Sponsor

19 มิถุนายน 2568

แรงงาน จักรกล และโลกที่เปลี่ยนไป


บทความโดย กนกเกียรติ หริรักษ์หรรษา

วันนี้เราจะมาเจาะลึกแนวคิดสุดคลาสสิก แต่ยังคงร่วมสมัยอย่างไม่น่าเชื่อ นั่นคือเรื่อง #การขูดรีดแรงงาน ในมุมมองของคาร์ล มาร์กซ์ หลายคนอาจจะคิดว่าเรื่องนี้เป็นของเก่าไปแล้ว แต่เชื่อไหมครับว่าในยุคที่เทคโนโลยีกำลังก้าวล้ำอย่างก้าวกระโดด ทั้ง AI และจักรกลกำลังจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตเรามากขึ้นเรื่อยๆ แนวคิดของมาร์กซ์กลับมีบางอย่างที่ผมเห็นว่าน่าสนใจอย่างยิ่ง แล้วมันเกี่ยวข้องกันยังไง? และโลกในอนาคตที่เราไม่ต้องทำงานเลย อาจจะไม่ใช่แค่ความฝันลมๆแล้งๆอีกต่อไปแล้วรึเปล่า? วันนี้เราจะมาคุยกันครับว่าทำไม

#ความแตกต่างของการขูดรีดกับการค้าขาย
การขูดรีดในแนวคิดของมาร์กซ์ไม่เหมือนกับการค้าขาย การค้าขายเป็นการทำกำไรจากสินค้าอันมีมูลค่าแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมอยู่ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำกันมาเป็นปกติ แต่การขูดรีดเป็นการทำกำไรจากการกดขี่แรงงาน เช่น การกดค่าแรงให้ต่ำสุดขีด แรงงานจะมีกินข้าวหรือไม่มีกินข้าวก็ไม่เกี่ยว หรืออาจจะไม่ให้ค่าแรงเลยก็ได้ แต่ไม่ว่าอย่างไรแรงงานก็ต้องมาทำงานให้ได้ในปริมาณงานที่เท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม การขูดรีดจึงจำเป็นต้องใช้แรงงานมนุษย์ ไม่สามารถใช้จักรกลได้ เพราะจักรกลนั้นหากไม่จ่ายไฟหรือไม่เติมน้ำมันให้กับเครื่องจักร ก็บังคับให้มันทำงานให้ไม่ได้ แต่การใช้มนุษย์นั้นสามารถกดดันด้วยสภาพเศรษฐกิจและสังคมให้ยอมทำงานที่ไม่อยากทำและไม่เป็นธรรมได้

#ข้อจำกัดของจักรกลในการขูดรีด
ดังนั้น สำหรับจักรกลแล้วใส่พลังงานเข้าไปเท่าไหร่ก็ได้งานเท่านั้น แต่สำหรับมนุษย์สามารถขูดรีดได้มากกว่านั้น ด้วยมุมมองนี้ของมาร์กซ์จึงมองว่า หากต้องการร่ำรวยจากการขูดรีดแรงงานก็เป็นไปไม่ได้ที่จะใช้จักรกลทั้งหมดในการผลิตงาน เพราะจักรกลขูดรีดไม่ได้

#อนาคตที่ไร้แรงงาน?
แต่หากผลิตงานโดยใช้จักรกลทั้งหมด ผู้คนก็จะไม่มีงานทำใช่มั้ย? น่าจะใช่ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น การเมืองการปกครองจะต้องเปลี่ยนแปลงไป ประชาชนสามารถดำรงชีวิตโดยไม่ต้องทำงานแลกเงิน (ซึ่งเวลาว่างในแต่ละวันจะเอาไปทำอะไรก็แล้วแต่เจ้าตัว) โดยรัฐต้องแจกเงินหรือคูปองให้ประชาชนใช้ จักรกลก็ผลิตสิ่งของให้ประชาชนมาเลือกจับจ่าย
แล้วพลังงานที่จะป้อนให้จักรกลล่ะ? ถ้าถึงยุคนั้นจริงๆ พลังงานและวัตถุดิบที่ป้อนให้กับจักรกลก็อาจจะมีจักรกลที่หาพลังงานหรือวัตถุดิบไว้ป้อนให้กับจักรกลเองในรูปแบบของพลังงานสะอาด จึงเป็นสังคมที่มีกินมีใช้ไม่หมดสิ้น นับว่าเป็นขั้นตอนหนึ่งเพื่อก้าวสู่อุดมคติของมาร์กซ์

#การปฏิวัติคอมมิวนิสต์และความเป็นจริง
ด้วยแนวคิดนี้ ในอดีต ทำให้เกิดการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ขึ้น แรงงานทำการยึดโรงงาน ตั้งใจจะผลิตเองใช้เอง โดยคิดว่าจะทำให้เป็นจริงแบบนั้นได้ แต่น่าเสียดายที่ส่วนใหญ่กลายเป็นเผด็จการ และไม่อาจเป็นเช่นนั้นได้ แม้จะมีการผลิตแบบอุตสาหกรรมแล้วก็ตาม เนื่องจากเทคโนโลยีในตอนนั้นยังไม่พัฒนาพอ

#เครื่องพิมพ์ 3 มิติ จุดเปลี่ยนของแนวคิด
ถามว่ามันมีโอกาสเป็นไปได้จริงหรือไม่ ต้องบอกว่าการมาของเครื่องปริ้น 3 มิติทำให้แนวคิดนี้มีความเป็นไปได้มากขึ้น เพราะโรงงานในการผลิตสิ่งต่างๆเริ่มเข้ามาอยู่ในบ้านของแต่ละคนแล้ว จึงไม่ต้องขึ้นกับผู้นำในการจัดการโรงงาน (ซึ่งสุดท้ายผู้นำเหล่านั้นก็ทำเพื่อพวกพ้องตัวเองและเป็นเผด็จการในที่สุด) แต่อาจต้องรอให้เทคโนโลยีพัฒนาขึ้นกว่านี้อีกพอสมควร

#การขูดรีดในยุคเทคโนโลยี
กลับมาที่เรื่องการขูดรีดแรงงาน จากแนวคิดของมาร์กซ์ หากผู้มีอำนาจต้องการร่ำรวยจากการขูดรีดแรงงาน ก็จะไม่มีทางผลักดันให้การผลิตทุกภาพส่วนเป็นจักรกล 100% อย่างแน่นอน จักรกลจะเข้ามาก็เพียงเพื่อลดต้นทุนบางส่วนเท่านั้น แล้วส่วนที่เหลือก็ไปขูดรีดจากแรงงานเพิ่มเอา (เมื่อเทคโนโลยีใหม่ช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น แรงงานมักได้รับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นตามมา ซึ่งผลลัพธ์ก็แทบไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่)

ดังนั้น จากแนวคิดนี้ ในอนาคตอันใกล้ อย่างไรเสียประชาชนก็จะยังไม่ถูกจักรกลแย่งงาน เพียงแต่ต้องพัฒนาตัวเองให้ทำงานได้หลากหลายทักษะมากขึ้น (น่าจะเป็นยุคสำหรับคนที่มีทักษะเป็ดโดยแท้จริง) โดยต้องมีความสามารถให้ได้เหมือน 2-3 คน+ ในคนคนเดียว และต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อที่จะรักษางานเอาไว้

#ทุนนิยมที่ปรับตัว สวัสดิการแรงงาน
แต่จะว่าไป แนวคิดของมาร์กซ์นี่ก็เก่ามากแล้ว ตอนนี้ทุนนิยมพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ หลายอย่างก็ผสมผสานข้อเรียกร้องของแรงงานเข้ามามากมาย ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการ สิทธิ์ในการลา วันหยุด เงินชดเชย เวลาทำงานวันละ 8 ช.ม. ฯลฯ ไม่ได้เน้นเอาแต่ขูดรีดโหดร้ายแบบยุคแรกอีกต่อไปแล้ว

#อนาคตอุดมคติที่อาจกลับมา
สุดท้ายนี้ ถ้าเครื่องปริ้น 3 มิติถูกพัฒนาให้ถูกลงและเข้าถึงได้ทุกบ้านในวันใด ไม่แน่ว่าแนวคิดในอุดมคตินี้ (ที่ทุกคนไม่ต้องทำงาน โดยเฉพาะงานที่ไม่อยากทำ และรัฐจะต้องเลี้ยงประชาชน) อาจจะถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้ง

แต่ใครล่ะ จะอยากให้มันเกิดขึ้นจริง...

18 มิถุนายน 2568

Emergency tent - เต็นท์ฉุกเฉิน ที่พักพิงยามจำเป็น

เต็นท์ฉุกเฉิน
ภาพจาก http://t.ly/JXlr7

ในการเอาตัวรอดในสถานการณ์ฉุกเฉิน (Survival) หนึ่งในสิ่งสำคัญ คือ ที่พักพิง (Shelter) ถ้าเป็นการ Bushcraft ก็อาจจะสร้างที่พักพิงขึ้นมาจากวัสดุธรรมชาติในป่ารอบตัว เพื่อดำรงชีพอยู่ในป่าต่อไป แต่ในกรณี Survival นั้น จะเน้นการเอาตัวรอดอย่างรวดเร็วเพื่อรอความช่วยเหลือต่อไป ทำให้อุปกรณ์ต่างๆต้องพร้อมสำหรับอย่างน้อย 3 วัน (72 ช.ม.)
ที่พักพิงจะเน้นไปการป้องกันร่างกายจากสภาพอากาศเพื่อช่วยรักษาพลังงานและอุณหภูมิแกนกลางของร่างกายให้คงที่ซึ่งสำคัญต่อชีวิต ไม่ว่าจะเป็นจากแดด ลม ฝน หมอก หรือน้ำค้าง หากมีเต็นท์มาตราฐานก็จะดีมาก แต่หากไม่มี การใช้เต็นท์ฉุกเฉิน (Emergency tent; Tube tent) ก็เป็นอีกตัวเลือกสำหรับการเอาตัวรอด
เต็นท์ฉุกเฉินมักจะเป็นวัสดุกันน้ำ บางเบาแต่ทนทาน มักจะใช้เชือกขึงระหว่างต้นไม้สองต้นแล้วหาอะไรมาขึงหรือทับไว้ที่มุม ตัวเต็นท์จะเป็นทรงท่อให้มุดเข้าไปนอน หรือหากไม่มีต้นไม้ให้ขึงเชือกก็อาจนำมาใช้เป็นถุงนอน ด้วยการซุกตัวเข้าไปเพื่อกันหนาวกันน้ำค้างได้ เต็นท์ฉุกเฉินพวกนี้สามารถพับเก็บและนำมาใช้ซ้ำได้จนกว่าจะขาด
เต็นท์ฉุกเฉินนับว่าเป็นอุปกรณ์อีกอย่างที่ควรมีติดไว้เผื่อใช้ในยามจำเป็น ใช้ได้ทั้งเป็นเต็นท์และเป็นถุงนอนเฉพาะกิจ

🛒เต็นท์ฉุกเฉินพร้อมเชือก https://s.shopee.co.th/8KdpTzhcoq, https://s.shopee.co.th/8KdpZDZfBS
🛒ผ้าห่มฉุกเฉิน, ผ้าห่มอวกาศ https://s.shopee.co.th/30cJDRbhJR
🛒เต็นท์ Mobi Garden https://s.shopee.co.th/1LU5lrfo3P






แถม
เต็นท์ฉุกเฉินส่วนใหญ่ไม่มีประตู แต่สามารถประยุกต์ปิดประตูได้ด้วยการ รวบขอบเต็นท์ทั้งสองด้านขยุ้มเข้ามาแล้วใช้เชือกหรือยางมัดเข้าด้วยกัน พื้นที่ข้างในอาจลดลงนิดหน่อย แต่ก็ช่วยปิดปากทางเต็นท์ได้ครับ
วัสดุของเต็นท์ฉุกเฉินนั้นมักจะเป็นวัสดุเดียวกันกับผ้าห่มฉุกเฉิน คือ เป็นวัสดุสังเคราะห์ที่กันอากาศเข้าออกเกือบจะ 100% ดังนั้น หากปิดสนิทเกินไปอาจทำให้ร้อนมากเกินไป (ยกเว้นในที่เย็น) หายใจไม่ออก และอาจเกิดความชื้นป็นหยดน้ำภายในได้ การมีช่องลมระบายอากาศบ้างจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

หนึ่งเสื้อกันฝนคือหนึ่งเต็นท์สำหรับหนึ่งคน

อุปกรณ์อีกอย่างที่น่าสนใจสำหรับชาว Bushcraft ซึ่งปกติเวลาจะทำที่พักก็มักจะใช้วัสดุธรรมชาติรอบตัว (สาย Hardcore) แต่หากประยุกต์จากของที่เตรียมไปด้วยก็จะสะดวกขึ้น นอกจากเต็นท์ฉุกเฉินแล้ว เสื้อกันฝนซึ่งควรจะนำไปด้วยอยู่แล้ว ก็เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจที่จะนำมากางเพื่อทำเต็นท์ฉุกเฉินได้เช่นกัน หากของต่างประเทศมักจะเป็น Polish Lavvu ซึ่งเป็นเสื้อกันฝนทหารโปแลนด์ที่ออกแบบมาเพื่อประยุกต์เป็นที่พักในตัว แต่หายากในประเทศไทยและราคาแพงเพราะทำจากผ้าใบธรรมชาติ (แน่นอนว่าระบายอากาศดี) หากในไทยสามารถใช้เสื้อกันฝนค้างคาว (Poncho; แบบที่ไม่มีแขนเสื้อ) แทน ซึ่งควรมีขนาดที่กางเป็นแผ่นแล้วกว้างยาวประมาณ 140x200 cm+ หรือ 55"x78"+ ยิ่งใหญ่ก็ยิ่งดี แต่ไซส์ส่วนใหญ่ในไทยจะประมาณนั้นบวกลบเล็กน้อย และควรมีตาไก่ที่มุมทั้งสี่เพื่อเอาไว้ปักหมุดหรือร้อยเชือกเพื่อขึงทรง (หากไม่มีตาไก่ก็อาจใช้หินหรือก้อนดินห่อด้วยมุมเสื้อฝนแล้วมัดเชือกขึงหรือทำห่วงสำหรับปักหมุดก็ได้) ยิ่งเบาก็พกพาสะดวก แน่นอนว่าควรเตรียมเชือกไปด้วยอย่างน้อย 5 m หรือไม่ก็หาไม้ค้ำเอา ส่วนหมุดก็ค่อยใช้กิ่งไม้แถวนั้น
การใช้เสื้อกันฝนประยุกต์เป็นเต็นท์นั้น ก็จะมีแค่หลังคาแต่ไม่มีแผ่นรองที่พื้นเหมือนเต็นท์ฉุกเฉิน และไม่มีประตู แต่ก็พอใช้เป็นที่พักฉุกเฉินกันแดดลมฝนน้ำค้างได้บ้าง และวางอุปกรณ์ไว้ภายในได้ หาก Bushcraft สองคน ใช้เสื้อกันฝนสองตัวมาต่อกันได้ก็จะเพิ่มพื้นที่ใช้สอยได้มากขึ้น
สำหรับคนที่ไม่อยากใช้ลายพรางทหาร แต่ก็ต้องการโทนสีที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมด้วย (แต่จะไม่เนียนเท่าลายพราง) ควรเลือกใช้ สีเขียวมะกอก สีแทน สีกากี สีน้ำตาล สีเทา สีเหล่านี้เป็นสีที่กลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมทั่วไป ใช้สีใดก็ได้ แต่ว่าก็มีที่หลักๆของมันที่กลมกลืนเป็นพิเศษ เช่น
  • สีเขียวมะกอก อาจเข้าได้ดีเป็นพิเศษกับบริเวณพืชพรรณไม้เขียวชะอุ่ม
  • สีแทน สีกากี สีน้ำตาล อาจเข้าได้ดีเป็นพิเศษกับบริเวณหญ้าแห้ง ไม้แห้ง ดิน โคลน ทราย
  • สีเทา อาจเข้าได้ดีเป็นพิเศษกับบริเวณที่มีโขดหิน ดินทราย ใต้ร่มเงา เขตเมือง
แนวคิดของสีกลมกลืนนี้ก็สามารถใช้กับเครื่องแต่งกายได้ด้วยโดยไม่จำเป็นต้องใช้ลายพรางเสมอไป โดยเฉพาะสำรับพลเรือน หากต้องการแค่สีเดียวใช้หลากหลายก็แค่เลือกให้เหมาะกับบริเวณที่ใช้บ่อยเป็นหลักก็พอ เพราะสีเหล่านี้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อมอยู่แล้วครับ

