่ายเดียว ถ้าแลที่ซอกเขาเนินทางจำเพาะชอบทัพเดินหน้า จะได้แต่งเป็นกองล่อกองซุ่มสกัดตี ถ้าแลเป็นที่ท้องทุ่งทัพม้าจะได้ล้อมสกัดตัดหลังให้ข้าศึกเสียขบวน ถ้าแลที่ราบมิได้มีลุ่มดอนเหมือนที่นอกเมืองเอ๊กเอี๋ยง ไปทางประมาณสามร้อยเส้นข้างตะวันออกนั้นชอบทัพรถ
11
ในขณะเลี้ยงโต๊ะอยู่นั้นนายทัพนายกองจึงว่าแก่ฮั่นสินว่า ง่วนโซ่ยกระทำศึกครั้งนี้ข้าพเจ้าไม่เห็นเลยที่จะเอาชัยชนะได้ ด้วยว่าข้ามแม่น้ำมารบกันกับตินอี๋ก็เสียเปรียบตินอี๋อยู่หลายประการ เหตุใดท่านจึงชนะตินอี๋เล่า ฮั่นสินได้ฟังก็หัวเราะจึงว่า ท่านหารู้ไม่หรือ ในตำราพิชัยสงครามนั้นว่าให้เข้าที่ตายก่อนจึงออกที่เป็น เราทำถูกตำราจึงเอาชัยชนะแก่ข้าศึกนั้นได้
12
ลักษณะจะใช้ทหารเปรียบเหมือนดาบที่คม ถ้าใช้นักสิ้นเหล็กดีเร็ว แม้นทิ้งไว้นานพึงจะมีสนิม อันทหารถ้าใช้นักไม่พักเสียบ้างก็อิดโรยถอยกำลัง ครั้นไม่ใช้เลยก็หลงลืมการสงคราม
13
เที่ยวดูที่จะวางทัพ พรุ่งนี้จะได้ให้ทหารไปอยู่ประจำที่ ซึ่งอุบายเป็นความลับอย่างนี้ถึงมาตรว่าบิดาแลบุตรก็ไม่ควรจะแพร่งพราย
14
ให้ดูปลายธงสำคัญให้แม่น ถ้าเห็นธงโบกไปซ้าย ให้เปิดซ้ายเข้า ถ้าโบกขวาให้ขวาเข้า ถ้าเห็นธงหยุดอยู่ให้สงบทหารไว้ จงกำชับกันทุกหมวดทุกกอง อย่าให้เสียกระบวนได้
15
จงเอาธงสำคัญของเราขึ้นไปถือไว้บนภูเขากิวลิสาร เอาทหารไปสามพันคอยรักษาธงไว้ให้ได้ ถ้าเห็นพระเจ้าฌ้อปาอ๋องตีไปข้างด้านไหนก็ให้โบกธงไปข้างนั้น การสิ่งนี้ยากนัก ท่านจงพิเคราะห์ดูให้ดีให้รู้ว่าพระเจ้าฌ้อปาอ๋องไปข้างไหนให้แน่
16
ถ้าเป็นเวลากลางคืนท่านจงเอาโคมผูกไว้ที่ธงเป็นสำคัญ ถ้าเห็นคนสงบอยู่ก็ให้หยุดโคมไว้ แต่บรรดาพวกเราถ้าเห็นโคมหยุดก็จะหยุดอยู่ ที่ยังตื่นวุ่นวายไปก็เป็นพวกข้าศึก
1
จงพิเคราะห์ดูให้รู้การรอบคอบต้องกับตำรับคัมภีร์พิชัยสงคราม ควรจะยกจึงเคลื่อนพลดูกำลังตนกำลังท่าน อย่าห้าวหาญ ถือกำลังแต่ผู้เดียว ถ้าข้าศึกฝีมืออ่อนแต่กำลังศึกกล้า อย่าเพ่อเข้าโจมตีดูทีทำนองศึกก่อน ถ้าเห็นทัพใดไม่ปกติจึงทำ
2
