หลักการง่ายๆคือใช้ตาราง 5x5 แล้วใส่ตัวอักษรลงในตารางตามภาพครับ(ตัว C กับตัว K ใช้รวมกัน) จากนั้นก็เคาะพิกัดของตัวอักษรโดยเคาะแนวตั้งก่อน-หยุด-แล้วตามด้วยแนวนอน
เพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้เทียบกับตารางครับ
เช่น ต้องการส่งตัว B ก็จะ เคาะหนึ่งครั้ง-หยุด-เคาะสองครั้ง หรือ 1,2 หรือ . ..
ถ้าส่งเป็นคำ เช่น water ก็จะเป็นดังนี้
(W)5,2 (A)1,1 (T)4,4 (E)1,5 (R)4,2
หรือ ..... .. . . .... .... . ..... .... ..
โดยช่วงเว้นของระหว่างตัวอักษรจะหยุดนานกว่าหน่อยนึง
ใช้ X เป็นตัวจบประโยค และใช้ K เป็นการตอบรับ
แน่นอนว่าถ้าส่งเป็นประโยคเต็มๆต้องเคาะนานมาก ดังนั้นเหล่าเชลยศึกจึงคิดค้นคำย่อขึ้น เช่น GN = Good Night (ราตรีสวัสดิ์) หรือ GBU = God bless you (พระเจ้าอวยพร) เป็นต้น (ยุคนี้คำย่อภาษาแชทก็น่าจะใช้ได้ 108 ตัวย่อภาษาอังกฤษ )
นอกจากการเคาะแล้ว ยังส่งเป็นสัญญาญมือแทนการเคาะก็ได้ ด้วยการชูนิ้วบอกพิกัดของตาราง เช่น ส่งตัว B ก็ใช้ ชู 1 นิ้ว แล้วเปลี่ยนเป็น 2 นิ้ว หรือจะใช้สองมือ โดยมือนึงชูนิ้วแนวตั้งอีกมือทำในนิ้วแนวนอน เป็นต้น
ถ้าเทียบกับรหัสมอร์สแล้ว Tap code จำง่ายกว่ามากครับ โดยสร้างตารางขึ้นในใจก็ได้ แล้วใช้เทคนิคช่วยถอดรหัสดังนี้ ถ้าได้ยิน 4 เคาะ ให้ค่อยๆนึกถึง A F L Q ตามการนับแถวแรกแนวตั้ง หลังจากหยุดชั่วคราวแล้วได้ยินอีก 3 เคาะ ก็ให้นับต่อจากตัวอักษรเดิมเป็น Q R และจบที่ S นั่นเองครับ พูดง่ายๆคือ ให้จำแถวตัวอักษร 5 ตัวแรกแนวตั้งให้ได้ ที่เหลือค่อยนับต่อเหมือนท่อง A-Z นั่นเอง
สวัสดีครับเพื่อน ๆ ชาวคาลิมบาทุกท่าน ครั้งนี้ผมได้เรียบเรียงเพลงแคนน่อนแบบย่อ ๆ คัดมาเฉพาะท่อนหลัก ๆ ให้ได้ลองฝึกหัดกัน เป็นเพลงคุ้นหูของทุกท่าน ๆ แน่นอน นั่นคือ Canon in D ของ Johann Pachelbel ซึ่งผมได้แปลงเป็นคีย์ C สำหรับคาลิมบาแล้ว ไม่พูดพล่ามแต่ไปทำเพลงกันเลยดีกว่าครับ ;) ผมเรียบเรียงมากจากโน้ตนี้นะครับ ใครที่อยากได้โน้ตเว่อร์ชั่นเต็มคีย์ C ดูได้จากที่นี่เลยครับ Canon in D for Quartet Harmonica - เพลงแคนน่อนสำหรับวงฮาร์โมนิก้าสี่ชิ้น
ทีนี้เรามาลงลึกเกี่ยวกับคอร์ดกันอีกสักนิดครับเพื่อความเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์เองได้ต่อไปครับ
คอร์ดในทางดนตรีหมายถึงกลุ่มโน้ตตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป อย่างเช่น คอร์ด C ก็จะมีโน้ต C E G (โด มี โซ) เป็นกลุ่มโน้ตที่เล่นออกมาประสานเสียงกัน