เสื้อกันฝนค้างคาวยังอาจใช้เป็นที่ดักน้ำฝนได้ โดยผูกเสื้อกันฝนให้หงายขึ้น และให้ส่วนหัวอยู่ตรงถังน้ำ เมื่อฝนตกเสื้อกันฝนก็จะทำหน้าที่เหมือนเป็นกรวยยักษ์พาน้ำไหลเข้าถังได้อย่างสะดวกนั่นเอง






ตรีเอกานุภาพศักดิ์สิทธิ์แห่งการดำรงชีพในป่า - อุปกรณ์ 3 อย่างที่จำเป็นสำหรับการ Bushcraft


คนสมัยก่อนบอกกันว่า ในการเข้าป่าต้องพกมีดไปด้วยจึงจะอยู่ป่าได้สะดวก เพราะมีดเป็นเครื่องมือที่จะใช้สร้างอะไรต่างๆจากวัสดุธรรมชาติได้หลายๆอย่าง แต่หากต้องการความพร้อมที่มากขึ้นอาจต้องพกสิ่งที่เรียกกันว่า The holy trinity (ตรีเอกานุภาพศักดิ์สิทธิ์) คือ มีด, พร้า (หรือขวาน), และเลื่อย ซึ่งอุปกรณ์สำหรับการเดินป่า Bushcraft โดยเรียงตามลำดับความสำคัญ

1. มีด
มีดพกใบตายขนาดเล็ก-กลาง (ความยาวใบมีด ~3.5-5.5 นิ้ว หรือ มาตราฐานอยู่ที่ 4 นิ้ว หรือประมาณความกว้างฝ่ามือ) ถือเป็นหัวใจของเครื่องมือ Bushcraft เลยก็ว่าได้ครับ หากพกอุปกรณ์ได้เพียงชิ้นเดียว มีดคือสิ่งที่ต้องมี ด้วยความอเนกประสงค์ของมันไม่ว่าจะเป็น
  • ตัดกิ่งไม้ทั่วๆไป
  • เหลาไม้ หรือแกะสลัก สำหรับทำของใช้จากวัสดุธรรมชาติ เช่น ช้อนไม้ ถ้วยชาม อาวุธ กับดัก แท่งไม้จุดไฟ เชื้อฟืน ฯลฯ ซ่อมแซมอุปกรณ์
  • เตรียมอาหาร แล่เนื้อ หั่นผักผลไม้ เปิดถุงขนม!
  • การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (เช่น ตัดเทปพันแผล)
  • การป้องกันตัว (ในกรณีฉุกเฉิน)
มีดพกน่าสนใจ
https://s.shopee.co.th/8AK9xKK0pl
https://s.shopee.co.th/5pwEPHTUvp
https://s.shopee.co.th/708BnzWVL1
https://s.shopee.co.th/7phMqjYKMU

2. พร้า (หรือขวาน)
มีดพร้า มีดใหญ่ (ความยาวใบมีด ~8-12 นิ้ว หรือมาตราฐานที่ 12 นิ้ว) (หากเป็นขวานมักจะเลือกด้ามที่ยาวประมาณช่วงปลายนิ้วมือถึงหัวไหล่จะเป็นระยะที่ดีที่สุด) พร้าเหมาะสำหรับแถบป่ารกอย่างประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งป่าในเขตร้อนมักมีพืชพรรณหนาแน่น พร้าจึงเป็นเครื่องมือที่เข้ามาเติมเต็มสิ่งที่มีดพกทำได้ยากหรือไม่เหมาะสม โดยเฉพาะงานที่ต้องการแรงกระแทกหรือการตัดไม้ขนาดใหญ่ขึ้น เป็นเครื่องมือพื้นฐานการเกษตรในแถบนี้อยู่แล้ว
  • การบุกเบิกทาง ตัดฟันพงหญ้า เถาวัลย์ หรือกิ่งไม้ที่เกะกะ
  • การเตรียมพื้นที่ แผ้วถางบริเวณสำหรับตั้งแคมป์หรือสร้างที่พักพิง
  • สับไม้ฟืน ผ่าไม้ สำหรับก่อกองไฟ
  • โค่นต้นไม้ขนาดเล็ก-กลาง เพื่อสร้างที่พัก เตรียมไม้สำหรับสร้างโครงสร้าง เช่น เสา คาน
พร้าโดยทั่วไปมีน้ำหนักเบากว่าขวาน ทำให้พกพาและใช้งานได้สะดวก

Pollo M212 18" https://s.shopee.co.th/8fGCoNxjvn
BUCK MB-421 สแตนเลส https://s.shopee.co.th/40UZdDz4sN
PUMPKIN ขวานด้ามไม้ https://s.shopee.co.th/6fVKmktq2M

3. เลื่อย
เลื่อยมีบทบาทสำคัญในการตัดไม้ให้ได้ขนาดและรวดเร็ว โดยเฉพาะการตัดไม้ที่ต้องการความแม่นยำ หรือไม่ต้องการให้เกิดการปริแตกจากการสับ
  • ตัดท่อนไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่ามีด
  • สร้างโครงสร้างที่พัก ที่ต้องการการตัดตรงและเนียน
  • ลดแรงและพลังงานในการตัดไม้ท่อนใหญ่เมื่อเทียบกับการใช้มีดฟัน และเลื่อยอาจเข้าถึงได้ในจุดที่ไม่มีระยะสำหรับการเงื้อฟันด้วยมีด
แนะนำว่าควรเป็นเลื่อยประเภท เลื่อยดึง (Pull saw) เป็นเลื่อยที่จะกินเนื้อไม้เมื่อดึงเข้า (ฟันเลื่อยเฉียงเข้าตัว) จะไม่มีปัญหาดันเลื่อยแล้วใบโก่งสะดุด เนื่องจากเมื่อดันเลื่อยจะลื่น เมื่อดึงเลื่อยจะกิน
ความยาวใบเลื่อยควรจะยาวเป็น 3 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อนไม้ที่ต้องตัด เพื่อให้มีระยะในการเลื่อยที่เหมาะสม ส่วนใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลางจะประมาณ 3 นิ้วสำหรับท่อนไม้ที่ใหญ่หน่อยที่อาจจะต้องเลื่อยในการเดินป่า ใบเลื่อยจึงควรยาวประมาณ 9 นิ้วเป็นอย่างน้อย
การใช้ในป่า ฟันเลื่อยหยาบใช้เลื่อยไม้สด จะจัดการเศษไม้เหนียวๆได้ดี ฟันเลื่อยละเอียดใช้เลื่อยไม้แห้งเศษละเอียดหรือที่ต้องการความเนียนสูง

เลื่อยพับ https://s.shopee.co.th/BISTEO4A5
เลื่อยญี่ปุ่น 2 คม 9.3 นิ้ว https://s.shopee.co.th/9UpW8ykJrE

หากพกไปทั้งสามอย่างนี้ก็จะสะดวก เนื่องจากแต่ละเครื่องมือได้แบ่งงานกันเป็นที่เรียบร้อย แต่หากไม่สามารถมีครบได้ ขอให้มีดพกสักเล่มไว้ก่อน ในกรณีใช้มีดเล่มเดียวทำทุกอย่าง ความหนาของใบมีดจะมีความสำคัญมากขึ้น ควรเป็นใบมีดที่หนาอย่างน้อย 2.5-5 ม.ม. หรือโดยเฉลี่ยประมาณ 3 ม.ม. กำลังดี น้ำหนักก็ไม่มากเกินไป หากใช้มีดสันบางควรมีมีดพร้าไปด้วยเพื่อช่วยในงานหนัก หากมีแต่มีดสันบาง (เช่น มีดทำครัว) แต่จำเป็นต้องลุยงานหนักจริงๆ ก็ต้องเรียนรู้การทำลิ่มจากวัสดุรอบตัวเพื่อใช้ตอกผ่าไม้หากจำเป็น
แต่ทั้งหมดทั้งมวล การมีอุปกรณ์ที่พร้อมและเหมาะสมกว่าย่อมสะดวกกว่าครับ

อุปกรณ์อื่นๆ เช่น
มีดพับ https://s.shopee.co.th/7KlSbxUA0v
หินลับมีด (สำหรับคืนคมภาคสนามใช้เบอร์ 800) https://s.shopee.co.th/5VJNsbd9YA
หม้อสนาม https://s.shopee.co.th/8KdZG8KDe3
กระติกน้ำหม้อสนาม https://s.shopee.co.th/AUi3qWjau8
ดั๊กท์เทป (เทปผ้า) https://s.shopee.co.th/4Ao0ObaZU1
ชุดปฐมพยาบาล https://s.shopee.co.th/5AgXar0XQb
น้ำมันเบบี้ออยล์ (สำหรับทากันสนิมอย่างปลอดภัยต่อการสัมผัส) https://s.shopee.co.th/3VYJVwGmTy
แท่งจุดไฟ https://s.shopee.co.th/yRQAs1AY
เตาพกพา https://s.shopee.co.th/yRRBFIjw
เสื้อกันฝนค้างคาง https://s.shopee.co.th/5VJoQ3xCVw
ตะเกียง https://s.shopee.co.th/30c30KV2rX, https://s.shopee.co.th/3LEwEs5m1M
เต็นท์ https://s.shopee.co.th/8fH0grHuPH
และ ฯลฯ

ก็เป็นอุปกรณ์เพิ่มเติมนอกเหนือจากอุปกรณ์หลัก ซึ่งก็นับว่าจำเป็นอยู่เหมือนกันโดยเฉพาะสำหรับคนเมืองอย่างเราที่จะเข้าป่าพักแรม จึงเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมตามความจำเป็นต่อไป

พกพาความรู้ให้มากกว่าอุปกรณ์

15 มิถุนายน 2568

Zombie Dice - เกมซอมบี้ล่าเหยื่อ

https://s.shopee.co.th/7KlF7fVYtl

Zombie Dice - เกมซอมบี้ล่าเหยื่อ เกมนี้เป็นเกมทอยเต๋าที่ประยุกต์มาจากเกม Zombie Dice โดยให้เราเล่นเป็นซอมบี้ล่าเหยื่อ ใครที่จับเหยื่อได้มากที่สุดคนนั้นชนะ (หรือจะจินตนาการเป็นการล่า ต่อสู้ หรือสงคราม ก็แล้วแต่จะจินตนาการได้เลยครับ) ใช้เพียงลูกเต๋า 13 ลูก (สามสี) เป็นเกมง่ายๆ เล่นสั้นๆ เล่นได้ทั้งครอบครัว

อุปกรณ์
  • ผู้เล่น 2 คนขึ้นไป
  • กระดาษและดินสอ (ไว้จดแต้ม)
  • ถุงหรือถ้วยใส่ลูกเต๋า
  • ลูกเต๋า 13 ลูก โดยแบ่งเป็น สีเขียว, เหลือ, แดง
    • ลูกเต๋าสีเขียว (เหยื่ออ่อนแอ) 6 ลูก
      • 4, 5, 6 = จับเหยื่อสำเร็จ
      • 2, 3 = เหยื่อวิ่งหนีไป
      • 1 = โดนยิงได้รับบาดเจ็บ
    • ลูกเต๋าสีเหลือง (เหยื่อทั่วไป) 4 ลูก
      • 5, 6 = จับเหยื่อสำเร็จ
      • 3, 4 = เหยื่อวิ่งหนีไป
      • 1, 2 = โดนยิงได้รับบาดเจ็บ
    • ลูกเต๋าแดง (เหยื่อแข็งแรง) 3 ลูก
      • 6 = จับเหยื่อสำเร็จ
      • 4, 5  = เหยื่อวิ่งหนีไป
      • 1, 2, 3 = โดนยิงได้รับบาดเจ็บ
การเล่น
ในตาของคุณ ให้สุ่มหยิบลูกเต๋าออกมาจากถุง 3 ลูก แล้วทอย ซึ่งแต่ละสีจะเป็นเหยื่อที่คุณบังเอิญเจอ

ถ้าได้ จับเหยื่อฯ ให้วางเต๋านั้นไว้ทางซ้าย
ถ้าได้ เหยื่อหนีฯ  ให้วางเต๋านั้นไว้ตรงกลาง
ถ้าได้ โดนยิงฯ ให้วางเต๋านั้นไว้ทางขวา (ถ้าทอยได้ โดนยิงฯ 3 ลูก จบเทิร์นทันที และได้ 0 แต้ม)

ทอยเสร็จให้เลือกว่าจะจบเทิร์นเพื่อจดแต้ม หรือ เล่นต่อ
  • ถ้าเลือกจบเทิร์น ก็นับว่า จับเหยื่อฯ ได้กี่คน แล้วรวมแต้มจดไว้ (เหยื่อหนึ่งคนต่อ 1 แต้ม) แล้วคืนเต๋าเข้าถุงทั้งหมด ให้คนต่อไปเล่น
  • ถ้าเลือกเล่นต่อ ให้หยิบเต๋าที่ทอยได้ เหยื่อหนีฯ (ที่วางไว้ตรงกลางเมื่อกี้) และสุ่มหยิบเต๋าจากถุงมาเพิ่มอีกให้ครบ 3 ลูก แล้วทอย เพื่อล่าใหม่ ได้แต้มอย่างไรก็จัดเรียงสะสมเต๋าเหมือนข้างต้น (วางซ้าย กลาง ขวา)
ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนว่าจะเลือกจบเทิร์นเพื่อจดแต้ม หรือได้เต๋าโดนยิงฯ ครบ 3 ลูก ซึ่งจะจบเทิร์นทันที และเทิร์นนั้นจะได้ 0 แต้ม เนื่องจากโดนยิงจนบาดเจ็บหนัก เหยื่อที่จับได้จึงหนีหายไปหมด แล้วคืนเต๋าเข้าถุงทั้งหมด ให้คนต่อไปเล่น

เมื่อมีคนแรกที่ จับเหยื่อฯ ได้ตั้งแต่ 13 คนหรือมากกว่า จะถึงว่าเทิร์นนั้นเป็นสุดท้าย คนอื่นๆก็จะได้อีกคนละ 1 เทิร์น เมื่อจบเทิร์นของคนสุดท้าย ให้เทียบแต้มว่าใครที่ จับเหยื่อฯ ได้มากที่สุด ก็จะเป็นผู้ชนะ

ระวังให้ดี
หากโดนยิงแล้วหนึ่งนัด
การเลือกเล่นอีกตา
อาจทำให้สูญเสียทุกสิ่งที่จับมาได้ในเทิร์นนั้นก็เป็นได้

การเล่นแบบประยุกต์ใช้นี้เป็นกรณีที่ต้องการเล่นแก้ขัดกับเต๋าที่มีอยู่ไปพลางๆ หากต้องการเล่นได้ให้อรรถรสมากขึ้นควรใช้ชุดเต๋า Zombie Dice ย่อมจะเล่นได้สะดวกขึ้นและได้อรรถรสมากขึ้นอย่างแน่นอน

🛒ลูกเต๋าอะครีลิค https://s.shopee.co.th/5AdiOkhO2T

มาลองดูวิธีการเล่นแบบคลิปกันครับ (ภาษาอังกฤษ)

อ้างอิง
https://www.sjgames.com/dice/zombiedice/img/ZDRules_English.pdf

05 พฤษภาคม 2568

Facilish - เฟซิลิช ภาษาประดิษฐ์ที่มีแค่ 2 คำถ้วน

FACILISH
ภาษาที่เรียบง่ายที่สุด โดย แจ็ค ไอเซนมานน์ (Jack Eisenmann) ใครๆก็สามารถเชี่ยวชาญ Facilish ได้ภายใน 3 นาที! เพียงแค่อ่านคู่มือนี้

ไวยากรณ์
มีคำเพียงชนิดเดียว คือ คำคุณศัพท์ (adjective) ประโยคประกอบด้วยคำคุณศัพท์ และจบด้วยเครื่องหมายจุลภาค [,], จุด [.], เครื่องหมายคำถาม [?] หรือเครื่องหมายอัศเจรีย์ [!]