อันลักษณะแม่ทัพซึ่งดีมาแต่ก่อนนั้น ประกอบด้วยสติปัญญาแลได้เรียนรู้ชำนาญในกลพิชัยสงคราม ใจหนักแน่นลึกซึ้งมีอาชญาสิทธิ์โดยแท้ แต่จะลงโทษผู้ใดไว้อารมณ์เป็นธรรม ถึงจะมีศัตรูมาโดยกลอุบายก็คิดทำลายกลข้าศึกได้ ประการหนึ่งทั้งให้รู้กิจราชการตำแหน่งขุนนางฝ่ายพลเรือน มีเมตตาแก่ไพร่บ้านพลเมือง จะพิพากษาตัดสินข้อความสิ่งใดโดยยุติธรรม ให้เป็นที่วางใจแห่งพระมหากษัตริย์ ถ้าอยู่ในพระนครก็เป็นผู้สำเร็จราชการได้ ถ้ามีการศึกก็จะได้เป็นแม่ทัพใหญ่ ไปรบร้อยหนให้มีชัยชนะทุกครั้ง ถึงจะตีเมืองใหญ่ก็ให้ได้โดยเร็ว เปรียบเหมือนมือหงายพลิกให้คว่ำอย่าให้ทันคนเห็น อย่างนี้จึงจะเป็นแม่ทัพใหญ่ไปรบเมืองฌ้อได้ แต่ข้าพเจ้าจะว่าให้ท่านฟังอีกอย่างหนึ่ง คำโบราณว่าไว้ถึงจะเรียนวิชาล้ำลึก ถ้าไม่รู้จักใช้เรียนไว้ก็เสียเปล่า เหมือนครั้งแผ่นดินเลียดก๊กนั้น หญิงชายชาวบ้านแดนเมืองซองเป็นช่างฟอกหนัง ครั้นถึงฤดูหนาวคนบ้านนั้นจะถูกน้ำฝาด ตีฟอกด้วยมือกลัวมือจะแตกจึงละการเสีย มีชายผู้หนึ่งเลี้ยงเต่าเอาประกอบกับสรรพยาทามือทำการหน้าหนาวได้ แต่ปกปิดตำราไม่แพร่งพรายกับชาวบ้าน
ฝ่ายชายสองคนชาวเมืองหงอไปค้าขายถึงเมืองซอง เห็นชายผู้นั้นทำการฟอกเมื่อฤดูหนาวได้ จึงขอตำราให้ราคาเงินพันตำลึง ชายช่างฟอกเป็นคนเข็ญใจขายตำราให้พ่อค้า ๆ กลับมาอยู่เมืองหงอ พออวดอ๋องยกทัพมาตีเมืองหงอเป็นเทศกาลหนาว ทหารในเมืองแลกองทัพจะยืนถืออาวุธก็ไม่ได้ ชายพ่อค้าจึงเอาตำรายาเข้าไปถวายหงออ๋อง ๆ ก็ให้ประกอบยาทามือถืออาวุธออกรบ ทหารอวดอ๋องสู้ไม่ได้แตกหนีไป หงออ๋องจึงให้บำเหน็จแก่ชายสองคนนั้นถึงขนาด อันตำราอยู่เมืองซองใช้แต่พวกช่างฟอก หงออ๋องรู้จักใช้จึงมีชัยแก่ข้าศึก
3
การที่จะเป็นแม่ทัพนั้น ให้รู้สติดีห้าประการมีโทษอยู่สิบอย่าง คติดีนั้น ประการหนึ่งคิดกลอุบายเห็นผู้ใดจะทำได้จึงใช้ไปทำ ถ้าจะฝึกสอนทหารให้มีสง่าข้าศึกจึงจะเป็นที่เกรงกลัว แล้วให้ตั้งตัวมีอำนาจดังราชสีห์ ข้อสองนั้นให้มีน้ำใจโอบอ้อมแก่ทหารรักให้เสมอกัน ผู้ใดมีความชอบจึงเพ็ดทูลให้ ถ้าผู้ใดผิดทำตามผิดอย่าถือโกรธผู้น้อย ข้อสามให้ตรองความแล้วจึงสั่งดังงาช้างมีแต่จะยาว จงรักษาความสัตย์ทำการสิ่งใดให้แน่นอนอย่าเจรจาเป็นคำสอง ข้อสี่มีศึกมารู้ว่าแม่ทัพเคยชนะศึกเพราะกำลังพลมาก ผู้จะอยู่แก้ทัพรับมิได้เพราะมีพลน้อย อย่าถือตัวทำองอาจจะออกรบเมื่อกำลังกล้า