โดยตัวคอร์ดนั้นไม่ได้สนใจว่าโน้ตไหนจะสูงหรือจะต่ำ เพียงแค่ขอให้มีโน้ตตามสูตรก็เพียงพอ เช่น จะเล่นคอร์ด C เป็น CEG, EGC, GCE หรือจะสลับกันยังไงก็ได้ครับ ก็ยังถือเป็นคอร์ด C อยู่นั่นเอง(ถ้าอยากรู้ว่าหาโน้ตในคอร์ดอย่างไร แล้วทำไมคอร์ดนี้ถึงชื่อแบบนี้ ต้องศึกษาสูตรคอร์ดครับ ซึ่งค่อยข้างลงไปลึกพอสมควร ยังไม่ขอพูดถึงในที่นี้นะครับ ถ้าสนใจสามารถศึกษาได้จาก ทฤษฎีดนตรี ครับ) อย่างเช่นกีต้าร์ 6 สาย เวลาเล่นคอร์ด C กีต้าร์ก็จะเล่นโน้ต C E G C E G สายละโน้ตจนครบทุกสายเสียงสูงต่ำต่างกันไป ในคอร์ด C ก็มีโน้ตเท่านี้แหละครับ ให้ดีดคอร์ด C ทีละเส้นเสียงที่ได้ก็ไม่พ้นโน้ต C E G ครับ ไม่ว่าจะมีกีสิบสายก็เล่นคอร์ด C แค่ 3 โน้ตนี้ครับ ถ้าเป็นวงโยทวาธิตก็แบ่งโน้ตกันเป่าครับจะเล่นกี่เสียงสูงต่ำยังไงก็ได้ของให้มีโน้ตตามนี้เท่านั้นเอง
ในการเล่นคอร์ด เราจะเล่นพร้อมกันทุกโน้ตหรือจะเล่นทีละโน้ตก็ตามแต่ต้องการหรือตามความเหมาะสม แต่ในการเล่นจริง ๆ อาจไม่จำเป็นต้องเล่นครบโน้ตในคอร์ดก็ได้ครับ บางโน้ตอาจจะละไว้บ้างก็ไม่เป็นไร ขอแค่ให้เล่นแล้วลงตัวก็เพียงพอครับ เช่น ถ้าเจอคอร์ดนอกคีย์อย่าง Cm = C Eb G ซึ่งเราไม่มีโน้ต Eb เราก็จะเลือกเล่นแค่ C และ G ก็ได้ หรือเล่น C อย่างเดียวก็ได้(การเลือกเล่นโน้ตคอร์ดแค่ตัวเดียว ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกโน้ตที่เป็นชื่อคอร์ด) โน้ตไหนไม่มีหรือเล่นไม่ได้ก็ละไปได้ไม่เป็นไรครับ
ความถี่บำบัดนำมาจากความถี่ของโน้ตสากลโบราณ(Solfeggio) ซึ่งก็คือโน้ต โดเรมีฯ นี่แหละครับ แต่ความถี่ในการตั้งเสียงจะต่างออกไปจากปัจจุบัน ด้วยความเชื่อที่ว่าความถี่เสียงมีผลต่อร่างกายของมนุษย์เรา การสั่นสะเทือนที่สอดคล้องกันอย่างสมดุลจะช่วยบำบัดรักษาและกระตุ้นร่างกายได้ไปจนถึง DNA เลยทีเดียว
คลื่นความถี่ Solfeggio พื้นฐานทั้ง 6 คือ
UT or DO – 396Hz – Liberating Guilt and Fear
ช่วยปลดปล่อยความรู้สึกผิด และความกลัว
RE – 417Hz – Undoing Situations and Facilitating Change
ช่วยลบล้างสถานภาพและพลังงานเชิงลบต่างๆ และช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนแปลง MI – 528Hz – Transformation and Miracles (DNA Repair)
ช่วยในการเปลี่ยนรูปแบบ และนำปาฏิหาริย์มาสู่ชีวิต – ช่วยซ่อมแซม DNA เรียกกันว่า คลื่นเสียงพลังงานความรัก ซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุด
FA – 639Hz – Connecting/Relationships