พจนานุกรม
+ : /i/ [ออกเสียว่า อี] เหมือนในคำว่า "bEEt" (adj) [แปลว่า] ดี; มีความสุข; เชิงบวก.
– : /u/ [ออกเสียงว่า อู] เหมือนในคำว่า "bOOt" (adj) [แปลว่า] แย่; ไม่มีความสุข; เชิงลบ.

ตัวอย่าง

+ –? +. + + +.
(ฉันรู้สึกอย่างไร? ฉันมีความสุข. ค่อนข้างมีความสุขมาก.)

+ + + – –. – – + + + + +!
(บางครั้งชีวิตก็มอบมะนาวให้คุณ. จงทำน้ำมะนาว!)

ขอแสดงความยินดีด้วย! ตอนนี้คุณพูดภาษา Facilish ได้คล่องแคล่วแล้ว ไปสอนเพื่อนและครอบครัวของคุณได้เลย!

หมายเหตุ
ยัติภังค์สั้น ("-") อาจพิมพ์ได้ง่ายกว่ายัติภังค์ยาว ("–") แต่ยัติภังค์ยาวมีความยาวใกล้เคียงกับเครื่องหมายบวกมากกว่า จึงดูสวยงามกว่า แต่ทั้งยัติภังค์สั้นและยัติภังค์ยาวสามารถใช้แทนคำเดียวกันนี้ได้

=======


ภาษาเฟซิลิชเป็นภาษาประดิษฐ์ที่เรียบง่ายอย่างสุดขั้ว เพราะมีคำเพียง 2 คำ คือ + กับ – เป็นเหมือนภาษาเลขฐาน 2 คือ 0 กับ 1 อาจเรียกได้ว่าเป็นภาษาหยินหยางก็ได้อยู่นะครับ

ด้วยข้อจำกัดของภาษาเฟซิลิชที่มีเพียงสองคำและเครื่องหมายวรรคตอน การสื่อสารจึงต้องอาศัย บริบท, จำนวนคำ, และ เครื่องหมายวรรคตอน เป็นหลัก ว่าแต่จะใช้ภาษาเฟซิลิชสื่อสารกันได้อย่างไรล่ะ? เมื่อได้มีเวลาทำความเข้าใจจากคู่มือภาษาฯ ก็พบแนวทางว่าจะใช้ภาษานี้สื่อสารกันได้ประมาณนี้ครับ มา เรามาลองคิดหาวิธีที่จะใช้ภาษาสองคำนี้ในการสื่อสารกันเถอะ

แสดงความรู้สึกหรือทัศนคติ
คำเดี่ยวๆ
+ = สื่อถึงความรู้สึกดี, เห็นด้วย, ใช่, โอเค, ชอบ, มีความสุข
– = สื่อถึงความรู้สึกไม่ดี, ไม่เห็นด้วย, ไม่, ไม่โอเค, ไม่ชอบ, ไม่มีความสุข

การใช้คำซ้ำๆสามารถเน้นความรู้สึกนั้นๆได้
+ + +. = มีความสุขมาก, ดีมาก
– – –. = แย่มากๆ, ไม่พอใจอย่างยิ่ง

ถามคำถาม
การใช้เครื่องหมายคำถาม ? ต่อท้ายคำหรือกลุ่มคำ จะเปลี่ยนจากความหมายเป็นการถาม
+? = ดีไหม?/โอเคไหม?/คุณมีความสุขไหม?
–? = ไม่ดีเหรอ?/ไม่โอเคใช่ไหม?/คุณไม่มีความสุขเหรอ?
+ +? = ดีมากๆเลยใช่ไหม?
+ –? = ดีหรือไม่ดี?/โอเคหรือไม่โอเค?/มีความสุขหรือไม่มีความสุข?/รู้สึกอย่างไรบ้าง?

แสดงความตกใจหรือความตื่นเต้น
การใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์ ! จะแสดงถึงอารมณ์ที่เข้มข้น
+! = เยี่ยมไปเลย!/ดีจริง!
–! = แย่แล้ว!/ไม่นะ!

สร้างวลีหรือประโยคอย่างง่าย
การเรียงร้อยคำคุณศัพท์หลายๆคำเข้าด้วยกัน (อาจคั่นด้วยจุลภาค) อาจสื่อถึงความรู้สึกหรือสถานการณ์ที่ซับซ้อนขึ้นเล็กน้อย แต่การตีความจะขึ้นอยู่กับบริบทอย่างมาก
++, –. = (อาจจะหมายถึง) เริ่มต้นดีๆอยู่ แล้วก็แย่ลง
– –, +! = (อาจจะหมายถึง) แย่มากๆ แต่สุดท้ายกลับดี!

อาศัยบริบทอย่างมาก
ภาษาเฟซิลิชจะพึ่งพาบริบทของการสนทนาอย่างมาก ผู้ฟังจะต้องพิจารณาถึงสถานการณ์, น้ำเสียง (ถ้าพูด), และภาษากายของผู้พูดเพื่อที่จะเข้าใจความหมายที่แท้จริง เช่น ถ้ามีคนพูด "+" หลังจากที่คุณเล่าเรื่องตลก อาจจะหมายถึง "ตลกดี" แต่ถ้าพูด "+" หลังจากที่คุณบอกข่าวดี อาจจะหมายถึง "ยินดีด้วย"

ข้อจำกัดและสิ่งที่ต้องพิจารณา
ด้วยคำศัพท์ที่จำกัด การสื่อสารมีแนวโน้มที่จะกำกวมและคลุมเครือสูงมาก การตีความอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
การถ่ายทอดความคิดที่ซับซ้อน, รายละเอียด, หรือเรื่องราวจะทำได้ยากหรือไม่ได้เลย
ถ้าต้องการใช้ภาษาเฟซิลิชจะต้องมีการ ตกลงหรือเข้าใจร่วมกันในระดับหนึ่ง ว่าการใช้คำและเครื่องหมายวรรคตอนในบริบทต่างๆจะหมายถึงอะไร เช่น อาจแบ่งช่วงคำเพื่อบอกความเป็นไปของอารมณ์ความรู้สึกในวันนั้น [ช่วงเช้า, ช่วงกลางวัน, ช่วงเย็นของวัน] เป็นต้น ก็อาจสื่อสั้นๆได้ถึงความรู้สึกในแต่ละช่วงของวัน เป็นต้น

คำศัพท์ที่ต้องรู้
+  + + +  + !
ผมคงไม่ต้องแปล เพราะผู้ที่ติดตามซีรี่ย์ภาษาประดิษฐ์ของเราน่าจะรู้อยู่แล้วว่าศัพท์ที่ต้องรู้คืออะไร อิอิ  

เฟซิลิชเป็นภาษาที่เน้นความเรียบง่ายสุดขั้ว การสื่อสารจึงเป็นไปในลักษณะของการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกขั้นพื้นฐาน โดยอาศัยบริบทและเครื่องหมายวรรคตอนเป็นตัวช่วยในการสื่อความหมาย การสื่อสารที่ซับซ้อนหรือต้องการรายละเอียดอาจจะไม่สามารถทำได้ด้วยภาษานี้ มันจึงเหมือนเป็นภาษาเชิงทดลอง เหมาะสมกับการใช้แสดงความรู้สึกสั้นๆง่ายๆ มากกว่าที่จะเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวันอย่างจริงจัง
ลองนึกภาพว่าเหมือนกับการใช้แค่การแสดงสีหน้า 'ยิ้ม' กับ 'ขมวดคิ้ว' สำหรับการสื่อสารทั้งหมด สามารถใช้บอกความรู้สึกพื้นฐานได้ แต่การสนทนาที่ลึกซึ้งคงเป็นไปได้ยากนั่นเองครับ


แถม
ภาษาประดิษฐ์ที่ถูกใช้เพื่อสื่อสารกันจริงๆทั่วโลก ซึ่งได้รับความนิยมและน่าสนใจ

Tuki Tiki - ตูกีตีกี ภาษาประดิษฐ์อันเรียบง่ายแห่งความหมายที่ซ่อนไว้

คำว่า Tuki Tiki เขียนด้วยตัวเขียน titi pula
หรืออักษรภาพของ Tuki Tiki

สวัสดีครับ คราวก่อนได้นำเสนอภาษาประดิษฐ์ (Conlang) ที่เรียบง่ายอย่าง Toki Pona ซึ่งมีศัพท์แค่ 120 คำก็สามารถสื่อสารได้แล้ว คราวนี้มาแนะนำภาษาที่เรียบง่ายยิ่งกว่านั้นอีกครับ!
Tuki Tiki ตูกีตีกี (tuki (พูด), tiki (อ้อมค้อม) ภาษาแห่งการอ้อมค้อม) เป็นภาษาประดิษฐ์ที่เรียบง่ายอย่างยิ่งและน่ารักอย่างมาก ประดิษฐ์โดย ka Tumu (Ðoom Epictooþ) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาษาโตกีโปนา เป้าหมายของตูกีตีกีคือการบีบอัดไวยากรณ์และคำศัพท์ของโตกีโปนาให้เหลือขนาดที่เล็กยิ่งขึ้น และยังใช้งานได้จริง โดยในปัจจุบันมีคำศัพท์เพียง 39 คำ ก็สามารถใช้สื่อสารได้แล้ว นับว่าเป็นภาษาประดิษฐ์ที่ลดทอนจนเรียบง่ายอย่างยิ่ง เน้นคำที่เป็นความหมายรากฐานอย่างสุดขั้ว ใช้คำน้อยแต่กินความมาก จึงจำเป็นต้องใช้บริบท และความคิดสร้างสรรค์อย่างยิ่งในการตีความ รวมถึงการผสมคำเพื่อสื่อถึงความหมายซับซ้อนยิ่งขึ้น
ลองนึกภาพนักผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกถูกพัดมาติดที่เกาะร้าง ต่างคนต่างพูดคนละภาษา และด้วยคำศัพท์เพียง 39 คำของภาษาตูกีตีกีพวกเขาก็สามารถสื่อสารความคิด ความต้องการพื้นฐาน แบ่งปันรอยยิ้มสร้างมิตรภาพ แบ่งปันอาหาร วางแผนการเดินทางสำรวจ และสร้างชุมชนร่วมกันได้อย่างรวดเร็วราวกับมีเวทมนต์ นี่แหละความน่าทึ่งของความเรียบง่าย

ทุกคำของตูกีตีกีกินความกว้างมาก ในการตีความจะต้องพยายามนำความเกี่ยวข้องทุกอย่างรอบตัวในขณะนั้น คำที่ใช้ อุปมาอุปไมยของแต่ละคำ เพื่อนำมาใช้ตีความให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ภาษเชิงปรัชญาแห่งความเรียบง่ายนี้จะช่วยลดความฟุ้งซ่ายทางความคิด ทำให้เราต้องมีสติอยู่กับบริบทในปัจจุบันอย่างแท้จริง และด้วยความหมายที่กว้างก็ทำให้เราต้องโฟกัสเฉพาะสิ่งที่สำคัญจริงๆ ไม่หมกมุ่นอยู่แต่กับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่อาจไม่ได้สำคัญอะไรเลย อาจช่วยให้ความคิดชัดเจนขึ้นอย่างถึงราก คิดอย่างลึกถึงแก่น สื่อถึงสิ่งที่ต้องการจากรากฐานอย่างแท้จริง นั่นแหละความเรียบง่าย ดูเหมือนอ้อมค้อมแต่กลางเป้า เป็นภาพรวมที่เจาะจง

การเขียน
ตัวพิมพ์ (titi Latila)
ตัวอักษรมีทั้งหมด 8 ตัว

พยัญชนะ 5 ตัว
p = ป, t = ต, k = ก, l = ล, m = ม

สระ 3 ตัว
a = อา, i = อี, u = อู

ซึ่งการเขียนทุกคำจะใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด ยกเว้นชื่อที่จะขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่

ตัวเขียน (titi pula)
ตัวเขียนจะเป็นการเขียนเชิงสัญลักษณ์ คล้ายภาษาอินเดียนแดง ซึ่ง 1 ตัวเขียน ก็แทนคำ 1 คำ (เหมือนอักษรจีนหรือตัวคันจิ)
(ฟ้อนต์ตัวเขียนมาตราฐาน titi-pula-lili.otf เมื่อลงฟ้อนต์เสร็จแล้ว ให้เข้าโปรแกรมออฟฟิศเมื่อเลือกฟ้อนต์แล้วพิมพ์ถ้ามันไม่รวมคำเป็นตัวเขียน ให้ปิดตัวตรวจการสะกดคำ(autocorrect) และเปิด ligatures (อักษรควบมาตราฐาน) โดยเข้าไปที่เมนู Format (รูปแบบ) > Character... (อักษร...) ในหน้านั้นให้ไปที่แท๊บ Font (แบบอักษร), กดที่ Effects (เอฟเฟกต์) ในฝั่งชื่อฟ้อนต์, ติ๊กถูกที่ ligatures (อักษรควบมาตราฐาน), กดตกลงทั้งหมด เป็นอันเสร็จ
ทีนี้ก็สามารถพิมพ์อักษรโรมันภาษาตูกีตีกีแล้วโปรแกรมจะรวมเป็นตัวเขียนให้เรียบร้อย หากต้องการระบุชื่อให้ใส่ในวงเล็กเหลี่ยม หากต้องการรวมคำขยายในตัวเขียนเดียวให้กด + แล้วพิมพ์ เอาออกกด - แล้วลบ)

(ดูพจนานุกรมตูกีตีกีท้ายบทความ) 

คำทั้งหมดในตูกีตีกี 39 คำ
ตัวเขียน (titi pula) และตัวพิมพ์ (titi Latila)

การตีความ
ภาษาตูกีตีกีใช้คำน้อยแต่กินความมาก แต่ละประโยคจึงอาจตีความได้มากมาย ซึ่งต้องทำความเข้าใจโดยการตีความจากนัยยะโดยรวมของคำ เครื่องหมายวรรคตอน และบริบท
mi muku. = ฉันกิน/ฉันกำลังกิน/ฉันจะกิน/ฉันกินแล้ว
li a. = นั่นอาห์/นั่นอ่ะ/นั่นแหละ/นั่นแหละใช่เลย/นั่นทั้งหมดเลย/นี่ถูกต้อง/นี่มีอยู่จริง/นี่นะ

แต่ละคำตีความได้หลายความหมาย
ka = สิ่งมีชีวิต, คน, สัตว์, หมา, แมว
kati = พืช, ผัก, ต้นไม้, ใบไม้, แผ่น

ทุกคำสามารถเป็นคำนาม, คำกริยา, คำคุณศัพท์(adj), หรือคำวิเศษ(adv) ได้ ขึ้อยู่กับตำแหน่งของคำ
tilu = น้ำ, ล้าง, เปียก
muku = อาหาร, กิน, เป็นอาหาร, น่ารัก