จงหาที่มั่นให้ได้ก่อนจึงต่อสู้แล้วตรองดูอุบายหมายชนะจึงทำ ข้อห้าถ้าตัวเป็นแม่ทัพถึงไปตีเมืองใดมีรี้พลมาก อย่าคิดกำเริบทรยศเจ้านายของตัว ผู้ใดรักษาคติห้าประการนี้ให้ถูกถ้วนก็ควรจะเป็นแม่ทัพได้ ซึ่งโทษจะมีแก่แม่ทัพสิบประการ คำรบหนึ่งว่าพึงถือแต่น้ำใจไม่รักชีวิต คิดว่าตัวเข้มแข็งไม่ตรองดูให้รู้กำลังศึก คำรบสองไม่ส่องโดยปัญญาอาการร้อนแลเย็นเห็นแต่จะทำโดยเร็ว คำรบสามห้ามน้ำจิตอย่าให้โลภ ถ้าเห็นแก่โลภเอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นประโยชน์โทษมีหลายประการ คำรบสี่มีน้ำใจอ่อนคนผิดมาอ้อนวอนไม่ฆ่าตามอาญาศึก คำรบห้าถือปัญญาแต่ตัวไม่กลัวข้าศึกคิดชนะท่าเดียว คำรบหกเป็นคนหูเบาถ้ามีผู้มาว่าสิ่งใดก็เชื่อฟัง ไม่หนักแน่นตรึกตรองดูให้ละเอียด คำรบเจ็ดมีแต่ใจโมหันธ์ไม่เลือกคนที่ดีใช้กลับให้คนชั่วเป็นใหญ่บัญชาการทหารมักเสียใจ คำรบแปดถือตัวว่าไม่มีใครเสมอ ทำการไม่ปรึกษานายทัพนายกอง คำรบเก้าไม่เอาใจของตัวเป็นแน่ ฟังแต่คำคนพูดเพราะเชื่อถึอเอาถ้อยคำผิดมาทำศึก คำรบสิบเป็นแม่ทัพไปที่เปลี่ยวแลทางกันดาร ก็มิได้มีความเมตตาแก่ทหารโดยกำเริบอิสริยยศ พูดจาข่มขี่ติเตียนเพื่อนฝูงทั้งปวง แลโทษสิบประการนี้ถ้าผู้ใดละมิได้ไม่ควรจะเป็นแม่ทัพ
4
แม่ทัพทุกวันนี้ บางคนมีกำลังแลน้ำใจองอาจแต่สติปัญญาน้อย ที่มีวิชาความรู้มาก ไม่กล้าหาญในการศึกมีแต่ทิฐิต่อตีทหาร ครั้นเหตุมีมาจะหารือผู้น้อยกลัวอาย บางทีทหารมีความชอบปกปิดเสียคิดเอามาเป็นความชอบของตัว ซึ่งจะหาเสมือนแม่ทัพแต่ก่อนที่มีสติปัญญาพร้อมนั้นหายากนัก
5
ข้าพเจ้าได้เป็นแม่ทัพจะบังคับคนนับแสนให้สิทธิ์ขาด แม้นจะตั้งค่ายหมายให้มั่นเหมือนภูเขาใหญ่ ใจทหารจึงไม่สะดุ้งสะเทือน แม้นจะเดินทัพจะเอาอย่างแม่น้ำไหลเชี่ยว ถึงข้าศึกจะตั้งสกัดอยู่เหมือนสวะปะน้ำเชี่ยวหรือจะทนได้ ถ้าจะใช้ทหารไปทำศึกเสียทีจวนจะถึงที่ตาย ข้าพเจ้าจะช่วยไว้ให้กลับคืนได้ชัยชนะจึงจะเห็นว่าเป็นทัพเทพยดา แม้นทหารจะไม่กล้าข้าพเจ้าคิดโดยแยบคายให้องอาจจงได้ ถึงศัตรูจะมีกลอุบายพึงทำลายกลนั้นเสียจึงนับว่าชาติชายชำนาญศึก ถ้ามีคนแต่สิบหมื่นจะยกไปล้อมข้าศึกให้เห็นว่ามีคนรบถึงร้อยหมื่น ประการหนึ่งสังเกตฤกษ์ล่างแลฤกษ์บนดูกำลังท่าน ต้องตามตำรับที่เรียนรู้แล้วจึงทำการ ถ้าจะคิดกลอุบายก็จะทำให้มิตรคิดแพ้เสียก่อน จึงจะตรึกตรองเอาชัยชนะต่อภายหลัง