ช่วยในด้านการประสานสัมพันธ์ / ความสัมพันธ์กับผู้อื่น สร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลได้อย่างกลมกลืน ปลดปล่อยความโกรธและความริษยา
SOL – 741Hz – Awakening Intuition
ช่วยปลุกให้สัญชาติญาณหยั่งรู้ตื่นขึ้น ชำระล้างพิษและทำความสะอาดเซลในร่างกาย
LA – 852Hz – Returning to Spiritual Order
ช่วยพากลับไปสู่ความเป็นจิตวิญญาณ ยกระดับพลังงานให้กับเซล ปลดปล่อยความวิตกกังวล
174Hz – Frequency is natural anesthetic. It relieves pain and gives your organs a sense of safety, love and security and encourages them to do their best.
เป็นยาชาธรรมชาติ ช่วยลดความเจ็บปวดและช่วยให้อวัยวะของคุณมีความรู้สึกปลอดภัย ความรักและมั่นคง และกระตุ้นให้อวัยะทำงานได้ดีที่สุด
285Hz – Solfeggio Frequency - Heals and Regenerates Tissues , Restructures damaged organs by sending message to Tissues, Bringing them to original form.
เยียวยาและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ปรับโครงสร้างอวัยวะที่เสียหายโดยการส่งข้อความไปยังเนื้อเยื่อ นำไปสู่รูปแบบดั้งเดิม
963Hz or TI – Frequency helps in Pineal Gland Activation and is associated with awakening intuition.
ช่วยในการเปิดใช้งานต่อม Pineal Gland (เปิดตาที่สาม) และเกี่ยวข้องกับสัญชาตญาณการตระหนักรู้
เอาเป็นว่าสมมติว่าเรารู้คีย์เพลงต้นฉบับแล้ว เราก็มาเทียบจากตารางข้างต้นกันเลยครับ หากเราต้องการเปลี่ยนจากคีย์ G เป็นคีย์ C ก็ให้เราดูเฉพาะช่องของคีย์ G และ คีย์ C ในตารางเท่านั้นครับ ช่องอื่นไม่ต้องไปสนใจตอนนี้ แล้วเทียบกันแบบช่องต่อช่องเลย โดยดูโน้ตในช่อง I ii iii IV V vi vii ของตารางคีย์ G เทียบกับตารางคีย์ C ถ้าเพลงต้นฉบับมีโน้ต G A B C D E F# G' เทียบกันช่องต่อช่องแบบนี้เลยครับ G=C A=D B=E etc.เรื่อยไปจนจบเพลง ซึ่งเมื่อแปลงเป็นคีย์ C เรียบร้อยแล้ว โน้ตก็จะเป็น C D E F G A B C' นั่นเอง(เทียบดูแบบในตารางเบลอ)
ตารางเบลอ เน้นคีย์ C และ G ให้เห็นชัดๆ เทียบช่องต่อช่อง
แบบฝึกหัด
ให้เปลี่ยนคีย์เพลง Ode to joy จากคีย์ G เป็นคีย์ C B B C D D C B A G G A B B A A
(เฉลยข้างล่าง)
เฉลย Ode to joy - Key C E E F G G F E D C C D E E D D
แบบฝึกหัดสุดท้าย
อันนี้ไม่เฉลยนะครับ ให้ลองแปลงเองดูครับ
ให้เปลี่ยนคีย์เพลง Amazing Grace จากคีย์ G เป็นคีย์ C D G B G B A G E D D G B G B A D' B D' B D' B G D E G G E D D G B G B A G