ประโยคพื้นฐาน
li ใช้ขั้นระหว่างประธานกับภาคแสดง หรือบ่งชี้ว่าคำต่อไปเป็นภาคแสดง เป็นการอธิบายลักษณะของประธาน
kati li muku. = พืช+(บ่งชี้ภาคแสดง)+เป็นอาหาร = พืชเป็นอาหาร
tili li pula. = น้ำ+(บ่งชี้ภาคแสดง)+ดี = น้ำนั้นดี

หรือบ่งชี้ว่ามีการกระทำ ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบท
ka li muku. = คน+(บ่งชี้ภาคแสดง)+กิน = คนกิน
ka li lapi. = คน+(บ่งชี้ภาคแสดง)+นอน = คนนอน

ถ้าประธานเป็น mi (ฉัน), tila (คุณ), li (นี่, นั่น, เขา, เธอ, พวกเขา, มัน) ไม่ต้องใช้ li ขั้นภาคแสดง
mi tuki. = ฉันพูด
tila pula. = คุณดี/คุณสบายดี/คุณโอเคดี
li pula. = นี่ดี
li ka. = นี่คือสิ่งมีชีวิต

คำขยาย
สามารถต่อท้ายคำนามได้เลยเหมือนในภาษาไทย เป็นคำผสม เหมือนการสร้างคำนามใหม่ หรือคำนามวลีที่เฉพาะเจาะจง
lupa mi. = บ้าน+ฉัน = บ้านฉัน = บ้านของฉัน
lupa telu. = ห้อง+น้ำ = ห้องน้ำ
ku pula. = อารมณ์+ดี = อารมณ์ดี
ka telu. = สัตว์+น้ำ = สัตว์น้ำ = ปลา

การปฏิเสธใช้คำว่า ala ต่อท้าย
mi lapi ala. = ฉัน+นอน+ไม่ = ฉันหานอนไม่ = ฉันไม่นอน/ฉันไม่ได้นอน
mi ala pali. = ฉัน+ไม่+ทำ = ไม่ใช่ฉันทำ

คำขยายเป็นเสมือนการสร้างคำใหม่โดยอิงคำแรกเป็นหลักแล้วคำที่ตามมาขยายต่อไป อาจต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสื่อถึงสิ่งที่ต้องการอย่างอิสระด้วยสำนวนของตัวเอง ตัวอย่างเช่น
ka lupa. = สัตว์+บ้าน = สัตว์เลี้ยง/หมา/แมว/ฯลฯ
ka lili. = คน+เล็ก = คนเล็ก = เด็ก
ka tilu lili. = สัตว์+น้ำ+ตัวเล็ก = สัตว์น้ำตัวเล็ก = ปลาตัวเล็ก
iku pula muku. สิ่ง+ดี+กินได้ = สิ่งดีที่กินได้

อย่าสับสนกับการใช้ li เชื่อที่ใช้บ่งชี้ถึงภาคแสดงที่บ่งบอกลักษณะของประธาน
ka li lili. = คน+(บ่งชี้ภาคแสดง)+เล็ก = คนที่ตัวเล็ก
ka lili li lili. = คน+เล็ก+(บ่งชี้ภาคแสดง)+เล็ก = เด็กที่ตัวเล็ก

kati muku pula. = ผลไม้+หวาน+ดี = ผลไม้รสหวานอร่อยดี
kati muku li pula. = ผลไม้+หวาน+(บ่งชี้ภาคแสดง)+ดี = ผลไม้รสหวานนั้นดีงาม

คำนามที่ถูกกระทำ (กรรม)
จะใช้ i เป็นคำเชื่อมกริยากับกรรมตรง บ่งชี้ถัดไปเป็นสิ่งถูกกระทำ
ka lili li muku i kati. = คน+เล็ก+(บ่งชี้ภาคแสดง)+กิน+(บ่งชี้สิ่งถูกกระทำ)+ผัก = เด็กกินผัก
ka lupa li muku i ka tilu. = สัตว์+บ้าน+(บ่งชี้ภาคแสดง)+กิน+(บ่งชี้สิ่งถูกกระทำ)+สัตว์+น้ำ = สัตว์บ้านกินสัตว์น้ำ = สัตว์เลี้ยงกินปลา = หมา/แมวกำลังกินปลา
li muku i a. = มัน+กิน+(บ่งชี้สิ่งที่ถูกกระทำ)+ทุกอย่าง = มันกินทุกสิ่งทุกอย่าง
li uli i li. = เขา+ต้องการ+(บ่งชี้สิ่งที่ถูกกระทำ)+มัน = เขาต้องการมัน

การใช้ lu กับ la
lu เป็นคำบุพบทหรือคำเชื่อมก็ได้
mi lu kiku kati. = ฉัน+อยู่ที่+สถานที่+ที่มีต้นไม้ = ฉันอยู่ที่สวน (คำบุพบท)
tila muku lu mi. = คุณ+กิน+กับ+ฉัน = คุณกำลังกินอยู่กับฉัน (คำบุพบท) (ยังแปลได้อีกว่า คุณน่ารักสำหรับฉัน)
mi lu tila mi muti. = ฉัน+และ+คุณ+เรา+เล่น = ฉันและคุณพวกเรากำลังเล่น (คำเชื่อม)
lupa lu tilu. = ห้อง+แห่ง+น้ำ = ห้องแห่งน้ำ = ห้องของน้ำ = ห้องเก็บน้ำดื่ม

คำเชื่อมสำหรับภาคแสดงให้ใช้ li ซ้ำในการคั่นภาคแสดงแต่ละอย่าง
ka li li lili li muku. = สัตว์+นี้+(บ่งชี้ภาคแสดง)+เล็ก+(บ่งชี้ภาคแสดง)+น่ารัก = สัตว์นี้ตัวเล็กและน่ารัก

สำหรับกรรมตรงใช้ i ซ้ำในการคั่นสิ่งที่ถูกกระทำแต่ละสิ่ง
mi muku i tilu i kati. = ฉัน+กิน+(บ่งชี้กรรม)น้ำ+(บ่งชี้กรรม)+ผัก = ฉันกินน้ำและผัก

la คำเชื่อมบริบท, คำเชื่อมวลีเงื่อนไข แปลคร่าวๆประมาณ ก็, ย่อม
ki la li lu lupa mi. = บางที+ก็+เขา+อยู่ที่+ห้อง+ของฉัน = บางทีเขาก็อยู่ที่ห้องของฉัน
kiku kati la ka lili li lapi = สถานที่+ที่มีต้นไม้+ก็+สิ่งมีชีวิต+ตัวเล็ก+(ชี้กริยา)+นอน = ในป่าสัตว์ก็พักผ่อน
"ในป่า" คือบริบท จากนั้น "ก็" เข้ามาเชื่อม "สัตว์ตัวเล็ก" ซึ่งก็คือประธานในที่นี้ที่มีภาพแสดงเป็นการนอน ใช้ la เป็นการเชื่อมเพื่ออ้างถึงบริบทกับประธานนั่นเอง

การบอกว่า 'มี'
ในภาษาตูกีตีกีไม่มีคำว่า 'มี' โดยตรง จึงอาจต้องใช้รูปแบบไวยกรณ์ช่วย เช่น
ilu li lu mi. = เครื่องมือ+(บ่งชี้ภาคแสดง)+อยู่กับ+ฉัน = เครื่องมืออยู่กับฉัน = ฉันมีเครื่องมือ

การเปรียบเทียบ
อาจใช้ la ในการเปรียบเทียบ
kati mi lu kati tila la, kati mi li tiku. = ต้นไม้+ของฉัน+กับ+ต้นไม้+ของคุณ+ก็+ต้นไม้+ของฉัน+(บ่งชี้ภาคแสดง)+สูง = ต้นไม้ของฉันกับต้นไม้ของคุณก็ต้นไม้ของฉันสูง = ต้นไม้ของฉันสูงกว่าต้นไม้ของคุณ

การระบุชื่อ
ชื่อในตูกีตีกีจะใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ขึ้นต้น สำหรับชื่อคนให้ใส่ ka ไว้ข้างหน้า เพื่อระบุว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ซึ่งในที่นี้คือ 'คน'

ka Lila = คน+(ชื่อ)ลีลา = คนชื่อลีลา = คุณลีลา

ถ้าเป็นชื่อประเทศให้นำหน้าด้วย kiku, ชื่อภาษานำด้วย tuki, ชื่อต้นไม้นำด้วย kati และอื่นๆก็นำด้วยคำที่สื่อถึงสิ่งนั้น เป็นต้น

ถ้าเคร่งครัดจริงๆก็ต้องใช้เพียงตัวอักษรเท่าที่มีในตูกีตีกีเท่านั้น โดยเทียบเสียงตัวสะกดคำให้ใกล้เคียงชื่อมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ถ้าไม่เคร่งครัดมากนักอาจสะกดเป็นภาษาอังกฤษไปเลยก็ไม่เป็นไร

หากใช้เป็นตัวเขียน (แบบตัวอินเดียนแดง) ในการเขียนชื่อ ก็ใช้คำนำหน้าด้วยเช่นกันแล้วตามด้วยชื่อ โดยส่วนชื่อจะใช้ตัวเขียนตัวใดก็ได้โดยถือเอาตัวอักษรตัวแรกของคำอ่าน (ตัวพิพม์) ของตัวเขียนนั้นแทนตัวอักษร และเมื่อระบุชื่อเสร็จแล้วให้ขีดเส้นใต้ชื่อและบนชื่อเพื่อระบุว่าเป็นส่วนของชื่อ หรือส่วนของชื่อจะเขียนเป็นตัวพิมพ์ก็ได้

คำถาม
คำถามปลายปิด ที่ต้อง ใช่/ไม่ นั้นใช้รูปแบบ "คำกริยา ala คำกริยา"
tila muku ala muku? = คุณ+กิน+ไม่+กิน? = คุณกินไม่กิน? = คุณกินมั้ย?

ในการตอบ ถ้าใช่ ก็ให้ตอบคำกริยานั้นไป
muku. = กิน

ถ้าไม่ก็ใส่ ala หลังคำกริยา (หรือห้าคำกริยาก็ได้)
muku ala. = กิน+ไม่ = หาได้กินไม่ = ไม่กิน

tila pula ala pula? = คุณ+ดี+ไม่+ดี? = คุณดีหรือไม่ดี?/คุณสบายดีมั้ย?/คุณโอเคมั้ย?
ตอบได้ว่า pula (สบายดี), pula ala (ไม่ค่อยสบาย)

คำถามปลายเปิดจะใช้คำว่า timi (อะไร) วิธีใช้คล้ายๆภาษาไทย
li timi? = นี่อะไร?
ka timi li muku i tilu mi? = คน+ไหน+(บ่งชี้ภาคแสดง)+กิน+(บ่งชี้กรรม)+น้ำ+ฉัน? = คนไหนกินน้ำของฉัน? = ใครกินน้ำของฉัน?
mi ilu timi i iku li? = ฉัน+ใช้+อะไร+(บ่งชี้กรรม)+เครื่องมือ+นี้? = ฉันใช้อย่างไรกับเครื่องมือนี้ = ฉันจะใช้เครื่องมือนี้อย่างไร?

คำสั่ง
ตูกีตีกีไม่มีประโยคคำสั่ง เป็นแค่ประโยคบอกเล่า ต้องใช้บริบทเข้าช่วย
tila muku alal i mi! = คุณ+กิน+ไม่+(บ่งชี้กรรม)+ฉัน! = คุณไม่กินฉัน! = แกอย่ากินฉันนะ!
tila taka i kati lu mi. = คุณ+เคลื่อน+(บ่งชี้กรรม)+ผัก+สู่+ฉัน = คุณส่งผักให้ฉันที
mi uli i muku. = ฉัน+ต้องการ+(บ่งชี้กรรม)+อาหาร = ฉันต้องการอาหาร
muku! = อาหาร!

สี
คำศัพท์ตูกีตีกีไม่มีการกำหนดสี แต่มีคำว่า tulu แปลว่า สี อยู่ จึงอาจจำเป็นต้องสร้างคำนามวลีขึ้นมาด้วยการผสมคำขึ้นมาเองด้วยสำนวนของแต่ละคน แนะนำว่าอย่างน้อยควรกำหนดสีพื้นฐานสัก 5 สี ตัวอย่างเช่น
tulu kasi. = สี+ใบไม้ = สีเขียว
tulu tulu. = สี+ไฟ = สีแดง
tulu kiku. = สี+ดิน = สีกากี/สีเหลือง
tulu ku. = สี+ก๊าซ = สีขาว
tulu lapi. = สี+มืด = สีดำ

ห้าสีนี้ผมเอา 5 ธาตุของปรัชญาจีนมาใช้ เพื่อนๆอาจนำไปใช้หรือสร้างนามวลีตามที่คุ้นเคยดูครับได้ครับ
ทีนี้สมมุติว่าได้สีพื้นฐานเป็นของตัวเองแล้ว สีอื่นๆก็อาจใช้การผสมสีเอาก็ได้
tulu tulu tiku. = สี+ไฟ+ท้องฟ้า = สีแดงอมฟ้า/น้ำเงิน = สีม่วงโทนร้อน
tulu tiku tulu. = สี+ท้องฟ้า+ไฟ = สีฟ้า/น้ำเงินอมแดง = สีม่วงโทนเย็น

tilu tulu tulu. = น้ำ+สี+ไฟ = เลือด/น้ำผลไม้ (ขึ้นอยู่กับบริบท)
tilu li tulu tulu. = น้ำ+(บ่งชี้ภาคแสดง)+สี+ไฟ = น้ำที่สีแดง

เก็บตกประโยคตัวอย่างที่น่าสนใจ
tila muku. = คุณคือหวานใจ/คุณอร่อย (?)/คุณคืออาหาร (?!)/คุณกิน (ต้องใช้บริบทช่วยอย่างมาก จงอยู่กับปัจจุบันขณะ อิอิ)
tila muku mi. = คุณคือหวานใจของฉัน
tila muku i mi?! = คุณกินฉัน?!/คุณกัดฉัน?!
mi ka. = ฉันเป็นคน/ฉันมีชีวิต/ฉันเป็นสิ่งมีชีวิต
li li. = นั่นเขา/นั่นมัน
tuki muku a. = ภาษาน่ารักอ่ะ
tuki a i muti. = พูดเพียงแค่ว่าสนุก
ka a li uli muku. = ทุกคนต้องการกิน/ทุกคนต้องการอาหาร
ka a li uli muku i muku. = ทุกคนต้องการกินอาหาร

คำที่ต้องรู้
mi ku muku i tila. = ฉันรู้สึกหวานต่อคุณ = ฉันรักคุณ
mi uli i tila. =  ฉันปราถนาคุณ = ฉันรักคุณ

ไม่มีคำที่จะสื่อตรงๆ (ภาษาแห่งการอ้อมค้อมจริงๆด้วย!) และสามารถพูดแบบอื่นได้อีกมากมาย ขึ้นอยู่กับการตีความเป้าประสงค์ภายในจริงๆ และสำนวนของแต่ละคนเลยครับว่าต้องการสื่อออกมาไปในทางไหน

มีความยืดหยุ่นสูงมาก ไม่มีอะไรตายตัวซะทีเดียว ภาษาตูกีตีกีเปิดให้สร้างสรรค์ได้อย่างอิสระในแบบของตัวเอง เหล่านี้เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น
แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเห็นว่าไวยกรณ์ตูกีตีกีจะเหมือนกับโตกีโปนา เอาจริงๆการเรียงคำก็คล้ายๆกับไวยกรณ์ไทย คนไทยน่าจะเรียนรู้ภาษาตูกีตีกีได้ไม่ยาก

เบื้องต้นกับตูกีตีกีก็ประมาณนี้ครับ
หากขาดตกบกพร่องประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ


ภาษาตูกีตีกีนับว่ายังคงใหม่อยู่มาก และยังไม่ได้รับความนิยมเป็นวงกว้างเมื่อเทียบกับโตกีโปนา มีความเป็นกึ่งภาษาทดลองอยู่ในระดับนึง แต่ก็ใช้ได้จริง แม้ออกจะกินความกว้างและอาจนามธรรมไปสักหน่อยเมื่อใช้งาน เพราะสามารถตีความได้มากมายจนแทบจะนับไม่ถ้วนเลยทีเดียว จึงต้องใช้บริบทและไวยกรณ์ช่วยอย่างมาก ต้องคิดให้ถึงรากของสิ่งที่ต้องการจริงๆ ทำให้บางครั้งการพูดอย่างเจาะจงเกินไปอาจต้องอ้อมไปอ้อมมาเหมือนความหมายของชื่อตูกีตีกี ต้องปรับวิธีคิดให้ตรงกับภาษาเชิงปรัชญาอันเรียบง่ายนี้ คิดเป็นภาพรวมอย่างเจาะจง
สำหรับการใช้งานส่วนตัวคิดก็ว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไรมากนัก เพียงแค่ 39 คำก็เพียงพอต่อการสื่อสารแล้วล่ะครับ แล้วก็รู้สึกว่ามันเหมือนภาษาจีนโบราณ ที่เวลาอ่านต้องตีความหลายตลบกว่าจะเข้าใจสิ่งที่สื่อได้ ซึ่งภาษาจีนโบราณนั้นออกแบบมาสำหรับการอ่านเขียนเพื่อเป็นภาษาวรรณกรรมโดยเฉพาะอยู่แล้ว ส่วนตัวเลยคิดว่าตูกีตีกีก็น่าจะเหมาะกับการสื่อสารด้วยการอ่านเขียนมากกว่าเพราะมีเวลาให้ตีความ แต่ด้วยตัวภาษาตูกีตีกีเองรู้สึกว่าจะออกแบบมาสำหรับทั้งฟังพูดอ่านเขียนได้เลย ก็ถือว่าเป็นเรื่องท้าทายที่น่าลองใช้ดูในชีวิตประจำวันเหมือนกันครับ
หากพิจารณาถึงการเป็นภาษาสากล เอาจริงๆโตกีโปนามีการพัฒนาจนสมบูรณ์ในระดับนึงแล้ว และมีชุมชนที่ใช้อย่างแพร่หลายเป็นอันดับสองของภาษาประดิษฐ์ที่ใช้กันบนโลกออนไลน์ (แน่นอนว่าอันดับหนึ่ง คือ พี่ใหญ่ เอสเปรันโต ของเรานั่นเอง) หากจะมองหาความเป็นภาษาสากล อาจต้องมองโตกีโปนาไว้เป็นตัวเลือกหนึ่งด้วยล่ะครับ อย่างไรก็ตาม ตูกีตีกีก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆแล้ว อย่างเช่นในชุมชน https://www.reddit.com/r/tukitiki/ และ https://discord.com/invite/BkK8nn9fXe ก็มีผู้ใช้กันพอสมควร ด้วยความน้อยแต่มากของมันอาจจะทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนที่โตกีโปนาเคยเป็นก็ได้ ใครจะไปรู้ล่ะเนอะ

ตูกีตีกีเป็นภาษาที่น่ารักและน่าสนุกมากๆ ความกระทัดรัดคือเสน่ห์ที่ปฏิเสธไม่ได้เลยทีเดียวล่ะครับ

พจนานุกรม ตูกีตีกี-ไทย
li tula tuki Tuki Tiki - tuki Thai
*อาจมีการปรับปรุงแก้ไขตามสมควร

ตำราไวยกรณ์ตูกีตีกีอย่างเป็นทางการ โดย ka Tumu
*อาจมีการปรับปรุงในอนาคต


คู่มือตูกีตีกีอย่างย่อ โดย ka Tika


muti tuki tiki - บันเทิงไปกับภาษาตูกีตีกี




แถม
ตูกีตีกียังไม่ใช่ภาษาที่เล็กที่สุด ยังมีภาษาที่เล็กและศัพท์น้อยกว่านี้อีกนะครับ เช่น
  • Pu Lu โดย arpee (Justin Joy) มีศัพท์แค่ 18 คำ ซึ่งก็ได้แรงบันดาลใจจากภาษาโตกีโปนาเช่นกัน
  • Facilish โดย Jack Eisenmann มีศัพท์ 2 คำ
  • U ของ arseniiv มี 1 คำ
อ้างอิง

29 เมษายน 2568

Toki Pona - โตกีโปนา ภาษาประดิษฐ์ที่เรียบง่ายที่สุดในโลกสำหรับทุกคน

คำว่า toki pona เขียนด้วยตัวเขียน sitelen pona
หรืออักษรภาพหนึ่งของโตกีโปนา

สวัสดีครับ จากบทความเมื่อนานมาแล้วที่เคยแนะนำภาษาเอสเปรันโตซึ่งเป็นภาษาประดิษฐ์ (Conlang) เพื่อเป็นภาษาสากลของโลกไปแล้ว ในบทความนี้มาแนะนำภาษาประดิษฐ์อีกภาษาหนึ่งที่อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักในไทยมากนัก และเป็นภาษาประดิษฐ์ที่ถูกใช้เป็นภาษาสากลที่มีผู้ใช้มากเป็นอันดับสองของโลก งั้น มาเริ่มกันเลยครับ

Toki Pona อ่านว่า โตกีโปนา แปลว่า ภาษาที่ดี ประกอบมาจากสองคำในภาษาโตกีโปนา คือ Toki (คำพูด) Pona (ดี) เป็นภาษาประดิษฐ์ที่เรียบง่าย มีคำศัพท์น้อยมาก เริ่มต้นที่ 120 คำ และง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งประดิษฐ์โดยนักภาษาศาสตร์ชาวแคนาดา ซอนยา แลง (Sonja Lang) เมื่อปี 2001 โดยเธอได้รับแรงบรรดาลใจมาจากปรัชญาเต๋า โตกิโปนาจึงเรียบง่าย เป็นธรรมชาติอย่างเป็นองค์รวม และอยู่กับปัจจุบัน โดยเน้นคำศัพท์ความหมายรากฐานสากลที่น้อยแต่กินความกว้างนี้ขึ้นมา ซึ่งถือเป็นภาษาเชิงปรัชญาอีกด้วย
โตกีโปนาถือเป็นภาษาประดิษฐ์แบบอาโปสเตริโอริ (a posteriori language ภาษาที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยอิงจากภาษาที่มีอยู่แล้ว) ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่ของภาษาอังกฤษ, ภาษาตอกปีซิน, ภาษาฟินแลนด์, ภาษาจอร์เจีย, ภาษาดัตช์, ภาษาฝรั่งเศสแบบอคาเดียน, ภาษาเอสเปรันโต, ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย ภาษาจีน และภาษาอื่นๆ อย่างละ 3-15% โดยประมาณ
ภาษาโตกีโปนานี้อยู่บนพื้นฐานของแนวคิดแบบมินิมอลลิสต์ โดยมีคำศัพท์หลักเพียงประมาณ 120 คำ (ภายหลังเพิ่มมาอีกนิดหน่อย) ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับภาษาธรรมชาติส่วนใหญ่ เป้าหมายคือการสื่อสารความคิดด้วยคำศัพท์ที่เรียบง่าย โดยเน้นที่ความหมายรากฐานและคำเชิงบวกเป็นหลัก ลองจิตนาการถึงภาษาที่คุณสามารถเรียนรู้ได้ในเวลาไม่นาน ซึ่งเป็นภาษาที่ผู้รอดชีวิตจากการติดเกาะอาจจะใช้เพื่อสื่อสารกัน แน่นอนว่าภาษาที่เรียบง่ายเช่นนี้จะช่วยให้ผู้รอดชีวิตสามารถสื่อสารความต้องการขั้นพื้นฐานได้ง่าย นี่คือเวทมนต์ของภาษาที่เรียบง่าย เป็นภาพรวมแต่ชัดเจน
จากสมมติฐานเซเพียร์–วอร์ฟซึ่งบอกว่า ภาษาส่งผลต่อวิธีคิดและพฤติกรรมของผู้พูด ภาษาโตกีโปนาได้รับการออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการมองโลกในแง่ดี และเพื่อให้ผู้พูดตระหนักถึงบริบทและใส่ใจกับสิ่งรอบตัวในปัจจุบันรวมถึงคำต่างๆที่ใช้ โตกีโปนายังถูกใช้สำหรับการบำบัดในการขจัดความคิดเชิงลบโดยให้ผู้ป่วยติดตามความคิดของตนด้วยภาษาโตกีโปนาอีกด้วย

ภาษาโตกีโปนามีอักษรเพียง 14 ตัว ซึ่งออกแบบมาให้ออกเสียงได้ง่ายสำหรับผู้พูดจากทุกภาษา

sitelen Lasina
พยัญชนะของ Toki Pona

มีพยัญชนะ 9 ตัวโดยเทียบเสียงภาษาไทย คือ
  1. p = ป
  2. t = ต
  3. k = ก
  4. s = ซ
  5. m = ม
  6. n = น
  7. l = ล
  8. j = ย
  9. w = ว
มีสระ 5 ตัว เทียบกับสระภาษาไทยคือ
  1. a  = อา
  2. e = เอ
  3. i = อี
  4. o = โอ
  5. u = อู
ในการพูดจะเน้นที่พยางค์แรกของคำเสมอ อาจจะออกเสียงสั้นยาวสูงต่ำหรือติดสำเนียงท้องถิ่นได้ตามสมควร
ในการพิมพ์จะใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด ยกเว้นชื่อที่จะขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่
ในการสะกดคำก็ตรงไปตรงมา กำหนดมายังไงก็ว่ากันไปตามนั้นเลยครับเหมือนภาษาไทย

การเขียน
ตัวพิมพ์ (sitelen Lasina) ใช้ตัวอักษรโรมัน ตามที่แนะนำไว้ข้างต้น ปกติจะใช้แบบนี้เป็นหลัก
ตัวเขียน (sitelen pona) เป็นอักษรภาพที่เขียนเป็นสัญลักษณ์แทนคำ ลักษณะคล้ายอักษรของอินเดียนแดง ซึ่งหนึ่งตัวเขียนก็เป็นหนึ่งความหมาย (เหมือนอักษรจีนหรือตัวคันจิ) (ฟ้อนต์ตัวเขียนมาตราฐาน แนะนำ nasin-nanpa-4.0.2.otf ขึ้นไป เวลาพิมพ์เมื่อใช้ pi ต้องการขีดเส้นใต้ให้ใส่วงเล็บ เมื่อเขียนชื่อให้ใส่วงเล็บเหลี่ยมจะเป็นวงรอบชื่อ หากต้องการรวมคำขยายในตัวเขียนเดียวให้กด + แล้วพิมพ์ เอาออกกด - แล้วลบ)
ตัวจารึก (sitelen sitelen) เป็นอักษรภาพวิจิตร หนึ่งตัวจารึกเป็นหนึ่งความหมายเหมือนกัน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเขียนอักษรภาพแบบวิจิตร

(ดูจนานุกรมโตกีโปนาท้ายบทความ)

วิธีเขียนตัวเขียนหรือตัวจารึกก็สามารถเขียนเรียงต่อกันได้ตามปกติ แต่พิเศษกว่าตรงที่จะเขียนคำคุณศัพท์(adj)หรือคำวิเศษ(adv)เอาไว้ในหรือบนคำนั้นๆก็ได้

ตัวเขียน
sitelen pona
ตัวจารึก
sitelen sitelen

การตีความ
โตกีโปนาใช้คำน้อยแต่กินความมาก ไม่อาจแปลเป็นคำต่อคำได้ จะต้องทำความเข้าใจโดยการตีความจากนัยยะโดยรวมของคำ เครื่องหมายวรรคตอน และบริบท
mi moku. = ฉันกิน/ฉันกำลังกิน/ฉันจะกิน/ฉันกินแล้ว

แต่ละคำมีหลายความหมาย
soweli = สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบก, แมว, หมา
kili = ผลไม้, ผัก

ทุกคำสามารถเป็นคำนาม, คำกริยา, คำคุณศัพท์(adj), หรือคำวิเศษ(adv) ได้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของคำในประโยค
telo = น้ำ, ล้าง, เปียก
pona = ความดี, ทำให้ดีขึ้น, ดี
suli = ความใหญ่, ทำให้ใหญ่ขึ้น, ใหญ่

ประโยคพื้นฐาน
li ใช้ขั้นระหว่างประธานกับภาคแสดง เป็นการบ่งชี้ว่าคำถัดไปเป็นภาคแสดง เป็นการอธิบายลักษณะของประธานว่า เป็นหรือทำอะไร ขึ้นอยู่กับบริบท
ni li kala. = นี่+(บ่งชี้ว่าคำถัดไปเป็นภาคแสดง)+เป็นปลา = นี่คือปลา = นี่ปลา
kili li moku. = ผลไม้+(บ่งชี้ว่าคำถัดไปเป็นภาคแสดง)+เป็นอาหาร = ผลไม้เป็นอาหาร
telo li pona. = น้ำ+(บ่งชี้ว่าคำถัดไปเป็นภาคแสดง)+ดี = น้ำนั้นดี (น้ำสะอาด)

ภาคแสดงก็อาจเป็นการบอกว่าทำอะไร ขึ้นอยู่กับบริบท
soweli li moku. = สัตว์+(บ่งชี้ว่าคำถัดไปเป็นภาคแสดง)+กิน = สัตว์กิน
jan li lape. = คน+(บ่งชี้ว่าคำถัดไปเป็นภาคแสดง)+นอน = คนนอน

ถ้าประธานเป็น mi (ฉัน) หรือ sina (คุณ) ไม่ต้องใช้ li
mi moku. = ฉันกิน
sina pona. = คุณดี

คำขยาย
ต่อท้ายคำนามได้เลยเหมือนในภาษาไทย เป็นคำผสม เหมือนการสร้างคำนามใหม่ หรือคำนามวลีที่เฉพาะเจาะจง
jan lili. = คน+เล็ก = คนเล็ก = เด็ก
tomo mi. = บ้าน+ฉัน = บ้านฉัน = บ้านของฉัน
pona waso. = ดี+นก = ความดีของนก
waso pona. = นก+ดี = นกดี
suli waso. = ใหญ่+นก = ความใหญ่ของนก
waso suli. = นก+ใหญ่ = นกใหญ่
pilin pona. = อารมณ์+ดี = อารมณ์ดี

การปฏิเสธใช้คำว่า ala ต่อท้ายคำที่ต้องการปฏิเสธ
mi lape ala. = ฉัน+นอน+ไม่ = ฉันหานอนไม่ = ฉันไม่นอน/ฉันไม่ได้นอน
jan ala li toki. = คน+ไม่+(บ่งชี้ว่าคำถัดไปเป็นภาคแสดง)+พูด = ไม่มีคนพูด
mi ala. = ฉัน+ไม่ = ฉันไม่ใช่ = ไม่ใช่ฉัน
mi ala pali. = ฉัน+ไม่+ทำ = ไม่ใช่ฉันทำ
mi pali ala. = ฉัน+ทำ+ไม่ = ฉันไม่ทำ
mi wile ala tawa musi = ฉัน+ต้องการ+ไม่+ไป+เต้นรำ = ฉันไม่ต้องการไปเต้นรำ

การขยายเพิ่มจะขยายคำก่อนๆหน้าเสมอ
lipu kasi tu. = หนังสือ+พืช+สอง = หนังสือพันธุ์พืชสองเล่ม/แผ่น
tomo telo nasa. = ห้อง+น้ำ+ประหลาด = ห้องน้ำแปลกๆ