6
จะตั้งบ้านเรือนจงชำระจัดแจงภายในเสียก่อน คิดบำรุงฝึกทหารให้ชัดเจนในกลศึก การภายนอกจึงจะสำเร็จ
7
ให้มีกฎหมายสำหรับทหารไว้ คำรบหนึ่งว่าได้ยินเสียงกลองไม่ไป ได้ยินเสิยงม้าล่อไม่หยุด ถือธงไม่ตรงล้มธงไม่ราบ คำรบสองว่าเรียกชื่อไม่ขาน ถึงวันกำหนดไม่มาตามนัด ถึงวันหัดไม่มาซ้อมมือ คำรบสามผู้จะนั่งยามตามเพลิง ถึงโมงยามไม่ตีกลองพวกประโคมไม่ประโคมรับ คำรบสี่ทำเกียจคร้านไม่ไปตามบังคับบัญชา กล่าวคำติเตียนแม่ทัพ ถืออาวุธสิ่งไรไม่ทำให้ชำนิชำนาญละเสียให้ลืมเพลง คำรบห้ามาสู่ที่ท้องสนาม พูดจาตลกคะนองชักชวนให้ทหารป่วยการหัดเพลงอาวุธ แลเดินกรายไปนั่งอยู่ตามหมวดตามกอง คำรบหกสรรพวุธสิ่งไรผู้ถือไม่ขัดลับให้คม แลเกาทัณฑ์ไม่ทำสายสำรองไว้ ลูกเกาทัณฑ์ไม่มีขนนก ผู้ถือธงทำให้ขาด คำรบเจ็ดกล่าวอัปมงคลหลอกลวงให้ทหารขลาดตื่นตกใจ คำรบแปดพูดจาส่อเสียดยุยงให้นายทัพนายกองวิวาทกัน คำรบเก้าหยุดกองทัพบ้านใดตำบลใด เที่ยวทำย่ำยีให้ราษฎรซึ่งทำมาหากินสะดุ้งสะเทือนเดือดร้อน คำรบสิบทหารจับตัวข้าศึกแลได้ศีรษะข้าศึกมา คนซึ่งมิได้ทำไปช่วงชิงมาสอพลอเอาความชอบ คำรบสิบเอ็ดแม่ทัพแลนายทัพนายกองปรึกษาการศึกลักลอบแอบแฝงไปฟัง คำรบสิบสองแม่ทัพแลนายทัพนายกองสั่งกิจการอันใดจำเอาไปแพร่งพรายหลายหู คำรบสิบสามสั่งกิจการสิ่งไรก้มหน้านิ่งเสียไม่ทำตามสั่ง คำรบสิบสี่เมื่อซุ่มทัพไม่ควรจะพูดจาให้อื้ออึงขึ้นพูดด้วยเสียงอันดัง คำรบสิบห้าเมื่อจะออกรบแกล้งทำเจ็บป่วยหลบหลีกเสีย คำรบสิบหกแม่ทัพแจกเงินแลสิ่งของให้แก่ทหารแลนายทัพนายกอง ผู้แจกเบียดบังไว้ไม่ให้เสมอกัน คำรบสิบเจ็ดใช้ให้สืบราชการทัพไปไม่ถึงข้าศึก ดูการไม่แน่กลับเอาเท็จมาบอก ถ้าผู้ใดมิฟังทำความชั่วต้องกับกฎหมายสิบเจ็ดประการนี้จะลงโทษถึงสิ้นชีวิต
8
หัดทหารให้ดูธงสัญญาณ ถ้าโบกซ้ายให้เดินไปซ้าย ถ้าโบกขวาให้เดินไปขวา ถ้าโบกไปข้างหน้าให้เดินไปข้างหน้า ถ้าโบกไปข้างหลังให้ถอยลงมาเดินหลัง หัดพลสี่กองจะเดินเป็นกองเดียวก็ให้เดินเหมือนงูเลื้อย ที่จะเข้ารบแลถอยล่าก็แบ่งออกเป็นสี่กอง แม้นจะตั้งค่ายมีประตูเข้าออกทั้งสี่ทิศแต่ปิดไว้ใช้ประตูอื่น ทำเป็นประตูลับไว้เข้าออกไม่ให้ศัตรูเห็น