คำขยายเป็นเสมือนการสร้างคำใหม่ อาจต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสื่อถึงสิ่งที่ต้องการอย่างอิสระด้วยสำนวนของตัวเอง ตัวอย่างเช่น
soweli tomo. = สัตว์+บ้าน = สัตว์เลี้ยง
jan lili. = คน+เล็ก = คนเล็ก = เด็ก

อย่าสับสนกับ li ที่ใช้บ่งชี้ถึงภาคแสดงที่บ่งบอกลักษณะของประธาน
jan li lili. = คน+(บ่งชี้ภาคแสดง)+เล็ก = คนที่ตัวเล็ก
jan lili li lili. = คน+เล็ก+(บ่งชี้ภาคแสดง)+เล็ก = เด็กที่ตัวเล็ก
jan lili meli. = คน+เล็ก+เพศหญิง = เด็กผู้หญิง
jan lili meli li lili. = เด็กผู้หญิงตัวเล็ก

คั่นคำขยายต่างๆเพื่อแบ่งขอบเขตการขยายความได้ด้วย pi อาจแปลคร่าวๆได้ว่า 'แห่ง' คำขยายก็จะขยายเฉพาะคำหลักของมันเอง ไม่เกี่ยวกับคำที่อยู่หน้า pi อีกต่อไป
lipu pi kasi tu. = หนังสือ+แห่ง+พืช+สอง = หนังสือแห่งพืชสองชนิด (พืช+สอง จะขยายกันเอง ไม่เกี่ยวกับหนังสือ เพราะคั้นด้วย pi เอาไว้แล้ว)
tomo pi telo nasa. = ห้อง+แห่ง+น้ำ+เมา = ห้องแห่งเหล้า = บาร์

บ่งชี้สิ่งที่ถูกกระทำ
e ใช้เป็นคำเชื่อมคำกริยากับกรรมตรง บ่งชี้ว่าคำที่อยู่หน้า e จะเป็นกริยาและคำที่ถัดจาก e ไปเป็นสิ่งถูกกริยานั้นกระทำ
soweli li moku e telo. = สัตว์+(บ่งชี้ภาคแสดง)+กิน+(บ่งชี้ว่าต่อไปเป็นกรรม)+น้ำ = สัตว์กินน้ำ
mi telo e soweli. = ฉัน+ล้าง+(บ่งชี้ว่าต่อไปเป็นกรรม)+สัตว์ = ฉันอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยง
sina pona e ilo. = คุณ+ทำให้ดีขึ้น+(บ่งชี้ว่าต่อไปเป็นกรรม)+เครื่องมือ = เขาทำให้ดีขึ้น(ซึ่งกระทำกับ)เครื่องมือ = เขาซ่อมเครื่องมือ

คำบุพบท
kepeken (ใช้), lon (ที่), sama (เหมือน), tan (จาก), และ tawa (ไป) สามารถใช้เป็นคำบุพบทได้โดยไม่ต้องใส่ e
mi moku kepeken ilo. = ฉัน+กิน+โดยใช้+อุปกรณ์ = ฉันกินอาหารโดยใช้อุปกรณ์การกิน(ช้อนส้อม)
soweli li lon tomo. = สัตว์+อยู่+ที่+บ้าน = สัตว์อยู่ที่บ้าน
sina toki sama kala! = คุณ+พูด+เหมือน+ปลา = คุณพูดเหมือนปลา!
mi kama tan esun. = ฉัน+มา+จาก+ร้านค้า = ฉันมาจากร้านค้า
ona li toki e ni tawa sina. = เขา+(บ่งชี้ภาคแสดง)+พูด+(บ่งชี้ว่ามีสิ่งถูกกระทำ)+นี่+สู่+คุณ = เขาพูดแบบนี้กับคุณ

คำเชื่อม
สำหรับรวมหลายสิ่งเข้าด้วยกันใช้ en แปลว่า 'และ'
mi en sina li musi mute. = ฉัน+และ+คุณ+(บ่งชี้ภาคแสดง)+เล่น+มาก = ฉันและคุณเล่นเยอะมาก

สำหรับภาคแสดง ให้ใช้ li ซ้ำ
soweli ni li lili li suwi. = สัตว์+นี้+เป็น+ที่เล็ก+ที่น่ารัก = สัตว์ตัวนี้เป็นสัตว์ที่ตัวเล็กและน่ารัก

สำหรับกรรมตรง ให้ใช้ e ซ้ำ
ona li jo e waso e kala. = เขา+(บ่งชี้ภาคแสดง)+มี+(บ่งชี้ว่ามีสิ่งถูกกระทำ)+นก+(บ่งชี้ว่ามีสิ่งถูกกระทำ)+ปลา = เขามีนกและปลา

สำหรับบุพบท ให้ซ้ำบุพบท
mi pali e tomo kepenken palisa kepeken kiwen. = ฉัน+ทำ+(บ่งชี้สิ่งถูกกระทำ)+บ้าน+โดยใช้+ท่อนไม้+โดยใช้+หิน = ฉันสร้างบ้านโดยใช้ไม้โดยใช้หิน = ฉันสร้างบ้านโดยใช้ไม้และหิน

anu แปลว่า 'หรือ'
ni li pona anu ike? = นี่+คือ+ดี+หรือ+แย่ = นี่คือดีหรือแย่?
mi anu sina li tawa esun. = ฉัน+หรือ+เธอ+(บ่งชี้ภาคแสดง)+ไป+ร้านค้า = ฉันหรือเธอไปร้านค้า
sina jo e kili anu telo? = คุณ+มี+(บ่งชี้กรรม)+ผลไม้+หรือ+น้ำ = คุณมีผลไม้หรือน้ำ?

การระบุชื่อ
ชื่อจะใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ขึ้นต้น โดยให้ใส่คำนำหน้าที่บ่งบอกถึงสิ่งนั้น
jan Sonja = คน+ซอนย่า = คนชื่อซอนย่า = คุณซอนย่า (ชื่อคน ให้ใส่ jan ที่แปลว่า 'คน' ไว้ข้างหน้าชื่อ)
toki Toki Pona = ภาษา+โตกีโปนา = ภาษาโตกีโปนา (ชื่อภาษา ให้ใส่ toki ที่แปลว่า 'ภาษา' ไว้ข้าหน้าชื่อ)
ma Mali = ประเทศ+มาลี = ประเทศมาลี (ชื่อประเทศ ให้ใส่ ma ที่แปลว่า 'ประเทศ' ไว้ข้างหน้าชื่อ)

ฉากเปิดเรื่องของนวนิยาย
สิทธารถะ โดย แฮร์มันน์ เฮสเส
แปลเป็น toki pona โดย jan Kala
ตัวเขียน sitelen pona โดย jan Majeka

หากใช้เป็นตัวเขียน หรือตัวจารึก ในการเขียนชื่อ ก็ใช้คำนำหน้าด้วยเช่นกันแล้วตามด้วยชื่อ โดยส่วนชื่อจะใช้ตัวเขียนตัวใดก็ได้ โดยถือเอาเฉพาะตัวอักษรตัวแรกของคำอ่าน(ตัวพิพม์)ของตัวเขียนนั้นแทนตัวอักษร แล้วนำมาเรียงต่อกัน และเมื่อระบุชื่อเสร็จแล้วให้วงรอบชื่อเพื่อระบุว่าเป็นส่วนของชื่อ หากกล่าวถึงชื่อเดิมอีกครั้งในเอกสารเดียวกัน ส่วนชื่ออาจใช้แค่ตัวเขียนตัวแรกแทนการเขียนชื่อเต็มทั้งหมด

ในการเขียนชื่อนั้น ถ้าเอาจริงๆตามหลักโตกีโปนา จะต้องใช้เฉพาะตัวอักษรในภาษาโตกีโปนาเท่านั้น และใช้วิธีการสะกดคำให้เสียงใกล้เคียงที่สุด โดยมีหลักคิดอยู่ เช่น ชื่อประเทศจะต้องสะกดด้วยระบบเสียงของโตกีโปนาตามคำเรียกตัวเองของคนประเทศนั้น เป็นต้น ตรงนี้ต้องไปศึกษาเชิงลึกเรื่องการสะกดคำเพิ่มเติมภายหลัง แต่ถ้าใช้แบบง่ายๆ เบื้องต้นก็อาจใช้การพิมพ์แบบภาษาอังกฤษไปตามปกติก่อนก็ได้ครับ

การออกคำสั่ง
ใช้ o ก่อนคำกริยาเพื่อทำให้เป็นคำสั่ง แปลคร่าวๆได้ว่า 'จง' หรือ 'โปรด'
o kute! = จงฟัง!
o pali! = จงทำ!

ใช้ o หลังประธานได้โดยเป็นการเรียกขาน แปลคร่าวๆได้ว่า 'โอ้, เฮ้'
jan Pape o! = ปาเป โอ้! = ปาเป เฮ้! = เฮ้ ปาเป

ใช้ o ระหว่างคำนามและภาคแสดงเพื่อแสดงออกถึงความหวัง ความปราถนา เป็นกึ่งๆคำสั่ง กึ่งๆการสวดอ้อนวอน
pona o tawa sina. = ความดี+โอ+ไปสู่+คุณ = ความดีจงไปสู่คุณ = ขอให้สิ่งดีๆไปสู่คุณ
mi o pali. = ฉัน+โอ+ทำ = ฉันควรทำงานได้แล้วสินะ
soweli To o moku. = สัตว์+ชื่อโต+โอ+กิน = เจ้าโตกินสิ

คำอุทาน
ใช้ a (อา) เป็นคำอุทานต่างๆ
wawa a! = เข้มข้นอ่ะ!
toki a. = สวัสดีจ้า
pona a. = ขอบคุณนะ
lon a! = จริงเลย!/ถูกต้องเลย!
moku pona a! = อาหารดีอ่า!

การคำถาม
สำหรับคำถามปลายปิดสำหรับตอบว่า ใช้หรือไม่ จะใช้คำถามแบบ 'คำกริยา ala คำกริยา'
sina moku alal moku? = คุณ+กิน+ไม่+กิน = คุณกินไม่กิน? = คุณกินหรือไม่กิน? = คุณกินมั้ย?

ตอบใช่ ด้วยการทวนคำกริยานั้น
moku = กิน

ตอบไม่ ด้วยการใช้ 'คำกริยานั้น ala' หรือ ala
moku ala = กิน+ไม่ = หาได้กินไม่ = ไม่กิน
ala = ไม่

สำหรับคำถามปลายเปิด ใช้คำว่า seme (อะไร, ไหน)
kala anu seme li lon poki? = ปลา+หรือ+อะไร+อยู่+ใน+กล่อง =ปลาหรือตัวอะไรอยู่ในกล่อง?
jan seme li toki? = คน+อะไร+(บ่งชี้กริยา)+พูด = คนไหนพูด?/ใครพูด?
sina pali e seme? = คุณ+ทำ+(บ่งชี้กรรม)+อะไร = คุณกำลังทำอะไร?
seme li lon tomo mi? = อะไร+อยู่+ที่+บ้าน+ฉัน = อะไรอยู่ที่บ้านของฉัน?
ma seme li pona tawa sina? = แผ่นดิน+อะไร+(บ่งชี้ภาคแสดง)+ดี+สำหรับ+คุณ = ประเทศอะไรที่ดีสำหรับคุณ? = คุณชอบประเทศอะไร?
sina jo e kili aue seme? = คุณ+มี(บ่งชี้กรรม)+ผลไม้+หรือ+อะไร = คุณมีผลไม้หรืออะไรอื่น?

คำกริยาซ้อนกริยา (Preverbs)
เป็นเหมือนการขยายคำกริยา จะเป็นคำกริยาที่อยู่ก่อนหน้าคำกริยา จริงๆก็เหมือนแปลตรงตัวจากซ้ายไปขวาในไวยกรณ์ภาษาไทยอยู่แล้ว ไม่เป็นปัญหาในการทำความเข้าใจของคนไทย แต่มาดูตัวอย่างกันสักหน่อยก็แล้วกันครับ
mi kama sona. = ฉัน+มา+รู้ = ฉันมาเรียนรู้
waso lili li wile suli. = นก+ตัวเล็ก+(บ่งชี้คำกริยา)+อยาก+โต = นกตัวเล็กอยากตัวโต

wile (อยาก), kama (มา), sona (รู้), lukin (ดู), ken (สามารถ), awen (รอคอย), และบางครั้ง alasa (ค้นหา) ใช้เป็นคำกริยาซ้อนกับคำกริยาได้

บริบท
la ใช้เชื่อมบริบทของประโยค แปลคร่าวๆว่า 'ก็', 'จึง', 'ย่อม'
sina lon poka mi la mi pilin pona = คุณ+อยู่+ข้าง+ฉัน+ก็+ฉัน+รู้สึก+ดี = คุณอยู่ข้างๆฉันก็ทำให้ฉันรู้สึกดี
sina seli tan seme? tan seme la sina seli? = คุณร้อนจากอะไร? จากอะไรจึงทำให้คุณร้อน? = ทำไมคุณถึงร้อน?
mi lape lon tenpo pimeja. tenpo pimeja la mi lape. = ฉันนอนในเวลามืด(กลางคืน). เวลามืดก็ฉันนอน.

"เวลากลางคืน" คือ บริบท "ฉันนอน" คือ ประธานที่มีคำขยายมาด้วย จึงใช้ la คั่นระหว่างบริบทกับประธานนั่นเอง

ระบบตัวเลข
wan = 1, tu = 2, luka = 5, mute = 20, ale = 100

ในภาษาโตกีโปนาไม่ได้มีระบบตัวเลขแบบทั่วไปเนื่องจากเป็นภาษาที่อยู่บนหลักความเรียบง่ายจึงเน้นที่ภาพกว้าง เลขที่มากกว่าที่มีข้างต้น จะใช้การบวกรวมตัวเลขเข้าด้วยกัน โดยจะใช้จำนวนใหญ่ขึ้นก่อน

tu tu = 2+2 = 4
luka tu wan = 5+2+1 = 8

ถ้าเลขใหญ่มากๆจะใช้ระบบคูณ จำนวนเล็กอยู่หน้าจะใช้เป็นตัวคูณ
mute ale wan = 20*100+1 = 2001

nanpa ใช้บ่งชี้ลำดับที่
jan nanpa wan li pona = คนลำดับที่หนึ่งเป็นคนดี
ni li nasin nanpa mute tu wan = นั่นคือถนนที่ 23
sike nanpa mute ale wan = ปีที่ 2001

ถ้าจะเอากันจริงๆตามภาษาโตกีโปนาก็ต้องใช้ระบบตัวเลขแบบโตกีโปนาครับ จะมีความคล้ายเลขโรมันอยู่ แต่ว่าเรื่องตัวเลขเนี่ย ถ้าเอาง่ายๆก็ใช้ตัวเลขปกติไปเลยก็คงไม่เป็นไร ถ้าไม่ได้เคร่งครัดมากนัก

สี
สีมีเพียง 5 สีพื้นฐาน คือ jelo (เหลือง), laso (เขียว, น้ำเงิน), loje (แดง), pimeja (ดำ), และ walo (ขาว) เป็นสิ่งที่ไม่ต้องเจาะจงมากนักสำหรับภาษาโตกีโปนา ซึ่งสีเขียว, สีฟ้า, สีน้ำเงิน สามสีเจ้าปัญหาของทุกภาษา และใช่แล้ว ในภาษาโตกีโปนาซึ่งเป็นภาษาองค์รวม ก็ใช้คำเดียวกัน laso (สีเขียว) เหมือนที่ภาษาไทยเรียก พิมพ์เขียวแต่เป็นกระดาษสีน้ำเงินนั่นแหละครับ อิอิ
ส่วนการพูดถึงสีอื่นก็เป็นไปได้ด้วยการเอาสีพื้นฐานมารวมกัน
poki laso pimeja = กล่อง+สีเขียว+สีดำ = กล่องสีเขียวอมดำ
laso loje = น้ำเงิน+แดง = น้ำเงินอมแดง = สีม่วงโทนเย็น
loje laso = แดง+น้ำเงิน = แดงอมน้ำเงิน = สีม่วงโทนร้อน

เกี่ยวกับช่วงเวลา
สำหรับการพูดถึงเรื่องในอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต จะใช้วลีนำหน้าเหล่านี้ครับ
tenpo pini la ... = เวลา+จบ+ก็... = เวลาที่จบไปแล้วก็... = ตอนนั้นก็... (พูดถึงอดีต)
tenpo ni la ... = เวลา+นี้+ก็... = เวลานี้ก็... = ตอนนี้... (พูดถึงปัจจุบัน)
tempo kama la ... = เวลา+มา+ก็... = เวลาที่จะมาถึงก็... = ตอนหน้าก็...) (พูดถึงอนาคต)

tenpo pini la ona li moku pan mute. = เมื่อก่อนเขากินขนมปังมาก
tenpo ni la mi lon tomo mi. = ตอนนี้ฉันอยู่ที่บ้านของฉัน
tenpo kama la mi wile tawa ma sina = ในอนาคตฉันต้องการไปประเทศของคุณ

การระบุเพศ
เป็นคำคุณศัพท์(adj) คือ mije (ชาย), meli (หญิง), tonsi (ข้ามเพศ)

การเปรียบเทียบ
ภาษาโตกีโปนาไม่มีโครงสร้างเฉพาะเจาะจงในการเปรียบเทียบ แต่สามารถประยุกต์ได้หลายวิธี เช่น
kili li moku pona. pipi li moku ike. = ผลไม้เป็นอาหารที่ดี แมลงเป็นอาหารที่ไม่ดี = ผลไม้อร่อยกว่าแมลง
poki mi li suli tawa poki sina. = กระเป๋า+ของฉัน+(บ่งชี้ภาพแสดง)+ใหญ่+ไปสู่+กระเป๋า+ของคุณ = กระเป๋าของฉันใหญ่กว่ากระเป๋าของคุณ
poki mi li suli lon poka pi poki sina. = กระเป๋า+ของฉัน+(บ่งชี้ภาพแสดง)+ใหญ่+ที่+ข้าง+ของ+กระเป๋า+ของคุณ = กระเป๋าของฉันใหญ่อยู่ที่ข้างของกระเป๋าของคุณ = กระเป๋าของฉันใหญ่กว่ากระเป๋าของคุณ

ไม่มีอะไรตายตัวซะทีเดียว ภาษาโตกีโปนาเปิดให้สร้างสรรค์ได้อย่างอิสระในแบบของตัวเอง

เก็บตกประโยคตัวอย่างที่น่าสนใจ
suno li lon sewi = ตะวัน+(บ่งชี้ภาคแสดง)+ที่+เบื้องบน = ดวงอาทิตย์อยู่บนฟ้า
mi kepeken e poki = ฉัน+ใช้+(บ่งชี้กรรม)+ภาชนะ = ฉันใช้ภาชนะ
mi tawa e kiwen = ฉัน+เคลื่อน+(บ่งชี้กรรม)+หิน = ฉันขยับหิน
ona li kama tawa tomo mi = เขา+(บ่งชี้ภาคแสดง)+มา+สู่+บ้าน+ฉัน = เขามาสู่บ้านของฉัน

คำที่ต้องรู้
mi olin e sina = ฉัน+รัก+(บ่งชี้)+คุณ = ฉันรักคุณ

เอ้าได้เวลาไปบอกรักแล้วล่ะครับ!
o toki olin tawa jan olin sina!

โดยรวมแล้วภาษาโตกีโปนามีไวยกรณ์และการเรียงคำคล้ายภาษาไทย และให้มีอิสระที่จะผสมคำเพื่อสื่อถึงสิ่งใหม่ได้ตามแต่ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน เหล่านี้เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น คนไทยจึงน่าจะเรียนรู้และใช้ภาษาโตกีโปนานี้ได้ไม่ยากเลยครับ

โตกีโปนาเบื้องต้นก็ประมาณนี้ครับ
ผิดพลาดประการใดต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วยครับ


ดังนั้น การเข้ารหัสเชิงวิเคราะห์ (analytic encoding), ดังปรากฏในภาษา Toki Pona คืออิสรภาพ (freedom) โดยปราศจากซึ่งนัยยะแฝงใดๆเกี่ยวกับภาษา Toki Pona ซึ่งข้าพเจ้ายืนยันได้ [...] นั่นคือการกระทำที่นำมาซึ่งการปลดปล่อย (liberating act) อย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงเชื่อมั่นว่าภาษา Toki Pona เป็นอุดมการณ์แห่งการปลดปล่อย (liberating ideology) ประการหนึ่ง
-นักภาษาศาสตร์ ดร. ลอรา ไมเคิลลิส (linguist Dr. Laura Michaelis)

โตกีโปนามีคำน้อยและแต่ละคำนั้นก็กินความกว้างมาก เพราะเป็นคำเชิงรากฐาน ความหมายเฉพาะหน้าจึงขึ้นอยู่กับบริบทที่กำลังสนทนา ซึ่งอาจเกิดความคลุมเครือพอสมควร จึงต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และบริบทเข้าช่วยในการทำความเข้าใจ รวมถึงคำศัพท์มีจำกัดทำให้การอธิบายถึงสิ่งที่ซับซ้อนอาจอ้อมค้อมพอสมควร แต่ก็อาจช่วยให้เราตระหนักรู้ถึงแก่นความต้องการของตัวเองได้อย่างแจ่มชัดเช่นกันว่า จริงๆแล้วเราต้องพูดซับซ้อนขนาดนั้นเลยหรือ? หลายครั้งแค่ใช้คำอันเป็นแก่นแท้ของความหมายด้วยคำรากฐานก็อาจเพียงพอแล้ว การลดรูปคำพูดลงอาจทำให้เข้าใจถึงความคิดที่แท้จริงได้ของตัวเองได้
เอาจริงๆประเด็นเหล่านี้บางทีก็ชวนให้ผมนึกถึงภาษาจีนโบราณเหมือนกัน มีความคล้ายกับโตกีโปนาอยู่พอสมควรเลยทีเดียวในเรื่องที่ใช้คำสั้นกระชับแต่กินความมาก และเวลาอ่านหรือเวลาแปลก็ต้องตีความหลายตลบเลยทีเดียว ซึ่งภาษาจีนโบราณนั้นออกแบบมาสำหรับการอ่านเขียน(เป็นภาษาวรรณกรรม)โดยเฉพาะอยู่แล้ว ผมจึงเห็นว่าโตกีโปนาก็อาจเหมาะกับการอ่านเขียนมากที่สุด เพราะมีเวลาให้คิดและตีความ แต่ถึงอย่างนั้นโตกีโปนาเองก็ออกแบบมาสำหรับทั้งการฟังพูดอ่านเขียนครบถ้วนเลย ดังนั้นก็นับว่าน่าสนุกที่จะลองนำมาใช้งานในชีวิตประจำวัน
ซึ่งหลังจากผู้ประดิษฐ์คิดค้นภาษานี้และร่วมปรับปรุงการใช้กับชุมชนได้สักพักก็ออกหนังสือชื่อว่า Toki Pona: The Language of Good (lipu pu) เป็นหนังสือแนะนำการใช้ภาษาโตกีโปนาอย่างเป็นทางการ (อุดหนุนเธอได้ครับ แนะนำว่าควรอ่าน) ซึ่งในหนังสือได้ออกแบบมาครบถ้วนมากเลยทีเดียว มีทั้งการใช้ภาษาเขียนภาษาพูด ซึ่งก็คือการเขียนคำอ่านด้วยตัวอักษรโรมันที่เราได้คุยกันไปแล้วข้างต้น และมีอักษรภาพแบบตัวเขียน (sitelen pona) ซึ่งคล้ายๆภาษาอินเดียนแดง เอาไว้เขียนเป็นสัญลักษณ์สำหรับสื่อสารได้ด้วย ยังมีตัวจารึก (sitelen sitelen) ซึ่งเป็นอักษรภาพเชิงวิจิตร และมีการใช้ในภาษามือโตกีโปนาอีกด้วย (รู้สึกว่าภาษามือในหนังสือซึ่งเรียกว่า toki pona luka ปัจจุบันไม่ใช้แล้ว แต่หันมาใช้ luka pona แทน ซึ่งเกิดจากการพัฒนาร่วมกันโดย jan Olipija ซึ่ง jan Sonja ผู้สร้างภาษา Toki Pona ก็ให้การสนับสนุน) แล้วไม่นานมานี้ก็เพิ่งมีคนคิดค้นวิธีการใช้อีโมจิเป็นภาษาโตกีโปนา (sitelen Emoji) อีกต่างหาก
และจากนั้นหลังจากที่ได้พัฒนาร่วมกับชุมชนเธอก็ได้ออกพจนานุกรม Toki Pona Dictionary (lipu ku) ตามมา ก็รวมศัพท์และนามวลีกว่า 11,000 คำ เพื่อให้เป็นแนวทางในการนำใช้งาน และเป็นแนวทางในการผสมคำเพื่อสร้างคำนามวลีที่เจาะจงยิ่งขึ้น ซึ่งก็เป็นเพียงแนวทางไม่ใช่ข้อบังคับที่ตายตัว เพราะผู้ใช้โตกีโปนาสามารถผสมเพื่อสื่อถึงสิ่งที่ต้องการเองได้ตามความคิดสร้างสรรค์ด้วยสำนวนของตัวเองและมุมมองส่วนบุคคลได้อย่างอิสระ
และจากนั้นก็ได้ออกหนังสือนวนิยายที่เขียนด้วยภาษาโตกีโปนาตัวเขียน (sitelen pona) (lipu su) ออกมาอยู่เรื่อยๆ
สามารถอุดหนุนผลงานต่างๆของ Sonja ได้ที่ https://tokipona.org/

“[โทกิโปนา] เป็นภาษาที่กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง”
-เอเลน โกลด์ (Elaine Gold)
ผู้อำนวยการบริหารของพิพิธภัณฑ์ภาษาแคนาดา

หากเพื่อนๆสนใจก็ลองศึกษาเพิ่มเติมและลองใช้กันดูนะครับ แม้โตกีโปนาจะไม่ได้ตั้งใจประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อให้เป็นภาษาสากลของโลกเหมือนอย่างเอสเปรันโต แต่มันก็ถูกใช้เป็นภาษาช่วยสื่อสารจนกึ่งๆจะเป็นภาษาสากลไปแล้วเหมือนกัน และได้ยินมาว่า โตกีโปนาเป็นภาษาประดิษฐ์ที่นิยมมากเป็นอันดับสองรองจากเอสเปรันโตเท่านั้น และได้รับการรับรอง ISO 639-3 tok อย่างเป็นทางการอีกด้วย โตกีโปนากำลังเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆจากวัยรุ่นอีกด้วยล่ะ ทางผู้ประดิษฐ์ภาษาโตกีโปนาก็ได้ทำกลุ่ม FB เอาไว้ให้ให้พูดคุยกันด้วย ลองเข้ากลุ่มดูได้ครับที่ https://www.facebook.com/groups/sitelen/ และชุมชนได้สร้างเว็บเรียนโตกีโปนาขึ้นที่ https://wasona.com/https://lipu-sona.pona.la/ และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆครับทุกท่าน

พจนานุกรม โตกีโปนา-ไทย
ni li lipu toki Toki Pona - toki Thai
*อาจมีการปรับปรุงแก้ไขตามสมควร
*คำที่ ไม่เป็นมาตราฐาน คือคำที่เลิกใช้แล้ว

แถม

หนังสือสำหรับฝึกอ่านภาษาโตกีโปนา
เรื่องสนุกๆสั้นๆ โดย Lakuse นี่สำหรับผู้เริ่มต้นภาษา Toki Pona!

เรื่องสั้น 27 บทกวีในภาษา Toki Pona

akesi seli lili (สัตว์เลื้อยคลาน+ที่ร้อน+ที่เด็ก) เจ้ามังกรน้อย

meli olin moli (ผู้หญิงที่รักความตาย)

ยังมีนิตยสาร Lipu Tenpo (หนังสือกาลเวลา) ภาษาโตกีโปนาที่น่าสนใจ อ่านฟรีได้ที่ https://liputenpo.org/
และเลือกอ่านงานเขียนภาษาโตกีโปนาอีกมากมายได้ที่ (บางผลงานเป็นงานประกวดด้วย) https://sona.pona.la/wiki/Literature
และห้องสมุด Toki Pona https://lipu.pona.la/

ถ้ารู้สึกว่าโตกีโปนายังเล็กไม่พอ งั้นคงต้องไปลองดูภาษาตูกีตีกีแล้วล่ะครับ ตูกีตีกีเป็นภาษาลูกของโตกีโปนา ซึ่งทำการบีบอัดศัพท์ลงให้เล็กที่สุด และยังคงใช้งานได้จริง มีคำศัพ์หลักเพียง 39 คำ https://jazzylj.blogspot.com/2025/05/tuki-tiki.html

Lojban โลจบาน
ในขณะที่ภาษาโตกีโปนาเน้นศัพท์ความหมายรากฐานเป็นความเรียบง่ายที่คลุมเครือเป็นและภาษาเชิงปรัชญา ก็มีภาษาประดิษฐ์อีกภาษาหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยอิงจากหลักตรรกศาสตร์ ถือเป็นภาษาเชิงตรรกะ มีโครงสร้างที่ชัดเจนและลดความคลุมเครือให้เหลือน้อยที่สุด นั่นคือ ภาษา Lojban โลจบาน มีความเข้มงวดและมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนมาก โครงสร้างประโยคอิงตามหลักตรรกศาสตร์ ทำให้สามารถระบุบทบาทของแต่ละคำในประโยคได้อย่างแม่นยำ ขึ้นชื่อว่าเป็น "ภาษาประดิษฐ์ที่มีไวยากรณ์สมบูรณ์ที่สุดอาจจะเป็นโลจบาน เพราะเป็นภาษาที่สร้างขึ้นมาเพื่อสะท้อนตรรกะ" เอริกา โอเรนส์ ผู้ประพันธ์ In the Land of Invented Languages กล่าวไว้
แน่นอนว่าไวยากรณ์ที่อิงตามตรรกศาสตร์อาจดูซับซ้อนสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานด้านตรรกะ และด้วยโครงสร้างที่เข้มงวด อาจทำให้การสื่อสารในชีวิตประจำวันดูไม่เป็นธรรมชาติเท่าไหร่ แต่ก็น่าค้นหาพอสมควรเลยล่ะครับ หากสนใจลองไปศึกษากันดูได้ครับจากตำราอย่างเป็นทางการ The Complete Lojban Language

อ้างอิงและศึกษาเพิ่มเติม

07 เมษายน 2568

การเล่นดนตรีเพื่อบำเพ็ญจิตใจ ภาค 3 - ดนตรีภาวนา

พิณไลร์ (Lyre) สัญลักษณ์แห่งบทกวี ที่สถานีรถไฟใต้ดินพุชกินสกา (Pushkinska) ในเมืองคาร์คิฟ ซึ่งถูกถ่ายภาพในปี 2010 และบทกวีของอเล็กซานเดอร์ พุชกิน

ในโลกที่เต็มไปด้วยเสียงอึกทึกและความคิดฟุ้งซ่าน ดนตรีอาจเป็นสะพานที่ทรงพลังที่สุดที่จะนำเรากลับมาพบกับตัวเองอย่างแท้จริง การเล่นดนตรีเพื่อฝึกสมาธิภาวนานั้นไม่ใช่เพียงการสร้างเสียงอันไพเราะ แต่คือการเดินทางภายในผ่านทางเสียงดนตรี ที่ซึ่งทุกตัวโน้ตที่ก้องกังวาลออกมาล้วนเป็นกระจกส่องสะท้อนจิตใจของผู้เล่น