9
เวลากลางคืนคนจะแปลกปลอมกันสับสนนัก จำจะหยุดทหารไว้ก่อนด้วยคำโบราณท่านว่าไว้ แม้นได้ทีแก่ข้าศึกเวลาค่ำ ถ้าติดตามมักเสียทัพ
10
ให้พิเคราะห์ดูที่ชัยภูมิก่อน ถ้าจะตั้งกองทัพให้ต้องลักษณะศึก จึงจะมีชัยชนะฝ่ายเดียว ถ้าแลที่ซอกเขาเนินทางจำเพาะชอบทัพเดินหน้า จะได้แต่งเป็นกองล่อกองซุ่มสกัดตี ถ้าแลเป็นที่ท้องทุ่งทัพม้าจะได้ล้อมสกัดตัดหลังให้ข้าศึกเสียขบวน ถ้าแลที่ราบมิได้มีลุ่มดอนเหมือนที่นอกเมืองเอ๊กเอี๋ยง ไปทางประมาณสามร้อยเส้นข้างตะวันออกนั้นชอบทัพรถ
11
ในขณะเลี้ยงโต๊ะอยู่นั้นนายทัพนายกองจึงว่าแก่ฮั่นสินว่า ง่วนโซ่ยกระทำศึกครั้งนี้ข้าพเจ้าไม่เห็นเลยที่จะเอาชัยชนะได้ ด้วยว่าข้ามแม่น้ำมารบกันกับตินอี๋ก็เสียเปรียบตินอี๋อยู่หลายประการ เหตุใดท่านจึงชนะตินอี๋เล่า ฮั่นสินได้ฟังก็หัวเราะจึงว่า ท่านหารู้ไม่หรือ ในตำราพิชัยสงครามนั้นว่าให้เข้าที่ตายก่อนจึงออกที่เป็น เราทำถูกตำราจึงเอาชัยชนะแก่ข้าศึกนั้นได้
12
ลักษณะจะใช้ทหารเปรียบเหมือนดาบที่คม ถ้าใช้นักสิ้นเหล็กดีเร็ว แม้นทิ้งไว้นานพึงจะมีสนิม อันทหารถ้าใช้นักไม่พักเสียบ้างก็อิดโรยถอยกำลัง ครั้นไม่ใช้เลยก็หลงลืมการสงคราม
13
เที่ยวดูที่จะวางทัพ พรุ่งนี้จะได้ให้ทหารไปอยู่ประจำที่ ซึ่งอุบายเป็นความลับอย่างนี้ถึงมาตรว่าบิดาแลบุตรก็ไม่ควรจะแพร่งพราย
14
ให้ดูปลายธงสำคัญให้แม่น ถ้าเห็นธงโบกไปซ้าย ให้เปิดซ้ายเข้า ถ้าโบกขวาให้ขวาเข้า ถ้าเห็นธงหยุดอยู่ให้สงบทหารไว้ จงกำชับกันทุกหมวดทุกกอง อย่าให้เสียกระบวนได้
15
จงเอาธงสำคัญของเราขึ้นไปถือไว้บนภูเขากิวลิสาร เอาทหารไปสามพันคอยรักษาธงไว้ให้ได้ ถ้าเห็นพระเจ้าฌ้อปาอ๋องตีไปข้างด้านไหนก็ให้โบกธงไปข้างนั้น การสิ่งนี้ยากนัก ท่านจงพิเคราะห์ดูให้ดีให้รู้ว่าพระเจ้าฌ้อปาอ๋องไปข้างไหนให้แน่
16
ถ้าเป็นเวลากลางคืนท่านจงเอาโคมผูกไว้ที่ธงเป็นสำคัญ ถ้าเห็นคนสงบอยู่ก็ให้หยุดโคมไว้ แต่บรรดาพวกเราถ้าเห็นโคมหยุดก็จะหยุดอยู่ ที่ยังตื่นวุ่นวายไปก็เป็นพวกข้าศึก
อ้างอิง