ผู้เล่นและเครื่องดนตรี
รวมเป็นหนึ่ง

เมื่อเราลองนั่งลงกับเครื่องดนตรีอย่างสงบ ปล่อยให้นิ้วสัมผัสเครื่องดนตรีอย่างมีสติ เสียงแรกที่ดังขึ้นอาจเผยให้เห็นสภาพจิตของเราในขณะนั้นได้อย่างน่าประหลาดใจ บางครั้งเสียงอาจสั่นเครือเพราะมือที่แข็งเกร็ง บางครั้งอาจสะดุดขาดห้วงเพราะจิตที่ฟุ้งซ่าน นี่คือบทเรียนแรกที่ดนตรีสอนเรา การรับรู้ปัจจุบันขณะโดยไม่ตัดสิน

ดนตรีที่แท้ไม่ใช่การควบคุมเสียง
แต่คือการเป็นหนึ่งเดียวกับมัน

การฝึกเล่นดนตรีอย่างมีสติแตกต่างจากการฝึกเพื่อความชำนาญทั่วไป ที่นี่เราไม่ไล่ตามความสมบูรณ์แบบ ไม่มีผิดมีถูก แต่เรียนรู้ที่จะอยู่กับทุกเสียงที่เกิดขึ้น ผิดหรือถูกไม่สำคัญเท่ากับการที่เราสามารถฟังเสียงนั้นอย่างเต็มเปี่ยม โน้ตที่เรารู้สึกว่ามันผิดอาจกลายเป็นครูที่ดีที่สุด ที่สอนให้เรารู้จักการยอมรับและเข้าใจในความไม่สมบูรณ์แบบของชีวิต
เพียงวันละ 10-20 นาที เมื่อเวลาผ่านไป การเล่นดนตรีภาวนาจะค่อยๆ เผยให้เห็นมิติลึกซึ้งของตัวตน เสียงหนักเบาของการกดสายอาจสะท้อนน้ำหนักของอารมณ์ จังหวะการเล่นอาจเผยให้เห็นลมหายใจของจิตใจ ในที่สุดเราจะค้นพบว่า เราไม่ได้กำลังบรรเลงดนตรีอยู่ แต่ดนตรีต่างหากที่กำลังบรรเลงเราอยู่ การเล่นดนตรีภาวนาเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้เราเห็นการเคลื่อนไหวของความคิดและความรู้สึกอย่างใสกระจ่าง

บางวันที่จิตใจว้าวุ่น การเล่นโน้ตเดียวอย่างตั้งใจ ตั้งจิตจดจ่อฟังเสียงนั้นจนกว่าจะจางหายไปในความเงียบงัน เมื่อเล่นโน้ตใดใดต่อไปให้แต่ละโน้ตได้มีช่องว่างในการหายใจ อาจนำความสงบกลับมา บางขณะที่ใจนิ่ง การด้นสดอย่างอิสระอาจพาเราไปพบส่วนลึกของจิตใต้สำนึก นี่คือความมหัศจรรย์ของดนตรีภาวนา มันเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพจิตของผู้เล่น

เมื่อโน้ตเดียวถูกเล่นด้วยจิตว่าง
มันคือประตูสู่ความเงียบอันไร้ที่สิ้นสุด

ในที่สุดแล้ว เส้นทางแห่งดนตรีภาวนาก็คือการเดินทางกลับบ้าน กลับมาพบกับตัวตนที่แท้จริง ตัวตนเดิมแท้ก่อนที่จะถูกความคิดและอารมณ์ต่างๆพอกไว้ ดนตรีกลายเครื่องมือที่คอยสะกิดเพื่อย้ำเตือนให้เรารู้ว่า ณ ใจกลางของเสียงทั้งปวงนั้น มีความเงียบอันบริสุทธิ์อยู่ตรงนั้น อยู่ตรงนั้นมานานแสนนาน และในความเงียบนั้นเองที่เราจะพบกับตัวที่แท้จริง

หากท่านคิดว่าวิธีนี้เหมาะกับท่าน ให้หยิบเครื่องดนตรีคู่ใจขึ้นมา หรือหากเล่นดนตรีไม่เป็นก็ใช้เครื่องดนตรีง่ายๆสักชิ้น แล้วปลดปล่อยจิตใจไปกับเสียงดนตรีอย่างอิสระด้วยดนตรีภาวนา ในท่วงทำนองที่เอิ่อล้นออกมาจากใจ บรรเลงดั่งไม่มีใครมองอยู่ แล้วยอมรับทุกอย่างที่เป็น... ด้วยความจริงใจอย่างสุดใจ...

เมื่อบรรเลงด้วยจิตอันเป็นหนึ่งเดียว
เสียงนั้นจะเป็นดั่งภาษาแห่งจักรวาล

琴者,禁也
กู่ฉิน[พิณโบราณ]นั้น, คือเครื่องมือฝึกควบคุมจิตใจ

แถม
อันท่วงทำนองนั้น, เกิดจากใจมนุษย์. อารมณ์เคลื่อนไหวจากภายใน, จึงปรากฏออกมาเป็นเสียง. เสียงกลายเป็นระเบียบแบบแผน, เรียกว่าทำนอง. เหตุฉะนี้ ยุคสงบเรียบร้อยท่วงทำนองย่อมสงบสุขจนปีติ, การเมืองการปกครองก็ปรองดอง. ยุควุ่นวายท่วงทำนองย่อมคับแค้นจนโกรธา, การเมืองการปกครองก็วิปริต. ยุคบ้านเมืองล่มสลายท่วงทำนองย่อมโศกเศร้าจนคร่ำครวญ, ปวงชนก็จนตรอกสิ้นหวัง. วิถีแห่งเสียงแลทำนอง, ย่อมเชื่อมโยงกับการเมืองการปกครองอย่างแนบแน่น.
-คัมภีร์หลี่จี้ บทเล่อจี้
บทที่ 1 กำเนิดดนตรี
คัมภีร์ดนตรีจาตรีของศาสนาขงจื้อ

凡音者,生人心者也。情動於中,故形於聲。聲成文,謂之音。是故治世之音安以樂,其政和。亂世之音怨以怒,其政乖。亡國之音哀以思,其民困。聲音之道,與政通矣。
一 樂本

02 เมษายน 2568

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร - 般若波羅密多心經



ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผู้ประกอบด้วยโลกุตรปัญญาอันลึกซึ้ง ได้มองเห็นว่า โดยธรรมชาติแท้แล้ว ขันธ์ทั้งห้านั้นว่างเปล่า และด้วยเหตุที่เห็นเช่นนั้น จึงได้ก้าวล่วง พ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ สารีบุตร รูปไม่ต่างจากความว่าง ความว่าง ก็ไม่ต่างไปจากรูป รูปคือความว่างนั่นเอง และความว่างก็คือรูปนั่นเอง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็เป็นดังนี้ด้วย สารีบุตร ธรรมทั้งหลาย มีธรรมชาติแห่งความว่าง ไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง ไม่ได้สะอาดและไม่ได้สกปรก ไม่ได้เพิ่มขึ้นไม่ได้ลดลง

ดังนั้น ในความว่างจึงไม่มีรูป ไม่มีเวทนา หรือสัญญา ไม่มีสังขาร หรือวิญญาณ ไม่มีตาหรือหู ไม่มีจมูกหรือลิ้น ไม่มีกายหรือจิต ไม่มีรูปหรือเสียง ไม่มีกลิ่นหรือรส ไม่มีโผฏฐัพพะหรือธรรมารมณ์ ไม่มีโลกแห่งผัสสะ หรือวิญญาณ ไม่มีอวิชชา และไม่มีความดับลงแห่งอวิชชา ไม่มีความแก่และความตาย และไม่มีความดับลงซึ่งความแก่ และความตาย ไม่มีความทุกข์ และไม่มีต้นเหตุแห่งความทุกข์ ไม่มีความดับลงแห่งความทุกข์ และไม่มีมรรคทางให้ถึง ซึ่งความดับลงแห่งความทุกข์ ไม่มีการประจักษ์แจ้งและไม่มีการลุถึง เพราะไม่มีอะไรที่จะต้องลุถึง

พระโพธิสัตว์ผู้วางใจในโลกุตรปัญญา จะมีจิตที่เป็นอิสระจากอุปสรรคสิ่งกีดกั้น เพราะจิตของพระองค์เป็นอิสระจาก อุปสรรคสิ่งกีดกั้น พระองค์จึงไม่มีความกลัวใดๆ ก้าวล่วงพ้นไปจากมายาหรือสิ่งลวงตา ลุถึงพระนิพพานได้ในที่สุด พระพุทธในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ผู้ทรงวางใจในโลกุตรปัญญา ได้ประจักษ์แจ้งแล้วซึ่งภาวะอันตื่นขึ้น อันเป็นภาวะที่สมบูรณ์และไม่มีใดอื่นยิ่ง ดังนั้น จงรู้ได้เถิดว่า โลกุตรปัญญา เป็นมหามนต์อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นมนต์แห่งความรู้อันยิ่งใหญ่ เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นยิ่งกว่า เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นใดมาเทียบได้ซึ่งจะตัดเสียซึ่งความทุกข์ทั้งปวง นี่เป็นสัจจะ เป็นอิสระจากความเท็จทั้งมวล ดังนั้น จงท่องมนต์แห่งโลกุตรปัญญา คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหา (ไป ไป ไปยังฟากฝั่งโน้น ไปให้พ้นอย่างสิ้นเชิง ลุถึง การรู้แจ้ง ความเบิกบาน)

=======
般若波羅密多心經

觀自在菩薩,行深般若波羅蜜多時,照見五蘊皆空,度一切苦厄。舍利子!色不異空,空不異色;色即是空,空即是色,受想行識亦復如是。舍利子!是諸法空相,不生不滅,不垢不淨,不增不減。

是故,空中無色,無受想行識;無眼耳鼻舌身意;無色聲香味觸法;無眼界,乃至無意識界;無無明,亦無無明盡,乃至無老死,亦無老死盡;無苦集滅道;無智亦無得。以無所得故,菩提薩埵。

依般若波羅蜜多故,心無罣礙;無罣礙故,無有恐怖,遠離顛倒夢想,究竟涅槃。三世諸佛,依般若波羅蜜多故,得阿耨多羅三藐三菩提。故知:般若波羅蜜多是大神咒,是大明咒,是無上咒,是無等等咒,能除一切苦,真實不虛。故說般若波羅蜜多咒,即說咒曰:揭諦揭諦,波羅揭諦,波羅僧揭諦,菩提薩婆訶。

แถม
ชี้เป้าสร้อยข้อมือที่สลักคัมภีร์หฤทัยสูตร

ประคำข้อมือชาดแดง เม็ดกูรูสลักคัมภีร์หฤทัยสูตร
🛒https://s.shopee.co.th/60E0J0OoE3

กำไลชาดแดง สลักคัมภีร์หฤทัยสูตร
🛒https://s.shopee.co.th/1B8JGNcloj

อ้างอิง
https://www.pantown.com/board.php?id=11555&area=&name=board5&topic=60&action=view
https://zh.wikipedia.org/wiki/%E8%88%AC%E8%8B%A5%E6%B3%A2%E7%BE%85%E8%9C%9C%E5%A4%9A%E5%BF%83%E7%B6%93
https://scripturetw.com/articles/xinjing
https://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

29 มีนาคม 2568

ตระหนักรู้และเตรียมพร้อม - ทำไมควรมีชุดของใช้ฉุกเฉินประจำวัน (EDC)

Every Day Carry Four (EDC 4)

ในชีวิตประจำวัน เราไม่มีทางรู้เลยว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดอะไรขึ้นบ้าง ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุเล็กน้อย ภัยธรรมชาติ หรือสถานการณ์ฉุกเฉินที่ต้องหลบหนี การมี ชุดของใช้ฉุกเฉินประจำวัน (Everyday Carry; EDC) ติดตัวไว้เสมอจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและความมั่นใจให้กับคุณและคนรอบข้าง

EDC คืออะไร?
EDC (Everyday Carry) คือ ของใช้จำเป็นที่พกพาติดตัวเป็นประจำทุกวัน นอกเหนือจากสิ่งของประจำวันทั่วไป (กระเป๋าสตางค์, บัตรประจำตัว, กุญแจบ้าน/รถ, นาฬิกาข้อมือ, แว่นกันแดด, ฯลฯ) เพื่อใช้ในยามฉุกเฉินหรือสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ของเหล่านี้ควรมีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา แต่มีประโยชน์สูง ไม่ว่าจะพกไว้ในกระสตางค์ กระเป๋าทำงาน หรือกระเป๋าเหน็บเข็มขัดก็ได้

ทำไมต้องมี EDC?
  1. ช่วยชีวิตในสถานการณ์คับขัน – เช่น อุบัติเหตุ ก่อการร้าย ภัยธรรมชาติ หรือต้องหลบหนีออกจากอาคาร
  2. เพิ่มความมั่นใจ – เมื่อรู้ว่ามีอุปกรณ์ช่วยเหลือติดตัวไว้เสมอ
  3. ช่วยเหลือผู้อื่น – บางครั้งคุณอาจเป็นคนแรกที่สามารถให้ความช่วยเหลือคนรอบข้างได้
ของแนะนำเป็นทางเลือกในชุด EDC
  1. อุปกรณ์ฉุกเฉิน
  2. อุปกรณ์ปฐมพยาบาล
    • พลาสเตอร์ปิดแผล
    • ยาหอม ยาดม
    • ยาฆ่าเชื้อ
    • ยาแก้ปวด
    • ยาประจำตัว
  3. อุปกรณ์สื่อสาร
    • โทรศัพท์มือถือ + Power Bank
    • เบอร์โทรติดต่อฉุกเฉินแบบจดไว้ในกระดาษ (เบอร์ญาติ, เบอร์การแพทย์ฉุกเฉิน 1669)
    • สมุดฉีกขนาดพกพา (สำหรับจด หรือเขียนโน้ตเพื่อส่งสาร)
    • ปากกา
  4. ของใช้ส่วนตัวและอื่นๆ
    • เงินสดเล็กน้อย (สำหรับกรณีฉุกเฉิน)
    • กระดาษทิชชู
    • อาหารฉุกเฉิน MRE
    • ขวดน้ำดื่มขนาดเล็ก
    • ที่พึ่งทางใจ (เครื่องราง, ภาพครอบครัว)
    • เข็มกลัด
    • เศษผ้า เข็ม และด้าย
    • อุปกรณ์จุดไฟ (ไม้ขีด, ไฟแช็ก, แท่งจุดไฟ)
สรุป
การเตรียมพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉินเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม EDC ไม่ใช่ของฟุ่มเฟือย แต่คือเครื่องมือที่อาจช่วยชีวิตคุณและคนที่คุณรักได้ ลองเริ่มจากของชิ้นเล็กๆ ที่จำเป็นที่สุด (แนะนำมีดพับสวิสเป็นอันดับแรก) แล้วค่อยๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม

อย่ารอให้เหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น… เตรียมตัวไว้ก่อนดีกว่า!

คุณมี EDC อะไรติดตัวบ้าง? แชร์ไอเดียดีๆ ให้กันได้ในคอมเมนต์นะครับ!

หากบทความนี้มีประโยชน์ อย่าลืมแบ่งปันให้คนรอบตัวเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กันนะครับ😊

ผู้ที่เตรียมสิ่งของไว้ยามฉุกเฉินไม่ใช่คนโง่
แต่เป็นผู้ที่ตระหนักในความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นแม้ว่ามันจะไม่เกิดก็ตาม
เพราะความไม่พร้อมจ่ายแพงกว่าเสมอ



แถม